• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > BOT MAGAZINE
BOT MAGAZINE
    • Executive's Talk
    • BOT People
    • Inspiration
    • Thought Leader
    • Central Banking
    • Special Scoop
    • Payment Systems
    • FinTech
    • เศรษฐกิจติดดิน
    • Financial Wisdom
    • Get to know
    • Global Trend
    • Highlight
    • The Knowledge
BOT MAGAZINE
  • คลิปวีดีโอ
  • BOTview
    • Executive's Talk
    • BOT People
  • INTERVIEW
    • Inspiration
    • Thought Leader
  • KNOWLEDGE
    • Central Banking
    • Special Scoop
    • Payment Systems
    • FinTech
    • เศรษฐกิจติดดิน
    • Financial Wisdom
    • Get to know
    • Global Trend
    • Highlight
    • The Knowledge
  • ฉบับล่าสุด
  • ฉบับย้อนหลัง
​
วิถีใหม่ ในโลกไร้สัมผัส


การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้ผู้คนทั่วโลกมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงทำให้มีวิถีใหม่ในโลกไร้สัมผัส (touchless world) เป็นเทรนด์สำคัญ และมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ cashless touchless และ voices ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะถูกพัฒนาและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น

สังคมไร้เงินสดพัฒนาอย่างก้าวกระโดด

          cashless society หรือสังคมไร้เงินสดได้ถูกพัฒนาขึ้นมาตามจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้น โดยการระบาดของโควิด 19 ที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้ผู้คนนิยมการทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลแบบ touchless payment มากขึ้นทั่วโลก เพื่อป้องกันการสัมผัสกับเงินในรูปแบบปกติ


          ซึ่งจะขอยกตัวอย่างดังนี้ ในอินโดนีเซีย การทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น 102.5% ในช่วง 4 เดือนแรกของการระบาด เช่นเดียวกับประเทศซาอุดีอาระเบียที่มีการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 200% ในช่วงการระบาดของโควิด 19 ระลอกแรก ขณะที่รัฐบาลประเทศเคนยาได้แนะนำให้ประชาชนทำธุรกรรมออนไลน์แทนการใช้เงินสดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19

          ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า คนไทยมีการชำระเงินผ่านระบบ PromptPay สูงสุดถึง 34.9 ล้านรายการต่อวัน (ตุลาคม 2564) และมีการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตและ mobile banking ที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และแนวโน้มการใช้งานยังเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด

          จากแนวโน้มที่เกิดขึ้น Statistica บริษัทซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูลสถิติได้ประมาณการว่า แม้จะมีโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก แต่การชำระเงินทางดิจิทัลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 14.2% ในปีนี้ สอดคล้องกับดัชนี Global Financial Inclusion Index ล่าสุดของธนาคารโลกที่พบว่า ในประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets: EMs) อัตราการเปิดบัญชีธนาคารของผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ลดลงเหลือ 34.9% จาก 68.5% ในปี 2560 หรือลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างรวดเร็ว  

เทคโนโลยีไร้สัมผัสอยู่รอบตัว

          ไม่ใช่แค่ลดการสัมผัสเงินในรูปแบบของการใช้ธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์แบบปกติ ผู้คนเริ่มลดการสัมผัสสิ่งรอบตัวลง ซึ่งเป็นความกังวลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้เทคโนโลยีไร้สัมผัสได้ถูกพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นประตูอัตโนมัติ ก๊อกน้ำอัตโนมัติ และชักโครกอัตโนมัติ ถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสให้มากที่สุด ซึ่งได้ขยายขอบเขตสู่การพัฒนาบริการและโมเดลธุรกิจใหม่ เช่น การขนส่ง ยานยนต์ การดูแลสุขภาพ ธนาคาร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค เป็นต้น

          เทคโนโลยีไร้สัมผัส หรือ touchless tech ไม่ใช่เรื่องใหม่ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ถูกออกแบบให้ใช้งานได้สะดวกและมีสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น โดยนำระบบ IoT มาใช้ประกอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ระบบควบคุมการรับส่งสินค้า  รวมถึงการสร้างโซลูชันไร้สัมผัสเพื่อตอบโจทย์การทำงานอย่างยั่งยืน


          เมื่อเร็ว ๆ นี้ Intel ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่า "Intel RealSense TCS" (ซอฟต์แวร์ควบคุมแบบไร้สัมผัส) ซึ่งทำงานบนซอฟต์แวร์ปัจจุบันเพื่อแปลงตู้คีออสก์หน้าจอสัมผัสแบบเดิมและป้ายดิจิทัลเป็นอินเทอร์เฟซโดยไม่ต้องสัมผัส ทำให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวได้ง่ายและไม่ต้องลงทุนสูงในการนำมาประยุกต์ใช้ ซึ่งมีความเหมาะสมในหลายธุรกิจ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก หรือร้านอาหารติดตั้งเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภคได้อย่างมีสุขอนามัยเพิ่มขึ้น และเมื่อการระบาดสิ้นสุดลง ชีวิตวิถีใหม่ของผู้คนที่ใส่ใจภาวะสุขอนามัยจะคงอยู่ต่อไป โดยเฉพาะในพื้นที่สาธารณะ ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ยังคงต้องนำ touchless tech มาใช้อย่างต่อเนื่อง  

ระบบสั่งการด้วยเสียงถูกนำมาใช้มากขึ้น

          ระบบสั่งการด้วยเสียงได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น "SIRI" ของระบบ iOS หรือ "Alexa" ของ Amazon หรือ "Google Assistant Speaker" ของ Google Home แต่หลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นที่สนใจของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถลดการสัมผัสกับอุปกรณ์รอบตัว ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดียิ่งขึ้น  

 

ภาพ : droidsans.com

 

          ระบบสั่งการด้วยเสียง ถูกออกแบบมาเพื่อให้รับฟังคำสั่งและสามารถเทียบเคียงกับมนุษย์ได้หลายระดับ ซึ่งขณะนี้กำลังมีการพัฒนาโปรแกรมผู้ช่วยที่รองรับการสั่งการด้วยเสียงเพื่อให้สามารถตอบโต้ได้ ซึ่งหากสามารถนำมาพัฒนาเป็นตัวช่วยในภาคธุรกิจ จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน และลดการสัมผัสระหว่างคนกับคนได้เป็นอย่างดี

          Adobe บริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยี ได้นำเสนอในการประชุม VOICE Summit พบว่า ปัจจุบันมีบริษัทถึง 91% ที่ลงทุนเทคโนโลยีสั่งการด้วยเสียง โดย 71% ของบริษัทเหล่านั้นมองว่าระบบสั่งการด้วยเสียงจะช่วยเพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งบริษัทต่าง ๆ จะพยายามพัฒนาระบบสั่งการด้วยเสียงโดยเพิ่มช่องทางการโต้ตอบให้ครอบคลุมมากขึ้น และการติดต่อสื่อสารที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การนัดหมายแพทย์ การขอสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงแรม การจัดส่งสินค้า เป็นต้น

          นี่คือ 3 เทคโนโลยีไร้สัมผัสที่ถูกเร่งให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ของผู้บริโภคในปัจจุบัน รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีไร้สัมผัสมาช่วยในภาคธุรกิจ การให้บริการ และการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ให้สอดรับกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

อ้างอิง

https://oxfordbusinessgroup.com/news/does-cash-have-future-after-covid-19

https://connectedworld.com/touchless-tech-trends/

https://techsauce.co/tags/voice-summit-adobe



Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.