• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • ประชาชน
  • กลุ่มสถาบันการเงิน
  • ผู้ประกอบการ
  • นักวิชาการ
  • สื่อมวลชน
  • นักเรียน นักศึกษา

เกี่ยวกับ ธปท.

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นองค์กรของรัฐที่มี บทบาทหน้าที่​​ หลักในการบริหารจัดการให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย โดยผ่านการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพในอัตราที่เหมาะสมกับศักยภาพของประเทศ ซึ่งถือเป็นการร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยให้ประชาชนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาวด้วย​

ภารกิจที่สำคัญของ ธปท. ได้แก่ การดูแลเสถียรภาพ​ทางการเงินของประเทศ ผ่านอัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงินบาท ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงบริหารจัดการธนบัตรหมุนเวียนภายในประเทศ และดูแลระบบการชำระเงินด้วย นอกจากนี้ ธปท. ยังมีหน้าที่ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน และให้ความคุ้มครองประชาชนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมในการใช้บริการของสถาบันการเงินอีกด้วย

สำหรับทิศทางการดำเนินงานของ ธปท. ในภาพรวมนั้น ธปท. จะดำเนินงานภายใต้ แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (BOT Strategy Roadmap) โดยแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (ปี 2555-2559) ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์คือ เป็นองค์กรที่มองไกล มีหลักการ และร่วมมือ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของไทย และกำหนดค่านิยมร่วมคือ “ยืนตรง มองไกล ยื่นมือ ติดดิน”

โดยมีพันธกิจคือ “มุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเงินที่มีเสถียรภาพ และมีพัฒนาการอย่างยั่งยืนและทั่วถึง” ซึ่งทาง ธปท. ได้แบ่งพันธกิจหลักขององค์กรออกเป็น 5 ด้านด้วยกัน ซึ่งได้แก่

1. เสถียรภาพราคา หมายถึงการใช้เครื่องมือทางนโยบายที่​มีอยู่ในการดูแลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและอยู่ภายในกรอบเป้าหมายที่ธปท.กำหนดเอาไว้ ซึ่งจะเอื้อต่อการตัดสินใจและวางแผนการดำเนินกิจกรรมของภาคธุรกิจเอกชนและครัวเรือน พร้อมทั้งช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโต

2. เสถียรภาพระบบการเงิน หมายถึงการกำหนดกฎเกณฑ์และการดำเนินการอื่นใดเพื่อให้ระบบการเงินของประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น เพิ่มศักยภาพในการสอดส่องดูแลความเสี่ยงเชิงระบบ

3. เสถียรภาพระบบชำระเงิน หมายถึงการกำหนดนโยบายด้านการชำระเงินเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและความมั่นคงของระบบการชำระเงิน โดยนอกจากจะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาระบบการชำระเงิน ระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน และบริหารจัดการระบบดังกล่าวให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังทำหน้าที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานของระบบการชำระเงินแก่สถาบันการเงิน เพื่อลดความเสี่ยงในด้านของการชำระเงิน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการทางการเงินอีกด้วย

4. ความเป็นเลิศทางด้านธนบัตร หมายถึงการบริหารจัดการให้ธนบัตรที่หมุนเวียนในระบบการเงินอยู่ในสภาพที่ดี และมีปริมาณที่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายของประชาชนและภาคธุรกิจ ซึ่งนอกจากการออกแบบและผลิตธนบัตรให้มีความสวยงามน่าใช้ มีขนาดที่เหมาะสม และเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทยแล้ว ทางธปท.ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาและนำเทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงใหม่ ๆ มาใช้กับธนบัตรอีกด้วย

5. คุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน หมายถึง การกำกับดูแลให้สถาบันการเงินให้บริการทางการเงินอย่างเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ให้ความรู้ ข้อมูล คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบริการทางการเงิน รวมไปถึงการรับเรื่องร้องเรียนและให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนในกรณีที่เกิดปัญหาจากการได้รับบริการทางการเงินที่ไม่เป็นธรรม หรือประสบภัยทางการเงินจากการขบวนการหลอกลวงต้มตุ๋น

