• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > BOT MAGAZINE
BOT MAGAZINE
    • Executive's Talk
    • BOT People
    • Inspiration
    • Thought Leader
    • Central Banking
    • Special Scoop
    • Payment Systems
    • FinTech
    • เศรษฐกิจติดดิน
    • Financial Wisdom
    • Get to know
    • Global Trend
    • Highlight
    • The Knowledge
    • VocabStory
BOT MAGAZINE
  • คลิปวีดีโอ
  • BOTview
    • Executive's Talk
    • BOT People
  • INTERVIEW
    • Inspiration
    • Thought Leader
  • KNOWLEDGE
    • Central Banking
    • Special Scoop
    • Payment Systems
    • FinTech
    • เศรษฐกิจติดดิน
    • Financial Wisdom
    • Get to know
    • Global Trend
    • Highlight
    • The Knowledge
    • VocabStory
  • ฉบับล่าสุด
  • ฉบับย้อนหลัง
​
ปัญหาหมอกควันภาคเหนือกับแนวคิด Sandbox CMU Model

 

          “ทำไมตอนเกิดโควิด 19 คนเชียงใหม่ถึงใส่หน้ากากกันได้เต็มเมืองอย่างสบาย ก็เพราะเขาซ้อมใส่กันตอนมีหมอกควันมาหลายปีแล้วไง” วิทยากรท่านหนึ่งบรรยายในการประชุมจัดทำและทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2561 - 2565 และการทบทวนแผนรอบนี้ได้ยกระดับปัญหา PM2.5 มาเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักที่จังหวัดต้องเร่งแก้ไข

 

ปัญหาหมอกควันกระทบคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจภาคเหนือ

          จริง ๆ แล้วปัญหาหมอกควันภาคเหนือมีมานานนับ 10 ปี แต่รุนแรงขึ้นมากในช่วง 2 - 3 ปีหลัง ภาคเหนือจะถูกปกคลุมด้วยหมอกควันระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ทำให้ช่วงนั้นหลายจังหวัดในภาคเหนือติดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศแย่ที่สุดในโลก สาเหตุของปัญหาคือ การเผาพื้นที่เกษตรและไฟป่าในภาคเหนือทำให้เกิดหมอกควันข้ามแดนเพิ่มขึ้นทุกปี ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาซากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ขยายพื้นที่ปลูกในที่สูง เผาอ้อยเพื่อเก็บเกี่ยว และเผาตอซังข้าวในพื้นที่ราบเพื่อเตรียมเพาะปลูกรอบต่อไป การเผาถูกมองว่าเป็นวิธีที่คุ้มค่าที่สุด เพราะต้นทุนต่ำ ใช้เวลาน้อย และทำได้ง่าย นอกจากนั้น ยังมีการเผาตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านในพื้นที่สูง ตามความเชื่อว่าจะทำให้ผลผลิตพืชป่า อาทิ หญ้า เลี้ยงสัตว์ ผักหวาน และเห็ดเผาะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ล่าสุดฤดูหมอกควันปี 2563 นอกจากจะมาเร็วกว่าทุกปีแล้ว ปัญหายังทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะปรากฏจุดความร้อนในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มขึ้นมาก สะท้อนว่าเกิดการลักลอบเผาอันเนื่องมาจากปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนในแต่ละพื้นที่ แม้แต่พื้นที่ใกล้เมืองเชียงใหม่อย่างดอยสุเทพก็สามารถมองเห็นควันไฟได้แทบทุกวัน

 

          หมอกควันกระทบต่อคุณภาพชีวิต สุขภาพของคน และเศรษฐกิจภาคเหนือในวงกว้าง สถิติจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคผิวหนัง และโรคที่เกี่ยวกับดวงตาเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ครัวเรือนมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าซื้ออุปกรณ์ป้องกันมลพิษ ธุรกิจห้างร้านและร้านอาหารต่างได้รับผลกระทบโดยทั่วกัน เพราะลูกค้าลดการออกจากบ้าน ภาคการท่องเที่ยวก็เช่นกัน เมื่อเข้าสู่ฤดูหมอกควัน จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยจะลดลงอย่างรวดเร็วเพราะเป็นกลุ่มที่รับรู้สถานการณ์จากสื่อต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีก่อนก็ชะลอลง คาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวลดลงไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท ส่วนปีนี้ลดลงมากเนื่องจากโควิด 19 เป็นหลัก แต่หากไม่เกิดโควิด 19 หมอกควันคงเป็นประเด็นร้อนของภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง และเมื่อมองไปข้างหน้า ภายใต้การท่องเที่ยวภายในประเทศที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว หากเจอฤดูหมอกควันที่รุนแรง หลายธุรกิจคงสะดุดกันอีกรอบ

