• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > BOT MAGAZINE
BOT MAGAZINE
    • Executive's Talk
    • BOT People
    • Inspiration
    • Thought Leader
    • Central Banking
    • Special Scoop
    • Payment Systems
    • FinTech
    • เศรษฐกิจติดดิน
    • Financial Wisdom
    • Get to know
    • Global Trend
    • Highlight
    • The Knowledge
    • VocabStory
BOT MAGAZINE
  • คลิปวีดีโอ
  • BOTview
    • Executive's Talk
    • BOT People
  • INTERVIEW
    • Inspiration
    • Thought Leader
  • KNOWLEDGE
    • Central Banking
    • Special Scoop
    • Payment Systems
    • FinTech
    • เศรษฐกิจติดดิน
    • Financial Wisdom
    • Get to know
    • Global Trend
    • Highlight
    • The Knowledge
    • VocabStory
  • ฉบับล่าสุด
  • ฉบับย้อนหลัง
​
จัดการหนี้บ้านอย่างไร ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น


ในช่วงนี้หลายคนที่ผ่อนบ้านกันอยู่คงจะเห็นสัญญาณบ่งบอกว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในช่วงขาขึ้น เนื่องจากธนาคารกลางหลายประเทศเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อดูแลเศรษฐกิจจากการที่เงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในที่สุดแล้วย่อมส่งผลมาถึงภาระการผ่อนบ้าน กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านก็จะสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วลูกหนี้สินเชื่อบ้านกลุ่มใดจะได้รับผลกระทบบ้าง และเราจะมีวิธีไหนมาช่วยลดภาระดอกเบี้ย รวมถึงมีเทคนิคอะไรบ้างที่จะช่วยให้ปลดหนี้บ้านได้เร็วขึ้นด้วย Financial Wisdom มีคำตอบและคำแนะนำมาฝาก

          ในวงการสินเชื่อบ้านจะมีกลุ่มคนที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ 2 กลุ่ม ที่จะได้รับผลกระทบแตกต่างกัน คือ

          1. กลุ่มที่ได้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) ลูกหนี้กลุ่มนี้จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากยังคงถูกคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไปตามสัญญา โดยสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะกำหนดให้เป็น fixed rate ในช่วงแรก เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ 3% ใน 3 ปีแรก แล้วค่อยปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว ทำให้ยังพอมีเวลาปรับตัวและสามารถหาเงื่อนไขเงินกู้ที่ดีก่อนที่ดอกเบี้ยตามสัญญาจะเปลี่ยนไปเป็นช่วงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว

   

          2. กลุ่มที่ได้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) กลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบเมื่ออัตราดอกเบี้ยในสัญญาถึงกำหนดปรับเป็น Floating Rate เนื่องจากค่างวดที่ชำระในแต่ละเดือนจะมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น หากจ่ายค่างวดบ้านเป็นจำนวนเงินเท่ากันทุกเดือน เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นก็จะเหลือเงินมาตัดชำระเงินต้นได้น้อยลง

 

          สำหรับใครที่อยากลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้หรือหมดหนี้บ้านไวขึ้น อยากชวนมาลองทำตามวิธี ดังนี้

1. จัดการรายรับ–รายจ่าย ได้แก่ ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้

          ทั้งการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้จะช่วยให้เรามีเงินคงเหลือในแต่ละเดือนเพิ่มมากขึ้น (เงินคงเหลือ = รายรับ – รายจ่าย – ภาระผ่อนหนี้) พอมีเงินเหลือมากขึ้น เราก็สามารถนำเงินที่มีไปโปะหนี้เพิ่มเพื่อปลดหนี้ให้เร็วขึ้น และยังช่วยให้ประหยัดดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายอีกด้วย

