• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > BOT MAGAZINE
BOT MAGAZINE
    • Executive's Talk
    • BOT People
    • Inspiration
    • Thought Leader
    • Central Banking
    • Special Scoop
    • Payment Systems
    • FinTech
    • เศรษฐกิจติดดิน
    • Financial Wisdom
    • Get to know
    • Global Trend
    • Highlight
    • The Knowledge
    • VocabStory
BOT MAGAZINE
  • คลิปวีดีโอ
  • BOTview
    • Executive's Talk
    • BOT People
  • INTERVIEW
    • Inspiration
    • Thought Leader
  • KNOWLEDGE
    • Central Banking
    • Special Scoop
    • Payment Systems
    • FinTech
    • เศรษฐกิจติดดิน
    • Financial Wisdom
    • Get to know
    • Global Trend
    • Highlight
    • The Knowledge
    • VocabStory
  • ฉบับล่าสุด
  • ฉบับย้อนหลัง
​การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
​

ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ

 

ท่ามกลางเสียงขับขานกาพย์เห่เรือที่ดังกังวานไปทั่วคุ้งน้ำเจ้าพระยา คนไทยมีโอกาสร่วมเฝ้ารับเสด็จและชมความงดงามของริ้วขบวนเรือพระราชพิธีในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

BOT พระสยาม MAGAZINE ได้รับความกรุณาจาก ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และพระราชพิธี มาเล่าถึงเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ

 

กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค1

หมายถึง ริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีที่จัดสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปในการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นการส่วนพระองค์และที่เป็นพระราชพิธี

อาจารย์ธงทองเล่าว่า “โดยทั่วไป ถ้าเป็นการเสด็จพระราชดำเนินส่วนพระองค์ ก็ไม่ต้องมีกระบวนใหญ่โต แต่ในโอกาสที่เป็นวาระสำคัญจะเสด็จพระราชดำเนินอย่างเต็มพระเกียรติยศ ซึ่งมีอยู่หลัก ๆ 2 วาระ ได้แก่ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร ซึ่งเท่าที่พบในประวัติศาสตร์ คือ ในพิธีบรมราชาภิเษก และงานเฉลิมพระชนมพรรษา เนื่องด้วยสมัยก่อนไม่มีสื่อหรือช่องทางข่าวสารหลากหลายเหมือนสมัยนี้ เมื่อผลัดเปลี่ยนแผ่นดินคราหนึ่ง ประชาชนจึงรับทราบได้โดยการบอกเล่าว่ามีกษัตริย์พระองค์ใหม่แล้วเท่านั้น การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทั้งทางบกและทางน้ำ นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทราบข่าวสารและได้ชื่นชมพระบารมี และแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

“อีกวาระหนึ่ง คือ การเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินหลังออกพรรษา ซึ่งสมัยก่อนถือเป็นงานประจำปี นอกจากจะเป็นไปเพื่อการกุศลแล้ว การเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคยังเป็นพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตที่ต้องการฝึกซ้อมไพร่พลเพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดศึกสงคราม ไพร่พลที่มาฝึกก็รู้สึกยินดีปรีดาไปกับงานกุศลด้วย จึงเป็นที่นิยมและกระทำสืบเนื่องกันมา”

 

1 คำว่า “กระบวน” และ “ขบวน” มีเสียงคล้ายกันแต่ใช้ต่างกัน กระบวน หมายถึง แบบแผน วิธีการ ส่วน ขบวน หมายถึง จัดเป็นแถวเป็นแนว ซึ่งมักจะมีแบบแผนเดียวกัน อนึ่ง ในเอกสารโบราณจะใช้คำว่า “กระบวนพยุหยาตรา” และเริ่มใช้ “ขบวนพยุหยาตรา” ในสมัยรัชกาลที่ 9 เป็นต้นมา

