ก. ส่วนงานในสำนักงานใหญ่ ประกอบด้วย
(1) สายตลาดการเงิน มีหน้าที่ดำเนินการทำธุรกรรมต่างๆ ในตลาดการเงินตามกรอบนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
การบริหารเงินสำรองทางการ และกำกับ ดูแล การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา
(2) สายนโยบายการเงิน มีหน้าที่เสนอแนะการดำเนินนโยบายการเงิน
และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน
การประเมินผลกระทบของมาตรการต่างๆ ที่จะมีผลต่อเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(3) สายนโยบายสถาบันการเงิน มีหน้าที่กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และกำกับดูแลสถาบันการเงินและระบบสถาบันการเงิน
ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งดูแลงานกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้ระบบสถาบันการเงิน
มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ
(4) สายกำกับสถาบันการเงิน 1 มีหน้าที่ตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ วิเคราะห์สถาบันการเงิน และประเมินแบบจำลองสถาบันการเงิน
(5) สายกำกับสถาบันการเงิน 2 มีหน้าที่กำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตรวจสอบ Non-Bank งานคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน และงานวางแผนและพัฒนาผู้ตรวจสอบ
(6) สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน
มีหน้าที่กำหนดนโยบายระบบการชำระเงินและธุรกิจบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
กำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์ฐานะการดำเนินงานของผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
และการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงิน
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ Non-bank และผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
รวมทั้ง ศึกษาและติดตามความก้าวหน้าของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ ๆ
(7) สายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร มีหน้าที่บริหารจัดการ พัฒนาทรัพยากรบุคคล
และพัฒนาองค์กรของธนาคารแห่งประเทศไทย
(8) สายระบบข้อสนเทศ มีหน้าที่พัฒนาและให้บริการระบบการชำระเงิน ดูแลรักษาบัญชีเงินฝากของหน่วยงานรัฐ ดำเนินการด้านพันธบัตร ประมวลผลและบริหารจัดการข้อมูลเศรษฐกิจการเงิน สถาบันการเงินและการชำระเงิน และงานระบบข้อสนเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งขับเคลื่อนและติดตามงานการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในภาพรวม
(9) สายออกบัตรธนาคาร มีหน้าที่ ผลิต นำออกใช้และบริหารจัดการธนบัตร และบัตรธนาคารภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเงินตรา
(10) สายบริหารงานปฏิบัติการ มีหน้าที่ดำเนินการงานบัญชี งานธุรการและบริหารจัดการอาคารและงานรักษาความปลอดภัยของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงการกำกับดูแลสำนักงานภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
(11) สายกฎหมาย มีหน้าที่สนับสนุนในด้านกฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย
(12)
สายตรวจสอบกิจการภายใน มีหน้าที่ ตรวจสอบการดำเนินงาน
และระบบงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านต่าง ๆ ภายในธนาคาร
แห่งประเทศไทย
(13)
สายสื่อสารและความสัมพันธ์องค์กร มีหน้าที่ช่วยผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ บริหารจัดการด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และสนับสนุนระบบการบริหารงานของผู้บริหารระดับสูง
(14) สายบริหารความเสี่ยงองค์กร มีหน้าที่บริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร กำกับดูแลงานด้านธรรมาภิบาลแบบบูรณาการ และการกำหนดยุทธศาสตร์รวมถึงจัดทำนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน
(15) สายเสถียรภาพระบบการเงินและยุทธศาสตร์องค์กร มีหน้าที่ดูแลงานเสถียรภาพระบบการเงิน ช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์องค์กร และดำเนินการงานวางแผนและงานงบประมาณ
ข. สำนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยในภูมิภาค ภายใต้การกำกับดูแลของสายบริหารงานปฏิบัติการ
มีหน้าที่ เป็นผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ในการสื่อสารบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย และการสนับสนุนงานด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค กำกับดูแลการประกอบธุรกิจการเงินการธนาคาร ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ใช้บริการทางการเงิน รวมทั้งกำกับดูแลการประกอบธุรกิจการธนาคารภายในประเทศในขอบเขตพื้นที่ภูมิภาค คือ
(1) สำนักงานภาคเหนือ รับผิดชอบพื้นที่จังหวัด กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
(2) สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รับผิดชอบพื้นที่จังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
(3) สำนักงานภาคใต้ รับผิดชอบพื้นที่จังหวัด กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี และยะลา
ค. ศูนย์จัดการธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสายออกบัตรธนาคาร
มีหน้าที่ ดำเนินการรับเงิน จ่ายเงิน การตรวจนับธนบัตรเพื่อทำลาย การตรวจพิสูจน์ธนบัตรชำรุดและธนบัตรปลอม และการจ่าย
ค่าแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด มีจำนวน 9 แห่ง คือ ศูนย์จัดการธนบัตร กรุงเทพ ฯ และอีก 8 แห่งในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัด ระยอง เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และหาดใหญ่
ง. สำนักงานตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทยในต่างประเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของสายตลาดการเงิน
มีหน้าที่ ศึกษาติดตามและวิเคราะห์ ภาวะเศรษฐกิจและพัฒนาการต่าง ๆ ในต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการบริหารทุนสำรองทางการ และปฏิบัติงานในการติดต่อกับสถาบันการเงิน และนักลงทุนต่างประเทศ และงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีสำนักงานตัวแทน
3 แห่ง ได้แก่
1. สำนักงานตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทย นครนิวยอร์ค
2. สำนักงานตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทย กรุงลอนดอน
3. สำนักงานตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทย กรุงปักกิ่ง