• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > BOT MAGAZINE
BOT MAGAZINE
    • Executive's Talk
    • BOT People
    • Inspiration
    • Thought Leader
    • Central Banking
    • Special Scoop
    • Payment Systems
    • FinTech
    • เศรษฐกิจติดดิน
    • Financial Wisdom
    • Get to know
    • Global Trend
    • Highlight
    • The Knowledge
BOT MAGAZINE
  • คลิปวีดีโอ
  • BOTview
    • Executive's Talk
    • BOT People
  • INTERVIEW
    • Inspiration
    • Thought Leader
  • KNOWLEDGE
    • Central Banking
    • Special Scoop
    • Payment Systems
    • FinTech
    • เศรษฐกิจติดดิน
    • Financial Wisdom
    • Get to know
    • Global Trend
    • Highlight
    • The Knowledge
  • ฉบับล่าสุด
  • ฉบับย้อนหลัง
​
เปิด 4 เทรนด์การทำงานของโลกในยุค New Normal



ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของเรามาโดยตลอด แต่ก็เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั่งปี 2563 การเข้ามาอย่างฉับพลันของโควิด 19 กลายเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้มีการใช้เทคโนโลยีควบคู่กับการทำงานมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งการทำงานระยะไกล และการใช้ระบบอัตโนมัติ โดยเฉพาะในทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการระบาดของโควิด 19 พร้อมทั้งยังเห็นร้านค้าเข้าสู่แพลตฟอร์ม e-commerce มากขึ้น สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของผู้ซื้อในระบบออนไลน์ทั่วโลกที่สูงถึง 2 พันล้านคน ในปี 2563

 

          นอกจากเทรนด์การทำงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว แรงงานยังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นแรงงานอิสระมากขึ้น ซึ่งเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่คาดการณ์ว่า ในปี 2570 จำนวนแรงงานอิสระอาจสูงถึง 86.5 ล้านคน1 หรือประมาณครึ่งหนึ่งของกำลังแรงงาน ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นนี้ ทำให้เราจำเป็นต้องรู้จักเทรนด์เพื่อปรับตัวสู่การทำงานในอนาคต

 

เทรนด์ที่ 1 การทำงานระยะไกล (Remote Work and Virtual Meetings)


          ช่วงโควิด 19 แรงงานในหลายประเทศเปลี่ยนรูปแบบเป็นทำงานระยะไกลมากขึ้น โดยเฉพาะ ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแรงงานจำนวนมากหันมาทำงานระยะไกลเกือบทุกวันในแต่ละสัปดาห์ (รูปที่ 1) สอดคล้องกับการเติบโตของการทำงานระยะไกลที่เร่งขึ้นกว่า 30% ในเวลาเพียงแค่ 3 สัปดาห์2 ในระยะต่อไปคาดว่าการทำงานรูปแบบนี้จะยังคงมีไปอย่างต่อเนื่องแม้การระบาดของโควิด 19 จะสิ้นสุดลง เพราะมีข้อดีคือ (1) ช่วยประหยัดต้นทุนให้กับบริษัท (2) แรงงานมีผลิตภาพเพิ่มขึ้น และ (3) แรงงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งในบางประเทศพบว่า แรงงานที่ทำงานที่มีความยืดหยุ่นมีสุขภาพจิตดีกว่าแรงงานที่ไม่ได้ทำงานในรูปแบบดังกล่าวถึงสองเท่า3 เนื่องจากมี work-life balance ที่ดีขึ้น

          อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แรงงานทุกคนจะทำงานแบบระยะไกลได้ เนื่องจากลักษณะงานบางอย่างจำเป็นต้องทำแบบซึ่งหน้าหรือใช้เครื่องมือเฉพาะ เช่น งานบริการที่ร้านอาหาร งานด้านการเจรจาต่อรอง งานที่ต้องใช้การตัดสินใจที่สำคัญ และงานด้านเกษตรกรรม นอกจากนี้ การเข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัลก็เป็นอีกข้อจำกัดสำคัญ


เทรนด์ที่ 2 การปรับใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation and AI)


          ก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 มีความกังวลกันว่าการใช้ระบบอัตโนมัติจะเข้ามาแทนที่แรงงาน โดยได้มีการคาดการณ์ว่าแรงงานกว่า 400 - 800 ล้านคนทั่วโลกจะโดนแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ในปี 25734 เมื่อมีการระบาดของโควิด 19 ก็ยิ่งเร่งให้มีการใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้น เช่น ในสาขาการผลิตอาหารที่อัตราการใช้หุ่นยนต์เติบโตกว่า 56% ในปี 25635 เนื่องจากความกังวลเรื่องความสะอาด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแรงงานในสาขาดังกล่าว

          แม้ระบบอัตโนมัติจะเข้ามาแทนที่งานในบางสาขา แต่อีกทางหนึ่งก็ช่วยสร้างงานด้วยเช่นเดียวกัน โดยในขณะที่มีการระบาดของโควิด 19 มีการคาดการณ์ว่าการใช้ระบบอัตโนมัติจะช่วยสร้างงานกว่า 6.1 ล้านตำแหน่งทั่วโลก6 ตั้งแต่งานด้านการจัดการข้อมูล (data and AI) ไปจนถึงงานด้านการตลาด (marketing and content)

          นอกจากนี้ ระบบอัตโนมัติอาจมาช่วยบรรเทาความรุนแรงจากการแพร่กระจายของเชื้อโรค หรือแม้แต่ในทางการแพทย์ ที่หุ่นยนต์สามารถวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้ ทำให้ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ สอดคล้องกับที่ในระยะหลังเห็นเทรนด์การใช้หุ่นยนต์ในทางการแพทย์และภาคบริการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะแตะ 26,000 ยูนิตในปี 25667 (ปี 2562 มีเพียง 9,000 ยูนิต) จากในอดีตที่กระจุกตัวเฉพาะในภาคการผลิต