นอกจากนี้ ธปท. ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของข้อมูลเศรษฐกิจการเงินอย่างครบถ้วน รอบด้าน ทันต่อเหตุการณ์ และเชื่อถือได้ เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบสถานการณ์ทางเศรษฐกิจตามความเป็นจริง โดยมีการรายงานข้อมูลและดัชนีชี้วัดที่สำคัญทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงอธิบายถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละส่วนพร้อมทั้งประเมินภาพแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะต่อไปอยู่เป็นประจำ

สำหรับการสื่อสารในเรื่องของนโยบายการเงิน ธปท. มีการเผยแพร่ผลการตัดสินนโยบายการเงินหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินแต่ละครั้งให้สาธารณชนได้รับรู้ โดยจะเปิดเผยถึงเหตุผลของการตัดสินใจคงหรือปรับเพิ่ม/ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ พร้อมทั้งให้มุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจของ ธปท. และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของ ธปท. ในประเด็นต่าง ๆ

นอกจากนี้ ธปท. ยังมีการเผยแพร่บทวิเคราะห์แนวโน้มทางเศรษฐกิจและใช้เป็นสมมติฐานในการจัดทำประมาณการเศรษฐกิจประกอบการตัดสินนโยบายการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถวางแผนและตัดสินใจทางธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจและแนวทางการดำเนินโยบายการเงินของ ธปท.

ปัจจุบัน ธปท. ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นธนาคารกลางของประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 70 ปี แล้ว ซึ่งตาม ประวัติของธปท.​ นั้นเริ่มมีความพยายามที่จะริเริ่มก่อตั้งธนาคารกลางอย่างจริงจังมาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 แล้ว แต่ด้วยปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ และความขาดแคลนผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านการเงินการธนาคาร จึงทำให้ต้องใช้เวลาอีกถึง 10 ปีจึงสามารถเปิดดำเนินการได้

นับตั้งแต่ ธปท. เริ่มเปิดดำเนินงานในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นมา ผู้ว่าการจากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 22 ท่าน โดยผู้ว่าการ ธปท. คนปัจจุบันได้แก่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ซึ่งเข้าดำรงตำแห่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 นอกจากผู้ว่าการซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของ ธปท. แล้ว ใน ทำเนียบผู้บริหาร ยังประกอบไปด้วยรองผู้ว่าการ 3 ท่าน และผู้ช่วยผู้ว่าการอีก 10 ท่าน ซึ่งทำหน้าที่บริหารส่วนงานต่าง ๆ ของ ธปท. สำหรับนโยบายและการดำเนินงานด้​านต่าง ๆ นั้นจะกำหนดโดย คณะกรรมการ ที่มีอยู่หลายคณะอย่างเช่น คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการ​นโยบายสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน เป็นต้น โดยมีคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่กำหนดนโยบายในภาพรวมของธปท.

เพื่อให้ประชาชนสามารถสืบค้นข้อมูลทางเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคารและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของธปท. ได้อย่างโปร่งใส ทาง ธปท. ได้เตรียมช่องทางต่าง ๆ ไว้รองรับทั้งทางเว็บไซต์ บริการห้องข้อมูลข่าวสาร​ บริการห้องสมุดและจดหมายเหตุ นอกจากนี้ยังมี บริการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ธปท.​ และกิจกรรม การเยี่ยมชมกิจการของ ธปท. รวมไปถึงการจัด กิจกรรมเพื่อสังคม อย่างเช่น ​โครงการให้ทุนการศึกษา​ โครงการให้ความรู้ทางการเงิน และโครงการเศรษฐทัศน์​ เป็นต้น​​

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
อารีย์ โทร 0-2356-7545
สุรภี โทร 0-2283-6811

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.