• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • ประชาชน
  • กลุ่มสถาบันการเงิน
  • ผู้ประกอบการ
  • นักวิชาการ
  • สื่อมวลชน
  • นักเรียน นักศึกษา

นโยบายการเงิน

หน้าที่สำคัญของธนาคารกลางทุกแห่งคือ การกำหนดนโยบายการเงิน โดยเป้าหมายสูงสุดของนโยบายการเงินคือการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อเอื้อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างเต็มศักยภาพและยั่งยืนในระยะยาว ในกรณีของไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting) มาตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งเป็นแนวทางที่ธนาคารกลางในหลายประเทศใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ทำหน้าที่ตัดสินนโยบายการเงิน ทั้งนี้ กนง. จะให้ความสำคัญกับการดูแลเสถียรภาพราคา ผ่านการประกาศเป้าหมายเงินเฟ้อที่ชัดเจน ควบคู่ไปกับการดูแลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน ซึ่งการที่ กนง. มีพันธกิจในการดูแลอัตราเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทำให้นโยบายการเงินมีความชัดเจน (clarity) โปร่งใส (transparency) และสามารถตรวจสอบได้ (accountability) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้นโยบายมีความน่าเชื่อถือ (credibility) และช่วยให้การดำเนินนโยบายการเงินมีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น

การกำหนดเป้าหมายของนโยบ​ายการเงิน

ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น การดำเนินนโยบายการเงินของ กนง. ให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับการดูแลการเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน โดย กนง. จะพิจารณารักษาความสมดุลของเป้าหมายด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม และมีความพร้อมที่จะใช้เครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีอยู่สนับสนุนให้ระดับราคามีเสถียรภาพและเป็นไปตามเป้าหมายและเศรษฐกิจของประเทศเติบโตเต็มศักยภาพและยั่งยืน โดยไม่ก่อให้เกิดความเปราะบางต่อเสถียรภาพระบบการเงิน

ในการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินประจำปี กนง. ต้องทำความตกลงร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนที่รัฐมนตรีจะนำเสนอเป้าหมายที่ตกลงร่วมกันต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยในปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และสำหรับปี 2565 โดยอัตราเงินเฟ้อในช่วงดังกล่าวเป็นระดับที่เหมาะสมกับบริบทของเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เนื่องจาก (1) แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าและในระยะปานกลางจะเคลื่อนไหวอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของเป้าหมาย สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ รวมถึงมีความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะปรับเพิ่มขึ้นจากราคาพลังงาน การชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานและปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics)  (2) สามารถยึดเหนี่ยวการคาดการณ์เงินเฟ้อของสาธารณชนได้ดี โดยในปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินที่กำหนด (well-anchored) และ (3) เป้าหมายแบบช่วงที่มีความกว้างร้อยละ 2 มีความยืดหยุ่นเพียงพอรองรับความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงช่วยเอื้อให้การดำเนินนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่ไปกับการดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพและการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน สามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง


การตัดสินน​โยบายการเงิน

การตัดสินนโยบายการเงินเป็นหน้าที่ของ กนง. ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. 3 ท่าน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและผ่านกระบวนการคัดเลือกตามที่กฎหมายกำหนดไว้อีก 4 ท่าน โดยจะประชุมกันปีละ 6 ครั้ง เพื่อลงมติตัดสินระดับของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ในปัจจุบันคืออัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคีระยะ 1 วัน) ที่เหมาะสมกับภาวะและแนวโน้มของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ รวมทั้งพิจารณาการดำเนินนโยบายด้านอื่นๆ ตามความจำเป็นเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของนโยบายการเงิน

การประชุม กนง. จะมีการกำหนดตารางการประชุมไว้ล่วงหน้าหนึ่งปี และในการประชุมแต่ละครั้ง กนง. จะประเมินภาวะเศรษฐกิจและการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงเสถียรภาพของระบบการเงิน เพื่อพิจารณากำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม คณะเลขานุการ กนง. จะทำหน้าที่รายงานข้อมูลล่าสุดทั้งด้านการเงิน การคลัง การต่างประเทศ การใช้จ่ายของภาคเอกชน และการผลิต ปัจจัยต่าง ๆ ที่จะกระทบราคาสินค้าและบริการ อาทิ ราคาน้ำมันโลกหรือราคาสินค้าเกษตรโลก ตลอดจนความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน เพื่อให้ กนง. พิจารณาประมาณการแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ และตัดสินนโยบายการเงินว่าจะปรับขึ้น/คง/ลด อัตราดอกเบี้ยนโยบาย  ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างปัจจุบันทันด่วน ก็อาจจะมีการจัดประชุม กนง. นัดพิเศษขึ้นก่อนที่จะถึงรอบการประชุมที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้

