• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > BOT MAGAZINE
BOT MAGAZINE
BOT MAGAZINE
  • หน้าแรก
  • คลิปวีดิโอ
    • Conversation with the Governor
    • คลิปวีดิโออื่น ๆ
  • ฉบับย้อนหลัง
  • Podcast : BOT on the Go
​อาร์ม ตั้งนิรันดร สังคม วัฒนธรรม การค้าและการรับมือสงครามการค้าของจีน


​สังคม วัฒนธรรม การค้า แดนมังกร

          “ผมมีเพื่อนคนจีนเยอะ เวลาชวนเขามาเมืองไทย สิ่งที่เขามักบอกว่าไทยแตกต่างจากจีนอย่างชัดเจน คือ ชีวิตที่ไม่เร่งรีบของคนไทย จังหวะชีวิตแบบสบาย ๆ ความรู้สึกอย่างนี้ไม่ค่อยมีในประเทศจีน ที่จีนทุกอย่างดูจะเร่งรีบไปหมด เวลาเพียงหนึ่งปีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร มีคำกล่าวว่า ‘หนึ่งปีในประเทศจีน เท่ากับหลายปีในประเทศอื่น’

           “คนจีนรู้สึกว่าเขาต้องปรับตัว รีบตามให้ทันความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้ประกอบการจีนต้องปรับตัวตลอด ทั้งเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ เปลี่ยนรูปแบบการทำงาน หาความรู้เพิ่ม คนจีนจะเรียนรู้ปรับตัวได้รวดเร็ว ดิ้นรน ต่อสู้ มีความกดดันสูงมาก ไม่ใช้ชีวิตแบบสบาย ๆ

          “แนวคิดที่สำคัญมากของคนจีนอีกอย่างคือ เขาไม่เคยตั้งคำถามว่าจะเอาหรือไม่เอาสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่มักจะถามว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไรจากสิ่งนั้น เช่น เรามักจะถามว่าจะเอาหรือไม่เอารถไฟความเร็วสูง แต่คนจีนจะถามว่าถ้าสร้างรถไฟความเร็วสูงเพื่อขนคนหรือขนสินค้าแล้ว จะพัฒนาพื้นที่รอบข้างได้อย่างไร จะใช้วิธีไหนในการสร้างจะใช้เทคโนโลยีอะไร ฯลฯ คนจีนเป็นคนที่คิดซับซ้อนและถนัดคิดเชิงยุทธศาสตร์

          “ลักษณะวิธีคิดอีกอย่างที่น่าสนใจ คือ ‘การเลียนรู้’ (เลียนแบบและเรียนรู้) ซึ่งหากดูในอดีตการเรียนหนังสือของจีนก็คือ การท่องจำ และฝึกเขียนเรียงความ เรียงความที่ดีต้องเขียนเลียนตามแบบแผนของเรียงความที่ยอดเยี่ยมในอดีต ดังนั้น คนจึงมองว่าการลอกเลียนไม่ใช่เรื่องผิด เขา Copy แล้วพัฒนา เขาเลียนแบบและเรียนรู้ชนวนสำคัญอันหนึ่งของสงครามการค้า ก็คือ การลอกเลียนและพัฒนาเทคโนโลยีที่รวดเร็วของจีน ซึ่งสหรัฐฯ มองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงในระยะยาวของสหรัฐฯ

          “นอกจากนี้ประเทศจีนยังมีความเป็นชาตินิยมสูงมาก อย่างตอนแรกe-Commerce ที่ใหญ่ที่สุดในจีนก็คือ eBay ซึ่งเป็นต่างชาติ คนจีนก็จะถามว่า เรื่องอะไรให้ต่างชาติทำ ทำไมเราไม่ทำเอง ต่อมาอาลีบาบาของจีนเองก็ทำแข่ง แถมทำได้ดีกว่า ไล่ eBay กลับบ้านไป เขา ‘เลียนรู้’ จากคนอื่น อาลีบาบาประสบความสำเร็จก็เพราะการทำระบบ Ecosystem ครบวงจร เป็นทั้ง e-Commerce, Finance และ Logistics มีแพลตฟอร์มครบวงจร อย่าง WeChat ก็เหมือนกัน ทำครบวงจรจนตอนนี้ยากที่คู่แข่งจะตามทันในตลาดจีน”

ทิศทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

          “เดิมในยุคเหมาเจ๋อตุง จีนใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน (Planned Economy) ซึ่งรัฐบาลทำหน้าที่วางแนวทางควบคุมเศรษฐกิจทั้งหมด กำหนดว่าโรงงานไหนจะผลิตสินค้าอะไร จำนวนเท่าไร โดยจะไม่มีกรรมสิทธิ์ของเอกชนเกี่ยวข้อง ต่อมาภายหลังในยุคเติ้งเสี่ยวผิง จีนค่อย ๆ ปฏิรูปมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบตลาด(Market Economy) ให้สิทธิเอกชน ส่งเสริมการลงทุนและส่งออกส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ

          “ปัจจุบันจีนอยู่ในยุคที่ต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งใหญ่อีกครั้ง โดยปรับจากอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้นที่พึ่งพิงการส่งออกสูง มาเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้น และพึ่งพิงการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น รวมถึงเปลี่ยนจากภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ขยับมาเน้นส่งเสริมภาคบริการที่ช่วยซึมซับแรงงานได้ดี และทำให้การกระจายรายได้ดีขึ้นด้วย

          “จีนให้ความสำคัญกับการยกระดับเทคโนโลยีมาตลอด ซึ่งตอนนี้เทรนด์จริง ๆ ของจีนยุคใหม่ คือ ยุค Mass Entrepreneurship, Mass Innovation อันนี้เป็นสโลแกนของรัฐบาลจีนเลยที่ต้องการส่งเสริมให้ทุกคนเป็นผู้ประกอบการ เป็นนักนวัตกรรมนักสร้างสรรค์ และเราก็เห็นคนจีนรุ่นใหม่ทำธุรกิจเยอะมากผ่านวิธีทำธุรกิจที่หลากหลาย”

ต้นตอปัญหาสงครามการค้าจีน - สหรัฐฯ

          “ผมคิดว่าความไม่พอใจของสหรัฐฯ มีสองเรื่อง เรื่องที่หนึ่ง คือ จีนอุดหนุนรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่จีนต้องการจะส่งเสริม ทำให้บริษัทจีนได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก เรื่องที่สองคือ เรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และการได้มาซึ่งเทคโนโลยีนั้น ๆ ซึ่งสหรัฐฯ มองว่าจีนขโมยเทคโนโลยี

          “หลายอย่างจีนไม่ได้เริ่มต้นทำ Research and Development (R&D) ด้วยตนเอง แต่เขาซื้อเทคโนโลยีชาวต่างชาติ หรือชวนชาวต่างชาติมาร่วมลงทุน ทำ Joint Venture และ ‘เลียนรู้’ หรือบังคับให้มีการถ่ายโอนเทคโนโลยีดังกล่าว จึงทำให้จีนยกระดับเทคโนโลยีได้เร็วมาก

          “เทคโนโลยีเป็นประเด็นสำคัญ เพราะมีมิติเรื่องความมั่นคงด้วย ถ้าดูแผน Made in China 2025 ของจีน ซึ่งกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย และกำหนดว่าบริษัทจีนจะต้องครองสัดส่วนสำคัญในตลาดภาคอุตสาหกรรมเหล่านั้น ถ้าเราไปดู จะเห็นว่าอุตสาหกรรมเป้าหมายเกือบทั้งหมดเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการทหารได้ด้วย

          “นอกจากนั้น หลายคนในสหรัฐฯ ยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทจีนกับรัฐบาลจีน เช่น Huawei ใกล้ชิดกับรัฐบาลแค่ไหน เรื่องที่เกี่ยวโยงกันคือ ในทางเทคนิค มีความเป็นไปได้ที่จะมีการติดตั้งอุปกรณ์สอดแนมหรือเก็บข้อมูลผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงเริ่มมีกระแสกังวลว่า ถ้าอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งหมดต้องมีชิ้นส่วนที่มาจากจีนอาจเกิดปัญหาได้ เป้าหมายหนึ่งของสงครามการค้า คือ จีนต้องการกดดันให้บริษัทสหรัฐฯ เคลื่อนย้ายฐานการผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ออกจากจีน แต่นี่ยังเป็นคำถามที่น่าคิดว่า ในความเป็นจริง จะเป็นไปได้จริงหรือไม่? เพราะการผลิตที่จีนมีความได้เปรียบในด้านต้นทุนและห่วงโซ่การผลิตที่มีประสิทธิภาพและค่อนข้างสมบูรณ์

