• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > พันธบัตรและตราสารหนี้
  • > ความรู้เกี่ยวกับตราสารหนี้ภาครัฐ
พันธบัตรและตราสารหนี้
      • สรุปความเคลื่อนไหวตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรก
      • ตราสารหนี้คงค้าง จำหน่าย ไถ่ถอน
      • ข้อมูลตราสารหนี้รายรุ่น
      • อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร
      • ปฏิทินการจ่ายดอกเบี้ยและไถ่ถอนเงินต้น
      • งานทะเบียนประวัติ
      • งานคำร้อง
      • งานเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์
      • การฝากตราสารหนี้ไว้กับ TSD
      • การจ่ายดอกเบี้ยและจ่ายคืนเงินต้น
      • ค่าธรรมเนียม
      • แบบพิมพ์ด้านตราสารหนี้
พันธบัตรและตราสารหนี้
  • ความรู้เกี่ยวกับตราสารหนี้ภาครัฐ
    • ประเภทตราสารหนี้
    • หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ภาครัฐ
    • ผู้เกี่ยวข้องในตลาดตราสารหนี้และพันธบัตร
    • ความรู้พื้นฐานสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้
  • ข้อมูลพันธบัตรและตราสารหนี้
    • ข้อมูลตราสารหนี้
      • สรุปความเคลื่อนไหวตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรก
      • ตราสารหนี้คงค้าง จำหน่าย ไถ่ถอน
      • ข้อมูลตราสารหนี้รายรุ่น
      • อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร
      • ปฏิทินการจ่ายดอกเบี้ยและไถ่ถอนเงินต้น
    • ภาพตัวอย่างตราสารหนี้ในอดีตและปัจจุบัน
    • เอกสารเผยแพร่
    • เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
  • การประมูลตราสารหนี้
    • กำหนดการประมูล
    • ผลการประมูล
    • รายชื่อ MOF Outright PD
    • อัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยจากการประมูลจำแนกตามอายุ
  • Bond Switching
  • การออกจำหน่ายพันธบัตรให้แก่ประชาชน
    • พันธบัตรรัฐบาล
    • พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
    • พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
    • พันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ
    • อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์
    • หนังสือชี้ชวน
  • การทำธุรกรรมด้านพันธบัตรและตราสารหนี้
    • ธุรกรรมเกี่ยวกับตราสารหนี้ภาครัฐ
      • งานทะเบียนประวัติ
      • งานคำร้อง
      • งานเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์
      • การฝากตราสารหนี้ไว้กับ TSD
      • การจ่ายดอกเบี้ยและจ่ายคืนเงินต้น
      • ค่าธรรมเนียม
      • แบบพิมพ์ด้านตราสารหนี้
    • บริการข้อมูลพันธบัตรทางอินเทอร์เน็ต
    • คำถาม-คำตอบ
    • คู่มือสำหรับประชาชน
  • ระเบียบและประกาศเกี่ยวกับธุรกรรมตราสารหนี้
  • ติดต่อเจ้าหน้าที่
​​​ประเภทของตราสารหนี้​
  การแบ่งประเภทตราสารหนี้อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ดังนี้

     1. แบ่งตามอายุของตราสารหนี้ ได้แก่ ตราสารหนี้ที่มีอายุ​สั้น กลาง และยาว​

     2. แบ่งตามลักษณะของการจ่ายดอกเบี้ย เช่น ตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตราคงที่ ตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตราลอยตัว
        ตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยทบต้น หรือตราสารหนี้ที่ไม่จ่ายดอกเบี้ย เป็นต้น

     3. แบ่งตามลักษณะการออกใบตราสาร ได้แก่
        3.1 ชนิดมีใบตราสาร (Scrip)  เป็นตราสารหนี้ที่มีการออกใบตราสารซึ่งระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ให้ครอบครอง
        3.2 ชนิดไร้ใบตราสาร (Scripless)  เป็นตราสารหนี้ที่บันทึกกรรมสิทธิ์ไว้ในบัญชีของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์โดยไม่มีการ
             ออกใบตราสาร 

     4. แบ่งตามประเภทของผู้ออกตราสารหนี้ ได้แก่
        4.1 ตราสารหนี้ภาคเอกชน หมายถึง ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน ซึ่งอยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักงานคณะกรรมการ
            กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)  เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ เป็นต้น

     4.2 ตราสารหนี้ภาครัฐ หมายถึง ตราสารหนี้ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง หรือหน่วยงานภาครัฐ ออกจำหน่ายเพื่อระดมทุน
         ในประเทศจากประชาชนและสถาบันการเงิน

