คำถาม
|
คำตอบ
|
|
01 คุณสมบัติของลูกหนี้ |
1. ลูกหนี้กลุ่มใดบ้างที่เข้าเงื่อนไขตามมาตรการ
|
1. เป็นบุคคลที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย) ที่มีวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ ลดผลกระทบต่อการจ้างงาน โดยจะต้องมีวงเงินสินเชื่อรวมทั้งกลุ่มธุรกิจของผู้ประกอบวิสาหกิจที่มีกับสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ไม่เกิน 500ล้านบาท และไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน (การนับกลุ่มลูกหนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การกำกับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit))
2. ไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET และ MAI)
3. ไม่เป็น NPL ของสถาบันการเงินเอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 (การจัดชั้นพิจารณาเป็นรายลูกหนี้ ลูกหนี้ที่เป็น NPL หลัง 31ธันวาคม 2562 สามารถยื่นขอสินเชื่อตามโครงการนี้ได้ ทั้งนี้ ขึ้นกับการพิจารณาของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง)
ทั้งนี้ วงเงินรวมของสินเชื่อธุรกิจ
รวมถึงวงเงินสินเชื่อเช่าซื้อเฉพาะประเภท fleet เพื่อประกอบธุรกิจ
แต่ไม่นับรวมวงเงินตามภาระผูกพัน วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ
วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ และวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต
สินเชื่อตามมาตรการนี้
ครอบคลุมนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศและประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยไม่ต้องพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้น
|
2. การนับวงเงินรวมของกลุ่มลูกหนี้
|
|
2.1 วงเงินระยะยาว นับตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติหรือนับภาระหนี้คงเหลือ ณ วันที่พิจารณา
|
2.1 การพิจารณาคุณสมบัติลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมมาตรการ soft loan พิจารณาจากวงเงินสินเชื่อรวมทั้งกลุ่มธุรกิจของลูกหนี้ที่มีกับสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ไม่เกิน 500ล้านบาท แต่ไม่นับรวมวงเงินตามภาระผูกพัน วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ และวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต โดยวงเงินสินเชื่อที่สถาบันการเงินจะให้ผู้ประกอบวิสาหกิจกู้ยืมตามประกาศนี้ ต้องเป็นการให้สินเชื่อเพิ่มเติมจากยอดหนี้เดิมในอัตราส่วนไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 โดยให้นับรวมยอดหนี้คงค้างของวงเงินสินเชื่อธุรกิจทุกประเภท แต่ไม่นับรวมวงเงินตามภาระผูกพัน วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ และวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต
|
2.2 วงเงินสินเชื่อธุรกิจตามมาตรการ ที่กำหนดว่าไม่นับรวมวงเงินภาระผูกพัน ขอทราบนิยามภาระผูกพันดังกล่าวว่ารวมถึง LC/TR, packing credit, export bills, import bills, วงเงินค้ำประกัน, FX and derivatives หรือไม่
|
2.2 ไม่นับรวมวงเงินภาระผูกพันประเภทวงเงินค้ำประกัน ตราสารอนุพันธ์ โดยในส่วนของวงเงินสินเชื่อ เช่น trust receipt ให้นับรวมเพื่อคำนวณวงเงินสินเชื่อตาม พ.ร.ก. นี้ ทั้งนี้ หาก สถาบันการเงินไม่สามารถแยกวงเงิน letter of credit กับ trust receipt ให้นับทั้งวงเงินเป็นวงเงินสินเชื่อตาม พ.ร.ก. นี้
|
3. กลุ่มลูกหนี้พิจารณาจากเกณฑ์ใด เช่น การถือหุ้น การมีอำนาจลงนาม หรือ การมีอำนาจบริหาร เป็นต้น หรือให้เป็นไปตามนโยบายเครดิตของสถาบันการเงิน
|
การนับกลุ่มลูกหนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การกำกับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit)
|
4. กรณีที่ลูกหนี้มีภาระหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562แต่ปัจจุบันได้ชำระหนี้ปิดวงเงินไปแล้ว ถือว่าลูกหนี้มีคุณสมบัติยื่นขอสินเชื่อตามมาตรการได้หรือไม่
|
|
4.1 ปัจจุบันลูกหนี้รายดังกล่าวไม่มีวงเงินและยอดคงค้างกับสถาบันการเงิน
|
4.1 ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ลูกค้าปัจจุบันของสถาบันการเงินแล้ว เนื่องจากการให้กู้ยืมเงิน soft loan ตาม พ.ร.ก. มาตรา 9 (1) ประกอบประกาศ ธปท. ที่ สกส1. 2/2563 ข้อ 4.2 และ 4.7 (1) ซึ่งกำหนดให้วงเงินที่สถาบันการเงินให้กู้ยืมต้องเป็นการให้สินเชื่อเพิ่มเติมจากยอดหนี้เดิม ดังนั้น ผู้ประกอบวิสาหกิจต้องเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินอยู่เดิม ณ วันที่สถาบันการเงินยื่นขอกู้ soft loan อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินอาจพิจารณาช่วยเหลือลูกค้าตามมาตรการอื่นของสถาบันการเงินได้
|
4.2 ปัจจุบันลูกหนี้รายดังกล่าวมีเฉพาะวงเงินสินเชื่อธุรกิจใหม่ที่ได้รับอนุมัติในปี 2563
|
4.2 ไม่ได้ เนื่องจากได้มีการปิดวงเงินเดิม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 แล้ว
|
4.3 ปัจจุบันลูกหนี้รายดังกล่าวมีเฉพาะวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล แต่ไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ
|
4.3 ไม่ได้ เนื่องจากไม่ใช่ลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจ
|
5. กรณีลูกค้ามีบัญชีกู้ร่วมจะใช้สิทธิในการกู้ soft loan อย่างไร
|
การขอกู้ soft loan ต้องกู้ในนามลูกหนี้ร่วมเดิมและกู้ได้ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้ร่วมเดิมที่มียอดคงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
|
6. หากเกณฑ์ภายในของสถาบันการเงินจัดลูกค้าอยู่ในกลุ่ม corporate เพื่อการบริหารจัดการดูแล ลูกหนี้จะสามารถเข้าร่วมมาตรการ soft loan ได้หรือไม่
|
หากลูกหนี้มีคุณสมบัติตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด (ตามคำตอบข้อ 1 ข้างต้น) ลูกหนี้สามารถเข้าร่วมมาตรการ อย่างไรก็ตาม ขอให้สถาบันการเงินพิจารณาช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีขนาดกลางและขนาดย่อมก่อนและต้องไม่มีลักษณะเป็นการให้ soft loan แก่ลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ (large corporate) ที่มีศักยภาพและความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอยู่แล้ว
|
กรณีลูกหนี้เป็น NPL 7.1 หากลูกค้าถูกจัดประเภทเป็น NPL (จัดชั้นเชิงคุณภาพ) ตามประกาศของ ธปท.ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ในขณะที่ลูกค้าชำระเงินปกติ ลูกค้ารายนี้สามารถเข้าร่วมในโปรแกรมนี้ได้หรือไม่
|
7.1 ลูกค้าที่เป็น NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ไม่มีคุณสมบัติที่จะรับความช่วยเหลือตามมาตรการนี้ขอให้ยึดข้อมูลการจัดชั้นลูกหนี้ที่สถาบันการเงินรายงาน DMS ให้ ธปท. ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
|
7.2 ลูกหนี้มีวงเงินกับสถาบันการเงิน 3 แห่ง แต่เป็น NPL กับสถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่ลูกหนี้ขอกู้ soft loanลูกหนี้สามารถขอกู้ soft loan กับสถาบันการเงินที่ไม่จัดชั้นลูกหนี้ดังกล่าวเป็น NPL ได้หรือไม่
|
7.2 การพิจารณาคุณสมบัติลูกหนี้ พิจารณาแยกแต่ละสถาบันการเงิน ดังนั้น สถาบันการเงินที่ยังไม่จัดชั้นลูกหนี้เป็น NPL ลูกหนี้สามารถขอเข้ามาตรการ soft loan ผ่านสถาบันการเงินดังกล่าวได้
|
8. การนับวงเงินของลูกหนี้ที่เข้ามาตรการ soft loan ของ ธปท.
|
|
8.1 ครอบคลุมสินเชื่อประเภทใดบ้าง เช่น เงินกู้ระยะยาว, O/D, P/N, T/R, สินเชื่อเพื่อการค้า (trade finance), soft loan ของธนาคารออมสิน, สินเชื่อเช่าซื้อ fleet เพื่อการประกอบธุรกิจ
|
8.1 ขอบเขตของสินเชื่อภายใต้มาตรการนี้ครอบคลุมสินเชื่อธุรกิจทุกประเภท รวมถึงวงเงินสินเชื่อเช่าซื้อเฉพาะประเภท fleet เพื่อประกอบธุรกิจ แต่ไม่นับรวมวงเงินตามภาระผูกพัน วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ และวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต
|
8.2 ถ้าวงเงินถูก hold จะต้องนับเป็นวงเงินรวมตามมาตรการ soft loan หรือไม่
|
8.2 นับจากวงเงินรวมที่สถาบันการเงินอนุมัติและรายงาน DMS ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
|
8.3 กรณีลูกหนี้มีวงเงินเกิน 500 ล้านบาท ต่อมาลูกหนี้ทยอยผ่อนชำระหนี้ทำให้มียอดหนี้คงเหลือ 300 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ลูกหนี้จะสามารถเข้าร่วมมาตรการ soft loan ได้หรือไม่
|
8.3 ลูกหนี้ที่สามารถเข้ารับความช่วยเหลือตามมาตรการ soft loan วงเงินรวมของกลุ่ม ต้องไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ในกรณีดังกล่าวลูกหนี้ไม่สามารถเข้ามาตรการ soft loan ได้ เนื่องจากมีวงเงินเกินกว่าที่เกณฑ์กำหนด
|
8.4 วงเงินรวมของสินเชื่อธุรกิจครอบคลุมสินเชื่อบัตรเครดิตเพื่อธุรกิจ และค่าเบี้ยประกันหรือค่าธรรมเนียมอื่นที่สถาบันการเงินออกให้ลูกหนี้ล่วงหน้าหรือไม่
|
8.4 วงเงินรวมของสินเชื่อธุรกิจครอบคลุมสินเชื่อบัตรเครดิตเพื่อธุรกิจ แต่ไม่ครอบคลุมค่าเบี้ยประกันหรือค่าธรรมเนียมอื่นที่สถาบันการเงินออกให้ลูกหนี้ล่วงหน้า
|
8.5 การนับวงเงินรวมของลูกหนี้ นับรวมสินเชื่อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) ด้วยหรือไม่
|
8.5 หากเป็น MRTA ที่ทำเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ให้นับรวมวงเงิน MRTA ดังกล่าว ณ 31 ธันวาคม 2562 ด้วย ทั้งนี้ ไม่นับรวม MRTA สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
|
9. การนับช่วงเวลา availability period ที่ภาครัฐจะจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยแทนลูกค้าเป็นเวลา 6 เดือน มีวิธีการนับอย่างไร เช่น ได้รับวงเงิน soft loan 100 ล้านบาท เบิกใช้ 40 ล้านบาท
|
ภาครัฐจะจ่ายดอกเบี้ยแทนลูกหนี้ในช่วง 6 เดือนแรกนับจากวันที่ลูกหนี้เบิกใช้ soft loan ครั้งแรกตามจำนวนที่ลูกค้าเบิก 40 ล้านบาท
|
10. ลูกหนี้ที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลกับเจ้าหนี้และผ่อนชำระตามเงื่อนไขที่ตกลงได้เป็นปกติ ยังดำเนินธุรกิจอยู่สามารถจะขอเข้ารับการช่วยเหลือและขอ soft loan ได้หรือไม่
|
ลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามที่ พ.ร.ก. กำหนด สามารถยื่นขอรับความช่วยเหลือตามมาตรการ soft loan ได้
