1. การประมูลตราสารหนี้ |
001 การประมูลตราสารหนี้คืออะไร |
การประมูลตราสารหนี้เป็นวิธีการจัดจำหน่ายตราสารหนี้วิธีการหนึ่ง การประมูลตราสารหนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. การประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid) หมายถึง การเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน และจำนวนเงินที่ต้องการ ซึ่งผู้มีสิทธิ์เข้าประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่ำสุดจะได้รับการจัดสรรวงเงินก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้มีสิทธิ์เข้าประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จนครบวงเงินที่ออกจำหน่าย 2. การประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-Competitive Bid) หมายถึง การเสนอซื้อในจำนวนเงินที่ต้องการ โดยอัตราผลตอบแทนที่ผู้มีสิทธิ์เข้าเสนอซื้อและได้รับจัดสรรทุกราย จะเท่ากับอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยในการประมูลแบบแข่งขันราคาที่จัดจำหน่ายในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์เข้าประมูลและผู้มีสิทธิ์เข้าเสนอซื้อ จะกำหนดไว้ในประกาศการจำหน่ายตราสารหนี้รุ่นนั้น ๆ
|
002 ตราสารหนี้ใดบ้างที่เปิดประมูลแบบแข่งขันราคาและไม่แข่งขันราคา |
ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
|
004 สถาบันประเภทใดบ้างที่มีสิทธิประมูลแบบแข่งขันราคา |
สถาบันที่มีสิทธิประมูลแบบแข่งขันราคาจะต้องเป็นสมาชิกระบบการประมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding) และเป็นสถาบันตามที่กำหนดในประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ ดังนี้ - รุ่นทั่วไป สถาบันตามที่กำหนดในประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ ได้แก่ 1) ธปท. (เฉพาะตราสารหนี้รัฐบาล) 2) ธนาคารพาณิชย์ 3) ธนาคารออมสิน 4) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 5) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 6) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 7) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 8) บริษัทเงินทุน 9) บริษัทหลักทรัพย์ 10) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 11) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 12) กองทุนรวม 13) สำนักงานประกันสังคม 14) บริษัทประกันภัย 15) บริษัทประกันชีวิต 16) สถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ ธปท. - รุ่นพิเศษ สถาบันตามที่กำหนดในประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ ได้แก่ สถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ค้าหลักสำหรับธุรกรรมประเภทซื้อขายขาดของกระทรวงการคลัง (MOF Outright PD)
|
005 สถาบันประเภทใดบ้างที่มีสิทธิประมูลแบบไม่แข่งขันราคา |
1) มูลนิธิ 2) สหกรณ์ 3) นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน 4) กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน
|
006 ประมูลแบบแข่งขันราคาได้ในเวลาใด |
สถาบันผู้ประมูลสามารถส่งคำสั่งประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding) ได้ตั้งแต่เวลา 8.00 น. ถึงเวลา 9.30 น. ของวันประมูล (วันที่ T)
|
007 ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาได้ในเวลาใด |
1) สถาบันผู้เข้าร่วมประมูลต้องแจ้งความประสงค์ผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ค้าหลักสำหรับธุรกรรมประเภทซื้อขายขาดของกระทรวงการคลัง (MOF Outright PD) 2) สถาบันการเงินที่เป็น MOF Outright PD ต้องส่งคำสั่งประมูลผ่านระบบการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding) ภายในเวลา 8.00 น. - 9.30 น. ของวันประมูล (วันที่ T)
|
009 MOF Outright PD คืออะไร |
|
010 การประมูลแบบแข่งขันราคามีเงื่อนไขอย่างไร |
1) อัตราผลตอบแทน - เสนอได้ไม่เกิน 3 อัตรา - จำนวนทศนิยม ไม่เกิน 4 ตำแหน่ง สำหรับตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และพันธบัตร ธปท. ประเภทอายุไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 3 ตำแหน่ง สำหรับพันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตร ธปท. ประเภทอายุเกิน 1 ปี 2) จำนวนเงิน - ไม่มีเศษของหลักล้าน - ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท : สำหรับตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และพันธบัตร ธปท. ประเภทอายุไม่เกิน 1 ปี - ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท : สำหรับพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตร ธปท. และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ประเภทอายุเกิน 1 ปี - รวมกันทุกอัตราไม่เกินวงเงินประกาศประมูล
|
011 การประมูลแบบไม่แข่งขันราคามีเงื่อนไขอย่างไร |
ยื่นประมูลผ่าน MOF Outright PD ได้หลายแห่งในคราวเดียวกัน แต่ต้องยื่นผ่านแต่ละแห่งไม่ต่ำกว่า 4 ล้านบาท และรวมกันทุกแห่งแล้วต้องไม่เกิน 20% ของวงเงินจำหน่าย
|
012 วิธีการจัดสรรการประมูลแบบแข่งขันราคาเป็นอย่างไร |
การจัดสรรวงเงินแบบแข่งขันราคาจะจัดสรรให้แก่สถาบันผู้เข้าร่วมประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่สถาบันที่เสนออัตราผลตอบแทนสูงขึ้นไปตามลำดับ ในกรณีที่อัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายรายและจำนวนที่เสนอประมูลของผู้ประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้ จะจัดสรรให้ผู้ประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรจะจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น
|
013 วิธีการจัดสรรการประมูลแบบไม่แข่งขันราคาเป็นอย่างไร |
- จัดสรรวงเงินไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น - กรณีมีผู้เสนอซื้อรวมกันไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินจำหน่าย จะจัดสรรตามจำนวนที่เสนอซื้อ และนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินจำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลแบบแข่งขันราคา - กรณีที่มีผู้เสนอซื้อรวมแล้วเกินร้อยละ 20 ของวงเงินจำหน่าย จะจัดสรรโดยพิจารณาจากผลรวมของจำนวนที่เสนอซื้อทุกราย และหากผู้เสนอซื้อรายใดเสนอซื้อจำนวนเกิน 100 ล้านบาท จะนำจำนวนที่เสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายนั้นมารวมคำนวณเพียง 100 ล้านบาท ซึ่งจะแบ่งวิธีการจัดสรรเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1. ในกรณีที่ผลรวมของวงเงินเสนอซื้อดังกล่าวเกินร้อยละ 20 ของวงเงินจำหน่าย จะจัดสรรตามสัดส่วนของจำนวนที่เสนอซื้อเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 100 ล้านบาท 2. ในกรณีที่ผลรวมของวงเงินเสนอซื้อดังกล่าวไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินจำหน่าย กระทรวงการคลังจะจัดสรรตามจำนวนที่เสนอซื้อเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 100 ล้านบาท และหากยังมีวงเงินเหลือ กระทรวงการคลังจะจัดสรรเพิ่มเติมให้แก่ผู้เสนอซื้อที่เสนอซื้อจำนวนเกิน 100 ล้านบาท ต่อราย ตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท กรณีที่มีเศษเหลือจากการจัดสรร จะจัดสรรให้กับผู้เสนอซื้อที่ MOF Outright PD ได้ยื่นประมูลก่อน - สถาบันใดที่เสนอซื้อผ่าน MOF Outright PD ทุกแห่งรวมกันมีจำนวนเงินเกินร้อยละ 20 ของวงเงินจำหน่ายจะถูกตัดสิทธิการประมูลในครั้งนั้น
|
014 ประกาศผลการประมูลซื้อตราสารหนี้เมื่อใด และประกาศผ่านช่องทางใดบ้าง |
ธปท. จะประกาศผลการประมูลซื้อตราสารหนี้ภายในวันที่ประมูล โดยผ่านช่องทางดังนี้
1) ระบบการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding)
|
015 ข้อมูลที่ประกาศไว้ในประกาศผลการประมูลตราสารหนี้ |
2) ISIN 3) วันชำระเงิน 4) วันครบกำหนด 5) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ (ต่อปี) 6) อัตราดอกเบี้ยงวดปัจจุบัน (กรณีพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว) 7) Index Ratio ณ วันชำระเงิน (กรณีพันธบัตร Inflation-linked bond) 8) วงเงินที่ประกาศประมูล 9) วงเงินประมูลแบบแข่งขันราคาที่ได้รับการจัดสรร 10) อัตราผลตอบแทนต่ำสุด-สูงสุดที่ประมูลได้ 11) อัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยที่ประมูลได้ 12) Bid Coverage Ratio 13) วงเงินประมูลแบบไม่แข่งขันราคาที่ได้รับการจัดสรร
|
016 Bid Coverage Ratio ที่แสดงในประกาศผลการประมูลตราสารหนี้ หมายถึงอะไร |
Bid Coverage Ratio หมายถึง วงเงินรวมที่เสนอประมูลแบบแข่งขันราคาต่อวงเงินจำหน่าย ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจลงทุนในตราสารหนี้ ตัวอย่างเช่น หาก Bid Coverage Ratio เท่ากับ 2.00 และวงเงินจำหน่ายเท่ากับ 1,000 ล้านบาท หมายความว่า มีผู้สนใจลงทุนในตราสารหนี้เป็นสองเท่าของวงเงินจำหน่าย ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินเท่ากับ 2,000 ล้านบาท
|
017 จะทราบได้อย่างไรว่าประมูลได้เท่าไร และต้องชำระเงินเป็นจำนวนเท่าใด |
1) กรณีประมูลแบบแข่งขันราคา สถาบันที่เข้าร่วมประมูลสามารถเรียกดูผลการประมูลของตนได้จากระบบประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding) หลังจากที่ประกาศผลการประมูลแล้ว กรณีที่ได้รับการจัดสรรวงเงิน ธปท. จะแจ้งให้ทราบถึงอัตราผลตอบแทนที่ประมูลได้ วงเงินที่ได้รับการจัดสรร ส่วนลด ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และจำนวนเงินที่ต้องชำระ 2) กรณีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา MOF Outright PD ที่เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา สามารถเรียกดูผลการประมูลได้จากระบบการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding) หลังจากที่ประกาศผลการประมูลแล้ว โดย ธปท. จะแจ้งให้ทราบถึง อัตราผลตอบแทนที่ได้รับ วงเงินที่ได้รับการจัดสรร ส่วนลด ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และจำนวนเงินที่ต้องชำระ
|
018 จะต้องชำระเงินค่าตราสารหนี้ที่ประมูลได้ในวันใด |
1) สถาบันผู้เข้าร่วมประมูลที่ได้รับการจัดสรรวงเงินแบบแข่งขันราคา ต้องชำระราคาค่าตราสารหนี้ให้ ธปท. ในวันถัดจากวันประมูล 2 วันทำการ (วันที่ T+2) ภายในเวลา 10.00 น 2) สถาบันผู้เข้าร่วมประมูลที่ได้รับการจัดสรรวงเงินแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องชำระราคาค่าตราสารหนี้แก่ MOF Outright PD ในวันถัดจากวันประมูล 2 วันทำการ (วันที่ T+2) ภายในเวลา 9.30 น. และ MOF Outright PD จะต้องรับผิดชอบในการชำระเงินค่าตราสารหนี้ที่ประมูลให้แก่ ธปท. ในวันถัดจากวันประมูล 2 วันทำการ (วันที่ T+2) ภายในเวลา 10.00 น.