​​ตราสารหนี้ภาครัฐมีหลายประเภทดังนี้​​

1. ตราสารหนี้รัฐบาล/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

1.1 ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bills)

เป็นตราสารหนี้ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี  ออกจำหน่ายในตลาดแรกด้วยวิธีการประมูลในราคาที่ต่ำกว่าราคาตรา  เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับเงินเต็มจำนวนตามราคาตรา

ตั๋วเงินคลังเริ่มออกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2488 มีอายุ 4 เดือน วงเงิน 50 ล้านบาท และมีการออกต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2533 ต่อจากนั้นรัฐบาลหยุดการออกตั๋วเงินคลัง  และเริ่มออกใหม่อีกครั้งโดยประมูลเมื่อวันที่ 27 กันยายน  2542 และออกต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน ตั๋วเงินคลังส่วนใหญ่มีอายุ 28 วัน 91 วัน และ 182 วัน

1.2 ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (Debt Restructuring Bills)

เป็นตราสารหนี้ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ออกจำหน่ายในตลาดแรกด้วยวิธีการประมูลในราคาที่ต่ำกว่าราคาตรา  เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับเงินเต็มจำนวนตามราคาตรา

ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เป็นการออกตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 เริ่มมีการประมูลครั้งแรกในเดือนมีนาคม  2544 และออกต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปี 2550

ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ มีอายุที่กำหนดเป็นวัน ส่วนใหญ่มีอายุ 182 วัน ​

 1.3 พันธบัตรรัฐบาล (Government Bonds)

เป็นตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ

รัฐบาลไทยออกพันธบัตรเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2448  คือ “พันธบัตรเงินกู้ยุโรป ค.ศ. 1905” เป็นการกู้เงินจากต่างประเทศโดยออกพันธบัตรจำหน่ายในตลาดการเงินลอนดอนและปารีส จำนวน 1 ล้าน​ปอนด์ เพื่อใช้ก่อสร้างทางรถไฟ ช่วยเหลือเงินคงคลัง และทำนุบำรุงประเทศ   เป็นพันธบัตรชนิดจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือ อายุ 40 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5 ต่อปี

พันธบัตรรัฐบาลภายในประเทศ  เริ่มออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2476 ในสมัยรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา คือ “พันธบัตรเงินกู้ พ.ศ. 2476” โดยออกตามพระราชบัญญัติจัดการกู้เงินภายในประเทศ พ.ศ. 2476 วงเงิน 10 ล้านบาท กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดจำหน่ายเอง เป็นพันธบัตรชนิดชำระเงินให้แก่ผู้ถือ อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5 ต่อปี

พันธบัตรรัฐบาลที่ออกจำหน่ายในปัจจุบันมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้  พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ เป็นต้น

พันธบัตรรัฐบาลส่วนใหญ่จ่ายดอกเบี้ยเป็นงวด โดยปกติจะจ่ายปีละ 2 งวด เมื่อครบกำหนดอายุของพันธบัตร ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับคืนต้นเงินเท่ากับราคาตราพร้อมดอกเบี้ยงวดสุดท้าย​

 1.4 พันธบัตรออมทรัพย์ (Government Savings Bonds)

เป็นตราสารหนี้ที่ออกเพื่อขายให้แก่บุคคลธรรมดา และสถาบันที่ไม่มุ่งหวังกำไร เช่น มูลนิธิ สภากาชาดไทย และสมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  เพื่อเป็นทางเลือกในการออมและการลงทุน

พันธบัตรออมทรัพย์ส่วนใหญ่จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 งวด เมื่อครบกำหนดอายุของพันธบัตร ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับคืนต้นเงินเท่ากับราคาตราพร้อมดอกเบี้ยงวดสุดท้าย

2. พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (State-Owned Enterprise Bonds)/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

เป็นตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ออกโดยรัฐวิสาหกิจ (องค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจ โดยมีรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ถือหุ้นหรือร่วมกัน
ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเงินทุนไปใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ 

พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ มีทั้งชนิดที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย   กับชนิดที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย  ทั้งสองชนิดกระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการจัดหาสถาบันผู้จัดจำหน่ายและประกันการจำหน่ายโดยวิธีการประมูล  สถาบันที่เข้าร่วมประมูลในอัตราค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุดจะได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรให้แก่ผู้ลงทุนทุกประเภท 

พันธบัตรรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่จ่ายดอกเบี้ยเป็นงวด โดยปกติจะจ่ายปีละ 2 งวด เมื่อครบกำหนดอายุของพันธบัตร ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับคืนต้นเงินเท่ากับราคาตราพร้อมดอกเบี้ยงวดสุดท้าย

