• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • ประชาชน
  • กลุ่มสถาบันการเงิน
  • ผู้ประกอบการ
  • นักวิชาการ
  • สื่อมวลชน
  • นักเรียน นักศึกษา
​

เกี่ยวกับ ธปท.

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นองค์กรของรัฐที่มี บทบาทหน้าที่​​ หลักในการบริหารจัดการให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย โดยผ่านการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพในอัตราที่เหมาะสมกับศักยภาพของประเทศ ซึ่งถือเป็นการร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยให้ประชาชนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาวด้วย​

ธปท. ได้กำหนดวิสัยทัศน์คือ “เป็นองค์กรที่มองไกล มีหลักการและร่วมมือ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของไทย”​ และกำหนดค่านิยมร่วมคือ “ยืนตรง มองไกล ยื่นมือ ติดดิน” โดยมีพันธกิจคือ “มุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเงินที่มีเสถียรภาพ และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและทั่วถึง”

สำหรับทิศทางการดำเนินงานของ ธปท. ในภาพรวมนั้น ธปท. จะดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันใช้แผนยุทธศาสตร์ 3 ปี​ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ปี 2560-2562) ซึ่งมุ่งเน้นวางรากฐานการทำหน้าที่ของ ธปท. เพื่อส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจการเงินไทยมีมีเสถียรภาพ และระบบการเงินไทยมีพัฒนาการที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างยั่งยืน ทั่วถึง และพร้อมปรับตัวเข้าสุ่เศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีทั้งหมด 12 หัวข้อ และแบ่งได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้ 

​1. ด้านเสถียรภาพ (Stability) การรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจการเงินถือเป็นพันธกิจหลักของ ธปท. ยุทธศาสตร์ด้านเสถียรภาพประกอบไปด้วย 1. เสถียรภาพการเงิน 2. เสถียรภาพระบบการเงิน 3. เสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน และ 4. เสถียรภาพระบบการชำระเงิน ซึ่งจะมุ่งเน้นการติดตาม เท่าทัน ป้องกัน และพร้อมรับมือกับความเสี่ยงรูปแบบใหม่ที่จะเป็นความท้าทายต่อเสถียรภาพด้านต่าง ๆ โดยดูแลความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและการสร้างนวัตกรรม นอกจากนั้น ยังมุ่งเน้นการเพิ่มบทบาทของ ธปท. ในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (supply side) ด้วย

2. ด้านการพัฒนา (Development) มุ่งผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจการเงินไทยพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนและ เป็นธรรม โดยสนับสนุนการแข่งขัน นวัตกรรม และการใช้เทคโนโลยีอย่าง​ครบวงจรเพื่อลดต้นทุน ของระบบการเงิน และเอื้อให้ระบบเศรษฐกิจการเงินปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางการเงินให้มีผู้ให้บริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์การพัฒนาของประเทศ ในขณะเดียวกันจะสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการเงินกับต่างประเทศ ทั้งกรณีที่ไทยขยายไปต่างประเทศ และต่างประเทศมาใช้ไทยเป็นฐาน รวมถึงยกระดับการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน เพิ่มความเข้มงวดเรื่องการให้บริการอย่างเป็นธรรม (market conduct) และส่งเสริมวินัยทางการเงินอย่างเป็นระบบ ยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาประกอบด้วย 3 หัวข้อ ได้แก่ 5. การพัฒนาระบบการเงิน 6. การเชื่อมโยงกับต่างประเทศ และ 7. การส่งเสริมบริการทางการเงินอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

3. ด้านเสริมสร้างความเข้มแข็งภายในองค์กร​ (Internal excellence) เพื่อวางรากฐานให้ ธปท. สามารถ ดำเนินภารกิจที่ยากและท้าทายขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งภายในองค์กรประกอบไปด้วย 8. ระบบข้อมูลและการวิเคราะห์ 9. ความเป็นเลิศด้านวิจัย 10. การยกระดับศักยภาพบุคลากร 11. การยกระดับศักยภาพองค์กร และ 12. การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งการเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะยกระดับการทำหน้าที่ในฐานะธนาคารกลางที่ดีและน่าเชื่อถือของประเทศ สมกับค่านิยมร่วม “ยืนตรง มองไกล ยื่นมือ และติดดิน”