|
019 ชำระเงินค่าตราสารหนี้ที่ประมูลได้โดยวิธีใดบ้าง |
สถาบันที่ได้รับการจัดสรรวงเงินจะต้องชำระเงินตามวิธีที่สถาบันระบุไว้ในระบบการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding) วิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้ 1) โอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ ธปท. 2) ยินยอมให้ ธปท. หักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ ธปท.
|
020 ระบบ e-Bidding คืออะไร |
ระบบ e-Bidding คือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่าง ธปท. สมาชิกผู้ใช้บริการระบบ e-Bidding และผู้ออกตราสารหนี้ เพื่อประโยชน์ในการประมูลตราสารหนี้ในตลาดแรก ระบบ e-Bidding เป็นบริการหนึ่งภายใต้ระบบการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (BOT Electronic Financial Services : BOT–EFS) ของ ธปท.
|
021 ระบบ e-Bidding ดีอย่างไร |
1) สมาชิกผู้ใช้บริการฯ มีเวลาในการวิเคราะห์ภาวะตลาดและตัดสินใจในการลงทุนมากขึ้น 2) สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกคำสั่งประมูลได้ตลอดเวลา จนกระทั่งก่อนเวลาปิดรับคำสั่งประมูล (Cut-off Time) 3) ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และบุคคลากร ในการเดินทางไปยื่นซองประมูล ที่ ธปท. ในช่วงเวลาอันเร่งด่วน 4) ทราบกำหนดการประมูล ข่าวสารการประมูล ประกาศผลการประมูล และผลการประมูลได้อย่างรวดเร็ว 5) สามารถเรียกดูข้อมูลคำเสนอและผลการประมูลย้อนหลังได้ 6) การประสานงานระหว่างสำนักงานส่วนหน้า (Front Office) และสำนักงานส่วนหลัง (Back Office) ของสมาชิกผู้ใช้บริการฯ สะดวกยิ่งขึ้นเนื่องจากสามารถกำหนดสิทธิได้เป็นรายฟังก์ชัน 7) มีความปลอดภัย
|
022 หากระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ ( BOT-EFS) และ/หรือระบบ e-Bidding ขัดข้องสมาชิกผู้ใช้บริการจะต้องทำอย่างไร |
ใช้ระบบสื่อสารอื่นตามที่ ธปท. จะแจ้งให้ทราบ
|
023 ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการระบบ e-Bidding เป็นอย่างไร |
ระบบ e-Bidding เปิดให้บริการโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ
|
024 การขอใช้บริการระบบ e-Bidding จะต้องทำอย่างไร |
ทำหนังสือถึง ธปท. เพื่อแจ้งความประสงค์ขอใช้บริการระบบ e-Bidding เมื่อ ธปท. พิจารณาตอบอนุมัติแล้ว จึงดำเนินการต่อไปดังนี้
1) แจ้งความประสงค์ขอใช้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (BOT Electronic Financial Services : BOT–EFS)ตามแบบที่ ธปท. กำหนด
(กรณีไม่เคยเป็นสมาชิก BOT-EFS)
2) ทำหนังสือแต่งตั้ง Certifier และ/หรือ Officer โดยดำเนินการในระบบ BOT-EFS (กรณีเป็นสมาชิก BOT-EFS แล้ว แต่ต้องการแต่งตั้งคนใหม่)
3) แจ้งความประสงค์ขอใช้บริการระบบ e-Bidding โดยทำหนังสือแสดงความตกลงขอใช้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามแบบที่ ธปท. กำหนด
4) ทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลกระทำการแทนผู้ใช้บริการระบบ e-Bidding ในการติดต่อกับธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบที่ ธปท. กำหนด
5) ทำหนังสือแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามในการแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิ ตามแบบที่ ธปท. กำหนด
6) แต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการ e-Bidding โดยดำเนินการในระบบ BOT-EFS
7) กำหนดสิทธิในการใช้บริการ e-Bidding โดยดำเนินการในระบบ BOT-EFS
8) ทำแบบแจ้งข้อมูลบัญชีตราสารหนี้และการรับมอบตราสารหนี้ที่ได้รับจัดสรรจากการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธิ อิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding)
9) ทำหนังสือมอบอำนาจการส่งหนังสือยืนยันรายการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์
|
025 เอกสารที่ต้องจัดส่งให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยในการขอใช้บริการระบบ e-Bidding มีอะไรบ้าง |
1) หนังสือแสดงความตกลงขอใช้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (BOT Electronic Financial Services : BOT–EFS) (กรณีไม่เคยเป็นสมาชิก EFS) 2) หนังสือแต่งตั้ง Certifier และ/หรือ Officer ที่พิมพ์จากระบบ BOT-EFS (กรณีเป็นสมาชิก BOT-EFS แล้ว แต่ต้องการแต่งตั้งคนใหม่) 3) หนังสือแสดงความตกลงขอใช้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) 4) หนังสือมอบอำนาจให้บุคคลกระทำการแทนผู้ใช้บริการระบบ e-Bidding ในการติดต่อกับธนาคารแห่งประเทศไทย 5) หนังสือแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามในการแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิ 6) หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการ e-Bidding ที่พิมพ์จากระบบ EFS 7) สำเนาเอกสารการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล 8) สำเนาหนังสือแสดงการได้รับยกเว้นภาษีอากร (ถ้ามี) 9) สำเนาเอกสารแสดงรายละเอียดบัญชีที่รับต้นเงินและ/หรือดอกเบี้ย (ถ้ามี) 10) แบบแจ้งข้อมูลบัญชีตราสารหนี้และการรับมอบตราสารหนี้ที่ได้รับจัดสรรจากการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธิอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding) 11) หนังสือมอบอำนาจการส่งหนังสือยืนยันรายการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์
|
026 จะตรวจสอบรายชื่อสมาชิกระบบ e-Bidding ที่มีสถานะการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (NCB) ได้อย่างไร |
1) สถาบันที่เป็น MOF Outright PD สามารถตรวจสอบจากระบบ e-Bidding เมนู Auction ฟังก์ชัน Non-Competitive Bid ที่ List Box Bidding Institution จะปรากฏรายชื่อสมาชิกฯ ที่มีสถานะเป็น NCB เรียงตามตัวอักษร 2) ตรวจสอบได้จากระบบ e-Bidding เมนู Member ฟังก์ชัน Member Report โดยเลือกตามประเภทสถาบัน เลือก Auction Group เป็น NCB
|
027 หลังจากสมัครเป็นสมาชิก e-Bidding แล้ว สามารถส่งคำสั่งประมูลได้เมื่อใด |
ธปท. จะแจ้งให้ทราบทางโทรศัพท์
|
028 สมาชิกผู้ใช้บริการระบบ e-Bidding ยังสามารถยื่นประมูลผ่านเคาน์เตอร์ได้หรือไม่ |
ไม่ได้ เว้นแต่ ธปท. จะแจ้งให้ทราบเมื่อเกิดเหตุขัดข้องเป็นกรณีไป
|
029 ส่งคำสั่งประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid) ได้ครั้งละกี่อัตรา |
สามารถส่งได้ครั้งละไม่เกิน 3 อัตรา หากมีการส่งอีกจะยึดถือคำสั่งประมูลล่าสุดเท่านั้น
|
030 ส่งคำสั่งประมูลผ่านระบบ e-Bidding แล้ว ยังต้องส่งใบประมูลซื้อตราสารหนี้อีกหรือไม่ |
ไม่ต้องส่งหนังสือยืนยันที่เป็นกระดาษ แต่ต้องยืนยันการประมูลทางระบบ e-Bidding ฟังก์ชัน Bid Confirmation ภายใน 10.00 น. ของวันทำการถัดไป
