• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > BOT MAGAZINE
BOT MAGAZINE
    • Executive's Talk
    • BOT People
    • Inspiration
    • Thought Leader
    • Central Banking
    • Special Scoop
    • Payment Systems
    • FinTech
    • เศรษฐกิจติดดิน
    • Financial Wisdom
    • Get to know
    • Global Trend
    • Highlight
    • The Knowledge
BOT MAGAZINE
  • คลิปวีดีโอ
  • BOTview
    • Executive's Talk
    • BOT People
  • INTERVIEW
    • Inspiration
    • Thought Leader
  • KNOWLEDGE
    • Central Banking
    • Special Scoop
    • Payment Systems
    • FinTech
    • เศรษฐกิจติดดิน
    • Financial Wisdom
    • Get to know
    • Global Trend
    • Highlight
    • The Knowledge
  • ฉบับล่าสุด
  • ฉบับย้อนหลัง
​
วิชาเงินเฟ้อ 101


ช่วงนี้มีข่าวพูดถึง "เงินเฟ้อ" กันมาก ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ของต่างประเทศและของไทย Financial Wisdom จึงขอชวนทุกคนมาทำความเข้าใจ "เงินเฟ้อ" เพื่อพร้อมรับมือและเตรียมตัววางแผนแต่เนิ่น ๆ

          เริ่มกันที่ทำความเข้าใจความหมายของ "เงินเฟ้อ" ซึ่งหมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปในประเทศปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้เงินจำนวนเท่าเดิมซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง หรือต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อให้ได้สินค้าและบริการจำนวนเท่าเดิม พูดง่าย ๆ ก็คือโดยรวมแล้วของแพงขึ้นนั่นเอง เช่น 20 กว่าปีที่แล้ว มีเงินอยู่ 20 บาท ซื้อข้าวไข่เจียวและน่องไก่  1 ชิ้นได้ แต่เดี๋ยวนี้เงิน 20 บาท ซื้อได้แค่ข้าวไข่เจียว แต่น่องไก่ชิ้นโตหายวับไปกับกาลเวลาและเงินเฟ้อ หรือเคยซื้อก๋วยเตี๋ยวชามละ 20 บาท กินอิ่มจนพุงกาง แต่ตอนนี้ต้องจ่ายเงินซื้อก๋วยเตี๋ยวชามละ 40 บาท ได้แค่ชามเล็ก จำนวนลูกชิ้นน้อยลงแถมไม่อิ่มเท่าเดิม


          "เงินเฟ้อ" มีผลกระทบกับชีวิตของเราในหลายแง่มุม ตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวันคือ รายจ่ายที่สูงขึ้นเนื่องจากจำนวนเงินเท่าเดิมของผู้บริโภคกลับซื้อของได้น้อยลง ส่งผลให้รายได้ที่หามาอาจไม่เพียงพอกับการยังชีพหรือตกอยู่ในภาวะ "เงินไม่พอใช้" ไปจนถึงการออมการลงทุน เช่น การวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ ที่ต้องเก็บเงินออมมากกว่าเดิม เพราะอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่ได้รับไม่ทันกับราคาข้าวของที่แพงขึ้น ซึ่งเราเรียกอัตราผลตอบแทนที่หักผลของเงินเฟ้อว่า "อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง"

          อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง = อัตราผลตอบแทนที่ได้รับ – อัตราเงินเฟ้อ เช่น หากอัตราดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ 0.25% ต่อปี แต่อัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 2% ต่อปี จะทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงติดลบเท่ากับ -1.75%

          หากคำนวณแล้วพบว่าอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากการออมการลงทุนที่เรามีอยู่ติดลบ เราคงต้องหาทางเลือกอื่น ๆ ที่เหมาะกับตัวเราเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ ด้วยการหาข้อมูลอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เช่น จากรายงานนโยบายการเงินของแบงก์ชาติ) และหาข้อมูลผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ ว่ามีผลิตภัณฑ์ใดที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ เช่น เงินฝากประจำแบบปลอดภาษี พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น กองทุนรวม

          ดังนั้น การเริ่มลงทุนไม่ใช่แค่สนใจแต่อัตราผลตอบแทนที่จะได้รับเท่านั้น ยังต้องศึกษาหาความรู้เรื่องการลงทุนให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ และวิเคราะห์ว่าตัวเองมีเป้าหมายทางการเงินอะไร สามารถรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน และต้องการอัตราผลตอบแทนเท่าไหร่ จากนั้นแบ่งเงินไปลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ตัวเองยอมรับได้ นอกจากนี้ ถ้าเริ่มลงทุนเร็ว ก็จะมีระยะเวลาลงทุนนาน ส่งผลให้เงินของเราเติบโตได้อย่างเต็มที่ตามที่วางแผนไว้

          แม้ว่าเงินเฟ้อจะเป็นสิ่งที่คอยบั่นทอนให้มูลค่าเงินของเราลดลง แต่ถ้าเราไม่ชะล่าใจ แล้วรีบลงมือวางแผนการเงินโดยไม่ลืมให้ความสำคัญเรื่องเงินเฟ้อตั้งแต่วันนี้ เราก็จะเป็น "ผู้ชนะ" ได้

 

บทความอ้างอิง :

1. เงินเฟ้อโลกสูง ต้องกลัวอะไร? โดย ดร. ฐิติมา ชูเชิด

2. ไขปริศนาเงินเฟ้อโลกในยุคก่อนและหลังโควิด-19 โดยคุณสุพริศร์ สุวรรณิก

3. เงินเฟ้อมีผลกระทบกับเราอย่างไร โดย Mr. BOT


>> ดาวน์โหลด PDF Version


Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.