การสื่อสารผลการตัดสินนโยบาย​การเงิน​

หลังการประชุม กนง. แต่ละครั้ง จะมีการเผยแพร่ผลการประชุม กนง. เวลา 14.00 น. และ เลขาฯ กนง. จะแถลงผลการประชุม ในเวลา 14.30 น. ของวันประชุม พร้อมทั้งตอบคำถามสื่อมวลชนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินนโยบายและการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ

หลังจากการประชุม กนง. ประมาณ 2 สัปดาห์ จะมีการเผยแพร่รายงานการประชุม กนง. ฉบับย่อ บนเว็บไซต์ของ ธปท. โดยรายงานการประชุมจะอธิบายการประเมินภาพเศรษฐกิจและทัศนะของกรรมการที่มีผลต่อการตัดสินนโยบายการเงิน นอกจากนี้ ธปท. ยังจัดทำรายงานนโยบายการเงิน ทุกไตรมาสเพื่อชี้แจงรายละเอียดในการประเมินภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงิน และสื่อสารมติของ กนง. ต่อนักลงทุนและสาธารณชนพร้อมทั้งอธิบายเหตุผลของการตัดสินนโยบายต่าง ๆ อีกด้วย

เครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน

ในการดูแลระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เป็นไปตามที่ กนง. กำหนดนั้น ธปท. จะอาศัยเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน (Monetary Policy Instrument) 3 ประเภทหลักดังต่อไปนี้
1) การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirements) ซึ่งได้แก่ ข้อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายโดยเฉลี่ยรายปักษ์ เป็นสัดส่วนต่อค่าเฉลี่ยของฐานเงินฝากและหนี้สินในปักษ์ก่อนหน้า ซึ่งอัตราที่กำหนดในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 6
2) การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations หรือ OMOs) โดย ธปท. จะปรับสภาพคล่องโดยการเข้าทำธุรกรรมในตลาดเงิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับเงินฝากของสถาบันการเงินที่ ธปท. และมีผลต่อเนื่องถึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ซึ่ง OMOs ถือเป็นเครื่องมือหลักของ ธปท. ในการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และดูแล
สภาพคล่องในระบบการเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยปัจจุบัน การดำเนินการของ ธปท. ในตลาดจะทำโดยผ่านธุรกรรมหลัก 4 ประเภท ได้แก่
          (1) การทำธุรกรรมซื้อคืน/ขายคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี (Bilateral Repurchase Operations)
          (2) การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (Issuance of BOT Bonds)
          (3) การสวอปเงินตราต่างประเทศ (FX Swap)
          (4) การทำธุรกรรมซื้อขาด/ขายขาดหลักทรัพย์ (Outright purchase/sale of securities)

3) หน้าต่างตั้งรับ (Standing Facilities) คือ ช่องทางที่ ธปท. เปิดให้สถาบันการเงินสามารถกู้ยืมจาก ธปท. โดยมีพันธบัตรเป็นหลักประกันหรือฝากเงินไว้กับ ธปท. ระยะข้ามคืนได้ เพื่อปรับสภาพคล่องของสถาบันการเงินในช่วงสิ้นวัน
​
ช่องทางการส่งผ่านของนโยบายการเงิน​
การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลต่อเศรษฐกิจผ่าน 5 ช่องทางหลัก ประกอบด้วยช่องทางอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อ ราคาสินทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน และการคาดการณ์ของประชาชน โดยช่องทางต่าง ๆ จะส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผ่านการบริโภคและการลงทุน การส่งออกนำเข้า และส่งผลต่อเนื่องมายังระดับราคาสินค้าและบริการในที่สุด

• ช่องทางอัตราดอกเบี้ย เป็นช่องทางส่งผ่านที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน โดยหาก กนง. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินและของธนาคารพาณิชย์ก็จะปรับลดลงตาม ทั้งในส่วนของดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงทำให้ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจที่จะกู้ยืมเพื่อลงทุนมากขึ้น ขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำลงก็จะลดแรงจูงใจของประชาชนที่จะนำเงินมาฝากออมไว้กับธนาคาร และอาจนำเงินเหล่านั้นไปจับจ่ายใช้สอยแทน ดังนั้น ในภาพรวม อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงจึงช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ตรงกันข้าม หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับสูงขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อก็จะมีแนวโน้มชะลอลง

• ช่องทางสินเชื่อ เมื่อ กนง. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินและของธนาคารพาณิชย์ปรับลดลง ภาระหนี้สินของธุรกิจจะบรรเทาลงตาม ส่งผลให้ฐานะการเงินของธุรกิจเข้มแข็งขึ้น ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของธุรกิจก็จะปรับลดลงและจูงใจให้สถาบันการเงินยินดีปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจในปริมาณที่มากขึ้นและด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง ทำให้ธุรกิจสามารถขยายการลงทุนและสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงยังส่งผลดีต่อฐานะการเงินของธนาคารพาณิชย์ผ่านต้นทุนในการระดมเงินฝากที่ลดลง ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถระดมเงินฝากได้มากขึ้นและเพิ่มปริมาณการปล่อยกู้สู่ภาคเศรษฐกิจจริง จึงช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไป

• ช่องทางราคาสินทรัพย์ หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลง ประชาชนจะออมเงินในรูปเงินฝากน้อยลงและหันไปออมในรูปแบบอื่นที่ให้ผลตอบแทนมากขึ้น เช่น การลงทุนในหุ้น พันธบัตร และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้ที่เพิ่มขึ้นทำให้ราคาสินทรัพย์ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจและครัวเรือนที่ถือสินทรัพย์เหล่านี้เป็นกรรมสิทธิ์อยู่มีความมั่งคั่งมากขึ้น และนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการบริโภค นอกจากนี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับสูงขึ้นยังส่งผลให้โอกาสที่ธุรกิจและครัวเรือนจะได้รับการอนุมัติเงินกู้จากสถาบันการเงินมีมากขึ้น เนื่องจากสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ประกอบกับมูลค่าของบริษัทในตลาดหุ้นที่ปรับเพิ่มขึ้น ก็จะจูงใจให้บริษัทเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการหรือซื้อสินทรัพย์ใหม่มาทดแทนของเดิม ส่งผลให้มีการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น การขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นในที่สุด

• ช่องทางอัตราแลกเปลี่ยน หาก กนง. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินของไทยที่ต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของประเทศอื่นจะผลักดันให้นักลงทุนออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่อยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศมากขึ้น เงินทุนที่ไหลออกลดความต้องการเงินบาทและทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงตาม การอ่อนค่าของเงินบาททำให้สินค้านำเข้าแพงขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกของไทยจะราคาถูกลงในสายตาของต่างชาติ ส่งผลให้ประเทศส่งออกสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเร่งขึ้น  

• ช่องทางการคาดการณ์ของประชาชน
การคาดการณ์ของประชาชนที่มีต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้านั้นสามารถส่งผลต่อการตัดสินใจต่าง ๆ ในปัจจุบัน เช่น ในกรณีที่ กนง. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หากภาคธุรกิจและประชาชนมองว่าภาวะเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นในอนาคต ก็จะมีความมั่นใจที่จะบริโภคและลงทุนในปัจจุบันมากขึ้น เป็นต้น แต่นอกจากการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในระยะต่อไปแล้ว อีกช่องทางสำคัญคือผลของการคาดการณ์เงินเฟ้อที่มีต่อพฤติกรรมการตั้งราคาสินค้าและบริการตลอดจนค่าจ้าง ในช่วงที่แรงกดดันต่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจนอัตราเงินเฟ้อมีโอกาสอยู่สูงกว่าเป้าหมายในระยะข้างหน้า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อจะช่วยดูแลไม่ให้อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์สูงขึ้นตาม ซึ่งจะช่วยลดแรงจูงใจในการขึ้นราคาสินค้าและการต่อรองขอขึ้นค่าจ้าง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลของช่องทางนี้ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของนโยบายการเงินด้วย โดยหากประชาชนเห็นว่า กนง. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่เพียงพอที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ในกรอบเป้าหมาย เงินเฟ้อคาดการณ์อาจปรับสูงขึ้นได้ ประชาชนก็จะต่อรองขอขึ้นค่าจ้างรวมทั้งธุรกิจทยอยขึ้นราคาสินค้าไว้ก่อน ซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันด้านราคาในปัจจุบันเป็นวงจรต่อไปช่องทางทั้งห้าที่ได้กล่าวมาข้างต้นช่วยให้การดำเนินนโยบายการเงินส่งผ่านไปยังระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม กระบวนการส่งผ่านดังกล่าวอาจใช้เวลาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบทของเศรษฐกิจการเงิน ผลการวิจัยที่ผ่านมา พบว่ากระบวนการส่งผ่านที่สมบูรณ์ใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 6-8 ไตรมาส นอกจากนี้ ความสำคัญของแต่ละช่องทางการส่งผ่านก็อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ซึ่ง กนง. ได้ติดตามและประเมินประสิทธิผลของการส่งผ่านอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อเศรษฐกิจ


"ในการดำเนินนโยบาย แบงก์ชาติไม่สามารถดำเนินการทุกอย่างได้เพียงลำพัง แต่จำเป็นต้องประสานนโยบายในเชิงเศรษฐกิจมหภาคกับหน่วยงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของประเทศ" ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

​

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.