|
11. การนับวงเงินว่าเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจที่มีวงเงินสินเชื่อเกินกว่า 500 ลบ. หรือไม่ ตามหลักเกณฑ์การยื่นขอ soft loan กรณีบริษัทในกลุ่มมีวงเงินกับสถาบันการเงินในประเทศและสาขาในต่างประเทศ
|
|
11.1 กรณีสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ กรณีลูกหนี้บริษัท A ดำเนินธุรกิจอยู่ในต่างประเทศ และบริษัท B ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท A และดำเนินธุรกิจในประเทศไทย มีวงเงินกับธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทย ให้นับรวมวงเงินอย่างไร
|
11.1 ให้พิจารณานับวงเงินรวมของบริษัทในกลุ่มทั้งบริษัท A และ บริษัท B ที่มีกับสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยไม่ต้องนับรวมวงเงินที่มีอยู่กับสถาบันการเงินที่อยู่ในต่างประเทศ
|
11.2 กรณีสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ กรณีลูกหนี้บริษัท A ดำเนินธุรกิจอยู่ในต่างประเทศ และบริษัท B ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท A และดำเนินธุรกิจในประเทศไทย มีวงเงินกับธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ ให้นับรวมวงเงินอย่างไร
|
11.2 ให้พิจารณานับวงเงินรวมของบริษัทในกลุ่มทั้งบริษัท A และ บริษัท B ที่มีกับธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ SLL
|
12. ในการขอ soft loan สถาบันการเงินยังคงต้องพิจารณาเครดิตของลูกค้าหรือไม่ และเมื่อสถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อและยื่นเรื่องมาที่ ธปท. แล้ว ธปท. จะต้องอนุมัติตามที่สถาบันการเงินยื่นเรื่องมาทุกรายหรือไม่ รวมทั้ง กรณีลูกหนี้ที่ยื่นเรื่องเข้าเกณฑ์คุณสมบัติตามที่ ธปท. กำหนด แต่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ภายในของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินสามารถปฏิเสธการอนุมัติสินเชื่อได้หรือไม่ และจะมีความผิดทางกฎหมายหรือไม่
|
ในการขอ soft loan สถาบันการเงินยังคงต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าตามกระบวนการพิจารณาสินเชื่อตามปกติของสถาบันการเงิน โดยลูกค้าต้องยื่นความจำนงมาที่สถาบันการเงินก่อนและเมื่อสถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อและยื่นเรื่องมาที่ ธปท. แล้ว ธปท. มีสิทธิที่จะปฏิเสธการให้ soft loan ในกรณีที่ ธปท. ตรวจสอบแล้วพบว่าคุณสมบัติของลูกค้าไม่เป็นไปตามที่ประกาศ ธปท.กำหนด แต่หาก สง. มีข้อมูลชี้แจงเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อ RM เพื่อให้ ธปท. ตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมได้ ในกรณีที่สถาบันการเงินไม่อนุมัติ soft loan ให้กับลูกหนี้และลูกหนี้ประสงค์ที่จะขอทราบเหตุผลของการที่สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อ ให้สถาบันการเงินชี้แจงให้ลูกหนี้ทราบเหตุผลการปฏิเสธสินเชื่อดังกล่าวอย่างชัดเจนตามหนังสือที่ ธปท. ฝนส. (21) ว. 71/2553 เรื่องการชี้แจงเหตุผลของการไม่อนุมัติสินเชื่อเป็นลายลักษณ์อักษร
|
13. กรณีลูกหนี้เป็นบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนใน SET หรือ MAI แต่มีบริษัทแม่ที่อยู่ใน SET หรือ MAI สามารถขอ soft loan ได้หรือไม่
|
จะต้องพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ 1. ในการพิจารณาวงเงินสินเชื่อของกลุ่ม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ขอให้นำวงเงินสินเชื่อของบริษัททั้งกลุ่ม (รวมแม่ที่อยู่ใน SET และ MAI) มาพิจารณาว่าเกิน 500 ล้านบาท หรือไม่ ถ้าเกินกว่า 500 ล้านบาท ทั้งกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิขอ soft loan 2. แต่หากวงเงินสินเชื่อทั้งกลุ่มข้างต้น ไม่เกิน 500 ล้านบาท ถือว่ากลุ่มนี้ยังมีคุณสมบัติตาม ที่ประกาศ ธปท.กำหนด แต่ในการพิจารณาให้วงเงิน soft loan จะให้ได้เฉพาะบริษัทลูกที่ไม่อยู่ใน SET และ MAI
ทั้งนี้ ขอให้สถาบันการเงินพิจารณาช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีขนาดกลางและขนาดย่อมก่อน
|
14. ลูกหนี้ต่างชาติที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือบริษัทที่ถือหุ้นโดยต่างชาติ สามารถเข้ามาตรการ soft loan ได้หรือไม่
|
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทยและประกอบธุรกิจในประเทศไทยสามารถเข้าร่วมมาตรการ soft loan ได้ โดยไม่ต้องพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้น
|
15.กรณีลูกค้าเป็นบุคคลธรรมดาและขอเงินกู้เพื่อนำไปให้บริษัทในกลุ่มกู้ยืมต่อ (ซึ่งได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เช่น กิจการโรงแรม)
|
การนับกลุ่มลูกหนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดตามหลักเกณฑ์การกำกับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit)
|
15.1 กรณีที่บริษัทในกลุ่มไม่เข้าเกณฑ์มาตรการนี้ ลูกค้าสามารถขอเข้ามาตรการนี้ได้หรือไม่
|
15.1 หากบุคคลดังกล่าวถูกจัดในกลุ่มเดียวกันและวงเงินสินเชื่อรวมที่มีกับสถาบันการเงินเกิน 500 ล้านบาท ก็ไม่สามารถเข้ามาตรการ soft loan ได้
|
15.2 กรณีที่บริษัทในกลุ่มเข้าเกณฑ์และขอกู้ตามมาตรการนี้ ลูกค้าสามารถขอกู้เพิ่มให้บริษัทในกลุ่มด้วยได้หรือไม่
|
15.2 หากลูกค้าดังกล่าวผ่านคุณสมบัติตามที่กำหนด ก็สามารถเข้ามาตรการ soft loan ได้ โดยสามารถยื่นกู้ได้ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายของสถาบันการเงิน
|
16. ลูกหนี้ที่จะยื่นขอกู้ soft loan รวมลูกหนี้ในธุรกิจสถาบันการเงินด้วยหรือไม่ เช่น สถาบันการเงิน บริษัทประกัน บริษัทหลักทรัพย์ สหกรณ์ เป็นต้น
|
ประเภทองค์กรของลูกหนี้ที่ไม่สามารถยื่นขอกู้ soft loan ได้ ได้แก่ - องค์กรทางการไทย เช่น รัฐบาลกลาง (กระทรวง, ทบวง และกรมของรัฐบาลไทย) รัฐบาลท้องถิ่น (เช่น เทศบาล, สุขาภิบาล, องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น, เทศพาณิชย์ที่มิได้ดำเนินการในรูปบริษัท เป็นต้น) รัฐวิสาหกิจ และองค์การของรัฐ - หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการในรูปบริษัทฯ - สถาบันการเงินในประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์ไทย ธนาคารพาณิชย์ไทยเพื่อรายย่อย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ สาขาธนาคารต่างประเทศ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ สถาบันการเงินพิเศษของรัฐ สำนักงานผู้แทนธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ - ธุรกิจการเงินต่างๆ เช่น ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ออมทรัพย์ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ โรงรับจำนำ ทั้งนี้ไม่รวมถึง บุคคลรับอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Money Changer)เนื่องจากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการปล่อยกู้สินเชื่อ - กองทุนต่างๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน - องค์กรที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร เช่น วัด มูลนิธิ สมาคม โรงเรียนรัฐบาล มหาวิทยาลัยรัฐบาล เนื่องจากวัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์กรดังกล่าวไม่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อการประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ดี ลูกหนี้ซึ่งมีลักษณะเป็นโรงเรียนเอกชน มหาวิทยาลัยเอกชน และวิสาหกิจชุมชน สามารถยื่นขอกู้ soft loan ได้
|
17. กรณีลูกหนี้ประกอบธุรกิจทางการเงินและธุรกิจอื่น
|
|
17.1 หากลูกหนี้ประกอบธุรกิจหลักขายสินค้า แต่ประกอบธุรกิจรองที่มีลักษณะคล้ายผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน เช่น ประกอบธุรกิจหลักขายรถยนต์ แต่มีธุรกิจรองให้เช่าซื้อ (leasing) หรือ ประกอบธุรกิจหลักขายเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีบริการจ่ายชำระเป็นเงินผ่อนโดยคิดอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้า ลูกหนี้สามารถยื่นขอกู้ soft loan ได้หรือไม่
|
17.1 หากธุรกิจหลักของลูกหนี้ไม่ใช่ธุรกิจทางการเงินและลูกหนี้มีคุณสมบัติอื่นตามที่ประกาศ ธปท.กำหนด ลูกหนี้รายดังกล่าวสามารถยื่นขอกู้ soft loan ได้
|
17.2 หากสหกรณ์การเกษตรประกอบธุรกิจตัวกลางทางการเงินและประกอบธุรกิจซื้อวัตถุดิบมาจำหน่ายให้แก่สมาชิกด้วยต้นทุนต่ำ รวบรวม แปรรูป และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สหกรณ์การเกษตรดังกล่าวมีคุณสมบัติขอกู้ soft loan ได้หรือไม่ หากได้ การนับวงเงินจะนับวงเงินสินเชื่อธุรกิจทั้งหมดหรือนับเฉพาะวงเงินสินเชื่อธุรกิจเพื่อประกอบธุรกิจการค้า
|
17.2 สหกรณ์การเกษตรซึ่งประกอบธุรกิจทั้งตัวกลางทางการเงินและประกอบธุรกิจ ทางการค้าควบคู่ไปด้วย และได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ก็เข้าข่ายขอกู้ soft loan เพื่อไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจทางการค้าได้ โดยสถาบันการเงินต้องมีฐานข้อมูลและสามารถคัดกรองการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้รายดังกล่าวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจการค้า และต้องควบคุมติดตามให้ลูกหนี้นำเงินไปใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ขอกู้ การนับวงเงินของกลุ่มลูกหนี้ไม่เกิน 500 ล้านบาท จะนับทั้งวงเงินสินเชื่อสำหรับเป็นตัวกลางทางการเงินและวงเงินสินเชื่อสำหรับประกอบธุรกิจการค้า โดยจะยึดตามหลักเกณฑ์การกำกับลูกหนี้รายใหญ่(Single Lending Limit) สำหรับวงเงิน soft loan ที่จะให้แต่ละรายไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดสินเชื่อคงค้าง จะนับเฉพาะยอดสินเชื่อคงค้างและหลักประกันที่ใช้สำหรับประกอบธุรกิจการค้าเท่านั้น และจะใช้เฉพาะวงเงินสินเชื่อสำหรับประกอบธุรกิจการค้ามาคำนวณชดเชยความเสียหาย
|
17.3 ลูกหนี้ประกอบธุรกิจนายหน้าหรือตัวแทนบริษัทประกันชีวิต มีคุณสมบัติขอยื่นกู้ soft loan ได้หรือไม่
|
17.3 ลูกหนี้ประกอบธุรกิจนายหน้าหรือตัวแทนบริษัทประกันชีวิต มีคุณสมบัติขอยื่นกู้ soft loan ได้ อย่างไรก็ตาม ลูกหนี้ซึ่งประกอบธุรกิจประกันชีวิตหรือประกันภัยเข้าข่ายเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ไม่มีคุณสมบัติขอกู้ soft loan ตามประกาศ ธปท.