 

วัน “ห้ามเผา” และแนวทางแก้ปัญหาในระยะยาว

          การแก้ไขปัญหาหมอกควันเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายไม่ได้นิ่งนอนใจ ฤดูหมอกควันที่ผ่านมาภาครัฐได้พยายามใช้มาตรการที่เข้มข้นขึ้นเพื่อควบคุมการเผา สำหรับมาตรการระยะสั้น แต่ละจังหวัดประกาศเพิ่มวันห้ามเผา เช่น เชียงใหม่ห้ามเผาช่วง 10 มกราคม - 30 เมษายน 2563 รวม 111 วัน เพิ่มขึ้นจาก 60 วันในปีที่ผ่านมา รวมถึงมีการเพิ่มเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ ส่วนมาตรการระยะยาวได้สนับสนุนการจัดตั้งป่าชุมชนภายใต้ พ.ร.บ. ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 เพื่อให้ชุมชนวางแผนอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวเพิ่งเริ่มใช้ ทำให้ชุมชนที่เข้าร่วมมีไม่มาก จึงต้องการการประชาสัมพันธ์และการขยายผลเพิ่มอีก ส่วนการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ยังต้องการการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร เครื่องมือ และการจัดสรรงบประมาณเพิ่ม นอกจากนั้น ยังพบอุปสรรคอีกหลายอย่างทำให้การแก้ไขปัญหาไม่บรรลุผลเท่าที่ควร เช่น ในบางพื้นที่ได้รับความร่วมมือน้อย ยังมีการชิงเผาก่อนกำหนด เกิดการลักลอบเผาพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่า การเข้าดับไฟยังทำได้จำกัด เนื่องจากหลายพื้นที่เข้าถึงยากและห่างไกล จึงต้องรอรอบเวลาดาวเทียมทำให้การรายงานจุดความร้อนล่าช้า และมีการปะทุซ้ำจากไฟใต้ดิน สิ่งสำคัญจากปัญหาที่กล่าวมาคือ การขาดแรงจูงใจให้ทุกฝ่ายเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหา

          ปัญหาที่รุนแรงขึ้นทำให้หลายภาคส่วนในพื้นที่รวมตัวออกมาเคลื่อนไหว เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขอย่างจริงจัง องค์กรที่เข้ามามีบทบาท เช่น สภาลมหายใจเชียงใหม่ เกิดจากการรวมตัวของภาคประชาชนและเอกชนที่เข้าไปช่วยภาครัฐพัฒนาคุณภาพอากาศของเมือง ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาจากต้นตอควันพิษ ทั้งในชนบทและในเมืองผ่านโครงการต่าง ๆ รวมทั้งขับเคลื่อนให้คนในสังคมได้ตระหนักและลงมือแก้ไขอย่างจริงจัง ส่วนในภาควิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดตั้งคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ เป็นการรวมตัวของคณาจารย์ผู้ชำนาญในหลายสาขาวิชา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ดำเนินงานศึกษาวิจัย เสนอแนวทาง และถ่ายทอดนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา รวมถึงเริ่มขับเคลื่อน “CMU model” ให้เป็นโมเดลต้นแบบการพัฒนา

 

แก้ปัญหาหมอกควันอย่างเป็นรูปธรรมด้วย CMU model

 

           “CMU model” เป็นต้นแบบเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันอย่างเป็นรูปธรรม มีการทำงานแบบบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยมีคณะทำงานลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงเพื่อทำความเข้าใจต้นเหตุของปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จากนั้นจึงสร้างเป็นโมเดลให้เห็นภาพรวมในการขับเคลื่อนและคัดเลือกโครงการย่อยที่ประยุกต์ใช้ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมเข้าไปพัฒนาแต่ละด้านตามที่พื้นที่ต้องการ โดยพื้นที่นำร่องจะเลือกจากพื้นที่ที่มีปัญหาจริงและมีความพร้อมของผู้นำชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่