|
032 จะเรียกดูประกาศผลการประมูลได้อย่างไร |
เรียกดูได้จากระบบ e-Bidding เมนู Auction ฟังก์ชัน Auction Result Annonucement
|
033 เครื่องลูกข่ายที่จะใช้ระบบ e-Bidding จะต้องมี Software มาตรฐานขั้นต่ำอะไรบ้าง |
1. เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม
คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำหรับการใช้บริการ
BOT-EFS
- CPU ไม่ต่ำกว่า 1 Ghz
- มีขนาดหน่วยความจำหลัก (RAM) ไม่น้อยกว่า 2
GB
- มี Operating System เป็น Windows XP
Service Pack 3 หรือ Microsoft Window 7 Service Pack 1
- โปรแกรม Web Browser: Internet Explorer
version 8
- Screen Resolution: 1024 x 768 pixels
(หรือสูงกว่า)
- Encoding: UTF-8
- Font: Tahoma
- PDF Reader: Support PDF standard version
1.5
2. อุปกรณ์สำหรับจัดเก็บใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
ประเภท ยี่ห้อ/รุ่น
ที่ผ่านการทดสอบ
Token
- ยี่ห้อ SafeNet รุ่น Aladdin eToken PRO (72K Java)
- ยี่ห้อ Safenet iKey 2032
- ยี่ห้อ Safenet iKey 4000
3. เครือข่าย (Network) เพื่อการใช้บริการ BOT-EFS ธปท. กำหนดให้ผู้ใช้บริการฯ เปลี่ยนการใช้เครือข่ายจาก Frame Relay เป็น MPLS
โดยมีข้อพิจารณาในการเช่าบริการเครือข่าย ดังนี้ - การทำงานบน BOT-EFS ต้องใช้ขนาด Bandwidth 500 kbps ต่อ 1 BOT Webstation
ที่ใช้งานพร้อมๆ กัน ตัวอย่างเช่น หากมี Webstation 6 เครื่อง แต่ใช้งานพร้อมกัน 4
เครื่อง ต้องใช้ขนาด Bandwidth 4 x 500 kbps เท่ากับ 2 mbps
- ผู้ใช้บริการฯ ที่เป็นธนาคารสมาชิกระบบ ICAS (Imaged Cheque Clearing and
Archive System) ซึ่งใช้
เครือข่าย MPLS อยู่แล้ว ควรพิจารณาเพิ่มขนาด
Bandwidth ของเครือข่าย ไม่น้อยกว่า Bandwidth ที่ใช้งานกับบริการ EFS ปัจจุบัน
เพื่อรองรับการใช้งานบริการ BOT-EFS ในอนาคต
- ผู้ใช้บริการฯ ที่ปัจจุบันยังไม่มีเครือข่าย MPLS ควรเช่าบริการ MPLS
ไม่น้อยกว่า Bandwidth ที่ใช้งานกับบริการ EFS ในปัจจุบัน หรือขั้นต่ำ 512 kbps
โดยสามารถเช่าบริการได้จากผู้ให้บริการเครือข่าย ดังต่อไปนี้
- CAT
คุณมลฤดี ทรัพย์สาร โทร. 08-1352-0721 คุณศุภกัญญา
ฉิมะพันธ์ โทร 0-2104-3396, 0-2104-3398, 08-1352-0370
- TOT
คุณเบนจวัณย์ บุนนาค โทร. 0-2575-7114
- TRUE
คุณชไมพันธ์ วัชรนาวิน โทร. 08-9118-6455 คุณอวยพร
ขวัญแพ โทร. 08-4075-0886
- UIH
คุณภูมิพิพัฒน์ วานิชชา โทร. 0-2953-0818 ต่อ 28861, 08-0556-8999
|
034 ระบบเครือข่ายหรือระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้องไม่สามารถส่งคำสั่งประมูลได้ ต้องทำอย่างไร |
1) โทรศัพท์แจ้ง ธปท. : ทีมจัดการพันธบัตร 0-2356-7665 ก่อนเวลาปิดรับคำสั่งประมูล (เวลา 9.30 น.) โดยแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้
- สาเหตุที่ไม่สามารถส่งคำสั่งประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ทันเวลาปิดรับคำสั่งประมูลได้
- ข้อมูลคำสั่งประมูลที่ส่งได้สำเร็จแล้ว (ถ้ามี) ได้แก่ รุ่น อัตราผลตอบแทนที่เสนอ และจำนวนอัตราผลตอบแทนที่เสนอของแต่ละรุ่น
- ชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ และโทรสาร ที่ให้ ธปท. ติดต่อกลับ
- สอบถามชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ และโทรสาร ของเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะให้ติดต่อกลับไป
2) ธปท. พิจารณาอนุญาตและกำหนดเวลาในการส่งแบบเสนอประมูลซื้อตราสารหนี้ทางโทรสาร
3) ดำเนินการกรอกข้อมูลในแบบเสนอประมูลซื้อตราสารหนี้ให้ครบถ้วน ถูกต้อง และลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนาม (สามารถดาวน์โหลดแบบพิมพ์ได้ที่เว็บไซต์ธปท. หัวข้อแบบพิมพ์)
4) ส่งแบบเสนอประมูลซื้อตราสารหนี้ทางโทรสารไปยังทีมจัดการตราสารหนี้ หมายเลข 0-2283-6873, 0-2356-7069, 0-2356-7595 และโทรศัพท์ยืนยันการส่งแบบเสนอประมูลฯ กับเจ้าหน้าที่ของทีมจัดการพันธบัตร
5) ธปท. จะส่งหนังสือแจ้งผลรายสถาบันให้ทางโทรสาร ตามหมายเลขที่ได้ระบุไว้ในระบบประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding)
|
2. การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ |
001 ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ได้ที่ใดบ้าง |
การซื้อพันธบัตรออมทรัพย์สามารถซื้อได้จากตลาดแรกและตลาดรอง ดังนี้ 1) ตลาดแรก หมายถึง ตลาดที่ผู้ออกตราสารหนี้ขายตราสารหนี้ให้แก่นักลงทุนเป็นครั้งแรก สำหรับพันธบัตรออมทรัพย์ที่จำหน่ายให้แก่ผู้ซื้อรายย่อยนั้น กระทรวงการคลังจะเป็นผู้กำหนดธนาคารตัวแทนจำหน่ายในแต่ละครั้ง 2) ตลาดรอง หมายถึง ตลาดที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถทำการซื้อขายพันธบัตรหลังจากที่ได้มีการซื้อขายในตลาดแรกเรียบร้อยแล้ว โดยนักลงทุนสามารถติดต่อสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์
|
002 ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์แต่ยังไม่ได้รับใบพันธบัตร |
ธปท. จะให้ธนาคารที่เป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรมารับมอบใบพันธบัตรเพื่อแจกจ่ายต่อให้ผู้ซื้อโดยเร็ว ตามเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน หากผู้ซื้อยังไม่ได้รับใบพันธบัตร สามารถติดต่อธนาคารตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรรุ่นนั้น ๆ
|
003 เหตุใดธนาคารแห่งประเทศไทยจึงไม่จำหน่ายพันธบัตรเอง |
เนื่องจาก ธปท. มีสำนักงานทั่วประเทศเพียง 4 แห่ง การให้ธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีสาขาจำนวนมากเป็นตัวแทนจำหน่าย เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าไม่ต้องเดินทางไกล อีกทั้งยังเป็นการกระจายการจำหน่ายได้แพร่หลายทั่วประเทศ
|
004 เหตุใดชื่อและชื่อสกุลในใบพันธบัตรออมทรัพย์ที่ซื้อจากธนาคารตัวแทนจำหน่าย ไม่ถูกต้องตามที่กรอกในคำเสนอซื้อ |
ชื่อและชื่อสกุลที่ปรากฏในใบพันธบัตรออมทรัพย์เป็นไปตามข้อมูลที่ธนาคารตัวแทนจำหน่ายส่งให้ ธปท. ดังนั้นผู้ซื้อต้องตรวจสอบความถูกต้องหลังจากได้รับใบพันธบัตร หากชื่อและชื่อสกุลไม่ถูกต้อง ขอให้กรอกชื่อและชื่อสกุลที่ถูกต้องลงในเอกสารที่แนบมาพร้อมกับใบพันธบัตร และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ส่งไปยัง ธปท. หรือ ส่งผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย เพื่อให้ ธปท. ดำเนินการแก้ไขต่อไป
|
005 ต้องการทราบอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ |
1) ผู้ออกตราสารหนี้จะประกาศผลการกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์แต่ละรุ่นตามวันที่ระบุในหนังสือชี้ชวน 2) หลังจากผู้ออกตราสารหนี้ประกาศอัตราดอกเบี้ยแล้ว สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ ธปท.