|
18. กรณีลูกหนี้ขายสินค้าในลักษณะสัญญาเช่า ถือเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินหรือไม่
|
|
18.1 ลูกหนี้ประกอบธุรกิจขายสินค้าเป็นลักษณะสัญญาเช่า โดยจะทำสัญญาเช่าระยะยาวเป็นเวลา 3-6 ปี เมื่อหมดสัญญาแล้ว ลูกหนี้จะนำสินค้าเหล่านั้นกลับคืนจากผู้เช่าเพื่อนำมาปล่อยเช่าต่อให้แก่ผู้เช่ารายใหม่ โดยกรรมสิทธิ์ของสินค้ายังเป็นของลูกหนี้ ไม่มีการโอนให้ผู้เช่าเมื่อหมดสัญญา
18.2 ลูกหนี้เป็นบริษัทรับจ้างวางระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อออกแบบวางระบบแล้ว บางครั้ง ผู้ซื้อจะขอให้วางระบบพร้อมเช่าอุปกรณ์ต่างๆด้วย โดยอุปกรณ์ต่างๆ เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ ไม่ได้โอนให้ผู้ซื้อ
|
กรณีลูกหนี้ประกอบธุรกิจผลิตสินค้าและบริการเป็นธุรกิจหลัก แต่ขายสินค้าในลักษณะสัญญาเช่า ลูกหนี้รายดังกล่าวไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินตามประกาศ ธปท. และสามารถยื่นขอกู้ soft loan ได้
|
19. กรรมการบริษัทสามารถขอกู้ soft loan ในนามกรรมการแทนในนามบริษัทได้หรือไม่
|
ได้ หากกรรมการบริษัทท่านนี้ เคยมีวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่เข้าตามหลักเกณฑ์ของการขอสินเชื่อ soft loan และในการขอสินเชื่อ soft loan ครั้งนี้ ขอเพื่อนำไปใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น กรณีที่กรรมการและบริษัทเป็นกลุ่มธุรกิจเดียวกันและมีวงเงินสินเชื่อรวมทั้งกลุ่มไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 สถาบันการเงินสามารถให้วงเงินกู้ soft loan กับกรรมการดังกล่าวเพื่อนำไปประกอบธุรกิจได้ในอัตราส่วนไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้างของกรรมการท่านนั้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ทั้งนี้ ในการขอ soft loan สถาบันการเงินยังคงต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามกระบวนการพิจารณาสินเชื่อตามปกติของสถาบันการเงิน
|
20. กรณีลูกหนี้มียอดหนี้กับสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 แต่สถาบันการเงินไม่ได้รายงานวงเงินดังกล่าวใน DMS ลูกหนี้รายดังกล่าวมีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ soft loan หรือไม่ และหากเข้าเกณฑ์ วงเงิน soft loan พิจารณาอย่างไร ตัวอย่าง ลูกหนี้ได้รับวงเงินชั่วคราว 40 ล้านบาท และเบิกใช้เต็มจำนวน ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 อย่างไรก็ตาม วงเงินชั่วคราวหมดอายุวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 แต่มียอดหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และสถาบันการเงินไม่ได้รายงานวงเงินดังกล่าวใน DMS
|
สถาบันการเงินต้องรายงานจำนวนวงเงินของลูกหนี้ใน DMS ไม่น้อยกว่าจำนวนยอดหนี้คงค้าง หากสถาบันการเงินรายงานจำนวนวงเงินใน DMS น้อยกว่าจำนวนยอดหนี้คงค้าง ให้สถาบันการเงินส่งเอกสารหลักฐานเพื่อยืนยันว่าลูกหนี้รายดังกล่าวมีวงเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และมีคุณสมบัติตามประกาศ ธปท.ผ่านเจ้าหน้าที่สัมพันธ์ (RM) ที่ดูแลสถาบันการเงินดังกล่าว
|
21. กรณีที่บริษัท A และบริษัท B มีวงเงินกู้ร่วม จำนวนไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 หากบริษัท A และบริษัท B ขอวงเงิน soft loan เป็นวงเงินกู้ร่วมแล้ว บริษัท A และบริษัท B สามารถขอกู้ soft loan ในธุรกิจของ A และ B แยกเป็นกู้เดี่ยวได้อีกหรือไม่
|
กรณีที่วงเงินเดิมเป็นวงเงินกู้ร่วม สถาบันการเงินสามารถพิจารณาให้ soft loan ในนามวงเงินกู้ร่วมได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้างวงเงินดังกล่าว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และสถาบันการเงินสามารถพิจารณาให้ soft loan เพิ่มในนามผู้กู้เดี่ยวได้อีกไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้างของผู้กู้เดี่ยวแต่ละราย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
|
22. ลูกหนี้ประกอบธุรกิจบริษัทติดตามทวงหนี้รับงานจากสถาบันการเงินและมีสินเชื่อกับสถาบันการเงิน สามารถขอกู้ soft loan นี้ได้หรือไม่
|
ลูกหนี้รายดังกล่าวสามารถยื่นขอกู้ soft loan ได้ หากมีคุณสมบัติตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด
|
23. ลูกหนี้มีวงเงินกับสถาบันการเงินหลายบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ลูกหนี้สามารถยื่นขอกู้ soft loan ได้หรือไม่
|
|
23.1 หากลูกหนี้มีบัญชีวงเงินสินเชื่ออุปโภคบริโภคจัดชั้น NPL ในขณะที่บัญชีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอื่นจัดชั้นปกติ
|
23.1 หากลูกหนี้มีบัญชีวงเงินสินเชื่ออุปโภคบริโภคจัดชั้น NPL ในขณะที่บัญชีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอื่นจัดชั้นปกติ ลูกหนี้รายดังกล่าวสามารถยื่นขอกู้ soft loan ได้ เนื่องจากการพิจารณา soft loan ไม่นับรวมวงเงินอุปโภคบริโภค
|
23.2 หากลูกหนี้มีบัญชีวงเงินสินเชื่อธุรกิจหนึ่งจัดชั้น NPLในขณะที่บัญชีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอื่นจัดชั้นปกติ
|
23.2 หากลูกหนี้มีบัญชีวงเงินสินเชื่อธุรกิจหนึ่งจัดชั้น NPLในขณะที่บัญชีวงเงิน สินเชื่อธุรกิจอื่นจัดชั้นปกติ ลูกหนี้รายดังกล่าวไม่สามารถยื่นขอกู้ soft loan ได้ เนื่องจากการพิจารณาจัดชั้นพิจารณาเป็นรายลูกหนี้ ไม่ใช่รายบัญชี
|
24. หากลูกหนี้กู้สินเชื่อบ้านนำมาซื้ออาคารพาณิชย์เพื่อประกอบธุรกิจ และทำเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัทลูกในเครือสถาบันการเงิน โดยนำมาใช้ในกิจการ ลูกหนี้รายดังกล่าวสามารถขอ soft loan ได้หรือไม่
|
- สินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อการอยู่อาศัย จึงไม่อยู่ในกลุ่มที่สามารถขอ soft loan ได้ อย่างไรก็ดี กรณีที่เป็นสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจ ลูกหนี้รายดังกล่าวสามารถยื่นขอกู้ soft loan ได้ แต่สถาบันการเงินต้องชี้แจงและนำส่งเอกสารหลักฐานยืนยันวัตถุประสงค์ดังกล่าวมาให้ ธปท. - การกู้ยืมจากธุรกิจในเครือสถาบันการเงิน ไม่เข้าข่ายการให้ความช่วยเหลือตาม พ.ร.ก. และประกาศ ธปท.
|
25. กรณีที่ลูกหนี้บริษัท A ถือหุ้นโดยบริษัท ก และบริษัท ข ส่งผลให้บริษัท A เป็นบริษัทในกลุ่มของทั้งบริษัท ก และบริษัท ข ตามเกณฑ์ SLLในขณะที่บริษัท ก และบริษัท ข ไม่มีความเกี่ยวข้องกันจึงไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันตามเกณฑ์ SLL · บริษัท ก + บริษัท A มีวงเงินเกิน 500 ล้านบาท · บริษัท ข + บริษัท A มีวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท บริษัท A มีคุณสมบัติสามารถขอกู้ soft loan ได้หรือไม่
|
หากลูกหนี้ถูกจัดกลุ่มตามเกณฑ์ SLL มากกว่า 1 กลุ่มและมีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีวงเงินเกิน 500 ล้านบาท ลูกหนี้รายดังกล่าวถือว่าไม่มีคุณสมบัติที่จะขอกู้ soft loan ได้
|
26. กรณีลูกหนี้กู้ยืมสินเชื่อโดยนำที่อยู่อาศัยมาเป็นหลักประกัน เพื่อนำเงินไปประกอบธุรกิจ สามารถขอ soft loan ได้หรือไม่
|
กรณีลูกหนี้กู้ยืมสินเชื่อโดยนำที่อยู่อาศัยมาเป็นหลักประกันและเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปใช้ธุรกิจ รวมถึงมีลักษณะอื่นตามประกาศ ธปท. ที่ สกส1. 2/2563 ลูกหนี้รายดังกล่าวมีคุณสมบัติยื่นขอกู้ soft loan ได้ แต่สถาบันการเงินต้องชี้แจงและนำส่งเอกสารหลักฐานยืนยันวัตถุประสงค์ดังกล่าวมาให้ ธปท.
|
27. ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ลูกหนี้ยังไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ต่อมาในปี 2563 ลูกหนี้ที่ได้รับอนุมัติจาก ตลท.ให้นำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนใน MAIได้ แต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ลูกหนี้รายดังกล่าวมีคุณสมบัติที่จะได้รับ soft loanตาม พ.ร.ก. และประกาศของ ธปท. หรือไม่
|
การพิจารณาลักษณะของลูกหนี้ตามประกาศ ธปท. ที่ สกส1. 2/2563 ข้อ 4.7(1.5) ต้องพิจารณา ณ วันที่ ธปท. พิจารณาเงินกู้ soft loanให้แก่สถาบันการเงิน โดยการที่ลูกหนี้ได้รับอนุมัติจาก ตลท.ให้นำหุ้นสามัญออกขายใน SET หรือ MAI ย่อมถือได้ว่าลูกหนี้รายดังกล่าวสามารถจะมีหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนออกขายใน ตลท.ได้แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าลูกหนี้รายดังกล่าวเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่สามารถหาแหล่งเงินได้โดยวิธีทางตลาดทุน จึงถือได้ว่าลูกหนี้รายดังกล่าวเป็นลูกหนี้ที่มีลักษณะที่ไม่อาจได้รับสินเชื่อ soft loan ได้ สำหรับลูกหนี้ที่ยื่นคำขอ (filing) เข้าจดทะเบียนและอยู่ระหว่างการพิจารณาจาก ตลท. มีคุณสมบัติขอยื่นกู้ soft loan ได้ เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนที่ ตลท. จะอนุมัติหรือไม่ จึงยังไม่อาจถือได้ว่าลูกหนี้จะสามารถหาแหล่งเงินได้โดยวิธีทางตลาดทุน หากภายหลัง การรับเงินกู้ soft loanแล้ว ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่าง filing ได้รับอนุมัติให้เข้าจดทะเบียนและ นำหุ้นสามัญออกขายใน SET และ MAI ได้ ก็ไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังนั้นมาใช้พิจารณาลักษณะของลูกหนี้ที่จะได้รับ soft loanไปแล้วได้ สถาบันการเงินไม่ต้องคืน เงินกู้ยืมดังกล่าวให้ ธปท.
|
28. สถาบันการเงินยื่นคำขอสินเชื่อ soft loan มายัง ธปท. ให้แก่บริษัท ก และได้รับอนุมัติวงเงิน ต่อมา บริษัท ก และบริษัทในกลุ่มได้ควบรวมกิจการเป็น 1 บริษัท ในนามบริษัท ข โดยได้ดำเนินการโอนย้ายทรัพย์สิน หนี้สิน บุริมสิทธิ์ การดำเนินการด้านนิติกรรม รวมถึงเริ่มดำเนินธุรกรรมกับสถาบันการเงินในนามบริษัท ข ในภายหลัง สถาบันการเงินสามารถโอนย้ายวงเงิน soft loan ของบริษัท ก ไปยัง บริษัท ข ซึ่งเป็นบริษัทใหม่ที่ยังไม่มีภาระหนี้กับสถาบันการเงินได้หรือไม่
|
เมื่อมีการควบบริษัทจำกัดเข้าด้วยกัน บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นจากการควบบริษัทนั้นย่อมได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดทั้งหมดที่มีอยู่กับบริษัทเดิมที่ได้มาควบรวมเข้าด้วยกัน ตามมาตรา 1243 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นเดียวกับกรณีการควบบริษัทมหาชนที่ควบกันและจดทะเบียนแล้วย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทเหล่านั้นทั้งหมด ตามมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ดังนั้น เมื่อมีการควบบริษัทเข้าด้วยกัน บริษัทใหม่ดังกล่าวย่อมได้รับทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมด้วย ซึ่งรวมถึงสิทธิหน้าที่ในฐานะลูกหนี้เดิมของสถาบันการเงิน เพราะฉะนั้น สถาบันการเงินจึงสามารถโอนย้ายวงเงิน soft loan ที่ได้รับไปยังบริษัทใหม่ได้
|
02 การกำหนดวงเงิน อัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม |
29. วงเงินที่สามารถยื่นขอกู้ soft loan
|