          “สิ่งที่ผมอยากชี้ให้เห็น ก็คือ ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นประเด็นความขัดแย้งที่มีมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งเริ่มมีในสมัยประธานาธิบดีทรัมป์ แต่ในสมัยก่อน สหรัฐฯ เลือกใช้รูปแบบการต่อสู้แนวทางอื่นเช่น ประธานาธิบดีโอบามาใช้การสร้างกลไกความร่วมมือ TPP1 เพื่อทัดทานจีน สมัยก่อน เราจะคิดว่า คนโดยปกติจะไม่ทำสงครามการค้า เพราะไม่สมเหตุสมผล คือ ทำแล้วแพ้ทั้งคู่ คำนวณแล้วประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยรวมลดลง แต่ประธานาธิบดีทรัมป์ไม่ได้คิดแบบนักเศรษฐศาสตร์ เขาคิดแบบนักการเมืองและนักธุรกิจเมื่อประธานาธิบดีทรัมป์ได้รับเลือกตั้งเข้ามาจึงฉีก TPP และเลือกเล่นเกมแบบนักเลงก็คือการทำสงครามการค้าแบบที่เราเห็น

          “เราไม่รู้ว่าเกมนี้ลึกซึ้งแค่ไหน ไม่รู้ว่าสหรัฐคิดอะไรกันแน่ ตื้นลึกหนาบางเพียงใด ตื้น ๆ ก็แค่เป็นลูกบ้าของประธานาธิบดีทรัมป์ แต่ก็มีทัศนะของนักวิเคราะห์ไม่น้อยที่มองว่า เรื่องนี้มีมิติเรื่องการต่อสู้ทางยุทธศาสตร์ ซึ่งสหรัฐฯ ต้องการรักษาตำแหน่งมหาอำนาจเดิม และทัดทานการผงาดขึ้นมาของจีน ถ้าคิดแบบลึกซึ้งอาจต้องการปรับเปลี่ยนห่วงโซ่การผลิตของโลกใหม่ (Reorient Global Value Chains) โดยเฉพาะในกลุ่มอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้ลดการพึ่งพาการผลิตหรือชิ้นส่วนจากจีน แต่อย่างที่ผมเรียนในตอนต้น คือมีคำถามใหญ่ว่า จะเป็นไปได้จริงหรือในโลกที่สหรัฐฯ และจีนมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจสูงมาก และการผลิตที่จีนคุ้มค่ากว่าในด้านต้นทุนและประสิทธิภาพ”

ผลกระทบจากสงครามการค้าในระดับโลก และประเทศไทย

          “ในระยะสั้น ทั้งสองฝ่ายคงพยายามบรรลุข้อตกลงบางอย่างเพื่อสร้างบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในทั้งสองประเทศ ตอนนี้ประธานาธิบดีทรัมป์ก็ต้องการประกาศชัยชนะในสงครามการค้า เพื่อเรียกคะแนนนิยม เพราะประธานาธิบดีทรัมป์เองก็ประสบปัญหาการเมืองภายในมาก ขณะเดียวกันก็ดูเหมือนจีนจะพร้อมที่จะบรรลุข้อตกลงบางอย่าง เช่น ซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ มากขึ้น โดยที่เกษตรกรเป็นฐานเสียงสำคัญของประธานาธิบดีทรัมป์ รวมทั้งเปิดภาคธุรกิจบางอย่างและให้ทุนสหรัฐฯ มาลงทุน

          “แต่ในระยะยาว ถ้าเราเข้าใจเบื้องหลังของความขัดแย้งดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ เราก็จะเห็นว่า ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ คงไม่จบง่าย ๆ คืออาจพักรบสั้น ๆ แต่สุดท้ายก็จะปะทุขึ้นมาอีก และถึงแม้จะหมดยุคของประธานาธิบดีทรัมป์ แต่ประธานาธิบดีคนต่อไปก็คงต้องสู้กับจีนเรื่องการค้า เพียงแต่รูปแบบ ความเข้มข้นความหวือหวาอาจไม่เท่าเดิม แต่โดยสาระแล้ว พื้นฐานของความขัดแย้ง คือ การอุดหนุนรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนของรัฐบาลจีนและการยกระดับเทคโนโลยีที่รวดเร็วของจีนยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปและจีนก็คงไม่ยอมเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาแบบนี้