|
006 ทำไมการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์จึงน่าสนใจ |
ผู้ออกพันธบัตรออมทรัพย์ ซึ่งได้แก่ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เป็นสถาบันที่น่าเชื่อถือและมีความมั่นคง นอกจากนั้นกระทรวงการคลังยังค้ำประกันพันธบัตรออมทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และมอบหมายให้ ธปท. เป็นนายทะเบียน การลงทุนในพันธบัตร ออมทรัพย์ จึงเป็นการลงทุนที่มั่นคง ไม่มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับต้นเงินคืน
|
007 ความเสี่ยงของการถือพันธบัตรออมทรัพย์มีอะไรบ้าง |
1) อาจเสียโอกาสที่จะลงทุนในทางเลือกอื่น ๆ ที่มีผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตรออมทรัพย์ เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอนาคตสูงขึ้นมากกว่า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ถือพันธบัตรออมทรัพย์จะได้รับดอกเบี้ยคงที่ตามอัตราที่กำหนดไว้บนหน้าพันธบัตรออมทรัพย์ตลอดอายุพันธบัตร 2) ในกรณีที่นำพันธบัตรออมทรัพย์ไปขายให้กับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับต้นเงินคืนไม่เท่ากับราคาตามที่ตราไว้ โดยราคาที่ได้อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ณ ขณะนั้นๆ
|
008 คณะบุคคลหรือกองทุนส่วนบุคคลสามารถซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ในตลาดแรกได้หรือไม่ |
- คณะบุคคลไม่สามารถซื้อได้เนื่องจากไม่มีสถานภาพเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะซื้อได้ - กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงินไม่สามารถซื้อได้
|
009 ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ในตลาดแรกจากธนาคารตัวแทนจำหน่าย จะได้อะไรเป็นหลักฐาน |
รับหลักฐานการรับคำเสนอขอซื้อพันธบัตรออมทรัพย์จากเจ้าหน้าที่ธนาคารตัวแทนจำหน่าย เช่น สำเนาคำเสนอขอซื้อพันธบัตร ท่อนล่างของสำเนาคำเสนอขอซื้อพันธบัตร ใบนำฝากเงินเข้าบัญชีเพื่อซื้อพันธบัตร เป็นต้น
|
010 เขียนหนังสือไม่เป็นซื้อได้หรือไม่ |
ได้ โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารตัวแทนจำหน่ายจะช่วยเขียนให้ ถ้าลงลายมือชื่อไม่เป็นจะให้พิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าเจ้าหน้าที่ธนาคารตัวแทนจำหน่าย และมีพยานรับรอง 2 คน โดยรับรองว่าเป็นลายพิมพ์นิ้วมือใด ของใคร
|
011 คู่สมรสจะต้องให้ความยินยอมหากอีกฝ่ายต้องการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์หรือไม่ |
|
3. งานทะเบียนประวัติ |
001 การเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ต้องทำอย่างไร |
กรณีติดต่อด้วยตนเอง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ พร้อมเอกสารแสดงตัว -บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ -นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม
กรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทนหรือส่งทางไปรษณีย์ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ส่งคำขอฯ หรือหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลง พร้อมสำเนาเอกสารแสดงตัวตามข้างต้นที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
เมื่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์และสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องแล้ว จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงและมีหนังสือแจ้งผู้ถือกรรมสิทธิ์ทราบ
|
002 การเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ หรือเปลี่ยนแปลงบัญชีรับดอกเบี้ย ที่แจ้งทางไปรษณีย์ จะทราบได้อย่างไรว่าได้มีการแก้ไขให้เรียบร้อยแล้ว |
เมื่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์และสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องแล้ว ธปท. จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงและมีหนังสือแจ้งผู้ถือกรรมสิทธิ์ทราบ
|
003 การเปลี่ยนแปลงบัญชีรับดอกเบี้ย ต้องทำอย่างไร |
กรณีติดต่อด้วยตนเอง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ พร้อมเอกสารแสดงตัว -บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ -นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม -สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวันที่ต้องการเปลี่ยน
กรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทนหรือส่งทางไปรษณีย์ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ส่งคำขอฯ หรือหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลง พร้อมสำเนาเอกสารแสดงตัวและสำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากตามข้างต้นที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
เมื่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์และสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องแล้ว จะดำเนินการเปลี่ยนบัญชีและมีหนังสือแจ้งผู้ถือกรรมสิทธิ์ทราบ
|
004 การเปลี่ยนแปลงบัญชีรับดอกเบี้ยให้เข้าบัญชีผู้ที่มิได้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ สามารถกระทำได้หรือไม่ |
สามารถทำได้ (แต่ชื่อผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ยังคงเป็นชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เช่นเดิม มิใช่ชื่อผู้รับดอกเบี้ย)
|
005 การขอแก้ไขชื่อในตราสารหนี้ ที่เกิดจากการซื้อจากธนาคารตัวแทนจำหน่าย ต้องทำอย่างไร |
กรณีติดต่อด้วยตนเอง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ หรือหนังสือแจ้งแก้ไข แนบตราสารหนี้ฉบับที่พิมพ์ผิด พร้อมเอกสารแสดงตัว -บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ -นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม สามารถรอรับใบตราสารหนี้ที่แก้ไขแล้วได้
กรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ส่งคำขอฯ หรือทำหนังสือแจ้งแก้ไข แนบตราสารหนี้ฉบับที่พิมพ์ผิด พร้อมสำเนาเอกสารแสดงตัวตามข้างต้น ที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องร่วมกับผู้มีอำนาจของธนาคารตัวแทน
เมื่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์และสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้อง จะดำเนินการแก้ไขชื่อและส่งตราสารหนี้คืนทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ประมาณ 10 วันทำการ
|
006 การเปลี่ยนชื่อ/ชื่อสกุล หรือเปลี่ยนสถานะ หรือเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ กรณีบุคคลธรรมดา ต้องทำอย่างไร |
กรณีติดต่อด้วยตนเอง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ แนบตราสารหนี้ หลักฐานของทางราชการที่เปลี่ยนชื่อ/ชื่อสกุล/สถานะ พร้อมเอกสารแสดงตัว บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวันที่เปลี่ยนชื่อแล้ว พร้อมตัวอย่างลายมือชื่อใหม่ สามารถรอรับใบตราสารหนี้ที่แก้ไขแล้วได้
กรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ส่งคำขอฯ หรือทำหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลง ที่ลงนามทั้งชื่อเก่าและชื่อใหม่ แนบตราสารหนี้ พร้อมสำเนาเอกสารแสดงตัวตามข้างต้นที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องร่วมกับผู้มีอำนาจของธนาคารตัวแทน และตัวอย่างลายมือชื่อใหม่ซึ่งรับรองโดยผู้มีอำนาจของธนาคารตัวแทน
เมื่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ และสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องแล้ว จะดำเนินการเปลี่ยนแปลง และส่งคืนใบตราสารหนี้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ประมาณ 10 วันทำการ
ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ
|
007 การเปลี่ยนผู้ปกครองของผู้เยาว์ จากบิดาเป็นมารดา สามารถกระทำได้หรือไม่ ต้องดำเนินการอย่างไร |
กรณีติดต่อด้วยตนเอง บิดาและมารดายื่นคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ แนบตราสารหนี้ พร้อมเอกสารแสดงตัว บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของบิดา/มารดา/ผู้เยาว์ และ ทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรของผู้เยาว์ ให้มารดาซึ่งเป็นผู้ปกครองคนใหม่ทำตัวอย่างลายมือชื่อ สามารถรอรับใบตราสารได้
กรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน บิดาและมารดาส่งคำขอฯ แนบตราสารหนี้ พร้อมสำเนาเอกสารแสดงตัวตามข้างต้นที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องร่วมกับผู้มีอำนาจของธนาคารตัวแทน และตัวอย่างลายมือชื่อมารดาซึ่งรับรองโดยผู้มีอำนาจของธนาคารตัวแทน เมื่อตรวจสอบลายมือชื่อและสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องแล้ว จะดำเนินการเปลี่ยนชื่อผู้ปกครองและส่งตราสารหนี้คืนทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ประมาณ 10 วันทำการ
ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ
|
008 พันธบัตรซื้อในนามของผู้เยาว์ หากผู้ปกครองหรือผู้จัดการถึงแก่กรรม ใครจะทำหน้าที่แทน |
1) กรณีที่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรม บิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่จะเป็นผู้ปกครองแทน 2) กรณีที่ทั้งบิดาและมารดาถึงแก่กรรม ต้องมีคำสั่งศาลตั้งผู้ปกครอง 3) กรณีที่ผู้จัดการถึงแก่กรรม บิดาและมารดาจะเป็นผู้ปกครองแทน
|