สถาบันการเงินสามารถอนุมัติวงเงินกู้ เพื่อยื่นขอกู้ soft loan ได้ ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้างสินเชื่อ ณ 31 ธันวาคม 2562 ของลูกหนี้แต่ละรายของสถาบันการเงิน (ไม่รวมบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน) โดย ธปท. จะจัดสรรวงเงินให้แต่ละสถาบันการเงินตามลำดับที่ยื่นคำขอ (first come, first served) ทั้งนี้ การพิจารณาวงเงินให้เน้นธุรกิจที่สถาบันการเงินพิจารณาแล้วว่าได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์ และส่งเสริมการจ้างงาน
|
30. สถาบันการเงินพิจารณาวงเงินสินเชื่อ soft loan จากค่าจ้างที่ธุรกิจ ต้องจ่ายให้พนักงาน มากกว่ากำหนดไม่เกิน 20% ของยอดหนี้
|
ทางการกำหนดวงเงิน soft loan ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้างเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในทางปฏิบัติ และสามารถครอบคลุมลูกหนี้ให้ทั่วถึง ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินจะนำปัจจัยค่าจ้างหรือค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารมาเป็นเกณฑ์ภายในสำหรับพิจารณาวงเงินสินเชื่อก็ย่อมทำได้
|
31. ประเภทของวงเงิน soft loan ที่อนุมัติให้กับลูกหนี้ ครอบคลุมวงเงินประเภทใดบ้าง เช่น term loan, O/D, P/N, trade finance
|
|
32. การตั้งวงเงิน soft loan
|
|
32.1 กรณีมีวงเงินเดิมที่ลูกค้าไม่ได้ใช้ (unused) สามารถเปลี่ยนมาเป็นวงเงิน soft loan ได้ หรือไม่
|
32.1 วงเงินที่ให้กู้ยืมดังกล่าวต้องไม่มีผลกระทบต่อวงเงินสินเชื่อที่มีอยู่เดิม โดยเจตนารมณ์ของมาตรการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อต้องการเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ หากสถาบันการเงินประสงค์จะให้ลูกหนี้ได้วงเงิน soft loan สถาบันการเงินก็ต้องอนุมัติวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็นให้ลูกหนี้เบิกใช้วงเงินเดิมจนเต็มก่อน และหากลูกหนี้ยังมีความประสงค์จะขอกู้ soft loan เพิ่มขึ้น จะขอกู้ได้ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
|
32.2 สถาบันการเงินต้องตั้งวงเงิน soft loan แยกออกจากวงเงินกู้เดิมหรือไม่ หรือสามารถ ขยายจากวงเงินเดิมได้
|
32.2 สถาบันการเงินต้องตั้งวงเงิน soft loan เป็นวงเงินใหม่แยกออกจากวงเงินเดิมของลูกหนี้
|
33. แนวทางป้องกันไม่ให้ลูกหนี้ได้รับสินเชื่อเกินความต้องการ โดยเฉพาะกรณีมีเจ้าหนี้หลายราย
33.1. ลูกหนี้รายเดียวกันอาจได้รับความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน
33.2 บางสถาบันการเงินสนับสนุนสินเชื่อใหม่ หากเจ้าหนี้บางรายไม่เข้าเกณฑ์ชะลอการชำระต้นและดอกเบี้ย อาจเกิดการนำสินเชื่อ soft loan ไป refinance สถาบันการเงินอื่น หรือชำระสินเชื่อเดิม ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของภาครัฐ
|
ธปท. ต้องการเร่งผลักดันให้เม็ดเงินถึงลูกหนี้โดยเร็วที่สุด และจากฐานข้อมูลสินเชื่อพบว่ามีลูกหนี้ SME ที่มีเจ้าหนี้หลายรายเพียง 1%
|
34. เมื่อเข้าร่วมโครงการแล้ว สถาบันการเงินจะมีเงื่อนไขการคิดภาระหนี้กับลูกหนี้อย่างไร (เงินต้นและดอกเบี้ย)
|
ระยะเวลา 2 ปี อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% โดยรัฐบาลชำระดอกเบี้ยแทนลูกค้าในช่วง 6 เดือนแรก ส่วนเงินต้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกับสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินต้องไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ จากลูกหนี้ภายใต้มาตรการ soft loan นี้ โดยเฉพาะ front end fee
|
35. มีเงื่อนไขควบคุมวัตถุประสงค์การใช้วงเงินและการกำหนดให้ลูกหนี้ทยอยเบิกใช้วงเงินหรือไม่
|
ภาครัฐต้องการให้เงินถึงมือธุรกิจโดยเร็วที่สุดจึงไม่ได้จำกัดวัตถุประสงค์การใช้วงเงินและมีเงื่อนไขให้ลูกหนี้สามารถทยอยเบิกใช้วงเงินได้ตามความเหมาะสม อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินควรพิจารณาความจำเป็นและจำนวนวงเงินที่เหมาะสมของลูกหนี้ประกอบการอนุมัติสินเชื่อด้วย
|
36. กรณีวงเงิน soft loan ที่สนับสนุนให้ลูกหนี้เป็น revolving working capital เช่น O/D, P/N, tradefinance กรณีลูกหนี้มีการลดยอดใช้หรือชำระคืนบางส่วนแล้ว ลูกหนี้สามารถขอเบิกใหม่โดยยังได้อัตราดอกเบี้ย soft loan อยู่ได้หรือไม่ และหากลูกหนี้ไม่ประสงค์จะใช้วงเงินแล้วสถาบันการเงินจะต้องดำเนินการอย่างไร
|
ลูกหนี้สามารถเบิกใช้วงเงินและชำระคืนได้ในระยะ 2 ปีตามสัญญากู้ยืมและสอดคล้องกับความต้องการใช้วงเงินของลูกหนี้ โดยได้รับอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2%ยกเว้นกรณีลูกหนี้ชำระหนี้และ ปิดบัญชี หรือลูกหนี้ไม่ประสงค์จะใช้วงเงินดังกล่าว ให้สถาบันการเงินชำระหนี้ soft loan คืน ธปท. ภายใน 30 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับชำระหนี้คืนทั้งหมดจากผู้ประกอบวิสาหกิจ หรือวันที่ได้รับแจ้งความประสงค์จากผู้ประกอบวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี (ตามประกาศ ธปท. ที่ สกส. 1.2/2563 ข้อ 4.8 (1))
|
37. การดำเนินการกับลูกหนี้ที่ขอกู้ยืมภายใต้มาตรการ soft loan
37.1 หากลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ soft loan ตามกำหนดชำระหนี้หรือสถาบันการเงินสืบทราบได้แน่ชัดว่าลูกหนี้มีเจตนาไม่ชำระหนี้คืนเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ เช่น ลูกหนี้ปิดกิจการและติดต่อไม่ได้ หรือลูกหนี้ต้องคดีที่ส่งผลต่อการชำระหนี้คืน (ฉ้อโกง ยาเสพติด เป็นต้น) หรือไม่สามารถชำระหนี้คืนได้อีก เช่น เสียชีวิต หรือปิดกิจการ สถาบันการเงินสามารถดำเนินการตามขั้นตอนปกติในการ collection process ได้หรือไม่ โดยไม่ต้องรอครบกำหนด 6เดือน
37.2 หากลูกหนี้ผิดนัด สามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดหรือไม่
|
สถาบันการเงินอาจพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนปกติได้ แต่ห้ามเรียกเก็บค่าเบี้ยปรับและดอกเบี้ยผิดนัดหากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ในระหว่าง 2 ปีตามมาตรการนี้ เนื่องจากสถาบันการเงินมีต้นทุนทางการเงินต่ำสำหรับการปล่อยกู้ soft loan (อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01) ทั้งนี้ ภายหลังช่วงเวลาดังกล่าว สถาบันการเงินสามารถปรับโครงสร้างหนี้หรือคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สถาบันการเงินตกลงกับลูกหนี้ได้
|
38. ขอให้ทางการยืดหยุ่นการให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกัน และเจ้าของหลักประกันลงนามในเอกสารประกอบสินเชื่อใหม่ตามมาตรการช่วยเหลือ
|
กรณีการให้สินเชื่อ soft loan ใหม่ ลูกหนี้ต้องลงนามในเอกสารการขอกู้ยืมเงิน และการทำนิติกรรมต่าง ๆ ที่สถาบันการเงินกำหนด ส่วนผู้ค้ำประกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสัญญา
|
39. soft loan ตามมาตรการนี้ถือเป็นสินเชื่อไม่มีหลักประกันหรือไม่ และขอให้กำหนดใน พ.ร.ก. ว่าให้สามารถใช้สัญญาจำนอง/สัญญาค้ำประกันเดิม ที่ลูกหนี้ให้ไว้กับสถาบันการเงินมามีผลบังคับกับวงเงิน soft loanใหม่ได้โดยไม่ต้องให้ลูกหนี้ไปจำนองใหม่ (override ปพพ.ค้ำประกัน จำนอง ปี พ.ศ.2558)เพื่อเป็นการลดขั้นตอน ลดค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงที่ต้องเดินทางไปทำนิติกรรมที่กรมที่ดิน
|
ตามหลักเกณฑ์ไม่ได้กำหนดให้สถาบันการเงินต้องเรียกหลักประกันเพิ่มจากลูกหนี้ แต่ในการคำนวณจำนวนเงินที่จะชดเชย ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าหลักประกันเดิมที่มีอยู่ เป็นหลักประกันร่วมของสินเชื่อทั้งสิ้นที่รวม soft loan สำหรับการคำนวณเงินสำรอง อย่างไรก็ดี หากสถาบันการเงินต้องการจำนองหลักประกันเพิ่มเติมจากเดิม พ.ร.ก. ได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์และอาคารชุด และการจดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ อันเนื่องมาจากการให้กู้ยืมเงินตาม พ.ร.ก.นี้ เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้สถาบันการเงินและลูกหนี้แล้ว
|
40. หากสถาบันการเงินผิดเงื่อนไขของมาตรการ จะมีบทลงโทษอย่างไร เช่น กรณีที่สถาบันการเงินจัดกลุ่ม Single Lending Limit (SLL) ไม่ถูกต้อง
|
หากเป็นการให้สินเชื่อไม่เป็นไปตามคุณสมบัติ จะถือว่าไม่ใช่สินเชื่อ soft loan ตามเงื่อนไข สถาบันการเงิน ต้องคืนเงินกู้ยืมตามมาตรการดังกล่าวให้ ธปท. และรัฐไม่รับชดเชยความเสียหายให้ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องไม่กำหนดในข้อสัญญาระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ประกอบวิสาหกิจในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในช่วง 2 ปีแรกให้เกินกว่าร้อยละ 2 ต่อปี หรือกำหนดให้ผู้ประกอบวิสาหกิจชำระเบี้ยปรับ หรือความเสียหายประการอื่นแก่สถาบันการเงิน
|
41. วงเงินสินเชื่อธุรกิจที่เข้ามาตรการนี้ นับรวมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยด้วยใช่หรือไม่
|
ให้พิจารณาจากวันอนุมัติสินเชื่อ หากสถาบันการเงินพิจารณาเป็นสินเชื่อธุรกิจ สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ หากจัดประเภทเป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะไม่เข้าเกณฑ์มาตรการนี้
|
42. การขอกู้ยืม soft loan จาก ธปท. กำหนดระยะเวลา 2 ปี เป็น fixed period หรือไม่
|
การให้กู้ยืมเงินของ ธปท. จะดำเนินการโดยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออก โดยตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวต้องมีกำหนดชำระไม่เกินระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับเงินกู้ยืมจาก ธปท. เช่น สถาบันการเงินได้รับเงินผ่านระบบ BAHTNET วันที่ 30 เมษายน 2563 อายุตั๋วจะเริ่มตั้งแต่ 30 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 29 เมษายน 2565 ทั้งนี้ หากวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดทำการ ให้คิดดอกเบี้ยจนถึงวันทำการถัดไป สำหรับการกำหนดระยะเวลาเงินกู้ของลูกหนี้ ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินและลูกหนี้ เพียงแต่สถาบันการเงินจะรับการช่วยเหลือและชดเชยตามมาตรการ soft loan ในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่สัญญาเงินกู้ยืมมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ หลังระยะเวลา 2 ปี สถาบันการเงินสามารถพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ต่อได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยตามต้นทุนเงินและความเสี่ยงของสถาบันการเงิน
|
43. การคิดค่าธรรมเนียมกับลูกหนี้ที่ขอกู้ soft loan
|
|
43.1 ในกรณีที่สถาบันการเงินเรียกหลักประกันเพิ่มจากลูกหนี้ ค่าใช้จ่ายในการ ประเมินราคาสามารถเรียกเก็บจากลูกค้าได้หรือไม่
|
43.1 สถาบันการเงินต้องไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ จากลูกหนี้ภายใต้มาตรการ soft loan นี้ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้บุคคลภายนอก เช่น ค่าอากรที่จ่ายให้หน่วยงานราชการ ค่าประเมินราคาที่จ่ายให้กับบริษัทประเมินราคาภายนอก
|
43.2 หากสถาบันการเงินให้ลูกหนี้ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินจะสามารถเรียกเก็บจากลูกค้าได้หรือไม่