​3. พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย/_catalogs/masterpage/img/collapse.png


ธปท. เป็นผู้ออก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน  ดูแลสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ  และช่วยสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้เกิดการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน  ​

ธปท. ออกตราสารหนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 เป็นพันธบัตรอายุ 6 เดือน และออกพันธบัตรเรื่อยมาจนถึงปี 2540 (เว้นปี 2532 2535 2536 และ 2537) มีอายุหลากหลาย ได้แก่ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน1 ปี และ 2 ปี  ในปี 2540 เริ่มออกพันธบัตรที่กำหนดอายุเป็นวันด้วย ได้แก่ อายุ  35 วัน  42 วัน  และ 49 วัน  จากนั้นหยุดการออกพันธบัตรไประยะหนึ่ง และเริ่มออกอีกครั้งตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา​

​ปัจจุบันพันธบัตร ธปท. มีความหลากหลาย ดังนี้

​​​​​3.1 พันธบัตรอายุไม่เกิน 1 ปี 
มีอายุตั้งแต่ 3 วัน จนถึง 364 วัน  ไม่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ย จำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตรา  เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับเงินเต็มจำนวนตามราคาตรา
3.2 พันธบัตรอายุเกินกว่า 1 ปี ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ 
จ่ายดอกเบี้ยเป็นงวด งวดละเท่า ๆ กัน ตามอัตราดอกเบี้ย ที่ ธปท. กำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับคืนต้นเงินเท่ากับราคาตราพร้อมดอกเบี้ยงวดสุดท้าย
3.3 พันธบัตรอายุเกินกว่า 1 ปี ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว 
จ่ายดอกเบี้ยเป็นงวด ตามอัตราดอกเบี้ยที่ ธปท. กำหนดล่วงหน้าก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น โดยอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ (BIBOR) เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับคืนต้นเงินเท่ากับราคาตราพร้อมดอกเบี้ยงวดสุดท้าย   พันธบัตร ธปท. ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ออกจำหน่ายครั้งแรกในปี 2550 อายุ 3 ปี จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ในอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง BIBOR ระยะ 6 เดือน – 0.20 อัตราดอกเบี้ยงวดแรกกำหนดไว้เท่ากับร้อยละ 4.41094 ต่อปี​
3.4 พันธบัตรประเภทออมทรัพย์ 
จ่ายดอกเบี้ยเป็นงวด งวดละเท่า ๆ กัน ตามอัตราดอกเบี้ยที่ ธปท. กำหนด  เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับคืนต้นเงินเท่ากับราคาตราพร้อมดอกเบี้ยงวดสุดท้าย  พันธบัตร ธปท. ประเภทออมทรัพย์ เริ่มออกครั้งแรกปี 2550 ในปัจจุบันเป็นการออกพันธบัตร ตามระเบียบ ธปท. ที่ สกง.57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย <<ค​ลิกเพื่อดูข้อมูลระเบียบ>>  

​พันธบัตรธปท. อายุไม่เกิน 1 ปี อายุเกินกว่า 1 ปี และพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ออกจำหน่ายในตลาดแรกด้วยวิธีการประมูล ตามระเบียบ ธปท. ที่ สกง.2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย  และประกาศ ธปท. ที่ สกง.3/2550 เรื่อง วิธีการจำหน่าย ผู้มีสิทธิประมูล วิธีการประมูล การจัดสรร และการชำระราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย <<คลิกเพื่อดูข้อมูลระเบียบ/ประกาศ>> ​ ​
สำหรับพันธบัตร ธปท. ประเภทออมทรัพย์ จำหน่ายในตลาดแรกให้แก่ประชาชนทั่วไป และนิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร ผ่านธนาคารตัวแทนซึ่งจะกำหนดในแต่ละคราว ในการจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี​ 2550 จำหน่ายผ่านธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ.  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)  ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)  และธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด  
​

4. พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีความมั่นคง

กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินออกพันธบัตรครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 เพื่อระดมเงินมาให้กู้แก่สถาบันการเงินที่ประสบปัญหาสภาพคล่องในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินของประเทศ  ​

ปัจจุบันพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ประกอบด้วย​

4.1  พันธบัตรที่จำหน่ายเฉพาะเจาะจงให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย​
4.2  พันธบัตรออมทรัพย์ ออกจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป ผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย  ​


​สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ทีมจัดการพันธบัตร

โทร. 0-2283-6345​

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.