009การแจ้งบรรลุนิติภาวะ ต้องทำอย่างไร |
กรณีติดต่อด้วยตนเอง 1) ผู้เยาว์ที่บรรลุนิติภาวะยื่นคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ หรือหนังสือแจ้งบรรลุนิติภาวะ แนบตราสารหนี้ เอกสารแสดงตัวบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือทะเบียนบ้านของผู้เยาว์ พร้อมทำตัวอย่างลายมือชื่อสามารถรอรับใบตราสารได้
กรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน ส่งคำขอฯ หรือทำหนังสือแจ้งบรรลุนิติภาวะ แนบตราสารหนี้ พร้อมสำเนาเอกสารแสดงตัวตามข้างต้นที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องร่วมกับผู้มีอำนาจของธนาคารตัวแทน และตัวอย่างลายมือชื่อซึ่งรับรองโดยผู้มีอำนาจของธนาคารตัวแทน เมื่อตรวจสอบลายมือชื่อและสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องแล้ว จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงและส่งตราสารหนี้คืนทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ประมาณ 10 วันทำการ
2) ผู้ปกครอง/ผู้จัดการ แจ้งบรรลุนิติภาวะแทนผู้เยาว์ได้ในกรณีผู้เยาว์เคยให้ตัวอย่างลายมือชื่อกับ ธปท. แล้ว โดยยื่นคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ หรือทำหนังสือแจ้งบรรลุนิติภาวะ แนบตราสารหนี้ พร้อมเอกสารแสดงตัวบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ของผู้เยาว์/ผู้ปกครอง/ผู้จัดการ และทะเบียนบ้านของผู้เยาว์ กรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน แนบตราสารหนี้ พร้อมสำเนาเอกสารแสดงตัวตามข้างต้นที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องร่วมกับผู้มีอำนาจของธนาคารตัวแทน เมื่อตรวจสอบลายมือชื่อและสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องแล้ว จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงและส่งตราสารหนี้คืนทางไปรษณียลงทะเบียน ประมาณ 10 วันทำการ
ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ
|
010 กรณีที่ผู้เยาว์อยู่ต่างประเทศ ผู้ปกครอง/ผู้จัดการ สามารถแจ้งบรรลุนิติภาวะแทนผู้เยาว์ได้หรือไม่ อย่างไร |
ผู้ปกครอง/ผู้จัดการแจ้งบรรลุนิติภาวะแทนผู้เยาว์ที่อยู่ต่างประเทศได้ โดยยื่นคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ หรือหนังสือแจ้งบรรลุนิติภาวะ แนบตราสารหนี้ เอกสารแสดงตัวบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้เยาว์/ ผู้ปกครอง/ผู้จัดการ และทะเบียนบ้านของผู้เยาว์ พร้อมตัวอย่างลายมือชื่อของผู้เยาว์ซึ่งเจ้าหน้าที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทย และกระทรวงการต่างประเทศ รับรอง (กรณีผู้เยาว์ไม่เคยให้ตัวอย่างลายมือชื่อที่ ธปท.)
ติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. หรือติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ
|
011 ตราสารหนี้ซึ่งระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม โดยใช้คำเชื่อม "และ" กับ "และ/หรือ" เช่น "นาย ก และ นาง ข" กับ "นาย ก และ/หรือ นาง ข" แตกต่างกันอย่างไร |
1) ตราสารหนี้ที่ระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม โดยใช้คำเชื่อม "และ" เมื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับพันธบัตรต้องลงลายมือชื่อร่วมกันทุกกรณี 2) ตราสารหนี้ที่ระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม โดยใช้คำเชื่อม"และ/หรือ" เมื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับพันธบัตรต้องลงลายมือชื่อร่วมกัน ยกเว้น กรณีพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน คนใดคนหนึ่งสามารถลงนามไถ่ถอนได้
|
4. งานคำร้อง |
001 พันธบัตรหาย ต้องการให้ออกพันธบัตรฉบับใหม่ ต้องทำอย่างไร |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำร้อง หรือหนังสือขอออกตราสารหนี้ฉบับใหม่แทนฉบับที่สูญหาย แนบรายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหาย (ใบแจ้งความ) มีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ระบุรายละเอียดตราสารหนี้ เช่น รุ่นตราสารหนี้ เลขที่ตราสารหนี้ ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ และราคาที่ตราไว้ พร้อมเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) กรณีติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. สามารถรอรับใบตราสารฉบับใหม่ได้ หรือกรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน เมื่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์และสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องและ จะส่งใบตราสารให้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ประมาณ 10 วัน ทำการ
ค่าธรรมเนียม บุคคลธรรมดาฉบับละ 20 บาท นิติบุคคลฉบับละ 100 บาท
|
002 พันธบัตรชำรุด ต้องการให้ออกพันธบัตรฉบับใหม่ ต้องทำอย่างไร |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำร้อง หรือหนังสือขอออกตราสารหนี้ฉบับใหม่แทนฉบับที่ชำรุด แนบตราสารหนี้ฉบับที่ชำรุดและเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) กรณีติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. สามารถรอรับใบตราสารฉบับใหม่ได้ หรือกรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทนเมื่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์และสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องแล้ว จะส่งตราสารหนี้ให้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ประมาณ 10 วัน ทำการ
ค่าธรรมเนียม บุคคลธรรมดาฉบับละ 20 บาท นิติบุคคลฉบับละ 100 บาท
|
003 นำพันธบัตรไปอัดพลาสติกแล้วต้องการขายก่อนครบกำหนด หรือถือจนครบกำหนดไถ่ถอนจะถือว่าพันธบัตรนี้ชำรุดหรือไม่ และ ถ้าถือว่าชำรุดต้องทำอย่างไร |
พันธบัตรถ้านำไปอัดพลาสติก ถ้าต้องการขาย/โอน จะถือว่าเป็นพันธบัตรชำรุด ต้องขอออกพันธบัตรฉบับใหม่
|
004 การแบ่งแยกตราสารหนี้ต้องทำอย่างไร |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำร้องหรือหนังสือขอแบ่งแยกตราสารหนี้ ระบุจำนวนเงินและจำนวนฉบับที่ต้องการแบ่งแยก (จำนวนเงินของแต่ละฉบับต้องเป็นจำนวนเต็มที่คำนวณจากมูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วยของตราสารหนี้ตามที่กำหนดในแต่ละรุ่น) แนบตราสารหนี้ และเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) กรณีติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. สามารถรอรับใบตราสารได้ หรือกรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทนเมื่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์และสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องแล้ว จะส่งตราสารหนี้ให้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ประมาณ 10 วัน ทำการ
ค่าธรรมเนียม บุคคลธรรมดา 20 บาท นิติบุคคล 100 บาท ต่อตราสารหนี้ที่แบ่ง 1 ฉบับ
|
005 การยุบรวมตราสารหนี้ต้องทำอย่างไร |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่มีพันธบัตรรุ่นเดียวกันหลายฉบับและต้องการยุบรวมให้เป็นตราสารหนี้ฉบับเดียว สามารถกระทำได้โดย ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำร้องหรือหนังสือขอยุบรวมตราสารหนี้ แนบตราสารหนี้ และเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) กรณีติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. สามารถรอรับใบตราสารได้ หรือกรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทนเมื่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์และสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องแล้ว จะส่งตราสารหนี้ให้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ประมาณ 10 วันทำการ
ค่าธรรมเนียม บุคคลธรรมดา 20 บาท นิติบุคคล 100 บาท ต่อตราสารหนี้เดิม 1 ฉบับ
|
006 การขอออกหนังสือรับรองการถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ ทำอย่างไร ต้องเสียค่าธรรมเนียมเท่าใร |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องขอออกหนังสือรับรอง โดยระบุ ก) ความต้องการ หนังสือรับรองเป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ ข) กรณีหนังสือรับรองภาษาอังกฤษ ให้ระบุชื่อและชื่อสกุลเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมสกุลเงิน ค) จำนวนฉบับของหนังสือรับรองที่ต้องการ ง) วัตถุประสงค์หรือความต้องการในการขอหนังสือรับรอง
พร้อมแนบเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) ติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. หรือส่งเอกสารทางไปรษณีย์
ค่าธรรมเนียมต่อหนังสือรับรอง 1 ฉบับ บุคคลธรรมดา 20 บาท นิติบุคคล 100 บาท
|
007 การรับรองสถานะของพันธบัตรเพื่อนำไปวางเป็นหลักประกันสัญญากับส่วนราชการ ต้องทำอย่างไร |
ธปท. ยกเลิกการรับรองสถานะของพันธบัตรโดยการประทับตรารับรองสถานะ "พันธบัตร ณ วันที่......... ไม่มีภาระผูกพัน" แล้ว ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องยื่นคำร้องเหมือนการขอออกหนังสือรับรองการถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ ตามคำถามคำตอบข้อ 6
|
008 การตรวจสอบกรรมสิทธิ์ต้องทำอย่างไร |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ผู้สอบบัญชี หน่วยงานราชการ สามารถขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ โดยทำหนังสือถึง ธปท.
|
009 ต้องการขายตราสารหนี้กับสถาบันการเงิน แต่ตราสารหนี้จดทะเบียนที่สำนักงานภาค จำเป็นต้องโอนย้ายทะเบียนมาที่สำนักงานใหญ่หรือไม่ และต้องทำอย่างไร |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถติดต่อสถาบันการเงินที่รับซื้อโดยตรง พร้อมใบตราสารและเอกสารแสดงตัว
|
010 การอายัดมีกรณีใดบ้าง และมีขั้นตอนการอายัดตราสารหนี้อย่างไร |
การแจ้งอายัดและถอนอายัดจะทำได้เฉพาะหน่วยงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น เช่น กรมบังคับคดี ป.ป.ช. ปปง. ฯ ซึ่งหน่วยงานจะส่งหนังสือแจ้งอายัดหรือส่งข้อมูลผ่านระบบงาน ให้ ธปท. ดำเนินการ
|
011 การยึดตราสารหนี้ที่อายัดไว้ หรือการยึดตราสารหนี้ที่วางเป็นหลักประกัน ต้องทำอย่างไร |
1) กรณีการวางหลักประกัน หากผู้ให้หลักประกันไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้รับหลักประกันสามารถบังคับหลักประกันได้ โดย - กรณีพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน สามารถยื่นไถ่ถอนให้โอนเงินต้นเข้าบัญชีผู้รับหลักประกัน - กรณีพันธบัตรยังไม่ครบกำหนดไถ่ถอน สามารถนำไปขายทอดตลาด หรือขายในตลาดตราสารหนี้ทั่วไปได้
2) การยึดตราสารหนี้จากการอายัดจะทำได้เฉพาะหน่วยงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น เช่น กรมบังคับคดี ป.ป.ช. ปปง. ฯ
|
012 การจัดการมรดกเกี่ยวกับตราสารหนี้ ต้องทำอย่างไร (กรณีมีคำสั่งศาล) |
ผู้จัดการมรดกยื่นคำร้องขอจัดการมรดก แนบตราสารหนี้ เอกสารแสดงตัว (บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก) คำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกและหนังสือแสดงคดีถึงที่สุด มีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ศาลรับรองสำเนาถูกต้อง และสำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน โดยติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. หรือติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน
กรณีผู้จัดการมรดกประสงค์จะโอนกรรมสิทธิ์ให้บุคคลอื่น ผู้รับโอนต้องไปติดต่อพร้อมกับผู้จัดการมรดก พร้อมเอกสารแสดงตัวและสำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน หากผู้รับโอน (ผู้จัดการมรดกและ/หรือผู้รับโอน) ไม่เคยมีทะเบียนประวัติ ต้องกรอกคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ และให้ตัวอย่างลายมือชื่อ
ผู้รับโอน เลือกรับใบตราสารได้ ดังนี้ - รับด้วยตนเอง ประมาณ 5 วันทำการ - ส่งทางไปรษณีย์ ประมาณ 10 วันทำการ
ค่าธรรมเนียมการโอน 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ
** ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอน ผู้จัดการมรดกต้องยื่นคำขอรับคืนเงินต้นจะได้หลักฐานใบรับพันธบัตรไถ่ถอน ที่ระบุวันรับเงินต้นเข้าบัญชี
|
013 การจัดการมรดกใช้เวลาดำเนินการกี่วัน |
กรณีติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. จะดำเนินการจัดมรดกทันที กรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทนจะดำเนินการเมื่อได้รับและตรวจสอบเอกสารถูกต้องครบถ้วน
|
014 ต้องการให้ ธปท. ออกตราสารหนี้ฉบับใหม่ เนื่องจากด้านหน้าตราสารหนี้เป็นชื่อผู้โอน สามารถกระทำได้หรือไม่ เสียค่าใช้จ่ายเท่าไร |
ผู้รับโอนสามารถยื่นคำร้องขอออกตราสารหนี้ฉบับใหม่ได้ และเสียค่าธรรมเนียม กรณีบุคคลธรรมดา ฉบับละ 20 บาท กรณีนิติบุคคล ฉบับละ 100 บาท
|
015 พันธบัตรวางหลักประกันการไฟฟ้าภูมิภาค/การไฟฟ้านครหลวง ต้องการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้วางประกัน จะต้องทำอย่างไร |
1) ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องติดต่อกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/การไฟฟ้านครหลวง เพื่อขอถอนหลักประกัน และเปลี่ยนผู้วางหลักประกันใหม่ 2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/การไฟฟ้านครหลวง และผู้วางหลักประกันคนใหม่ นำตราสารหนี้ และเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) ติดต่อที่ ธปท. เพื่อวางหลักประกันใหม่ 3) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/การไฟฟ้านครหลวงทำหนังสือยินยอมถอนหลักประกันให้ผู้วางหลักประกันเดิมนำมายื่นพร้อมตราสารหนี้ และเอกสารแสดงตัวตามข้อ 2) เพื่อถอนหลักประกันเดิมที่ ธปท.
ค่าธรรมเนียม บุคคลธรรมดา ฉบับละ 20 บาท นิติบุคคลฉบับละ 100 บาท
|
016 ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อความเงื่อนไขหลักประกันที่ทำไว้กับผู้รับหลักประกันจะต้องทำอย่างไร |
ผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้ง ธปท. เพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อความเงื่อนไขหลักประกัน และนำตราสารหนี้มาแก้ไข * ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นบุคคลธรรมดา และ 100 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นนิติบุคคล
|
017 ต้องการเพิ่มเติม/แก้ไขเลขที่เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า ต้องทำอย่างไรบ้าง |
ผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้ง ธปท. เพื่อขอเพิ่มเติม/แก้ไขเลขที่เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า และนำตราสารหนี้มาแก้ไข * ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นบุคคลธรรมดา และ 100 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นนิติบุคคล
|
018 การนำตราสารหนี้ดำรงเป็นสินทรัพย์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศไว้เป็นเงินกองทุน / ถอนการดำรงฯ ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ทำอย่างไร |
1) ธนาคารพาณิชย์สาขาต่างประเทศที่ไม่มีทุนจดทะเบียนในประเทศไทย ยื่นหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์เพื่อขอจดดำรง/ถอนดำรง และเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านระบบ FI e-App ให้ ธปท. (ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ตรวจสอบก่อนส่งผ่านระบบให้ฝ่ายการชำระเงินและพันธบัตร) บันทึกการจดดำรง/ถอนดำรง ในระบบ 2) ธปท. (ฝ่ายการชำระเงินและพันธบัตร แจ้งผลให้ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ตรวจสอบ) ส่งผลการจดดำรง/ถอนดำรง ผ่านระบบ FI e-App ให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศทราบ
|
5. งานเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ |
001 การโอนกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ต้องทำอย่างไร |
กรณีติดต่อด้วยตนเอง 1. ผู้โอนและผู้รับโอนทำหนังสือขอโอนกรรมสิทธิ์ แนบตราสารหนี้ เอกสารแสดงตัวของผู้โอนและผู้รับโอน (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการพร้อมเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) และสำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวันของผู้รับโอน 2. ผู้รับโอนไม่เคยมีทะเบียนประวัติ (ไม่เคยซื้อตราสารหนี้) ต้องทำคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ และตัวอย่างลายมือชื่อ 3. ผู้โอนหรือผู้รับโอนมีทะเบียนประวัติแล้วไม่สามารถติดต่อด้วยตนเอง สามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมาดำเนินการแทนได้ พร้อมเอกสารแสดงตัวของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (ตามข้อ 1.) เฉพาะบุคคลธรรมดาใช้เอกสารแสดงตัวฉบับจริงพร้อมสำเนาที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
ผู้รับโอนสามารถรอรับตราสารหนี้ได้ หรือให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (ประมาณ 10 วันทำการ)
กรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน ผู้โอนและผู้รับโอนทำหนังสือขอโอนกรรมสิทธิ์, คำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ และตัวอย่างลายมือชื่อผู้รับโอนที่รับรองโดยผู้มีอำนาจของธนาคารตัวแทน แนบตราสารหนี้ สำเนาเอกสารแสดงตัวตามข้อ 1. ที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องร่วมกับผู้มีอำนาจของธนาคารตัวแทน และสำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวันของผู้รับโอน เมื่อ ธปท. ได้รับเอกสารและตรวจสอบถูกต้องแล้ว จะดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ และส่งใบตราสารหนี้ให้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ของผู้รับโอน (ประมาณ 10 วันทำการ)
ค่าธรรมเนียม บุคคลธรรมดาฉบับละ 20 บาท นิติบุคคลฉบับละ 100 บาท
|
002 การเพิ่มชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ต้องทำอย่างไร |
การเพิ่มชื่อในพันธบัตรจาก 1 คน เป็น 2 คน ถือเป็นการโอนตราสารหนี้ กระทำเช่นเดียวกับการโอนกรรมสิทธิ์
|
003 ต้องการทำธุรกรรมเกี่ยวกับตราสารหนี้ เช่น โอนกรรมสิทธิ์ จัดการเกี่ยวกับดอกเบี้ย ไถ่ถอนต้นเงิน ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ป่วยและไม่มีสติสัมปชัญญะ ต้องทำอย่างไร |
1) ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นคนไร้ความสามารถ และมีคำสั่งแต่งตั้งผู้อนุบาล 2) ผู้อนุบาลยื่นคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ (เพื่อเพิ่มชื่อผู้อนุบาล) และตัวอย่างลายมือชื่อของผู้อนุบาล แนบตราสารหนี้, คำสั่งศาลแต่งตั้งผู้อนุบาลที่มีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ศาลรับรองสำเนาถูกต้อง และเอกสารแสดงตัว (บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก) ติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. หรือติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน 3) ผู้อนุบาลเลือกรับตราสารหนี้ ดังนี้
- รับด้วยตนเอง ที่ ธปท. ประมาณ 5 วันทำการ - ส่งทางไปรษณีย์ ประมาณ 10 วันทำการ
ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ
|
004 ซื้อตราสารหนี้ในนามของผู้เยาว์ หากผู้ปกครองหรือผู้จัดการ ต้องการโอนเป็นชื่อของตนเอง ต้องทำอย่างไร |
ตราสารหนี้ที่ซื้อในนามผู้เยาว์ เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เยาว์ ผู้ปกครอง/ผู้จัดการไม่สามารถโอนเป็นชื่อของตนเองได้ ถ้าต้องการโอนกรรมสิทธิ์ต้องขออนุญาตศาลตาม ปพพ. มาตรา 1574 และ 1575
|
005 กรณีผู้โอน/ผู้ให้หลักประกันไม่สามารถมาทำธุรกรรมการโอนกรรมสิทธิ์/จำนำสิทธิ ได้จะต้องทำอย่างไร |
ผู้โอน หรือ ผู้ให้หลักประกัน สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาทำการแทนได้
|
006 กรณีผู้รับโอนไม่มารับโอนกรรมสิทธิ์ด้วยตนเอง และไม่เคยมีตัวอย่างลายมือชื่อที่ ธปท. สามารถมอบอำนาจได้หรือไม่ |
ไม่ได้ เนื่องจากไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อใช้ตรวจสอบ
|
007 การใช้ตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันการใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้านครหลวง ต้องทำอย่างไร |
ให้ดำเนินการ ดังนี้ 1) ติดต่อการไฟฟ้านครหลวงเพื่อมารับหลักประกัน 2) ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทำหนังสือส่งมอบตราสารหนี้ แนบใบตราสารหนี้และเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) 3) กรณีไม่สามารถไปติดต่อด้วยตนเอง สามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมาดำเนินการแทน พร้อมเอกสารแสดงตัวของผู้มอบอำนาจ/ผู้รับมอบอำนาจ
ค่าธรรมเนียม บุคคลธรรมดาฉบับละ 20 บาท นิติบุคคลฉบับละ 100 บาท
|
008 ซื้อตราสารหนี้ในนามของผู้เยาว์ หากผู้ปกครองหรือผู้จัดการ ต้องการนำไปใช้เป็นหลักประกัน ต้องทำอย่างไร |
ต้องขออนุญาตศาล ตาม ปพพ. มาตรา 1574 และ 1575
|
009 การใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันหมายถึงอะไร |
การใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันสำหรับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น หลักประกันกับส่วนราชการ หลักประกันการขอสินเชื่อ หลักประกันการเข้าทำงาน เป็นต้น
|
010 การใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน ต้องทำอย่างไร |
ทำได้ 2 วิธี ขึ้นอยู่กับผู้รับหลักประกัน ว่าจะให้ใช้เป็นหลักประกันโดยวิธีใด วิธีที่ 1 เจ้าของกรรมสิทธิ์ส่งมอบพันธบัตรเป็นหลักประกัน ผู้รับหลักประกันมีหนังสือถึง ธปท. ขอให้ระงับการจำหน่ายจ่ายโอน เมื่อ ธปท. ดำเนินการบันทึกในระบบแล้วจะมีหนังสือแจ้งผู้รับหลักประกัน ไม่มีค่าธรรมเนียม วิธีที่ 2 ผู้ให้หลักประกัน และผู้รับหลักประกันนำตราสารหนี้ไปจดบันทึกการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันที่ ธปท. หรือยื่นผ่านธนาคารตัวแทน ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นบุคคลธรรมดา และ 100 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรม สิืทธิ์เป็นนิติบุคคล ** กรณีผู้ให้หลักประกันหรือผู้รับหลักประกันเป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วน ให้แนบ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจจัดการตราสารหนี้ และสำเนาหนังสือรับรองที่กระทรวงพาณิชย์ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน ด้วย
|
011 การถอนหลักประกันตราสารหนี้หมายถึงอะไร |
การปลดภาระจากการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง
|
012 การถอนหลักประกันในตราสารหนี้ทำอย่างไร |
ขึ้นกับวิธีการใข้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันด้วยวิธีใด วิธีที่ 1 ไม่มีการบันทึกการใช้เป็นหลักประกันในใบตราสารหนี้ ผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้ง ธปท. ให้บันทึกการถอนหลักประกันในตราสารหนี้ในระบบ ไม่มีค่าธรรมเนียม วิธีที่ 2 มีการบันทึกการใช้เป็นหลักประกันในใบตราสารหนี้ ผู้ให้หลักประกันยื่นหนังสือขอถอนการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน (โดยผู้ให้หลักประกัน) (กรณีประสงค์ให้ ธปท. บันทึกข้อความแสดงการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันในตราสารหนี้) และหนังสือให้ความยินยอมถอนหลักประกันในตราสารหนี้ (จากผู้รับหลักประกัน) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ให้หลักประกันพร้อมต้นฉบับ และใบตราสารหนี้ โดยติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. หรือยื่นผ่านธนาคารตัวแทน * ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นบุคคลธรรมดา และ 100 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นนิติบุคคล **กรณีผู้จำนำเป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วน ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจจัดการตราสารหนี้ และสำเนาหนังสือรับรองที่กระทรวงพาณิชย์ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน ด้วย
|
013 กรณีพันธบัตรมีภาระติดหลักประกันกับธนาคารพาณิชย์ และเมื่อมีการผิดสัญญา ธนาคารพาณิชย์ต้องการบังคับหลักประกัน จะต้องทำอย่างไร |
ธนาคารพาณิชย์ผู้บังคับหลักประกันปฏิบัติดังนี้ 1) ธนาคารพาณิชย์บังคับหลักประกันตาม ปพพ.มาตรา 764-768 โดยบอกกล่าวลูกหนี้ให้ชำระหนี้ หากลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้รับรับหลักประกันนำตราสารหนี้ขายทอดตลาด 2) ธนาคารพาณิชย์ผู้บังคับหลักประกัน และผู้ประมูลตราสารหนี้ได้จากการขายทอดตลาด ยื่นคำขอโอนกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร พร้อมแนบตราสารหนี้ เอกสารการบังคับหลักประกัน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจจัดการตราสารหนี้ของธนาคารพาณิชย์ผู้บังคับหลักประกัน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประมูลได้พร้อมต้นฉบับ โดยติดต่อที่ ธปท. * ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นบุคคลธรรมดา และ 100 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นนิติบุคคล
|
6. งานจ่ายดอกเบี้ย |
001 ได้รับดอกเบี้ยพันธบัตรจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ |
|
002 จะทราบข้อมูลการจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรได้อย่างไร |
1) ก่อนถึงวันจ่ายดอกเบี้ย ธปท.จะส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่ จ่ายพร้อมใบนำส่งดอกเบี้ยพันธบัตรเพื่อแจ้งรายละเอียดการนำดอกเบี้ยเข้าบัญชีให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทราบ 2) เมื่อถึงวันจ่ายดอกเบี้ย ให้นำสมุดบัญชีเงินฝากไปปรับยอดที่ธนาคารพาณิชย์ (ประมาณ 12.00 น. เป็นต้นไป) ในกรณีวันจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดทำการธนาคาร ธปท.จะนำเงินเข้าบัญชีในวันทำการถัดไป 3) กรณีมีข้อสงสัยหรือมีการปิดบัญชีแล้ว โปรดติดต่อ ธปท.
|
003 การโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่ |
ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนเงิน โดยหักจากบัญชีผู้รับเงินตามอัตราของแต่ละธนาคาร (รายละเอียดสอบถามจากธนาคารที่ท่านเปิดบัญชี)
|
004 กรณีบุคคลธรรมดา สามารถขอคืนภาษีดอกเบี้ยพันธบัตรได้หรือไม่ อย่างไร |
สามารถเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง 1. นำดอกเบี้ยพันธบัตรไปยื่นภาษีเงินได้ประจำปีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น กรณีจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 15 โดยกรอกแบบ ภงด.90 (รายละเอียดติดต่อกรมสรรพากร) 2. ไม่ต้องนำดอกเบี้ยพันธบัตรไปยื่นภาษีเงินได้ประจำปีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น กรณีจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราสูงกว่าร้อยละ 15
|
005 ต้องการรับดอกเบี้ยเป็นเงินสดหรือเช็คได้หรือไม่ |
ธปท. จะจ่ายดอกเบี้ยโดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารเท่านั้น (ยกเว้นเงินฝากประจำ) ซึ่งจะไม่มีการจ่ายเป็นเงินสด หรือ เช็ค
|
006 หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายสูญหาย หรือไม่ได้รับจะทำอย่างไร |
1) ติดต่อขอรับใบแทนด้วยตนเองที่ ธปท . หรือ 2) ทำหนังสือขอรับใบแทนโดยระบุรุ่นพันธบัตรและวันที่จ่ายดอกเบี้ยที่ต้องการ แล้วส่งทางไปรษณีย์ไปยัง ธปท. โดย ธปท.จะส่งใบแทนให้ทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ให้ไว้
|
007 การเปลี่ยนแปลงบัญชีรับดอกเบี้ย ต้องทำอย่างไร |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ หรือทำหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงบัญชีรับดอกเบี้ย แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน โดยติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. หรือติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน หรือส่งทางไปรษณีย์ไปยัง ธปท.
|
008 การนำดอกเบี้ยเข้าบัญชีผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ สามารถทำได้หรือไม่ |
สามารถทำได้ (แต่ชื่อผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ยังคงเป็นชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เช่นเดิม มิใช่ชื่อผู้รับดอกเบี้ย)
|
7. งานไถ่ถอน |
001 การไถ่ถอนตราสารหนี้ จะต้องทำอย่างไร |
ปฏิบัติตามประเภทตราสารหนื้ที่ถืออยู่ 3 กรณี 1) ฝากไว้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ - ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ธปท .จะโอนเงินให้ตามคำสั่งของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ 2) ถือใบตราสารหนี้ระยะยาวอายุเกิน 1 ปี - ส่งคืนใบตราสาร และคำขอรับคืนต้นเงิน (ซึ่งธปท.จะส่งให้เมื่อใกล้ถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน) 3) ถือใบตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี - ส่งคืนใบตราสาร และคำขอรับคืนต้นเงิน (ซึ่งแนบมาพร้อมใบตราสาร)
|
8. การฝาก/ถอนตราสารหนี้กับบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) |
001 การฝากใบตราสารที่เป็น Scrip เพื่อฝากเข้าที่ TSD จะต้องทำอย่างไร ฝากผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ TSD ก็ได้ใช่หรือไม่ |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ติดต่อสมาชิกผู้ฝากของ TSD ยื่นแบบคำขอลงทะเบียนรับโอนตราสารหนี้ พร้อมทั้งแนบใบตราสาร ที่ ธปท. (ภายในเวลา 16.30 น.) หรือ TSD (ภายในเวลา 10.00 น.) * ค่าธรรมเนียม 10 บาท ต่อ 1 รายการ
|
002 การขอออกใบตราสารที่ฝากไว้ที่ TSD ต้องทำอย่างไร |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ติดต่อสมาชิกผู้ฝากของ TSD ยื่นแบบคำขอออกใบตราสาร ผ่าน TSD ภายในเวลา 10.00 น. โดยสามารถรับใบตราสารได้ในวันทำการรุ่งขึ้นที่ TSD * ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีบุคคลธรรมดา 100 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีนิติบุคคล
|
003 การฝากใบตราสารที่เป็น Scrip เพื่อฝากเข้า RP หรือ ILF หรือ SRS |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่น หนังสือขอฝากตราสารหนี้ พร้อมแนบใบตราสาร ที่ ธปท .เพื่อดำเนินการฝากเข้า RP หรือ ILF หรือ SRS แล้วแต่กรณี * ค่าธรรมเนียม 10 บาท ต่อ 1 รายการ
|
004 ต้องการถอนตราสารหนี้ จาก RP หรือ ILF หรือ SRS จะต้องทำอย่างไร ทำที่ไหน |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่น หนังสือขอถอนตราสารหนี้ ที่ ธปท. เพื่อดำเนินการถอน RP หรือ ILF หรือ SRS แล้วแต่กรณี * ค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ
|
005 ต้องการศึกษาระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการฝาก การถอน การโอน ฯ สามารถเรียกดูได้จากที่ไหน |
|
9. อื่น ๆ |
001 ติดต่อธนาคารพาณิชย์เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับตราสารหนี้ ธนาคารพาณิชย์บางแห่งไม่ยอมดำเนินการให้ ควรทำอย่างไร |
1) ในการติดต่อทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านธนาคารตัวแทน นั้น ควรเป็นธนาคารตัวแทนที่ท่านได้ติดต่อซื้อ หรือธนาคารอื่น ๆ ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรรุ่นนั้น ๆ ซึ่งจะมีเงื่อนไขและข้อตกลงในการให้บริการแก่ผู้ถือตราสารหนี้ ตามบันทึกความตกลงในการเป็นตัวแทนจำหน่ายตราสารหนี้ระหว่างผู้ออกตราสารหนี้และตัวแทนจำหน่าย และธนาคารตัวแทนอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการดำเนินการจากท่านรายการละ 10 บาท (ยังไม่รวมค่าจัดส่งทางไปรษณีย์จากธนาคารตัวแทน และค่าธรรมเนียมในส่วนที่ ธปท. เรียกเก็บในแต่ละธุรกรรม) 2) ติดต่อกับธนาคารพาณิชย์ที่คุ้นเคย หรือมีเงินฝากอยู่ 3) ในกรณีที่ธนาคารตัวแทนตัวแทนปฏิเสธ ให้สอบถามสาเหตุ หากมีข้อติดขัดหรือข้อสงสัยใด ให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารนั้น ๆ โทร. ติดต่อสอบถามที่ ธปท. หมายเลข 0-2283-5900 หรือ ทีมบริการพันธบัตร โทร. 0-2283-5464 ทีมการเงินพันธบัตร โทร. 0-2283-5445 ทีมจัดการพันธบัตร โทร. 0-2356-7665
|
002 การเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจลงนามในการจัดการตราสารหนี้ กรณีนิติบุคคล ต้องทำอย่างไร |
นิติบุคคล เช่น บริษัท มูลนิธิ วัด สมาคม ฯลฯ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจลงนามต้องแจ้งเป็นหนังสือพร้อมตัวอย่างลายมือชื่อ หรือกรอกในแบบฟอร์มตามที่ ธปท. กำหนด พร้อมแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 3 เดือน หนังสือมอบอำนาจ ข้อบังคับ รายงานการประชุม ฯลฯ
|
004 หนังสือมอบอำนาจ สามารถทำขึ้นเองได้หรือไม่ หากต้องการใช้หนังสือมอบอำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทยจะหาได้จากที่ไหน |
1) หนังสือมอบอำนาจสามารถจัดทำขึ้นเองโดยให้มีข้อความครอบคลุมถึงการทำธุรกรรมนั้น หรือใช้แบบพิมพ์ที่ซื้อจากร้านค้าทั่วไป
|
005 การขายคืนก่อนกำหนด สามารถขายคืนได้อย่างไร |
หากมีความจำเป็นต้องใช้เงินก่อนตราสารหนี้ครบกำหนดไถ่ถอน สามารถขายตราสารหนี้ได้ที่สาขาธนาคารที่เป็นตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ ซึ่งควรจะสอบถามราคาที่ธนาคารตัวแทนจะรับซื้อเปรียบเทียบกันก่อน (กรณีนี้บางธนาคารอาจไม่รับซื้อตราสารหนี้)
|
006 ราคาขายคืนตราสารหนี้ จะต่ำกว่าราคาที่ซื้อหรือไม่ |
ปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์หลายแห่งที่รับซื้อ และให้ราคาที่ไม่เท่ากัน และธนาคารพาณิชย์แห่งเดียวกัน อาจให้ราคาที่แตกต่างกันในช่วงเวลาที่แตกต่างกันด้วย ถ้าเป็นขณะที่อัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ในตลาดสูง ผู้ถือพธบ.รุ่นเก่าที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาด ราคาขายจะต่ำกว่าราคาตรา ผู้ที่ต้องการขายควรโทรศัพท์สอบถามราคากับธนาคารพาณิชย์ 3-4 แห่ง เพื่อประกอบการตัดสินใจ
|
007 การขอสำเนาหนังสือค้ำประกันพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน |
การขอสำเนาหนังสือค้ำประกันพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถติดต่อขอได้ที่ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง หมายเลขโทรศัพท์ 0 2265 8050 ต่อ สำนักจัดการหนี้ 2
|