|
43.2 สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อได้ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่สถาบันการเงินต้องไม่บังคับทำประกันชีวิตและไม่กำหนดเป็นเงื่อนไขให้ได้รับการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อโดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศ ธปท. ที่ สกส. 1/2561 เรื่อง การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) และประกาศ ธปท. ที่ สนส. 17/2551 เรื่องการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจการประกันภัย
|
43.3 สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากการปล่อยกู้ soft loan นอกจากดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 เช่น front-end fee ได้หรือไม่
|
43.3 ตามประกาศ ธปท. ที่ สกส1.2/2563ข้อ 4.7 (4) ห้ามสถาบันการเงินเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัดจากลูกหนี้ในส่วนสินเชื่อที่ให้เพิ่มเติม กรณีภายหลังจากที่สถาบันการเงินรับเงินกู้ยืมจาก ธปท. และพบว่าสถาบันการเงิน นำเงินดังกล่าวไปให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขตามพระราชกำหนดหรือประกาศ ธปท. ให้สถาบันการเงินคืนเงินกู้ยืมตามจำนวนที่มีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขให้แก่ ธปท. ตามระยะเวลาที่ ธปท. กำหนด ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องไม่กำหนดในข้อสัญญาระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ประกอบวิสาหกิจในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในช่วง 2 ปีแรกให้เกินกว่าร้อยละ 2 ต่อปี หรือกำหนดให้ผู้ประกอบวิสาหกิจชำระเบี้ยปรับ หรือความเสียหายประการอื่นแก่สถาบันการเงินตามประกาศ ธปท. ที่ สกส1.2/2563 ข้อ 4.8 (2)
|
43.4 ในกรณีที่สถาบันการเงินเรียกหลักประกันเพิ่มจากลูกหนี้ โดยใช้บริการบริษัทประเมินราคาซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่สถาบันการเงินถือหุ้นร้อยละ 100 บริษัทดังกล่าวถือเป็นบุคคลภายนอกที่สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากลูกหนี้ได้หรือไม่
|
43.4 บริษัทประเมินราคาซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินไม่ถือเป็นบุคคลภายนอกที่สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆ จากลูกหนี้ภายใต้มาตรการ soft loan นี้
|
44. สถาบันการเงินสามารถกำหนดเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินกู้ soft loan ในรูปแบบของสถาบันการเงินเองได้หรือไม่ (ผ่อนชำระดอกเบี้ยทุกเดือนและชำระคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนด / ผ่อนเป็นค่างวดเท่ากันทุกเดือน)
|
การกำหนดเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินกู้ soft loan ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินและลูกหนี้จะตกลงกัน
ทั้งนี้ ขอให้คำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายด้วย
|
45. การคิดอัตราดอกเบี้ย soft loan ในอัตราไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี สำหรับระยะเวลา 2 ปีแรก นับจากวันที่ลูกหนี้ทำสัญญาเงินกู้หรือวันที่ลูกหนี้เบิกใช้เงินกู้ครั้งแรก
|
ให้นับจากวันที่สัญญาเงินกู้มีผลบังคับใช้
|
46. ในระหว่าง 2 ปีในช่วงเวลาการรับ soft loan หากสถาบันการเงินมีการกำหนดเงื่อนไขสัญญาให้ลูกหนี้จ่ายชำระต้นและดอกเบี้ยในระหว่างนี้ แต่ปรากฏว่าลูกหนี้จ่ายชำระหนี้ไม่ได้จนเป็นหนี้ค้างชำระ ซึ่งสถาบันการเงินไม่สามารถคิดเบี้ยปรับผิดนัดได้ตามประกาศ ธปท. กำหนด อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บค่าติดตามทวงถามหนี้ที่เป็นต้นทุนการดำเนินการที่เพิ่มขึ้นจากการผิดนัดชำระหนี้จากลูกหนี้ได้หรือไม่
|
สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการติดตามทวงถามหนี้ ตามจำนวนที่จ่ายไปจริงและสมควรแก่กรณีตามหลักเกณฑ์ของ ธปท. และ พ.ร.บ. การทวงถามหนี้
|
03 กระบวนการยื่นคำขอรับเงิน / เบิกจ่าย |
47. กำหนดระยะเวลาอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน
|
สถาบันการเงินแต่ละแห่งมีกระบวนการพิจารณาสินเชื่อที่แตกต่างกัน โดยขึ้นกับขนาดของลูกหนี้ด้วย จึงไม่กำหนดระยะเวลาอนุมัติสินเชื่อเป็นมาตรฐาน เมื่อลูกหนี้ยื่นคำขอสินเชื่อไปยังสถาบันการเงิน สถาบันการเงินต้องเร่งพิจารณาอนุมัติสินเชื่อภายในระยะเวลากำหนด ตามกรอบเวลา SLA ของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งจะต้องรวดเร็วที่สุดและไม่เกิน 10 วัน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้
|
48. สถาบันการเงินสามารถยื่นขอ soft loan เมื่อสถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้ หรือหลังลูกหนี้เบิกใช้วงเงิน
|
สามารถทำได้ทั้ง 2 กรณี ตามหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงิน
|
49. ในการยื่นขอใช้สิทธิ สถาบันการเงินจะต้องแจ้งใช้สิทธิเมื่อสถาบันการเงินอนุมัติวงเงินเรียบร้อยแล้ว หรือต้องแจ้งเมื่อมีการดำเนินการจัดทำนิติกรรมสัญญาเสร็จเรียบร้อยแล้ว
|
สถาบันการเงินสามารถยื่นขอกู้ยืม soft loan ตั้งแต่อนุมัติสินเชื่อให้ลูกค้า หรือลูกค้าเบิกใช้วงเงินแล้วแต่เกณฑ์ของแต่ละสถาบันการเงินจะกำหนด
|
50. สถาบันการเงินสามารถเบิกกู้จาก ธปท. ได้หลายครั้งหรือไม่ สำหรับลูกค้า 1 ราย
|
ให้สถาบันการเงินยื่นขอเบิกใช้เงินกู้ตามมาตรการ soft loan สำหรับลูกหนี้ 1 รายได้เพียงครั้งเดียวสถาบันการเงินสามารถขอเบิก soft loan ตามวงเงินที่อนุมัติให้แก่ลูกหนี้แต่ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และลูกหนี้สามารถทยอยเบิกใช้วงเงินสถาบันการเงินได้ตามความเหมาะสม แต่ดอกเบี้ยที่ทางการจะชดเชยในระยะ 6 เดือนแรกจะคำนวณจากยอดสินเชื่อที่ลูกหนี้เบิกใช้จริง
|
51. กำหนดเวลาขอกู้ยืมเงินจาก ธปท. เงื่อนไขการเบิกกู้ และระยะเวลาการรับเงินโอน
|
ระยะเวลาขอกู้ยืมเงิน soft loan ภายในระยะเวลา 6 เดือน นับจากวันที่ พ.ร.ก. มีผลบังคับใช้ หรือเต็มวงเงิน soft loan 500,000 ล้านบาท แต่ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องให้เงินช่วยเหลือต่อไปและยังมีวงเงินเหลืออยู่ ธปท. จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปอีกได้คราวละไม่เกิน 6 เดือนก็ได้ การยื่นกู้แต่ละครั้ง ในช่วงแรกกำหนดสัปดาห์ละครั้ง ทุกวันจันทร์ ไม่เกิน 11.00 น. หรือวันทำการวันแรกของสัปดาห์ และจะได้รับเงินจาก ธปท. ภายใน 3 วันทำการผ่านระบบ BAHTNET ไม่เกิน 11.00 น. (อาจกำหนดวันให้สถาบันการเงินยื่นกู้เพิ่มเติม) เช่น ครั้งแรกกำหนดยื่นวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563 เวลา 11.00 น. ธปท. จะโอนเงินให้สถาบันการเงินในวันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2563 (T+3) เวลา 11.00 น.
|
52. เนื่องจากสินเชื่อ soft loan ธปท. ไม่ได้กำหนดวงเงินสำหรับสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ทำให้อาจมีปัญหาไม่สามารถยืนยันกับลูกหนี้ได้ว่าได้รับสินเชื่อตามมาตรการ
|
หากวงเงิน soft loan ใกล้เต็มวงเงิน ธปท. จะแจ้งให้สถาบันการเงินทราบล่วงหน้า
|
53. ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการ soft loan การทำหนังสือมอบอำนาจ ลายเซ็น ผู้มีอำนาจ ในการทำธุรกรรมตามมาตรการดังกล่าว สถาบันการเงินสามารถใช้หนังสือมอบอำนาจช่วงประกอบทำหนังสือมอบอำนาจลายเซ็นผู้มีอำนาจแทนสถาบันการเงินในรูปแบบเดิมได้หรือไม่
|
สถาบันการเงินจะต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวที่ครอบคลุมเนื้อหาการทำธุรกรรมภายใต้ พ.ร.ก. ตามแบบฟอร์มที่ ธปท. กำหนดในประกาศ ธปท. ที่ สกส. 1.2/2563 ข้อ 4.3
|
54. สถาบันการเงินขอทราบชุดฐานข้อมูล DMS ที่ ธปท. จะใช้ตรวจสอบคุณสมบัติของลูกค้าที่จะยื่นเข้ามาตรการ soft loan
|
1. ชุดข้อมูล Loan Arrangement (DS_LAR) ข้อมูลเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้แต่ละรายที่มีวงเงินให้สินเชื่อหรือยอดคงค้างตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป
2. ชุดข้อมูล SMEs Data (DS_SMD) ข้อมูลเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้แต่ละรายที่มีวงเงินสินเชื่อและยอดคงค้างต่ำกว่า 20 ล้านบาท / ข้อมูลภาระผูกพันของลูกค้าแต่ละรายที่มียอดคงค้างต่ำกว่า 20 ล้านบาท
3. ชุดข้อมูล SMEs Profile (DS_SMP) ข้อมูลลูกค้าหรือลูกหนี้ที่ประกอบธุรกิจและมีสถานประกอบการ (โรงงาน) ตั้งอยู่ในประเทศไทย
4. ชุดข้อมูล Involved Party (DS_IPI) ข้อมูลเกี่ยวกับลูกหนี้ ซึ่งต้องรายงานข้อมูลธุรกรรมรายสัญญาในชุดข้อมูลอื่นโดยให้รายงานข้อมูลของลูกค้าเฉพาะรายใหม่ รวมถึงข้อมูลของผู้เกี่ยวข้อง หรือมีความสัมพันธ์กับลูกหนี้ หรือลูกค้าด้วย
|
55. กรณีสถาบันการเงินต้องเร่งพิจารณาอนุมัติสินเชื่อภายในระยะเวลากำหนด ตามกรอบเวลา SLA ของแต่ละสถาบันการเงิน และไม่เกิน 10 วัน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ขอสอบถามว่า 10 วันดังกล่าว เริ่มนับตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ยื่นคำขอสินเชื่อจนถึงวันที่สถาบันการเงินได้รับอนุมัติ soft loan จาก ธปท. หรือวันที่ลูกหนี้ได้รับเงิน
|
สถาบันการเงินต้องเร่งพิจารณาอนุมัติสินเชื่อไม่เกิน 10 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้เริ่มยื่นคำขอสินเชื่อจนถึงวันที่สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
|
56. สถาบันการเงินที่เข้าร่วมมาตรการ soft loan ธปท. จะมีการทำสัญญาค้ำประกันสำหรับลูกหนี้รายตัวที่ขอกู้ soft loan หรือไม่
|
ธปท. ไม่ได้ค้ำประกันลูกหนี้ที่ขอกู้ soft loan แต่จะมีการจ่ายชดเชยให้ตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศ ธปท. กำหนด
|
57. สถาบันการเงินจะได้รับเงินจาก ธปท. ตามจำนวนเงินทั้งหมดที่ยื่นขอสินเชื่อในรอบนั้นๆ หรือได้รับตามจำนวนการเบิกใช้ของลูกหนี้ และสถาบันการเงินสามารถจัดสรรเงินจำนวนดังกล่าวตาม structure วงเงินของลูกหนี้ได้หรือไม่
|
สถาบันการเงินจะได้รับเงินตามจำนวนทั้งหมดที่ยื่นขอสินเชื่อตามมาตรการ soft loan ในรอบนั้น ๆ โดยสถาบันการเงินสามารถจัดสรรวงเงินได้เองตาม structure วงเงินของลูกหนี้แต่ละราย สำหรับเงินที่ลูกหนี้ยังไม่ได้เบิกใช้ สถาบันการเงินสามารถบริหารจัดการเองได้
|
58. หนังสือมอบอำนาจ (A1) สถาบันการเงินสามารถใช้ e-signature ได้หรือไม่
|
ไม่สามารถใช้ e-signature ได้ เนื่องจากหนังสือมอบอำนาจ (A1) สถาบันการเงินต้องส่งเอกสารตัวจริงให้ ธปท.
|
59. สถาบันการเงินยื่นขอกู้ soft loan ได้ภายในกำหนดระยะเวลาเท่าไร
|
สถาบันการเงินที่ประสงค์จะขอกู้ยืมเงิน soft loan จาก ธปท. ต้องยื่นคำขอกู้ยืมเงินต่อ ธปท. ภายในกำหนดระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ พ.ร.ก. ใช้บังคับ (19 เมษายน -18 ตุลาคม 2563) หรือตามกำหนดระยะเวลาที่ ธปท. ขยายเพิ่มเติม ทั้งนี้ ธปท. กำหนดให้สถาบันการเงินยื่นกู้ ครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563 ภายในเวลา 11.00 น.
|
60. ลูกหนี้เปลี่ยนแปลงประเภทนิติบุคคลหรือเปลี่ยนแปลงชื่อภายหลังวันที่ 31ธันวาคม 2562 ส่งผลให้ customer ID ของลูกหนี้รายดังกล่าวเปลี่ยนไป ลูกหนี้รายดังกล่าวสามารถขอกู้ soft loan ได้หรือไม่
|
กรณีที่ลูกหนี้มีคุณสมบัติตามมาตรการ soft loan แต่มีการเปลี่ยนแปลง customer ID ลูกหนี้รายดังกล่าวสามารถยื่นขอกู้ soft loan ได้ โดยให้สถาบันการเงินส่งเอกสารหลักฐานการเปลี่ยนแปลงเพื่อยืนยันว่าลูกหนี้รายดังกล่าวเป็นรายเดิมที่มีข้อมูลใน DMS ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ผ่านเจ้าหน้าที่สัมพันธ์ (RM) ที่ดูแลสถาบันการเงินดังกล่าว
|
04 การคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของ soft loan ต่อ ธปท. |
61. การดำเนินการของสถาบันการเงิน กรณีลูกหนี้เปลี่ยนใจไม่ใช้สินเชื่อกับสถาบันการเงิน ลูกหนี้ชำระหนี้คืนในระหว่าง 2 ปีโดยยังไม่ปิดบัญชี หรือลูกหนี้ชำระคืนปิดวงเงิน
|
กรณีลูกหนี้ชำระหนี้บางส่วนหรือทั้งหมด แต่ยังไม่ปิดบัญชี ในระหว่าง 2 ปี สถาบันการเงินไม่ต้องนำเงินดังกล่าวส่งคืน ธปท. สำหรับกรณีลูกหนี้ไม่ประสงค์ใช้วงเงินหรือชำระปิดบัญชี ให้สถาบันการเงินชำระหนี้ soft loan คืน ธปท. ภายใน 30 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับชำระหนี้คืนทั้งหมดจากผู้ประกอบวิสาหกิจ หรือวันที่ได้รับแจ้งความประสงค์จากผู้ประกอบวิสาหกิจแล้วแต่กรณี ตามประกาศ ธปท. ที่ สกส. 1.2/2563 ข้อ 4.8 (1)
|
62. การดำเนินการของสถาบันการเงิน กรณีลูกหนี้อาจไม่สามารถชำระจนครบและปิดวงเงินได้ทันทีเมื่อครบ 2 ปี
|
การกำหนดระยะเวลาเงินกู้ ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินกับลูกหนี้ เพียงแต่จะรับการช่วยเหลือและชดเชยตามมาตรการ soft loan ในระยะเวลา 2 ปี หลังจากนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงิน
|
63. สถาบันการเงินจะต้องจ่ายชำระดอกเบี้ยให้ ธปท. เช่น จ่ายทุกเดือน หรือทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน
|
สถาบันการเงินจะต้องจ่ายชำระดอกเบี้ยให้ ธปท. เมื่อครบกำหนดตั๋วสัญญาใช้เงินระยะเวลา 2 ปี โดยฐานในการคำนวณ 1 ปี เท่ากับ 365 วัน
|
64. กรณีที่ลูกหนี้ที่กู้ยืม soft loan มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไข สถาบันการเงินจะต้องคืนเงินกู้ soft loan ให้กับ ธปท. ภายในกี่วันหรือสามารถนำไป settlement ได้เมื่อครบ 2 ปี และยอดเงินกู้ที่ลูกหนี้เบิกไปจะไม่ได้รับการชดเชยจากรัฐ ใช่หรือไม่
|
กรณีภายหลังจากที่สถาบันการเงินรับเงินกู้ยืมจาก ธปท. และพบว่าสถาบันการเงินนำเงินดังกล่าวไปให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.ก. หรือประกาศ ธปท. ให้สถาบันการเงินคืนเงินกู้ยืมตามจำนวนที่มีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ คืนให้แก่ ธปท. ตามระยะเวลาที่ ธปท. จะประกาศกำหนดและรัฐไม่รับชดเชยความเสียหายให้ ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินดูแลลูกหนี้ต่อไปโดยต้องไม่กำหนดในข้อสัญญาระหว่างสถาบันการเงินกับลูกหนี้ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในช่วง 2 ปีแรกให้เกินกว่าร้อยละ 2 ต่อปี หรือกำหนดให้ลูกหนี้ชำระเบี้ยปรับหรือค่าความเสียหายประการอื่นแก่สถาบันการเงินตามประกาศ ธปท. ที่ สกส1.2/2563 ข้อ 4.8 (2) อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยจากผู้ประกอบวิสาหกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับ soft loan งวดแรกในอัตราไม่เกินร้อยละ 2
|
65. หากลูกหนี้ชำระคืน soft loan กับสถาบันการเงินก่อนถึงกำหนด 2 ปี สถาบันการเงินต้องแก้ไขตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้กับ ธปท. หรือไม่ อย่างไร
|
กรณีที่ลูกหนี้ชำระคืนหนี้ปิดวงเงิน soft loan แล้ว ให้สถาบันการเงินชำระหนี้ soft loan คืน ธปท. ตามจำนวนที่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ดังกล่าว ภายใน 30 วันทำการ โดย ธปท. จะใช้วิธีการสลักหลังลดยอดหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและคำนวณดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.01 นับตั้งแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับเงิน soft loan จาก ธปท. จนถึงวันที่สถาบันการเงินคืนเงินดังกล่าวให้ ธปท. โดยไม่ต้องมีการแก้ไขหรือออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่
|
05 การจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยและเงินชดเชย |
66. คุณสมบัติของลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (TDR) ที่จะได้รับความชดเชย
|
ลูกหนี้ที่รับการชดเชยต้องเป็นลูกหนี้ soft loan ที่กลายไปเป็น stage3 หรือ ลูกหนี้ stage3 ที่ได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แล้วปรับมาเป็น stage2 ณ วันสิ้นสุดสัญญา soft loan 2 ปี
|
67. วิธีการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยและเงินชดเชย
|
|
67.1 รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินใช่หรือไม่
|
67.1 ลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการ soft loan กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกหนี้ในอัตราร้อยละ 2 โดยกระทรวงการคลังจะเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยจ่ายแทนลูกค้าในระยะ 6 เดือนแรก นับจากวันที่ลูกหนี้เบิกใช้วงเงินครั้งแรก
|
67.2 การคำนวณดอกเบี้ยที่ภาครัฐออกให้ลูกหนี้ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่ที่ลูกหนี้เบิกเงินกู้ soft loan งวดแรก จะนับแบบวันชนวันหรือไม่
|
67.2 การคำนวณเงินชดเชยดอกเบี้ยให้คิดตั้งแต่วันที่ลูกหนี้เบิกเงินกู้ครั้งแรกจนถึงวันที่ ครบกำหนด 6 เดือน โดยใช้หลักนับต้นไม่นับท้าย เช่น สถาบันการเงินได้รับ soft loan จาก ธปท. ไปเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 ลูกหนี้เบิกใช้เงินกู้ครั้งแรกจากสถาบันการเงินในวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 - หากลูกหนี้เบิกใช้เงินกู้ครั้งเดียวในวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 ดอกเบี้ยเงินกู้จะได้รับการชดเชยนับตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เป็นจำนวน 184 วัน (27+30+31+31+30+31+4) - หากลูกหนี้ทยอยเบิกใช้เงินกู้ เช่น วันที่ 5 พฤษภาคม 2563เบิกเงินกู้ครั้งแรก ต่อมาวันที่ 5 มิถุนายน 2563 เบิกเงินกู้ส่วนที่เหลือ ดอกเบี้ยเงินกู้ครั้งแรกจะได้รับการชดเชย 184 วัน แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนที่เหลือจะได้รับการชดเชยนับแต่วันเบิกใช้จนถึงวันที่ครบกำหนด 6 เดือน หรือ 153 วัน (26+31+31+30+31+4)
โดยสถาบันการเงินต้องไม่เรียกเก็บดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในช่วง 6 เดือนแรก และให้บันทึกบัญชีเป็นดอกเบี้ยค้างรับไว้เพื่อรอการชดเชยจากกระทรวงการคลัง เมื่อครบกำหนด 2 ปี 6 เดือน
|
67.3 การคำนวณเงินชดเชยเมื่อครบ 2 ปี 6 เดือนภายหลัง พ.ร.ก. มีผลบังคับใช้จะนับวันอย่างไร ระหว่าง วันชนวัน หรือ วันสิ้นเดือนก่อนครบ 2 ปี 6 เดือน
|
67.3 วันที่ครบกำหนด 2 ปี 6 เดือน ที่ ธปท.จะเริ่มคำนวณเงินชดเชยดอกเบี้ยและเงินชดเชยคือ วันที่ 18 ตุลาคม 2565
|
68. ในช่วง 6 เดือนแรกที่รัฐบาลจะรับภาระดอกเบี้ยแทนลูกหนี้ ทางสถาบันการเงินจะต้องนำส่งรายงานรายชื่อลูกค้าที่ได้รับ soft loan ให้ทางหน่วยงานไหนที่เป็น center เพื่อที่จะได้จัด process เรื่องของการจ่ายชำระดอกเบี้ยแทนลูกหนี้ใน 6 เดือน
|
เมื่อครบ 2 ปี 6 เดือนนับแต่วันที่ พ.ร.ก. ใช้บังคับ ธปท. จะคำนวณเงินชดเชยดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการกำกับการจ่ายเงินชดเชยตาม พ.ร.ก. ทั้งนี้ ธปท. อยู่ระหว่างออกหลักเกณฑ์และรูปแบบการรายงาน
|
69. เกณฑ์การคำนวณเงินชดเชย
69.1 หลักการการคำนวณความเสียหายที่รัฐจะชดเชย โดยไม่อ้างอิง TFRS 9 ซึ่งเป็นมาตรฐานการบัญชีที่ใช้ในปัจจุบัน แต่จะอ้างอิงเกณฑ์จัดชั้นและกันเงินสำรองเดิม (ก่อน TFRS 9 บังคับใช้) รวมถึงสำรองสำหรับลูกหนี้ TDR stage 2 จะต้องคำนวณอย่างไร
|
69.1 การที่ ธปท. กำหนดให้คำนวณความเสียหายโดยใช้เกณฑ์การกันเงินสำรองตามที่ ธปท. กำหนด (ก่อน TFRS 9) เพื่อความเป็นมาตรฐาน เนื่องจาก model TFRS 9 ของแต่ละสถาบันการเงินยังแตกต่างกัน และ ธปท. ยังไม่ได้ verified model TFRS 9 สำหรับเงินสำรองลูกหนี้ TDR stage 2 ให้ใช้อัตราร้อยละ 36 ของยอดหนี้หลังหักมูลค่าหลักประกัน
|
69.2 การติดตามสถานะลูกหนี้อีก 2 ปี หลังจบโครงการ เพื่อพิจารณาจ่ายชดเชยส่วนที่เหลือ หมายความว่าอย่างไร และจะกระทบเงินกองทุนและสำรองของสถาบันการเงินหรือไม่
|
69.2 ธปท. จะจ่ายเงินชดเชยส่วนหนึ่งให้สถาบันการเงินเมื่อครบระยะเวลาตามโครงการ (2 ปี 6 เดือน) และส่วนที่เหลือในอีก 2 ปี โดยในระหว่างนั้น สถาบันการเงินสามารถตั้งรัฐบาลเป็นลูกหนี้ได้ โดยเจตนารมณ์คือเงินชดเชยส่วนที่เหลือต้องไม่กระทบเงินกองทุนและสำรองของสถาบันการเงิน
|
70. กรณีที่สถาบันการเงินได้เงินชดเชยจากกระทรวงการคลังแล้ว ยังมีสิทธิไล่เบี้ยหลักประกันจากลูกหนี้อีกหรือไม่
|
สถาบันการเงินยังคงมีสิทธิไล่เบี้ยกับลูกหนี้ตามสัญญากู้ยืม
|
71. หากภายหลังสถาบันการเงินสามารถเรียกเงินจากผู้ค้ำประกันได้ ต้องคืนเงินให้กับรัฐบาลหรือไม่
|
ธปท. จะคำนวณเงินชดเชยที่สถาบันการเงินพึงรับโดยแบ่งการคำนวณเป็น 2 ครั้ง ดังนี้
1. เมื่อครบกำหนด 2 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่ พ.ร.ก. มีผลใช้บังคับ ธปท. จะคำนวณยอดเงินชดเชยครั้งแรก ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินที่คำนวณได้ตามวิธีการคำนวณ
2. เมื่อครบกำหนด 4 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่ พ.ร.ก. มีผลใช้บังคับใช้
ทั้งนี้ หากเงินชดเชยที่คำนวณในรอบที่ 2 นี้ต่ำกว่ารอบที่ 1 ให้สถาบันการเงินคืนเงินชดเชยตามส่วนต่างที่คำนวณได้ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินชดเชยที่คณะกรรมการกำกับ การจ่ายเงินชดเชยกำหนด ตามประกาศ ธปท. ที่ สกส. 1.2/2563 ข้อ 4.11 (2) แต่หากภายหลังครบกำหนดคำนวณเงินชดเชยในรอบที่ 2 สถาบันการเงินสามารถขายหลักประกัน soft loan ได้คุ้มกับมูลหนี้ที่เป็น NPL สถาบันการเงินไม่ต้องคืนเงินชดเชยให้ ธปท.
|
72. สถาบันการเงินสามารถนำลูกหนี้ที่สถาบันการเงินช่วยเหลือตามมาตรการที่ออกไปก่อนหน้านี้ เช่น กรณีลดดอกเบี้ยให้ลูกหนี้เหลือ 0.5% เป็นต้น มาเข้ารับเงินชดเชยจากมาตรการนี้ได้อีกหรือไม่
|
ลูกหนี้ยังมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือถ้าคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
|
73. การขอ soft loan ของลูกหนี้ SME ในโครงการ PGS (Portfolio Guarantee Scheme) ที่มี บสย. ค้ำประกัน
73.1 การรับความเสี่ยงระหว่าง ธปท. และ บสย. จะเป็นอย่างไร
73.2 การนำหลักประกันมาเพื่อคำนวณเงินชดเชยจะเป็นรูปแบบใด
|
ให้สถาบันการเงินหักภาระหนี้ที่มี บสย. ค้ำประกันออกจากการคำนวณยอดหนี้รวมและส่วนที่เป็นหลักประกันในส่วนของ บสย.
|
74. ภายหลังที่ ธปท. จ่ายเงินชดเชยมาแล้ว ธปท. จะดำเนินคดีกับลูกหนี้หรือไม่ หรือสถาบันการเงินต้องดำเนินการเอง
|
สถาบันการเงินต้องดำเนินการตามกฎหมายกับลูกหนี้เอง เนื่องจากสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายยังอยู่ที่สถาบันการเงิน
|
75. หากลูกค้าผิดนัดชำระหนี้ สถาบันการเงินจะต้องดำเนินการตามกฎหมายกับลูกค้าก่อนหรือไม่
|
ให้สถาบันการเงินพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายตามหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงิน โดย ธปท. จะพิจารณาชดเชยตามอัตราที่ประกาศกำหนด
|
76. ในการคำนวณเงินชดเชย จำนวนเงินที่สถาบันการเงินสำรองต้องใช้มูลค่าหลักประกัน ณ วันใด
|
สถาบันการเงินต้องใช้มูลค่าหลักประกันเพื่อคำนวณเงินชดเชย ดังนี้
1. การคำนวณสำรองตั้งต้นให้ใช้มูลค่าหลักประกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
2. การคำนวณสำรอง ณ วันครบกำหนดสัญญา ให้ใช้มูลค่าหลักประกันเดือนสุดท้ายของวันครบกำหนด
ทั้งนี้ การคำนวณเงินสำรองให้เป็นไปตามประกาศ ธปท. ที่ สกส 1.4/2563 เรื่อง อัตราการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายแก่สถาบันการเงินตามมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
|
77. กรณีที่ลูกหนี้สินเชื่อ soft loan มียอดหนี้เพิ่มขึ้นจาก L/G เคลม นำมาคำนวณสำรองอย่างไร
|
การคำนวณสำรองใช้ยอดหนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เปรียบเทียบกับวันที่คำนวณสำรองเดือนสุดท้ายก่อนวันครบกำหนดปีที่ 2 และปีที่ 4 นับแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจแต่ละรายได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมวันแรก
ทั้งนี้ ไม่รวมสินเชื่อที่มีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมค้ำประกัน และบัญชีสินเชื่อที่อนุมัติหลัง ธ.ค. 2562
|
78. ลูกหนี้ soft loan ที่ผิดนัดชำระหนี้ และ ธปท. จ่ายชดเชยมาแล้วบางส่วน หากธนาคารจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับลูกหนี้ ธนาคารจะใช้มูลหนี้ใดในการฟ้องร้อง (มูลหนี้ทั้งหมด หรือเฉพาะส่วนที่ไม่ได้รับการชดเชย)
|
ใช้มูลหนี้ทั้งหมด รวมส่วนที่ได้รับการชดเชยด้วย
|
79. การคำนวณเงินชดเชยที่ ธปท. กำหนดให้ในกรณีที่วงเงินสินเชื่อของผู้ประกอบวิสาหกิจไม่เกิน 50 ล้านบาท สถาบันการเงินจะได้รับชดเชยร้อยละ 70 แต่หากมีวงเงินเกิน 50 ล้านบาท สถาบันการเงินจะได้รับชดเชยร้อยละ 60 วงเงินดังกล่าวหมายถึงวงเงิน soft loan ใช่หรือไม่ และการชดเชยจะนับเป็นขั้นบันไดหรือ lump sum
|
การกำหนดอัตราคำนวณเงินชดเชยพิจารณาจากวงเงินสินเชื่อของกลุ่มธุรกิจผู้ประกอบวิสาหกิจ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และการคำนวณเงินชดเชยจะคำนวณแบบ lump sum เช่น กลุ่มธุรกิจของลูกหนี้มีวงเงินสินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 60 ล้านบาท สถาบันการเงินจะได้รับชดเชยร้อยละ 60 ตามวิธีการคำนวณที่ ธปท.กำหนด
|
80. กรณีที่วงเงินสินเชื่อของกลุ่มธุรกิจผู้ประกอบวิสาหกิจไม่เกิน 50 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 สถาบันการเงินจะได้รับชดเชยร้อยละ 70 ของยอดหนี้ soft loan ใช่หรือไม่
|
ไม่ใช่ สถาบันการเงินจะได้รับเงินชดเชยตามวิธีการคำนวณที่ ธปท.กำหนด ในเอกสารแนบ 5 ของประกาศ ธปท.ที่ สกส1. 2/2563 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การจ่ายเงินชดเชย = สำรองส่วนเพิ่ม × ยอดหนี้ใหม่/ยอดหนี้รวม × อัตราการจ่ายเงินชดเชย ตัวอย่างการคำนวณ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ลูกหนี้จัดชั้นปกติมีวงเงินและยอดหนี้คงค้างกับสถาบันการเงิน 10 ล้านบาท มีที่ดินเป็นหลักประกัน 10 ล้านบาท ต่อมาลูกหนี้ได้รับเงินกู้ soft loan 2 ล้านบาท โดยไม่เรียกหลักประกันเพิ่ม ต่อมาลูกหนี้กลายเป็น NPL (stage 3) ณ วันเริ่มสัญญา 31 ธันวาคม 2562 (T) : สำรองพึงกัน =[10 – มูลค่าหลักประกัน (10 × 90%)] × อัตรากันสำรอง (1%) = 0.01 ล้านบาท ณ วันครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีของสัญญา (T+2) : สำรองพึงกัน =[12 – มูลค่าหลักประกัน (10 × 62%)] × อัตรากันสำรอง (100%) = 5.80 ล้านบาท ณ วันครบกำหนดระยะเวลา 4 ปีของสัญญา (T+4) : สำรองพึงกัน =[12 – มูลค่าหลักประกัน (10 × 62%)] × อัตรากันสำรอง (100%) = 5.80 ล้านบาท วิธีการคำนวณ สำรองส่วนเพิ่ม = 5.80 – 0.01 = 5.79 ล้านบาท คำนวณตามสูตร = 5.79 x 2/12 x 70% = 0.68 ล้านบาท จ่ายเงินชดเชยรอบแรก 80% ของเงินชดเชย (T+2)= 0.68 x 80% = 0.54 ล้านบาท จ่ายเงินชดเชยรอบที่ 2 ส่วนที่เหลือ (T+4) = 0.68 – 0.54 = 0.14 ล้านบาท
|
81. กรณีที่สถาบันการเงินพิจารณาให้วงเงิน soft loan กับลูกหนี้โดยแบ่งเป็นหลายสัญญา การคำนวณดอกเบี้ยที่ภาครัฐออกให้ลูกหนี้ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับตั้งแต่ที่ลูกหนี้เบิกเงินกู้ soft loan งวดแรก พิจารณาเริ่มนับตั้งแต่เบิกเงินกู้ครั้งแรกของลูกหนี้รายนี้ หรือพิจารณาเริ่มนับแยกตามแต่ละสัญญา
|
การคำนวณดอกเบี้ยที่ภาครัฐออกให้ลูกหนี้ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรก พิจารณาเริ่มนับตั้งแต่ลูกหนี้เบิกเงินกู้ครั้งแรกในสัญญาแรก
|
06 การจัดชั้นหนี้และการกันเงินสำรอง |
82. การคำนวณสำรองตลอดอายุสัญญาปกติใช้เกณฑ์ TFRS 9 แต่ soft loan ของ ธปท. ให้ใช้การคำนวณสำรองแบบเดิม (1 % / 2 % / 100 % ) ใช่หรือไม่
|
สถาบันการเงินต้องกันสำรองทั้งวงเงินเดิมและวงเงิน soft loan ตามเกณฑ์ TFRS 9 แต่การคำนวณเงินชดเชย soft loan ให้ใช้การคำนวณเงินสำรองตามเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด
|
83. กรณีที่วงเงินเดิมลูกค้าเป็น TDR ช่วงดูใจ และมีการพิจารณาให้ top up soft loan BOT ส่วนที่ top-up จะคิด stage อย่างไร แยกคิดกับวงเงินเดิมใช่หรือไม่ (พิจารณาเป็นรายบัญชี)
|
สถาบันการเงินสามารถจัดชั้นสินเชื่อ soft loan เป็นรายบัญชีได้ ตามหนังสือที่ ธปท.ฝนส.(23)ว. 276/2563 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่อง แนวทางในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
|
84. สถาบันการเงินกำหนดระยะเวลาสินเชื่อ soft loan 2 ปี หากหลังจากนั้นขยายระยะเวลาด้วยเงินทุนสถาบันการเงินเอง จะถือเป็น reschedule หรือไม่
|
ให้พิจารณาจัดชั้นลูกหนี้ตามประกาศ ธปท. ที่ สนส. 23/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงิน
|
85. ดอกเบี้ยที่ภาครัฐออกให้ลูกหนี้ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่ที่ลูกหนี้เบิกเงินกู้ soft loan งวดแรก สถาบันการเงินสามารถรับรู้รายได้โดยไม่ต้องกันเงินสำรองได้หรือไม่
|
สถาบันการเงินสามารถรับรู้รายได้ดอกเบี้ยที่ภาครัฐออกให้ลูกหนี้ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่ที่ลูกหนี้เบิกเงินกู้ soft loan งวดแรกโดยไม่ต้องกันเงินสำรอง โดยดอกเบี้ยดังกล่าวถือเสมือนได้รับการค้ำประกันจากกระทรวงการคลัง มี risk weight ร้อยละ 0 ซึ่งสถาบันการเงินสามารถนำมาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ได้ร้อยละ 100 ก่อนการกันเงินสำรอง
|
86. กรณีที่สถาบันการเงินปล่อยกู้ soft loan ให้ลูกหนี้ สถาบันการเงินสามารถนำเงินชดเชยที่คาดว่าจะได้รับจากภาครัฐมาหักเงินสำรองสำหรับลูกหนี้รายดังกล่าวได้หรือไม่และคำนวณ risk weight เพื่อดำรงเงินกองทุนอย่างไร
|
- กรณีธนาคารพาณิชย์ ให้นำมูลค่าส่วนที่จะได้รับชดเชยจากรัฐบาลมาปรับลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เพื่อใช้คำนวณค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL)ตามคำถาม – คำตอบ ข้อ 2.1 แนบท้ายหนังสือที่ ธปท.ฝนส.(23)ว. 405/2563 ลงวันที่ 7 เมษายน 2563 เรื่อง แนวปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์เพื่อดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด 19 (COVID-19)
- กรณีสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้นำมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับการชดเชยจากรัฐบาลมาหักออกจากมูลค่าตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสำรองตามหนังสือที่ ธปท.ฝกฉ.(72)ว. 406/2563 ลงวันที่ 7 เมษายน 2563 เรื่อง แนวปฏิบัติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด 19 (COVID-19)
ทั้งนี้ สถาบันการเงินสามารถคำนวณมูลค่าส่วนที่จะได้รับชดเชยจากรัฐบาลเพื่อนำมาปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้โดยเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งจาก 2 วิธี ดังนี้ วิธี่ที่ 1 คำนวณโดยใช้สูตรการคำนวณแบบง่าย ดังนี้ การจ่ายเงินชดเชย = ยอดหนี้ใหม่ × อัตราการจ่ายเงินชดเชย ตัวอย่างการคำนวณ หากลูกหนี้มีวงเงินกลุ่มธุรกิจ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 100 ล้านบาท มียอดหนี้คงค้าง 100 ล้านบาท ไม่มีหลักประกัน ต่อมาได้รับสินเชื่อ soft loan 20 ล้านบาท สถาบันการเงินจะต้องกันสำรองสำหรับลูกหนี้รายนี้โดยนำส่วนที่จะได้รับชดเชยร้อยละ 60 เท่ากับ 12 ล้านบาท มาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสำรองได้ทั้งจำนวน ดังนั้น ราคาตามบัญชีของลูกหนี้ภายหลังหักส่วนที่จะได้รับชดเชยก่อนการกันเงินสำรองเท่ากับ 8 ล้านบาท
หรือ วิธีที่ 2 คำนวณตามยอดที่คาดว่าจะได้รับการชดเชยจริง โดยใช้สูตรการคำนวณตามเอกสารแนบ 5 ของประกาศ ธปท.ที่ สกส1. 2/2563ดังนี้ การจ่ายเงินชดเชย = สำรองส่วนเพิ่ม × (ยอดหนี้ใหม่/ยอดหนี้รวม) × อัตราการจ่ายเงินชดเชย สำหรับการคำนวณ risk weight ให้แบ่งยอดสุทธิของธุรกรรมออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ได้รับชดเชยจากรัฐบาล คิดน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 0 และส่วนที่ไม่ได้รับชดเชยให้คิดน้ำหนักความเสี่ยงตามประเภทลูกหนี้
|
07 ประเด็นอื่นๆ |
87. หากลูกหนี้ได้รับอนุมัติวงเงิน soft loan ของธนาคารออมสินไปแล้ว แต่ประสงค์จะเปลี่ยนมาใช้ soft loan ตามมาตรการนี้แทน เพราะมีการช่วยเรื่องดอกเบี้ย 6 เดือน สามารถทำได้หรือไม่
|
ถือเป็นการให้สินเชื่อ refinance เนื่องจากเป็นการนำ soft loan ของ ธปท. ไปจ่ายชำระคืน soft loan ของธนาคารออมสิน ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรการครั้งนี้
|
88. หากสถาบันการเงินให้กู้ soft loan ของธนาคารออมสินแล้ว สามารถปล่อยกู้ soft loan นี้ได้อีกหรือไม่
|
สถาบันการเงินสามารถให้กู้ได้ ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามมาตรการนี้ โดยเฉพาะแก่ลูกหนี้ที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐในลักษณะคล้ายคลึงกันมาก่อน เพื่อเป็นการจัดสรรเงินกู้ยืมและกระจายความช่วยเหลือให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ได้อย่างทั่วถึง
|