นอกจากนี้ ธปท. ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของข้อมูลเศรษฐกิจการเงินอย่างครบถ้วน รอบด้าน ทันต่อเหตุการณ์ และเชื่อถือได้ เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบสถานการณ์ทางเศรษฐกิจตามความเป็นจริง โดยมีการรายงานข้อมูลและดัชนีชี้วัดที่สำคัญทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงอธิบายถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละส่วนพร้อมทั้งประเมินภาพแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะต่อไปอยู่เป็นประจำ

สำหรับการสื่อสารในเรื่องของนโยบายการเงิน ธปท. มีการเผยแพร่ผลการตัดสินนโยบายการเงินหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินแต่ละครั้งให้สาธารณชนได้รับรู้ โดยจะเปิดเผยถึงเหตุผลของการตัดสินใจคงหรือปรับเพิ่ม/ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ พร้อมทั้งให้มุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจของ ธปท. และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของ ธปท. ในประเด็นต่าง ๆ

นอกจากนี้ ธปท. ยังมีการเผยแพร่บทวิเคราะห์แนวโน้มทางเศรษฐกิจและใช้เป็นสมมติฐานในการจัดทำประมาณการเศรษฐกิจประกอบการตัดสินนโยบายการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถวางแผนและตัดสินใจทางธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจและแนวทางการดำเนินโยบายการเงินของ ธปท.

ปัจจุบัน ธปท. ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นธนาคารกลางของประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 75 ปี แล้ว ซึ่งตาม ประวัติของธปท.​ นั้นเริ่มมีความพยายามที่จะริเริ่มก่อตั้งธนาคารกลางอย่างจริงจังมาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 แล้ว แต่ด้วยปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ และความขาดแคลนผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านการเงินการธนาคาร จึงทำให้ต้องใช้เวลาอีกถึง 10 ปีจึงสามารถเปิดดำเนินการได้

นับตั้งแต่ ธปท. เริ่มเปิดดำเนินงานในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นมา ผู้ว่าการจากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 23 ท่าน โดยผู้ว่าการ ธปท. คนปัจจุบันได้แก่ นายวิรไท สันติประภพ ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 นอกจากผู้ว่าการซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของ ธปท. แล้ว ใน ทำเนียบผู้บริหาร ยังประกอบไปด้วยรองผู้ว่าการ 3 ท่าน ​และผู้ช่วยผู้ว่าการอีก 12 ท่าน ซึ่งทำหน้าที่บริหารส่วนงานต่าง ๆ ของ ธปท. สำหรับนโยบายและการดำเนินงานด้​านต่าง ๆ นั้นจะกำหนดโดย คณะกรรมการ ที่มีอยู่หลายคณะอย่างเช่น คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการ​นโยบายสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน เป็นต้น โดยมีคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่กำหนดนโยบายในภาพรวมของธปท.

เพื่อให้ประชาชนสามารถสืบค้นข้อมูลทางเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคารและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของธปท. ได้อย่างโปร่งใส ทาง ธปท. ได้เตรียมช่องทางต่าง ๆ ไว้รองรับทั้งทางเว็บไซต์ บริการห้องข้อมูลข่าวสาร​ บริการห้องสมุดและจดหมายเหตุ นอกจากนี้ยังมี บริการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ธปท.​ และกิจกรรม​การเยี่ยมชมกิจการของ ธปท. รวมไปถึงการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม อย่างเช่น โครงการให้ทุนการศึกษา​ โครงการให้ความรู้ทางการเงิน​ และโครงการเศรษฐทัศน์​ เป็นต้น

ผู้ที่สนใจศึกษาและหาข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของ ธปท. ยังสามารถติดตามและตรวจสอบ งบการเงินประจำปี และ รายงานฐานะทางการเงินประจำสัปดาห์ ของ ธปท. ได้จากทางเว็บไซต์อีกด้วย​

​​​

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.