 

เทรนด์ที่ 3 การเข้าสู่แพลตฟอร์ม e-commerce มากขึ้น


          การระบาดของโควิด 19 ทำให้มีการบังคับใช้มาตรการปิดเมืองและมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม ซึ่งทำให้ผู้คนลดการเดินทาง และจำนวนการใช้บริการที่ร้านอาหารทั่วโลกลดลงกว่า 43%8 ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ได้กลับเข้าสู่ระดับปกติ สวนทางกับจำนวนผู้ซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ที่พุ่งทะยาน แตะ 2 พันล้านคน ในปี 2563 ที่ผ่านมา และอาจจะสูงถึง 2.1 พันล้านคนในปี 2564 (รูปที่ 2) แม้แต่ในประเทศไทยเอง ยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันสำหรับซื้อของออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่า 60%9 ในช่วงที่มีการปิดเมือง

          ร้านค้าและร้านอาหารต่าง ๆ ทั้งรายเก่าและรายใหม่มองเห็นโอกาสที่ดีในช่วงวิกฤตเช่นนี้ จึงผันตัวเข้าสู่แพลตฟอร์ม e-commerce มากขึ้น ตั้งแต่ SMEs ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ แน่นอนว่าย่อมส่งผลดีไปยังการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ผู้จัดส่งสินค้า ผู้ให้บริการหลังการขาย ตลอดไปจนถึงผู้ออกแบบเว็บไซต์ โดยในสหรัฐอเมริกาการขยายตัวของ e-commerce ทำให้ช่วงก่อนโควิด 19 เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นราว 3% และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19

 

เทรนด์ที่ 4 การเปลี่ยนมาเป็นแรงงานอิสระ (Self-employed / Gig Workers)


          การเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากการทำงานหลักเพียงอย่างเดียวมาเป็นการทำงานหลายอย่างหรือเปลี่ยนเป็นแรงงานอิสระมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา รวมทั้งอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และยังเกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย

          ในสหรัฐอเมริกาจำนวนแรงงานอิสระโตขึ้นกว่า 40% ในปี 2563 มาอยู่ที่ 57.3 ล้านคน (จากกำลังแรงงานทั้งหมด 164.6 ล้านคน) และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการจ้างงานลูกจ้างแบบเต็มเวลาที่ปรับลดลงมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2559 - 2563 ที่ลูกจ้างเต็มเวลาในสหรัฐอเมริกาปรับลดลงกว่า 3.9% นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราค่าจ้างได้เพิ่มจาก 17 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 22 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อชั่วโมง10 ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการของนายจ้าง เนื่องจากแรงงานกลุ่มนี้มีความยืดหยุ่นสูงและนายจ้างยังสามารถเลือกแรงงานศักยภาพสูงให้เหมาะสมกับแต่ละโปรเจกต์ได้

          นอกจากแนวโน้มการทำงานใน 4 รูปแบบที่กล่าวไปในข้างต้นแล้ว geography ของงานก็จะเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน โดยงานจะกระจายตัวไปยังเมืองเล็ก ๆ มากขึ้น สะท้อนจากอัตราส ำนักงานว่าง (office vacancy rates) ซึ่งพบว่า จ ำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 91% ในเมืองใหญ่ เช่น San Francisco และลดลงในเมืองขนาดเล็ก เช่น Glasgow ยิ่งไปกว่านั้นบางบริษัทมีแผนที่จะเปิดเป็น satellite office (สำนักงานสาขาย่อย) ในเมืองขนาดเล็กเพื่อดึงดูดแรงงานศักยภาพสูงในแต่ละพื้นที่

          รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปในระยะข้างหน้าทำให้แรงงานต้องอาศัยทักษะใหม่ ขณะที่เทรนด์การทำงานระยะไกลและแรงงานอิสระก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นทั้งแรงงานและผู้ว่าจ้างจึงควรเร่งปรับตัวเพื่อให้ทันกับการทำงานในโลกใหม่ที่บริบทกำลังจะไม่เหมือนเดิม

 

1 Gig Economy in the U.S.- statistics & Facts, Statista Research Department, 2021

2 14 Reasons why the future of work is happening now, Smarp 2021

3 Flexjobs, Mental health America survey: Those with flexible work report better mental health, Emili Courtney 2020

4 Jobs lost, Jobs gained: workforce transitions in a time of automation, Mckinsey & Company 2017

5 Robotic Industries Association 2021

6 Jobs of Tomorrow mapping opportunity in the new economy, World economic Forum 2020

7 World robotic 2020

8 ข้อมูลจำนวนการเข้าใช้บริการในร้านอาหารทั่วโลก ณ มี.ค. 2021 (เทียบกับปี 2019) จาก www.statista.com

9 Covid-19 and E-commerce: A global review, United Nations Conference on Trade and Development

10 อ้างอิงจากข้อมูลการสมัครงานผ่านแพลตฟอร์ม Gigsmart app.

 

เอกสารอ้างอิง

• International Labour Organization (2020) Working from home: Estimating the worldwide potential.

• International Labour Organization (2021) Working from home: From invisibility to decent work.

• Mckinsey Global Institute (2021) The future of work after COVID-19.

• Mckinsey Global Institute (2018) Skill shift: Automation and the future of the workforce.

• Mckinsey Global Institute (2020) What's next for remote work: An analysis of 2,000 tasks, 800 jobs, and nine countries.

• World Economic Forum (2020) Jobs of Tomorrow: Mapping Opportunity in the New Economy.


>> ดาวน์โหลด PDF Version

>> อ่าน e-Magazine



Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.