          “ส่วนผลกระทบในช่วงนี้ คนจีนคิดว่าเขาพออดทนและรับมือได้ จะเห็นได้จากปี ค.ศ. 2008 ในช่วงวิกฤติการเงินโลกเป็นต้นมา จีนได้ค่อย ๆ ปรับโมเดลเศรษฐกิจมามากแล้ว สัดส่วนการพึ่งพาการส่งออกของจีนค่อย ๆ ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในภาพรวม สงครามการค้าครั้งนี้จีนคงไม่ได้เจ็บตัวจนพัง แต่ก็ถือว่าเจ็บตัวอยู่เหมือนกัน เพราะภาคการส่งออกของจีนก็ยังคงเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจจีน

          “แต่ปัญหาสำคัญกว่านั้น คือ สงครามการค้าทำให้เกิดความผันผวน และคนจีนไม่ชอบความไม่แน่นอน พอเกิดความผันผวนคนเริ่มไม่มั่นใจ ชะลอการลงทุน ชะลอการจับจ่ายใช้สอย สุดท้ายมันก็กระทบเศรษฐกิจจีนทั้งระบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
          “ส่วนสหรัฐฯ เองก็เจ็บตัวเช่นกัน ทั้งบริษัทสหรัฐฯ ที่ลงทุนในจีนทั้งผู้บริโภคในสหรัฐฯ ต้องซื้อของแพงขึ้น ทั้งสินค้าสหรัฐฯ ที่ถูกจีนตั้งกำแพงภาษีตอบโต้ แต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็มองว่าอีกฝ่ายน่าจะเจ็บตัวมากกว่า ฝ่ายเราน่าจะทนได้มากกว่า ทนได้นานกว่า ต้องดูกันว่าใครจะกะพริบตาก่อนกัน

 ~

          “การทำสงครามการค้าทำให้เศรษฐกิจโลกผันผวน ทำให้บรรยากาศเศรษฐกิจทั้งโลกไม่ดี ส่วนผลกระทบกับประเทศไทยต้องดูว่าเป็นภาคอุตสาหกรรมไหน ถ้าส่งชิ้นส่วนไปจีนก็อาจได้รับผลกระทบมาก ซึ่งเรามีภาคธุรกิจจำนวนมากที่ส่งชิ้นส่วนไปจีนแต่ถ้าเป็นภาคอุตสาหกรรมที่แข่งกับจีนส่งออกไปสหรัฐฯ ก็อาจทำให้มีการส่งออกเพิ่มมากขึ้น

          “ผู้ประกอบการและรัฐบาลต้องหาโอกาสจากวิกฤติ เช่นผู้ประกอบการไทยที่ส่งสินค้าแข่งกับจีน ต้องพยายามทำสัญญาระยะยาว (Long Term Contract) กับคู่ค้าในช่วงสงครามการค้า เพราะถ้าไม่มีสัญญาระยะยาว เมื่อสงครามการค้าพักรบ คู่ค้าก็จะหันกลับไปซื้อสินค้าจากจีน นอกจากนั้น เราต้องพยายามชักจูงให้ต่างชาติเลือกมาขยายการลงทุนในไทยมากขึ้น โดยดูภาคอุตสาหกรรมที่เรามีความได้เปรียบอยู่แล้วหรือพอจะต่อยอดได้ หรือดูภาคอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นตามเทรนด์โลกอนาคต อุตสาหกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องมีความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเราจะมีความได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้าน แต่ถ้าเราคิดจะแข่งแต่ในอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้น เราจะสู้เพื่อนบ้านอย่างเวียดนามไม่ได้”

ความยากในการติดตามการเปลี่ยนแปลงในจีน

          “ผมคิดว่าการผงาดขึ้นมาของจีนสั่นสะเทือนทั้งโลก และสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ก็สั่นสะเทือนทั้งโลกด้วยเช่นกันการติดตามจีนไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีความซับซ้อน ส่วนที่คนชอบถามว่าเราเรียนรู้อะไรจากจีนได้บ้าง เราเรียนรู้หลาย ๆ วิธีคิดของจีนได้ ทั้งการปรับตัว การแข่งขันการทดลอง และความจริงที่ว่าโมเดลการพัฒนาไม่มีสูตรตายตัวเราต้องวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของเราเอง และต้องปรับตัวตามสถานการณ์ สิ่งที่เคยทำแล้วประสบความสำเร็จในอดีต หรือสิ่งที่ประสบความสำเร็จในประเทศอื่นๆ ก็ไม่จำเป็นว่าทำแล้วจะประสบความสำเร็จในประเทศเราเสมอไป”


>> ดาวน์โหลด PDF Version

>> อ่าน e-Magazine

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.