แคนาดา กับธนบัตรพอลิเมอร
แคนาดาเป็นอีกประเทศในทวีปอเมริกาที่ออกใช้ธนบัตรพอลิเมอร์หมุนเวียนมา 10 ปีแล้ว แม้จะออกใช้มาเป็น 10 ปี แต่เรียกได้ว่าโทนสีนี้ #ฟรุ้งฟริ้ง ที่สุดในใจแอดมินเลยครับ
ไปดูกันครับว่า แคนาดาประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากวงจรชีวิตธนบัตรพอลิเมอร์เทียบกับธนบัตรกระดาษไว้อย่างไรบ้าง #ธนบัตรทุกเรื่อง สรุปมาให้อ่านพร้อมกันครับ
ธนบัตรพอลิเมอร์ของแคนาดาแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นออกใช้มาตั้งแต่ปี 2011-2013

ด้วยสีสันสดใส #ฟรุ้งฟริ้ง ของธนบัตรทั้ง 5 ชนิดราคา ที่ได้แบบมาจากการเปิดกว้างให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบธนบัตร เพื่อให้ธนบัตรได้สะท้อนความเป็นแคนาดาในใจประชาชนให้มากที่สุด และใช้เวลาออกแบบอยู่นานหลายปีกว่าจะออกมาให้ได้ยลโฉมและใช้กันทั่วแคนาดา
จากนั้น 19 พ.ย. 2018 ธนบัตรพอลิเมอร์ชนิดราคา 10 CAD ได้ออกใช้ในแนวตั้ง โดยออกแบบให้มีขนาดและโทนสีม่วงเดียวกันกับธนบัตรพอลิเมอร์แนวนอนชนิดราคา 10 CAD แม้อาจไม่ใช่ประเทศแรกที่มีธนบัตรแนวตั้ง แต่ธนบัตรพอลิเมอร์แนวตั้งนี่ก็เก๋ไก๋โดนใจหลายคนแน่ ๆ ครับ
ทั้งนี้ ธนาคารกลางแคนาดามีนโยบายทยอยออกใช้ธนบัตรใหม่ในระยะเวลาห่างกันไม่กี่ปี เพื่อปรับปรุงลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
ปี 2011 เป็นที่ออกใช้ธนบัตรพอลิเมอร์ชนิดราคาแรก
ธนาคารกลางแคนาดาได้เผยแพร่การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากวงจรชีวิตธนบัตรพอลิเมอร์เทียบกับธนบัตรกระดาษ โดยมีสมมติฐานว่าธนบัตรกระดาษมีอายุการใช้งาน 3 ปี และพอลิเมอร์มีอายุการใช้งาน 7.5 ปี

การศึกษาครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ดังนี้
การผลิตวัตถุดิบ
การขนส่งวัตถุดิบจากหน่วยผลิตไปยังศูนย์ผลิตขั้นกลาง
การผลิตสินค้าขั้นกลาง (กระดาษ และพอลิเมอร์) รวมการทำบรรจุภัณฑ์
การพิมพ์ธนบัตร
การใช้น้ำไฟสำหรับการผลิต
บรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับธนบัตรสำเร็จรูป
การกำจัดของเสีย
การกระจาย (การขนส่ง การนับคัด และการจัดเก็บธนบัตร)
การใช้งาน การกระจาย (ผ่าน ATM)
การทำลายธนบัตร (การหั่นย่อย และฝังกลบ)
ผลการประเมินพบว่า ธนบัตรพอลิเมอร์ส่งผลเสียน้อยกว่า ธนบัตรกระดาษทั้งใน 3 ช่วงอายุการใช้งาน (ช่วงการผลิต ช่วงการกระจาย และช่วงการทำลาย)
จากการเทียบกันต่อ 1 หน่วยหน้าที่ (Functional unit) คือการจัดหาธนบัตรมูลค่า 2000 CAD ในเวลา 7.5 ปี ดังนี้
การผลิต: การใช้ธนบัตรพอลิเมอร์ทำให้ผลิตน้อยกว่าการใช้ธนบัตรกระดาษ 2.5 เท่า
การกระจาย: ธนบัตรพอลิเมอร์ใช้กระบวนการกระจายน้อยกว่าธนบัตรกระดาษ 2.5 เท่า เนื่องจากมีอายุการใช้งานนานกว่า และมีน้ำหนักเบากว่า
การทำลาย: ธนบัตรกระดาษมีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบจึงปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการฝังกลบ