• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > พันธบัตรและตราสารหนี้
  • > ความรู้เกี่ยวกับตราสารหนี้ภาครัฐ
พันธบัตรและตราสารหนี้
      • สรุปความเคลื่อนไหวตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรก
      • ตราสารหนี้คงค้าง จำหน่าย ไถ่ถอน
      • ข้อมูลตราสารหนี้รายรุ่น
      • อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร
      • ปฏิทินการจ่ายดอกเบี้ยและไถ่ถอนเงินต้น
      • งานทะเบียนประวัติ
      • งานคำร้อง
      • งานเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์
      • การฝากตราสารหนี้ไว้กับ TSD
      • การจ่ายดอกเบี้ยและจ่ายคืนเงินต้น
      • ค่าธรรมเนียม
      • แบบพิมพ์ด้านตราสารหนี้
พันธบัตรและตราสารหนี้
  • ความรู้เกี่ยวกับตราสารหนี้ภาครัฐ
    • ประเภทตราสารหนี้
    • หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ภาครัฐ
    • ผู้เกี่ยวข้องในตลาดตราสารหนี้และพันธบัตร
    • ความรู้พื้นฐานสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้
  • ข้อมูลพันธบัตรและตราสารหนี้
    • ข้อมูลตราสารหนี้
      • สรุปความเคลื่อนไหวตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรก
      • ตราสารหนี้คงค้าง จำหน่าย ไถ่ถอน
      • ข้อมูลตราสารหนี้รายรุ่น
      • อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร
      • ปฏิทินการจ่ายดอกเบี้ยและไถ่ถอนเงินต้น
    • ภาพตัวอย่างตราสารหนี้ในอดีตและปัจจุบัน
    • เอกสารเผยแพร่
    • เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
  • การประมูลตราสารหนี้
    • กำหนดการประมูล
    • ผลการประมูล
    • รายชื่อ MOF Outright PD
    • อัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยจากการประมูลจำแนกตามอายุ
  • Bond Switching
  • การออกจำหน่ายพันธบัตรให้แก่ประชาชน
    • พันธบัตรรัฐบาล
    • พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
    • พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
    • พันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ
    • อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์
    • หนังสือชี้ชวน
  • การทำธุรกรรมด้านพันธบัตรและตราสารหนี้
    • ธุรกรรมเกี่ยวกับตราสารหนี้ภาครัฐ
      • งานทะเบียนประวัติ
      • งานคำร้อง
      • งานเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์
      • การฝากตราสารหนี้ไว้กับ TSD
      • การจ่ายดอกเบี้ยและจ่ายคืนเงินต้น
      • ค่าธรรมเนียม
      • แบบพิมพ์ด้านตราสารหนี้
    • บริการข้อมูลพันธบัตรทางอินเทอร์เน็ต
    • คำถาม-คำตอบ
    • คู่มือสำหรับประชาชน
  • ระเบียบและประกาศเกี่ยวกับธุรกรรมตราสารหนี้
  • ติดต่อเจ้าหน้าที่
ความรู้พื้นฐานสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้

​​​​การลงทุนในตราสารหนี้ ผู้สนใจสามารถเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับตราสารหนี้ ดังนี้​

1. รหัสหลักทรัพย์สากลและสัญลักษณ์ของตราสารหนี้​/_catalogs/masterpage/img/expand.png

​​​​ในปัจจุบันตราสารหนี้ที่ออกแต่ละรุ่นจะมีรหัสที่ใช้กำกับตราสารหนี้ประจำรุ่นซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขรหัสตราสารหนี้  ที่ใช้ในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ 

​รหัสหลักทรัพย์สากล (International Securities Identification Number : ISIN)  ใช้ระบุรุ่นตราสารหนี้ในการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดแรก และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ที่ ธปท
สัญลักษณ์ของตราสารหนี้  (ThaiBMA Symbol)  ใช้ระบุรุ่นตราสารหนี้สำหรับกา​รซื้อขายในตลาดรองกับธนาคารพาณิชย์ หรือซื้อขายผ่านระบบการซื้อขายตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange : BEX)​

สำหรับการประมูลตราสารหนี้ในตลาดแรกที่ ธปท. ผ่านระบบการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding) จะมีรหัสตราสารหนี้ให้เลือกทั้ง 2 ชนิด เมื่อผู้ประมูลเลือกรหัสชนิดใดชนิดหนึ่ง ระบบจะแสดงรหัสอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นรุ่นที่ตรงกัน  


 
ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างรหัสหลักทรัพย์สากล กับสัญลักษณ์ของตราสารหนี้​​​​

 
​​​รายการ
​​
รหัสหลักทรัพย์สากล
(International Securities​​ 
Identification Number : ISIN)
สัญลักษณ์ของตราสารหนี้
​(Thai B​MA Symbol)​
1. ผู้กำหนด

บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ​​(Thailand Securities Depository Co.,Ltd. : TSD)​

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (Thai Bond Market Association : Thai BMA)​
2. ชื่อย่อประเทศ​ ​ต้องมี เพราะใช้เป็นสากล ไม่ต้องมี เพราะใช้ภายในประเทศ​
3. จำนวนหลัก​ ​12 หลัก 6-12 หลัก​
​​4. รหัสผู้ออกหลักทรัพย์​ ​กำหนดด้วยตัวเลข 4 หลัก เช่น 0623 หมายถึง​กระทรวงการคลัง  0655 หมายถึงธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น​
​​กำหนดด้วยตัวอักษร เข้าใจง่าย เช่น
BOT หรือ CB หมายถึงธนาคารแห่งประเทศไทย 
​EXAT หมายถึงการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
สำหรับกรณีของพันธบัตรรัฐบาลใช้ LB
ตั๋วเงินคลังใช้ TB เป็นต้น
​
​5. ปีที่ครบกำหนดไถ่ถอน (ปี ค.ศ.) กำหนดด้วยตัวเลขหรือตัวอักษรเพียง 1 หลัก เช่น ปี ค.ศ.1999 ใช้ตัวเลข 9, ปี ค.ศ.2000 ใช้ตัวอักษร A, ปี ค.ศ.2008 ใช้ตัวอักษร I เป็นต้น​ กำหนดด้วยตัวเลข 2 หลักสุดท้ายของปี ค.ศ. เช่น ปี ค.ศ.1999 ใช้ตัวเลข 99,
ปี ค.ศ.2000 ใช้ตัวเลข 00, ปี ค.ศ.2008 ​ใช้ตัวเลข 08 เป็นต้น​
​6. เดือนที่ครบกำหนดไถ่ถอน
ม.ค.-ก.ย. กำหนดด้วยตัวเลข 1-9​
​ต.ค., พ.ย., ธ.ค. กำหนดด้วย A, B, C
​
ม.ค.-ก.ย. กำหนดด้วยตัวเลข 1-9
ต.ค., พ.ย. ธ.ค. กำหนดด้วย O, N, D
​
​7. วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน​ ​​​​ ​ไม่กำหนด กำหนดวันที่ครบกำหนดไถ่ถอนสำหรับตราสารหนี้ภาครัฐที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี และตราสารหนี้ระยะสั้นที่ออกโดยภาคเอกชน​
8. Checking Digit​ ​หลักสุดท้าย จะเป็นตัวเลข Checking digit ซึ่งได้มาจากการคำนวณ ไม่มี check digit.​​​

ตัวอย่างการกำหนดรหัสหลักทรัพย์สากล  และสัญลักษณ์ของตราสารหนี้ ​

ตราสารหนี้​​​​​

ISIN Code ​ThaiBMA Symbol

​พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2547 ครั้งที่ 3
ครบกำหนด 14 พฤษภาคม 2551
​

TH062303I5​​​03​

LB085A​

พันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2549/3
ครบกำหนด 16 กุมภาพันธ์ 2557​

TH065203O203​

GHB142A​

​พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย งวดที่ 9/182/47
ครบกำหนด 2 กันยายน 2547

​TH0655E7E980

CB04902B​

ตั๋วเงินคลัง งวดที่ L36/90/47
ครบกำหนด 1 กันยายน 2547​

TH062307E982​

TB04901A​


ข้อมูลเพิ่มเติม

การกำหนดรหัสหลักทรัพย์สากล (International Securities Identification Number : ISIN) (เว็บไซต์ของ TSD)​​
การกำหนดสัญลักษณ์ของตราสารหนี้(ThaiBMA Symbols) (เว็บไซต์ ThaiBMA)
ตัวอย่างการกำหนดรหัสหลักทรัพย์สากลและสัญลักษณ์ของตราสารหนี้​​​​
​​​
2. ประโยชน์ของตราสารหนี้/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​​​ในด้านภาพรวมและผู้ออกตราสารหนี้​

ลดการพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ
เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเงิน เนื่องจากผู้ออกตราสารสามารถกำหนดต้นทุนและระยะเวลาได้แน่นอน
เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อดูแลสภาพคล่อง และอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อสภาวะเศรษฐกิจ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ

ในด้านผู้ถือกรรมสิทธิ์

ได้รับผลตอบแทนแน่นอนและสม่ำเสมอ
ใช้เป็นหลักประกันกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการเงิน ในเรื่องต่าง ๆ เช่น
การประกวดราคา​
การจ้างทำงานต่าง ๆ เช่น ก่อสร้างอาคาร ถนน วางท่อระบายน้ำ จัดทำของที่ระลึก
การเบิกเงินล่วงหน้าในการจ้างงาน
การศึกษา การทำงานและการใช้สวัสดิการเงินกู้
การชำระค่ากระแสไฟฟ้า
ดำรงสินทรัพย์ตาม พรบ. ธุรกิจสถาบันการเงิน หรือ พรบ. การประกันภัย
การประกันตัวผู้ต้องหาทางคดีความ
การขอทุเลาการชำระภาษี
การกู้เงินหรือเบิกเกินบัญชี
การขอออกหนังสือค้ำประกัน​​

ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้ ได้แก่

ดอกเบี้ย (Interest) ซึ่งผู้ออกตราสารต้องจ่ายให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามที่ระบุไว้ในสัญญา ปกติจะจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง
ส่วนลด (Discount) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาซื้อ
กำไรหรือขาดทุนจากการขายตราสารหนี้ก่อนครบกำหนดไถ่ถอน (Capital Gain or Capital Loss) ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างราคาขายกับราคาซื้อ

​

3. การประมาณราคาหรือมูลค่าของตราสารหนี้/_catalogs/masterpage/img/collapse.png


 

​         ราคาหรือมูลค่าของตราสารหนี้ คือ มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินที่จะได้รับจากดอกเบี้ยในงวดที่เหลืออยู่และต้นเงินที่จะได้รับเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน หรือเรียกว่าเป็นการคำนวณราคาหรือมูลค่าตามเวลา (Time Value of Money)  อาจคำนวณได้คร่าว ๆ ว่าควรจะสูงหรือต่ำกว่าราคาตรา โดยการเปรียบเทียบระหว่างอัตราดอกเบี้ยในตลาด (อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ) กับอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (coupon) ​

ตัวอย่างการประมาณราคาตราสารหนี้โดยเปรียบเทียบจากอัตราดอกเบี้ยในตลาด 

        สมมติว่า มีตราสารหนี้ฉบับหนึ่ง ราคาตรา 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (coupon) กำหนดไว้ 6% ​

​​​​กรณีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยในตลาดเท่ากับอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว 6%

ราคาของตราสารหนี้ฉบับนี้ควรเท่ากับราคาตราคือ 1,000 บาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในตลาด ณ ขณะนั้นเท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้หน้าตั๋ว  จึงไม่มีความแตกต่างของอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับจากการซื้อตราสารหนี้ฉบับนี้กับการลงทุนประเภทอื่น ๆ ในตลาดขณะนั้น ​

กรณีที่ 2 อัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงเหลือ 4%​

ราคาของตราสารหนี้ฉบับนี้ควรจะสูงกว่าราคาตรา เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในตลาด ณ ขณะนั้นต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้หน้าตั๋ว ผู้ซื้อจึงต้องยอมจ่ายสูงกว่าราคาตรา  เพื่อจะได้รับดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ 6% ซึ่งสูงกว่าการลงทุนประเภทอื่น ๆ ในตลาดขณะนั้นที่ให้ผลตอบแทนเพียง 4%

​​​​กรณีที่ 3 อัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 8%

ราคาของตราสารหนี้ฉบับนี้ควรจะต่ำกว่าราคาตรา  เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในตลาด ณ ขณะนั้นสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้หน้าตั๋ว  ผู้ขายจึงต้องยอมขายต่ำกว่าราคาตรา เพราะหากผู้ซื้อเลือกที่จะไปลงทุนประเภทอื่น ๆ ในตลาดขณะนั้นจะได้รับผลตอบแทนถึง 8% ซึ่งสูงกว่าดอกเบี้ยที่จะได้รับจากการถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ที่กำหนดไว้เพียง 6%

ความแตกต่างระหว่าง Dirty Price กับ Clean Price  

ราคาซื้อขายตราสารหนี้โดยปกติเป็นราคาที่รวมดอกเบี้ยค้างรับ (ดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลาที่ผู้ขายควรจะได้รับจากการถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้นั้น นับแต่วันจ่ายดอกเบี้ยครั้งล่าสุดจนถึงวันที่ทำการซื้อขาย)  เข้าไปด้วย เรียกว่า Dirty Price หรือ Gross Price ส่วนราคาที่ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับเรียกว่า Clean Price​

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อราคาตราสารหนี้  

นอกจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อราคาของตราสารหนี้  เช่น  อันดับความน่าเชื่อถือ หรือ Credit rating ของตราสารรุ่นนั้น ๆ หรือของผู้ออกตราสารหนี้  หากตราสารหนี้หรือผู้ออกตราสารหนี้ถูกปรับลดอันดับเครดิต (Downgrade) ก็จะส่งผลให้นักลงทุนเรียกร้องอัตราผลตอบแทนในการลงทุนในตราสารหนี้นั้น ๆ สูงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยง และจะส่งผลให้ราคาของตราสารหนี้นั้นลดลง   นอกจากนั้น ปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่น เช่น อัตราเงินเฟ้อ ก็ส่งผลถึงการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของตลาด ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องมาถึงราคาของตราสารหนี้เช่นเดียวกัน

การคำนวณราคาตราสารหนี้ ​​​

ผู้สนใจจะลงทุนซื้อหรือขายตราสารหนี้ภาครัฐ สามารถทดลองคำนวณราคาเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยใช้โปรแกรมการคำนวณราคาตราสารหนี้ที่จัดทำโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย : ThaiBMA หรือตลาดตราสารหนี้ : BEX

โปรแกรมคำนวณราคาตราสารหนี้ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย

เครื่องคำนวณตราสารหนี้ของตลาดตราสารหนี้​

 ​
4. เส้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้รัฐบาล/_catalogs/masterpage/img/collapse.png


          ​เส้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้รัฐบาล (Government Bond Yield Curve) คือ เส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทน (Yield) ของตราสารหนี้รัฐบาลในแต่ละช่วงอายุคงเหลือ (Time to Maturity : TTM)  โดยที่ Yield  คืออัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนคาดว่าจะได้รับจากการลงทุน มีหน่วยเป็นร้อยละต่อปี เช่น Yield ของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี เท่ากับร้อยละ 2.39 ต่อปี หมายถึงในแต่ละปี นักลงทุนที่ซื้อพันธบัตรดังกล่าวจะได้รับผลตอบแทนโดยเฉลี่ยร้อยละ 2.39 และ​Time to Maturity คือ อายุคงเหลือของตราสารหนี้โดยนับระยะเวลาตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงวันที่ตราสารหนี้ครบกำหนดไถ่ถอน เช่น พันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ อายุ 10 ปี ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2545  อายุคงเหลือของพันธบัตร ณ วันที่ 2 มกราคม 2552 คือ 3 ปี 8 เดือน  3

          ​​ภาพด้านล่างแสดงเส้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้รัฐบาลที่ใช้ในประเทศไทย ณ วันที่ 8 มกราคม 2552 ซึ่งสร้างโดยสมาคมตล​​ตราสารหนี้ไทย (Thai Bond Market Association  : ThaiBMA)

​​ 

          จากภาพดังกล่าว  หากนักลงทุนต้องการทราบว่าควรจะซื้อขาย ณ อัตราผลตอบแทนใดก็สามารถใช้เส้นอัตราผลตอบแทนมาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินใจได้ เช่น ต้องการทราบว่าพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุคงเหลือ 5 ปี และ 10 ปี ในวันที่ 8 มกราคม 2552 ควรมีผลตอบแทนเท่าใด สามารถดูได้จากเส้นอัตราผลตอบแทนนี้ ซึ่งก็คือร้อยละ 2.39 และ 2.98 ตามลำดับ 

          เส้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้รัฐบาลนี้ นอกจากจะใช้ประกอบการพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาลที่มีช่วงอายุคงเหลือต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังสามารถใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับตราสารหนี้อื่นที่ความเสี่ยงสูงกว่า โดยการบวกส่วนเพิ่ม (spread) เพื่อชดเชยความเสี่ยงที่สูงขึ้น   และยังใช้ในการคำนวณราคาเพื่อบันทึกมูลค่าทางบัญชีของตราสารหนี้ด้วย​​​


 
5. ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
​

​​​​​การลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐมีความเสี่ยง ดังนี​้

1. ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงราคาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด (Interest Rate Risk หรือ Price Risk หรือ Market Risk)

เนื่องจากราคาของตราสารหนี้จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด  ดังนั้น เมื่อนักลงทุนต้องการขายตราสารหนี้ก่อนครบกำหนด หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดในขณะที่จะขาย สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ที่ถืออยู่ นักลงทุนอาจจะต้องยอมขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตรา

2. ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระหนี้เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน (Credit Risk หรือ Default Risk)

เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้ผิดนัดชำระหรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงจากการถูกลดความน่าเชื่อถือในระหว่างที่ตราสารหนี้ยังไม่ครบกำหนดไถ่ถอน ตราสารหนี้ภาครัฐถือได้ว่าเป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงชนิดนี้ต่ำมาก ดังนั้นอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจึงมักต่ำกว่าตราสารหนี้ภาคเอกชน​

3. ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง (Liquidity Risk) 

คือ ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของการซื้อขายตราสารหนี้ ทำให้ไม่สามารถซื้อขายตราสารหนี้ในจังหวะเวลาและราคาที่เหมาะสมได้ หรือหากต้องการจะซื้อขายจริงอาจจะต้องมีการเพิ่มหรือลดราคา เพื่อดึงดูดให้มีการตกลงซื้อขายเกิดขึ้น แต่ถ้าผู้ลงทุนถือตราสารหนี้ไปจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอนก็จะไม่มีความเสี่ยงชนิดนี้เกิดขึ้น

4. ความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ (Inflation Risk)

คือ ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการลดลงของอำนาจซื้อ โดยปกติอัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่มีการกำหนดเอาไว้คงที่ ซึ่งผลของเงินเฟ้อจะลดค่าของเงินลงทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดและเงินต้นที่จะได้รับคืนในงวดสุดท้าย  


 

ข้อมูลเพิ่มเติมความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป

http://www.fpo.go.th/S-I/Source/ECO/ECO33.htm

 
6. ตลาดตราสารหนี้/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
​

​​​การซื้อขายตราสารหนี้สามารถทำได้ทั้งจากตลาดแรกและตลาดรอง ดังนี้

ตลาดแรก (Primary Market)

การซื้อขายในตลาดแรกจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ออกตราสารหนี้ทำการขายตราสารหนี้ให้แก่นักลงทุนในตลาดเป็นครั้งแรก แบ่งออกเป็น

 ​1. การจำหน่ายให้ผู้ซื้อรายย่อย

มีวัตถุประสงค์เพื่อการออมเงินผู้มีสิทธิซื้อประกอบด้วยบุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยและนิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร ในการจำหน่ายแต่ละครั้งผู้ออกตราสารหนี้จะเป็นผู้กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารออมสินเป็นตัวแทนจำหน่ายโดย ธปท. เป็นผู้กำกับดูแลการจัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินค่าดอกเบี้ยและต้นเงิน