ความวิจิตรตระการตาของราชประเพณีในสมัยอยุธยา


พระราชพิธีนี้เป็นที่ปฏิบัติสืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ปรากฏหลักฐานที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่ามีการจัด “กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง” เมื่อพระองค์เสด็จไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งนับเป็นกระบวนพยุหยาตราใหญ่เต็มรูปแบบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นต้นแบบของกระบวนพยุหยาตราในสมัยต่อมา นอกจากนี้ ในสมัยนั้นยังมีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศบ่อยครั้ง อาทิ ได้โปรดให้จัดกระบวนเรือหลวงออกมารับคณะราชทูต และแห่พระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จากกรุงศรีอยุธยามายังเมืองลพบุรี โดยบันทึกของบาทหลวงตาชาร์ด กล่าวว่า “ขบวนอันยืดยาวของเรือบัลลังก์หลวง ซึ่งเคลื่อนที่ไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อยนี้มีจำนวนถึง 150 ลำผนวกกับเรือลำอื่น ๆ เข้าอีกก็แน่นแม่น้ำแลไปได้สุดสายตา อันเป็นทัศนียภาพที่งดงามหนักหนา เสียงเห่แสดงความยินดีตามธรรมเนียมนิยมของสยาม อันคล้ายจะรุกไล่เข้าประกบข้าศึกนั้น ก้องไปทั้งสองฝั่งฟากแม่น้ำ ซึ่งมีประชาชนพลเมืองมาคอยชมกระบวนยาตราอันมโหฬารนี้อยู่” ถือเป็นการแสดงแสนยานุภาพและพระบารมีออกสู่สายตาพระราชอาคันตุกะที่มาเยือนเมืองสยาม

 

กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


การฟื้นฟูพระราชประเพณีในสมัยรัตนโกสินทร์ ในยุครัตนโกสินทร์ ผู้คนยังจดจำความรุ่งเรืองและงดงามของบ้านเมืองในสมัยอยุธยาได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้ฟื้นฟูราชประเพณีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดยใช้ในการอัญเชิญพระแก้วมรกตแห่ข้ามฟากมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคได้กระทำสืบต่อมาในทุกรัชกาล แต่ที่มีการบันทึกหลักฐานชัดเจน คือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทั้งสองรัชกาลเป็นการเสด็จพระราชดำเนินระยะสั้นจากท่าราชวรดิฐไปนมัสการพระพุทธรูป ณ วัดอรุณราชวราราม

อาจารย์ธงทองเสริมว่า “ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีเรือเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ชำรุดทรุดโทรมลง เพราะไม่ได้รับการซ่อมแซมและไม่ค่อยได้ใช้งาน จำนวนเรือที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงไม่สามารถจัดเป็นกระบวนเรือเต็มรูปแบบดั้งเดิม กอปรกับรูปแบบการสัญจรทางน้ำเปลี่ยนแปลงไป อย่างในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 หากจะเสด็จพระราชดำเนินมาวัดบวรนิเวศวิหาร จะต้องใช้เส้นทางผ่านคลองเล็ก ๆ ทำให้ไม่สามารถจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคอย่างเต็มรูปแบบได้

“ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตวางระเบียบริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีเสียใหม่ ทรงพระดำริแบบแผนของกระบวนพยุหยาตราใหญ่หรือกระบวนพยุหยาตราน้อย โดยจัดรูปกระบวนจากจำนวนเรือที่มีอยู่เป็นสำคัญ และยึดหลักโบราณราชประเพณีโดยอนุโลม เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติต่อไป

 


“กระบวนพยุหยาตราใหญ่ ประกอบด้วยริ้วกระบวน 4 สาย (รวมริ้วกระบวนสายพระราชยาน 1 สาย เป็น 5 สาย) ใช้สำหรับงาน พระราชพิธีสำคัญ และกระบวนพยุหยาตราน้อย ประกอบด้วยริ้วกระบวน 2 สาย (รวมริ้วกระบวนสายพระราชยาน 1 สาย เป็น 3 สาย) ใช้สำหรับการเสด็จพระราชดำเนินที่มีความสำคัญรองลงมา”

ทั้งสองริ้วกระบวนเต็มไปด้วยความสวยงามตระการตา แสดงถึงพระบารมีที่แผ่ไพศาลของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่พึ่งของพสกนิกรที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร และแสดงถึงเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติ

 

กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรมิได้ประทับอยู่ในประเทศ ประกอบกับในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือพระราชพิธีถูกระเบิดจากสงครามเสียหายไปมาก การเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคจึงขาดหายไปเป็นเวลากว่า 30 ปี

“ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รื้อฟื้นธรรมเนียมนี้ขึ้นอีกครั้งในปี 2500 ด้วยจำนวนเรือที่มีอยู่ซึ่งไม่ครบจำนวนตามแบบโบราณราชประเพณี โดยเรียกว่า ‘ขบวนพุทธพยุหยาตรา’ เพื่อฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ต่างกับขบวนพยุหยาตราปกติ คือ จะอัญเชิญพระพุทธรูปเป็นประธานของขบวน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มิได้เสด็จพระราชดำเนินร่วมขบวนด้วย”

ถัดมาจากนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคสำหรับเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม โดยได้บูรณะซ่อมแซมเรือพระราชพิธีหลายลำที่ชำรุดเสียหายเพื่อให้มีสภาพบริบูรณ์สามารถใช้งานได้ และได้ต่อเรือพระที่นั่งเพิ่มขึ้นด้วย (เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9) จนเรือพระราชพิธีมีจำนวนครบถ้วนตามโบราณราชประเพณี เป็นการฟื้นฟูโบราณราชประเพณีอันทรงคุณค่า และสืบสานความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย

 

เสน่ห์ของเสียงในขบวน

อาจารย์ธงทองเล่าถึงบรรยากาศอันเป็นเสน่ห์ของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคว่า “เราจะได้ยินเสียงเห่เรือที่เป็นบทประพันธ์กาพย์ยานี 11 ซึ่งเนื้อหาที่แต่งจะต่างกันไปตามยุคสมัย เช่น กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้งในสมัยอยุธยา จะเป็นการแต่งชมความงามของกระบวนเรือ ‘สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อยงามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม...’ ใช้ในคราวเสด็จพระราชดำเนินโดยทางชลมารคไปนมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี หรือกาพย์เห่เรือของรัชกาลที่ 2 ในสมัยรัตนโกสินทร์ จะเป็นการแต่งกาพย์แห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ‘มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา...’ ใช้ในการเสด็จประพาสส่วนพระองค์ ส่วนในปีนี้ จะเป็นการปรับจากกาพย์เห่เรือสมัยรัชกาลที่ 9 ให้เหมาะสมกับยุคสมัยขึ้น ผู้แต่งคือ นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย นอกจากกาพย์เห่เรือแล้ว เรือบางลำจะมีวงดนตรีปี่ชวากลองแขกบรรเลงเพลง และเรือบางลำจะมีการกระทุ้งเส้าและเป่าแตรให้จังหวะด้วย”

 

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพีธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินเริ่มจากท่าวาสุกรีไปสิ้นสุดที่ท่าราชวรดิฐ รวมระยะทาง 3.4 กิโลเมตร โดยเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครเพียงอย่างเดียว ไม่มีการถวายผ้าพระกฐิน เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมพระบารมี นับเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อันวิจิตรงดงามและทรงคุณค่า ที่จะบันทึกในความทรงจำของประชาชนชาวไทยสืบไป

เรือพระที่นั่งอันทรงคุณค่าในธนบัตรไทย

ธนบัตรไทยเป็นสิ่งพิมพ์มีค่าที่นอกจากจะผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์อันทันสมัยแล้ว ยังเป็นพื้นที่ถ่ายทอดเรื่องราวอันแสดงถึงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของชาติไทยมาโดยตลอด รวมถึงเรือพระที่นั่งอันทรงคุณค่าด้วย


เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โขนเรือเป็นรูปศีรษะหงส์ การพายเรือใช้พายไม้ปิดทอง พายท่านกบิน ซึ่งเมื่อพายกระทบน้ำและยกสูงขึ้นแล้วบิดพายให้กระทบแสงอาทิตย์จะเกิดประกายระยับจับตา เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นความงดงามแห่งศิลปกรรมอันทรงคุณค่า แสดงถึงภูมิปัญญาในการต่อเรือของช่างไทย แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่ง


 

 

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช โขนเรือเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียร หงอนแต่ละเศียรประดิษฐ์เป็นลายกระหนกนาค โคนโขนเรือมีช่องสำหรับสอดปืนใหญ่ บริเวณหัวโขนเรือ ลำเรือ และท้ายเรือ แกะสลักเป็นลายรูปนาคเกี้ยวเคล้ากระหนกปิดทองประดับกระจก สะท้อนถึงความเชื่อของสังคมไทยที่มีต่อพระมหากษัตริย์ในฐานะทรงเป็นอวตารแห่งพระนารายณ์ เมื่อพระองค์ได้เสด็จประทับในเรือพระที่นั่งเปรียบเสมือนพระนารายณ์ประทับเหนือพญาอนันตนาคราช

 

ธปท. กับการรับเสด็จและการต้อนรับพระราชอาคันตุกะ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีโอกาสเฝ้าฯ รับเสด็จและต้อนรับพระราชอาคันตุกะต่างประเทศคนสำคัญถึง 2 ครั้ง ณ เรือนแพ ธปท.

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุ ธปท. หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และหนังสือ 100 ปี ธนบัตรไทย


>> ดาวน์โหลด PDF Version
>> อ่าน e-Magazine
Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.