• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • ประชาชน
  • กลุ่มสถาบันการเงิน
  • ผู้ประกอบการ
  • นักวิชาการ
  • สื่อมวลชน
  • นักเรียน นักศึกษา
​

ระบบการชำระเงิน

​​
ระบบการชำระเงินเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมทางการค้าและการเงิน เพื่อให้การชำระเงิน หรือโอนเงินระหว่างกันทำได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ซึ่งจะช่วยหล่อลื่นกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ระบบการชำระเงินมีความเกี่ยวโยงประชาชนทุกคนทั้งในแง่ของการใช้ชีวิตประจำวัน และการประกอบธุรกิจของภาคธุรกิจ

ธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและรักษาเสถียรภาพระบบการชำระเงิน ได้พัฒนาและส่งเสริมระบบการชำระเงินของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับ

- การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงิน ด้วยการสนับสนุนให้มีผู้ใช้บริการมีช่องทางชำระเงินที่สะดวกรวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการและได้มาตรฐาน 

- การลดความเสี่ยงในระบบการชำระเงิน ซึ่งเป็นการดูแลให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

- การคุ้มครองและให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตัวเอง สามารถเลือกใช้บริการได้อย่างเหมาะสม และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้บริการในการใช้บริการชำระเงิน

ธปท. ได้พัฒนาและส่งเสริมระบบการชำระเงินของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีระบบการชำระเงินที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ โดยบริการการชำระเงินที่สำคัญได้แก่

- บริการโอนเงินผ่านบาทเนต​ ซึ่งเป็นบริการโอนเงินไปยังผู้รับที่มีบัญชีเงินฝากอยู่ต่างธนาคารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ ธปท. โดยผู้ใช้บริการสามารถโอนเงินแต่ละครั้งในมูลค่าสูงและทำให้ผู้รับสามารถใช้เงินได้ภายในวันเดียวกัน 

- บริการเรียกเก็บเงินตามเช็คระหว่างธนาคาร​ โดย ธปท. ร่วมกับธนาคารต่างๆ ได้นำระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (Imaged Cheque Clearing and Archive System: ICAS) ซึ่งเป็นการนำภาพเช็คมาใช้ในกระบวนการเรียกเก็บแทนการใช้ตัวเช็คจริง เพื่อลดระยะเวลาในการเรียกเก็บเงินตามเช็คทั่วประเทศให้เหลือเพียง 1 วันทำการ ทำให้ผู้นำฝากเช็คสามารถใช้เงินในบัญชีได้ภายในวันทำการถัดไปหลังจากผ่านการกระบวนการตรวจสอบภาพเช็คแล้ว นอกจากนี้ ยังเพิ่มศักยภาพของธนาคารในการขยายเวลารับฝากเช็คนานขึ้น และลดต้นทุนการขนส่งตัวเช็ค 

​นอกจากนี้ ธปท. ยังส่งเสริมการทำธุรกรรมชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) โดยส่งเสริมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทดแทนเงินสด เช่น บัตรเดบิต และ e-money ส่งเสริมการเข้าถึงบริการการชำระเงิน เช่น การใช้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile payment) รวมถึงส่งเสริมการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่สำคัญ เช่น การกำหนดมาตรฐานบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และมาตรการอื่นๆ ในการเพิ่มความปลอดภัยทาง ATM เป็นต้น 

ในการเตรียมความพร้อมระบบการชำระเงินของไทยรองรับการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน (AEC) ธปท. ได้ผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการชำระเงินกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและประชาชนสามารถทำธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ (Cross-Border Electronics Payments) เช่น  Asian Payment Network ซึ่งเป็นเครือข่ายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ภายในกลุ่มประเทศอาเซียน ปัจจุบันเริ่มให้บริการเบิกเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็มภายในภูมิภาคได้แล้ว และคาดว่าภายในอีก 2-3 ปีข้างหน้าจะสามารถใช้ชำระค่าสินค้าภายในภูมิภาคได้ด้วย​


ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการชำระเงินที่น่าสนใจสำหรับประชาชน​

- ค่าธรรมเนียมบริการชำระเงิน/โอนเงินของธนาคารต่างๆ​​

​- การกำกับดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์​

- รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับและบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ   

- แผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินปี 2555-2559​​​​

- คำถาม-คำตอบระบบการชำระเงิน 


Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.