2. การจำหน่ายให้แก่นักลงทุนสถาบันด้วยวิธีการประมูล​​

​ในปัจจุบัน ธปท. เปิดให้มีการประมูล 2 แบบ คือ

​2.1 การประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid) ​

หมายถึง การเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน และจำนวนเงินที่ต้องการ ซึ่งผู้มีสิทธิเข้าประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่ำสุดจะได้รับการจัดสรรวงเงินก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้มีสิทธิเข้าประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงินที่ออกจำหน่ายราคาที่ต้องชำระสำหรับการประมูลแบบนี้ คำนวณจากอัตราผลตอบแทนที่เสนอ ดังนั้นจำนวนเงินที่แต่ละรายต้องชำระจึงแตกต่างกัน

2.2 การประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-Competitive Bid) ​​

หมายถึง การเสนอซื้อในจำนวนเงินที่ต้องการ โดยอัตราผลตอบแทนที่ผู้มีสิทธิเข้าเสนอซื้อและได้รับจัดสรรทุกราย จะเท่ากับอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยในการประมูลแบบแข่งขันราคาที่จัดจำหน่ายในคราวเดียวกัน  ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิเข้าประมูลและผู้มีสิทธิเข้าเสนอซื้อ จะกำหนดไว้ในประกาศการจำหน่ายตราสารหนี้รุ่นนั้น ๆ ราคาที่ต้องชำระ คำนวณจากอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยที่ประมูลได้จากการประมูลแบบแข่งขันราคา  ซึ่ง ธปท. จะประกาศอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยที่ประมูลได้ พร้อมทั้งอัตราต่ำสุด-สูงสุด ทางเว็บไซต์ของ ธปท. และผ่านระบบ e-Bidding​

ตลาดรอง (Secondary Market)

ตลาดรอง หมายถึง ตลาดที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถทำการซื้อขายตราสารหนี้หลังจากที่ได้มีการซื้อขายในตลาดแรกเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายในตลาดรองคือนักลงทุนซึ่งถือครองตราสารหนี้อยู่ และต้องการขายตราสารหนี้ฉบับนั้นออกไป  การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสามารถทำได้ดังนี้

การซื้อขายกันเอง หรือเรียกว่า Over the Counter : OTC  ไม่มีสถานที่แน่นอน ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อเพื่อตกลงราคากันได้เอง หรืออาจติดต่อผ่านสถาบันการเงินโดยการเจรจาต่อรองทางโทรศัพท์  ราคาซื้อขายจึงขึ้นอยู่กับอำนาจการต่อรองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ในปัจจุบันสถาบันการเงินบางแห่งจะกำหนดราคาเสนอซื้อ (Bid) และราคาเสนอขาย (Offer) ผ่านเว็บไซต์ของสถาบันการเงินนั้น ๆ  สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะเสนอราคาซื้อขายแตกต่างกัน ดังนั้นผู้ซื้อและผู้ขายอาจจะต้องติดต่อสถาบันหลายแห่งเพื่อเปรียบเทียบราคา และอาจศึกษาเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) เพิ่มเติมเพื่อใช้เปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งเสนอ
​การซื้อขายผ่านระบบ Bond Electronic Exchange : BEX  ดำเนินการภายใต้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นักลงทุนที่ต้องการซื้อขายตราสารหนี้ผ่านระบบ  BEX  ต้องเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทสมาชิกหรือโบรกเกอร์ คลิกเพื่อเรียกดูรายชื่อบริษัทสมาชิกหรือโบรกเกอร์  วิธีการซื้อขายทำได้โดยนักลงทุนส่งคำสั่งซื้อหรือขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดตราสารหนี้ของบริษัทสมาชิกหรือโบรกเกอร์  แล้วเจ้าหน้าที่การตลาดฯ จะเป็นผู้ส่งคำสั่งซื้อหรือขายต่อเข้าไปยังระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ  และแจ้งยืนยันผลการซื้อขายให้นักลงทุนทราบ
​รายชื่อสถาบันการเงินที่ติดต่อซื้อขายตราสารหนี้กับนักลงทุนรายย่อย (เว็บไซต์สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย)​​​​

​

​ข้อมูลผู้ติดต่อ

ทีมจัดการพันธบัตร

โทร. 0-2283-6345​​

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.