          เราอาจเริ่มจากการปรับลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ อย่างค่าลอตเตอรี่หรือค่ากาแฟ ซึ่งเราไม่ควรมองข้ามรายจ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ เพราะหากสามารถลดได้ เช่น จากซื้อทุกวันเหลือสัปดาห์ละครั้ง หรือลดจำนวนเงินที่จ่ายต่อครั้งลง นอกจากจะดื่มด่ำกับกาแฟแก้วโปรดยิ่งขึ้นแล้ว ยังอาจมีเงินเหลือเป็นก้อนใหญ่จนเราตกใจก็เป็นได้ (ลองคำนวณจำนวนเงินคร่าว ๆ ได้ที่ โปรแกรม "เงินหายไปไหน") นอกจากนี้ อาจจะมองหารายได้เสริมเพิ่มเติมจากสิ่งที่เราถนัดหรือสนใจด้วย เช่น ขายของออนไลน์ ขายเสื้อผ้า

2. เจรจาเจ้าหนี้หรือหาเงื่อนไขใหม่ที่ดีกว่า ได้แก่ เจรจาขอลดดอกเบี้ยและ Refinance

          การเจรจาต่อรองขอลดดอกเบี้ยกับเจ้าหนี้เป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้และควรทำ เพราะหนี้บ้านส่วนใหญ่จะมีอัตราดอกเบี้ย 2 ช่วง คือ ดอกเบี้ยต่ำในช่วงแรกเพื่อจูงใจลูกค้า และมักจะเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ 3% ใน 3 ปีแรก และช่วงที่สองเป็นแบบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัวซึ่งมักจะแพงกว่าช่วงปีแรก ๆ เช่น MRR[1] จนสิ้นสุดอายุสัญญา เมื่อเราผ่อนไประยะหนึ่งจนใกล้ถึงช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาจะคิดแบบลอยตัว เราก็สามารถเข้าไปยื่นเรื่องเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอปรับลดอัตราดอกเบี้ย เช่น ปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัวได้ ซึ่งจะช่วยให้ภาระดอกเบี้ยไม่สูงขึ้นไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทั้งยังช่วยปลดหนี้ได้เร็วขึ้นกว่าการจ่ายตามสัญญาไปเรื่อย ๆ โดยไม่ไปขอลด ดังนั้น ใครมีสินเชื่อบ้านอย่ารอช้า รีบดูสัญญาว่าใกล้ช่วงที่ดอกเบี้ยกำลังจะหมดโพรโมชันหรือถูกปรับขึ้นหรือยัง ถ้าใกล้แล้ว อย่าลืมไปยื่นเรื่องเจรจาขอลดดอกเบี้ยกัน โดยขอแนะนำว่า ควรเตรียมตัวอย่างน้อย 1 เดือนก่อนที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในสัญญาจะปรับเป็นแบบลอยตัว ซึ่งเราสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันการเงินที่ใช้บริการว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง เพื่อประกอบการยื่นเรื่องให้สถาบันการเงินพิจารณา


          ถัดมาก็คือ refinance ไปยังสถาบันการเงินอื่นที่ให้อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าสถาบันการเงินที่เราใช้บริการอยู่ อย่างไรก็ดี ก่อนจะ refinance อย่าลืมคำนึงถึงต้นทุนแฝงต่าง ๆ ด้วยว่าคุ้มกับการ refinance หรือไม่ เช่น ค่าเบี้ยปรับชำระก่อนครบกำหนด (prepayment fee) ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ค่าธรรมเนียมจดจำนอง หากใครที่ต้องการ refinance และกำลังมองหาเงื่อนไขที่ดีกว่าสถาบันการเงินที่ใช้อยู่เดิม สามารถศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่ โปรแกรมเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์  

          การเจรจาขอลดดอกเบี้ยและการ refinance จะช่วยให้เราประหยัดดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย และชำระเป็นเงินต้นในแต่ละเดือนได้มากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้เราปลดหนี้ได้เร็วขึ้นด้วยนั่นเอง

          จะเห็นได้ว่า แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อภาระหนี้บ้านของเรา แต่หากมีการจัดการที่ดี หนี้บ้านก็จะไม่ใช่ปัญหาหนัก กลายเป็นทรัพย์สินและสถานที่ที่อบอุ่นสำหรับทุกคนในครอบครัวไปตราบนานเท่านาน


[1] Minimum Retail Rate (MRR) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี มักใช้กับสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบ้าน




>> ดาวน์โหลด PDF Version



Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.