          หากถอดแนวคิดของ CMU model การแก้ปัญหาเน้น 3 ด้านหลัก คือ (1) การรับมือและป้องกัน เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เริ่มจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศ อย่างในพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีการพัฒนา CMU mobile application เพื่อรายงานสถานการณ์ PM2.5 และระบุตำแหน่งห้องปลอดฝุ่นที่มีเครื่องฟอกอากาศแบบ HEPA Filter PM2.5 เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรสามารถเข้าไปใช้บริการ นอกจากนี้ ยังได้ถ่ายทอดนวัตกรรมทำหน้ากากและเครื่องฟอกอากาศ DIY ให้แก่ผู้ที่สนใจไปประดิษฐ์ใช้ (2) การเฝ้าระวังการเกิดไฟ เพื่อลดปริมาณการเกิดหมอกควัน โดยติดตั้งเครื่องตรวจติดตามข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กและไฟป่าด้วยระบบเซ็นเซอร์แบบต้นทุนต่ำ และเครื่องตรวจจับความร้อนหรือการเกิดไฟโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (Thermal Imaging UAVs) ตัวอย่างในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย คณะทำงานได้ประสานความร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติ และส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ รวมทั้งดำเนินโครงการฟื้นฟูป่าดอยสุเทพควบคู่กัน (3) การพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม เพื่อให้ชาวบ้านอยู่กับป่าได้ โดยมุ่งพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค และเสริมสร้างความรู้ให้ตระหนักถึงปัญหาหมอกควันและวางแนวทางแก้ไข

 

          ตัวอย่างพื้นที่นำร่องการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมที่บ้านป่าตึงงาม ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา คณะทำงาน CMU model ได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจความต้องการของชาวบ้าน และดำเนินโครงการหลายด้าน ทั้งการส่งเสริมอาชีพที่ชาวบ้านต้องการและพร้อมจะปรับเปลี่ยน เช่น การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย และการเลี้ยงไก่กระดูกดำ พร้อมยกระดับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ร่วมกับส่งเสริมให้ใช้แอปพลิเคชัน “ผ่อดีดี” เพื่อเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและสัตว์อีกทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อเป็นรายได้อีกทาง สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม ได้เลือกดำเนินโครงการพัฒนาระบบเซ็นเซอร์แบบต้นทุนต่ำเพื่อติดตามฝุ่นละอองและไฟป่า มีการประเมินคาร์บอนเครดิตในป่าชุมชนและพัฒนาเรือนเพาะชำชุมชนผลิตกล้าไม้ท้องถิ่น เพื่อบรรเทาหมอกควันในระยะยาว ในด้านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ได้เลือกดำเนินโครงการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกรองน้ำดื่มสะอาด ด้านสังคมและสาธารณสุข เลือกดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาและทักษะการเรียนรู้เพื่อลดปัญหา PM2.5 และรักษ์ป่าอนุรักษ์ รวมถึงเสริมสร้างความรู้ด้านมลพิษหมอกควันและสารเคมีเกษตรแก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งการขับเคลื่อนโครงการทุกด้านไปพร้อมกันจะเป็นแรงจูงใจให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาหมอกควันอย่างยั่งยืน

 

          โดยสรุป งานวิเคราะห์และวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหมอกควันในภาคเหนือส่วนใหญ่ชี้ว่า หัวใจของการแก้ปัญหาหมอกควันคือ การดึงเอาชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม แนวคิดแบบ “CMU model” ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของภาควิชาการทั้งในด้านงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีหลากหลายสาขาวิชา ตลอดจนการยอมรับและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการในพื้นที่นำร่องแล้ว ซึ่งถ้าประสบความสำเร็จน่าจะสามารถเป็นตัวอย่างในการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นต่อไป


>> ดาวน์โหลด PDF Version
>> อ่าน e-Magazine

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.