 |  |
| |
ลักษณะธนบัตรด้านหน้า | เชิญพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย สายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์ สายสร้อยจุลจอมเกล้าเป็นภาพประธาน สำหรับภาพประกอบได้เชิญตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ภาพพระครุฑพ่าห์ ภาพดอกรวงผึ้ง และภาพเทวดาโปรยดอกพิกุล 10 ดอก
|
ลักษณะธนบัตรด้านหลัง | ภาพลำดับขั้นตอนสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ที่จัดวางร้อยเรียงภายในโครงตัวเลขไทย “๑๐” เพื่อแสดงถึงการเข้ารับตำแหน่งพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์ โดยเริ่มจาก
|
 | - ภาพพิธีเสกน้ำอภิเษกรวม ณ วัดสุทัศนเทพวราราม
- พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในระบรมมหาราชวัง
- ภาพพิธีเชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกรประจำรัชกาล จากวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ
- พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรงพระมุรธาภิเษก ณ มณฑปพระกระยาสนาน
- ทรงรับน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
- พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับน้ำอภิเษก ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์
- พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย สายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์ สายสร้อยจุลจอมเกล้า และทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ ทรงรับพระแสงขรรค์ชัยศรี ณ พระที่นั่งภัทรบิฐ
- พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์พระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการสถาปนาสมเด็จพระราชินี ให้ทรงดำรงราชฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ณ พระที่นั่งภัทรบิฐ
- พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
- เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพระบรมราชอิสริยยศ
- พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
- พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
- พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเลียบ พระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค
- พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออกสีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท พระบรมมหาราชวัง พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
- ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
|
ลักษณะต่อต้านการปลอมแปลง | |
-

| - ตัวเลข “1000” และข้อความ “หนึ่งพันบาท” พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษเมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงจะเปลี่ยนสลับจากสีทองเป็นสีเขียว
|
-

| - ลายน้ำอักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. ซึ่งมีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง
|
-

| - ลายดอกพิกุลพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ ภายในมีตัวเลข “10” เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงหรือพลิกซ้ายขวาจะเห็นรูปวงกลมเคลื่อนไหวไปมาได้รอบทิศทาง และเปลี่ยนสลับจากสีทองเป็นสีเขียว
|
-

| - ภาพพระครุฑพ่าห์บนด้านหน้าและด้านหลังพิมพ์ในตำแหน่งตรงกัน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่างจะเห็นซ้อนทับกันสนิท
|
-
 
| |
ขนาด | 127 มิลลิเมตร x 181 มิลลิเมตร มีรูปทรงเป็นแนวตั้ง |
|
|
 |  |
ลักษณะธนบัตรด้านหน้า | ลักษณะโดยรวมเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 100 บาท แบบ 17 (แบบปัจจุบัน) โดยได้ปรับโทนสีให้เป็นสีเหลืองซึ่งเป็นสีแห่งวันพระบรมราชสมภพ เปลี่ยนภาพพระตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งอยู่ตอนกลางของธนบัตร เป็นภาพตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เปลี่ยนลายดอกห้ากลีบที่เบื้องขวาของพระบรมสาทิสลักษณ์ เป็นลายดอกพิกุล
|
ลักษณะธนบัตรด้านหลัง | เชิญพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเป็นภาพประธาน เชิญพระปฐมบรมราชโองการไว้ที่เบื้องขวาของธนบัตร ภาพประกอบเป็นภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ภาพการเสด็จออกสีหบัญชร และภาพพสกนิกรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล
|
ลักษณะต่อต้านการปลอมแปลง | |
| - ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีฯ คำว่า "รัฐบาลไทย" ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งชนิดราคา จะรู้สึกสะดุด เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ
|
| - ลายน้ำพระบรมสาทิสลักษณ์และตัวเลขแจ้งชนิดราคา "100" ที่โปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง
|
 
| - ลายดอกพิกุล ด้านในมีเลข "100" เมื่อพลิกเอียงจะเปลี่ยนจากสีทองเป็นสีเขียว
|

| - แถบสีม่วงแดง ฝังในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง มีบางส่วนของแถบปรากฏให้เห็นเป็นระยะ เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลง จะเห็็นแถบแนวนอนเลื่อนขึ้นลงตามแนวตั้ง และเปลี่ยนสลับจากสีม่วงแดงเป็นสีเขียว ภายในแถบมีข้อความ "100 บาท 100 BAHT" ขนาดเล็ก อ่านได้ทั้งสองด้านเมื่อยกส่องกับแสงสว่าง
|
 
| - ลักษณะพิเศษภายใต้รังสีเหนือม่วง ได้แก่ ลวดลายบางส่วนบนธนบัตร หมวดอักษรและเลขหมายจะเรืองแสงเป็นสีส้ม เส้นใยเรืองแสงในเนื้อกระดาษจะเรืองแสงเป็นสีเหลือง สีแดง และสีน้ำเงิน
|
| |
| |
ขนาด | 72 x 150 มิลลิเมตร |
วันออกใช้ | วันที่ 12 ธันวาคม 2563 |
ประกาศกระทรวงการคลัง | คลิกอ่าน |