89. สถาบันการเงินสามารถนำสินเชื่อส่วนที่เกินจากวงเงินตามมาตรการไปเข้าร่วมโครงการค้ำประกันของ บสย. หรือไม่
|
วงเงิน soft loan ที่รัฐชดเชยความเสียหายให้แล้ว ไม่ควรให้เข้าโครงการค้ำประกันกับ บสย. สำหรับสินเชื่อส่วนที่เกินจากวงเงินตามมาตรการหลักเกณฑ์ไม่ได้กำหนด แต่สถาบันการเงินควรพิจารณาตามความเสี่ยงและความจำเป็น ที่ต้องไม่กระทบต่อภาระของลูกค้าที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น
|
90. ขอทราบลำดับการตัดชำระหนี้ระหว่าง soft loan ธปท. และสินเชื่อเดิมของลูกหนี้หรือ soft loan ตามมาตรการอื่น (หากลูกค้าชำระไม่ครบ)
|
ลำดับการตัดชำระหนี้เป็นไปตาม schedule payment ของสถาบันการเงิน
|
91. หากพบว่าลูกหนี้มีเงื่อนไขที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดแล้ว การคิด LCR/NSFR คิดอย่างไร
|
การคิด LCR/NSFR คำนวณตามวิธีปกติ ทั้งนี้ตามหนังสือ ที่ ธปท.ฝนส.(23)ว.405/2563 แนวปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์เพื่อดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด 19 (COVID-19) ผ่อนผันให้ ธพ. สามารถดำรงอัตราส่วน LCR และ NSFR ได้ต่ำกว่าร้อยละ 100 เป็นการชั่วคราวได้จนถึง 31 ธันวาคม 2564 โดยขอให้แจ้งมายัง ธปท. พร้อมจัดทำประมาณการและแผนการบริหารสภาพคล่องภายใน 15 วัน นับแต่วันที่อัตราดังกล่าวต่ำกว่าร้อยละ 100
|
92. ตามหนังสือที่ ธปท.ฝต2.(63) ว. 471/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติในการรับยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจำนองหลักประกันอันเนื่องมาจากการให้สินเชื่อตามมาตรการในพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ที่กำหนดให้สถาบันการเงินเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการจำนองอสังหาริมทรัพย์และอาคารชุดและการจดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ โดยสถาบันการเงินจะต้องระบุข้อตกลงดังกล่าวในสัญญากู้ยืม และ/หรือสัญญาจำนอง และ/หรือสัญญาหลักประกันทางธุรกิจให้ชัดเจน ขอสอบถามว่า
|
|
92.1 สถาบันการเงินต้องจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวแทนลูกหนี้หรือไม่
|
92.1 สถาบันการเงินได้รับยกเว้นค่าคำขอ ค่าธรรมเนียมจดจำนองที่ดิน และค่ามอบอำนาจ ตาม พ.ร.ก. อย่างไรก็ดี ขอให้สถาบันการเงินสอบถามสำนักงานที่ดินที่จะไปจดจำนองว่าทราบเรื่องการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามหนังสือที่ มท ๐๕๑๕.๓/ว ๑๐๓๐๔ เรื่อง การจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์และอาคารชุด อันเนื่องมาจากการให้กู้ยืมเงินตามมาตรการแห่งพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้วหรือไม่
|
92.2 ค่าธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้นตาม พ.ร.ก. รวมถึง ค่าคำขอ ค่ามอบอำนาจ ค่าธรรมเนียม อปท. ค่าพยาน หรือไม่
|
92.2 พิจารณาตามแนวถามตอบข้อ 92.1
|
92.3 การกำหนดข้อความดังกล่าวในสัญญากู้ยืมเงิน ธปท.ได้กำหนดเป็นข้อความมาตรฐานและกำหนดว่าต้องระบุไว้ในส่วนใดของสัญญาหรือไม่ นอกจากนี้ สถาบันการเงินต้องระบุข้อความดังกล่าวในสัญญาจำนองหรือสัญญาหลักประกันธุรกิจด้วยหรือไม่
|
92.3 สถาบันการเงินจะต้องระบุข้อความดังกล่าวในสัญญากู้ยืมเงิน และ/หรือสัญญาจำนอง และ/หรือสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ อย่างน้อยสัญญาใดสัญญาหนึ่ง ให้ชัดเจนว่า สถาบันการเงินจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการจดจำนอง ซึ่ง ธปท.ไม่ได้กำหนดเป็นข้อความมาตรฐานและไม่ได้กำหนดว่าต้องระบุในส่วนใดของสัญญา
|
92.4 การจดจำนองเครื่องจักรเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามแนวปฏิบัติที่อ้างถึงข้างต้นด้วยหรือไม่ เนื่องจากการจดจำนองเครื่องจักรสามารถเลือกยื่นขอจดทะเบียนได้กับ 2 หน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือกรมโรงงานอุตสาหกรรม
|
92.4 ได้รับยกเว้นเฉพาะการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
|
92.5 การจดจำนองหลักประกันที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับ soft loanจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมจากกรมที่ดินหรือไม่
|
92.5 การนำที่ดินของบุคคลอื่นมาจดจำนองเพื่อค้ำประกันการกู้ยืมเงิน soft loan ของผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดจำนองจากกรมที่ดินตามหนังสือที่ มท ๐๕๑๕.๓/ว ๑๐๖๗๔ เรื่อง แจ้งแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม กรณีจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์และอาคารชุด อันเนื่องมาจากการให้กู้ยืมเงินตามมาตรการแห่งพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓
|
93. วิธีปฏิบัติสำหรับดอกเบี้ยที่จะได้รับชดเชยจากกระทรวงการคลังในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมงวดแรก
|
|
|
93.1 ให้สถาบันการเงินคำนวณและบันทึกยอดดอกเบี้ยค้างรับของลูกหนี้แต่ละรายที่จะต้องขอรับการจ่ายชดเชยจากกระทรวงการคลัง และทุกสิ้นเดือนให้สถาบันการเงินโอนดอกเบี้ยค้างรับดังกล่าวไปบันทึกบัญชีดอกเบี้ยค้างรับรอการชดเชยจากกระทรวงการคลัง หรือจะบันทึกบัญชีดอกเบี้ยค้างรับรอการชดเชยจากกระทรวงการคลังสำหรับ 6เดือนแรกโดยตรงก็ได้ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องมีระบบข้อมูลที่มีรายละเอียดดอกเบี้ยค้างรับของลูกหนี้แต่ละราย เพื่อให้ ธปท. สามารถตรวจสอบได้
สำหรับกรณีที่สถาบันการเงินให้กู้ยืมเงิน soft loan ของ ธปท. ในรูปแบบวงเงินเบิกเกินบัญชี ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีดอกเบี้ยค้างรับของลูกหนี้แต่ละรายแยกออกมาจากวงเงินเบิกเกินบัญชี และทุกสิ้นเดือนให้สถาบันการเงินโอนดอกเบี้ยค้างรับดังกล่าวไปบันทึกบัญชีดอกเบี้ยค้างรับรอการชดเชยจากกระทรวงการคลัง หรือจะบันทึกบัญชีดอกเบี้ยค้างรับรอการชดเชยจากกระทรวงการคลังสำหรับ 6 เดือนแรกโดยตรงก็ได้ ทั้งนี้สถาบันการเงินต้องไม่คิดดอกเบี้ยดังกล่าวทบเป็นเงินต้นในบัญชีเงินเบิกเกินบัญชี
|
93.2 การรายงาน data set (LAR, TCS, PVS, TDR)
|
93.2 ให้สถาบันการเงินรายงานดอกเบี้ยค้างรับในช่วง 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมงวดแรกเป็นศูนย์ เนื่องจากกระทรวงการคลังรับจะชดเชยแทนผู้ประกอบวิสาหกิจ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่ใช่ภาระของผู้ประกอบวิสาหกิจ
|
93.3 การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต (risk weight)
|
93.3 จำนวนดอกเบี้ยค้างรับรอการชดเชยจากกระทรวงการคลังจะได้รับ risk weight ร้อยละ 0
|
93.4 การจัดชั้นและการกันเงินสำรอง
|
93.4 การจัดชั้นและการกันเงินสำรองสำหรับเงินกู้ยืม soft loan ของ ธปท. ในช่วง 6 เดือนแรก ให้สถาบันการเงินจัดชั้นและกันเงินสำรองตามเกณฑ์ TFRS 9 เฉพาะยอดหนี้โดยไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ เนื่องจากดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ใช่ภาระของผู้ประกอบวิสาหกิจ สำหรับดอกเบี้ยค้างรับรอการชดเชยจากกระทรวงการคลัง ให้สถาบันการเงินจัดชั้นและกันเงินสำรองตามวิธีปฏิบัติสำหรับลูกหนี้ภาครัฐบาล ภายหลัง 6 เดือน ให้สถาบันการเงินจัดชั้นและกันเงินสำรองสำหรับเงินต้นและดอกเบี้ยตามเกณฑ์ TFRS 9
|
94. การกรอกแบบรายงาน D1 94.1 รายงานข้อมูลลูกหนี้เป็นยอดสะสม (accumulative) ใช่หรือไม่ เช่น หากส่งข้อมูลในวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 คือ การรายงานข้อมูลลูกหนี้ที่ขอ soft loan เดือนเมษายน – มิถุนายน 2563
|
94.1 รายงานข้อมูลลูกหนี้ทุกรายที่เซ็นสัญญา soft loan กับสถาบันการเงินตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงสิ้นเดือนที่รายงาน เช่น การรายงานข้อมูลมิถุนายน 2563 ซึ่งกำหนดส่งข้อมูลวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 นั้น ให้รายงานสถานะลูกหนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ของลูกหนี้ทั้งหมดที่เคยได้รับสินเชื่อ soft loan ตั้งแต่วันที่ยื่นขอครั้งแรก 27 เมษายน 2563 จนถึง 30 มิถุนายน 2563
|
94.2 หากสถาบันการเงินยื่นเบิกเงิน soft loan จาก ธปท. ในวันจันทร์ที่ 29มิถุนายน 2563 และได้รับเงินจาก ธปท. วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม 2563 จะต้องรายงานลูกหนี้กลุ่มนี้ในรายงานเดือนมิถุนายน 2563 ที่นำส่งวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 หรือไม่
|
94.2 การรายงานสถานะลูกหนี้จะรายงานหลังจากสถาบันการเงินได้รับเงินจาก ธปท. และเซ็นสัญญากับลูกหนี้แล้ว (มีเลขที่สัญญา) โดยสถาบันการเงินสามารถรายงานยอดคงค้างเป็นศูนย์ได้ หากลูกหนี้ยังไม่เบิกเงินกับสถาบันการเงิน ทั้งนี้ จากกรณีตัวอย่าง สถาบันการเงินยังไม่ต้องรายงานลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว ในรายงานเดือนมิถุนายน 2563 ที่จะนำส่งวันที่ 21 กรกฎาคม 2563
|
94.3 หากสถาบันการเงินยื่นเบิกเงิน soft loan จาก ธปท. ในวันจันทร์ที่ 22มิถุนายน 2563 และได้รับเงินจาก ธปท. วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2563 แต่ลูกหนี้ยังไม่เบิกเงินจากสถาบันการเงินภายในเดือนมิถุนายน 2563 จะต้องรายงานลูกหนี้รายนี้ในรายงานเดือนมิถุนายน 2563 ที่จะนำส่งวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 หรือไม่
|
94.3 การรายงานสถานะลูกหนี้จะรายงานหลังจากสถาบันการเงินได้รับเงินจาก ธปท. และเซ็นสัญญากับลูกหนี้แล้ว (มีเลขที่สัญญา) โดยสถาบันการเงินรายงานยอดคงค้างเป็นศูนย์ได้ หากลูกหนี้ยังไม่เบิกเงินกับสถาบันการเงิน
|
94.4 การรายงานการจัดชั้นลูกหนี้ ณ สิ้นเดือน และการปรับโครงสร้างหนี้ เป็นข้อมูลรายลูกหนี้ใช่หรือไม่
|
94.4 ให้รายงานรูปแบบเดียวกับที่สถาบันการเงินรายงานข้อมูล DMS ชุด LAR และชุด SMD
|
94.5 ในช่อง “การปรับโครงสร้างหนี้นับแต่ได้รับ soft loan : วันที่ปรับโครงสร้างหนี้ล่าสุด (YYYY-MM-DD) ปี คศ.”ถ้ามีการปรับโครงสร้าง 2 ครั้ง ต้องรายงานข้อมูลวันที่ปรับโครงสร้างหนี้ครั้งที่ 2 หรือไม่
|
94.5 ให้รายงานวันที่ปรับโครงสร้างหนี้ครั้งล่าสุดโดยรายงานเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่สถาบันการเงินได้รับ soft loan จาก ธปท.
|
94.6 วันที่สถาบันการเงินคืนเงินกู้ก่อนกำหนด (ถ้ามี) คือ วันที่ ธปท. หักเงินจากบัญชีสถาบันการเงินซึ่งสอดคล้องกับเอกสาร E1.1 ในแต่ละรอบการชำระใช่หรือไม่
|
94.6 ให้รายงานวันที่ ธปท. หักเงินจากบัญชีสถาบันการเงิน
|
95. การกรอกแบบรายงาน D1 กรณีตั๋ว P/N 95.1 สถาบันการเงินให้สินเชื่อ soft loan เป็นตั๋ว P/N หลายฉบับแก่ลูกหนี้ จะต้องกรอกในแบบรายงาน D1 อย่างไร เช่น ลูกหนี้ได้รับเงิน soft loan 100 ล้านบาท ทยอยเบิกเป็นตั๋ว P/N จำนวน 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 วันที่ 1มิถุนายน 2563 จำนวน 40 ล้านบาท ครั้งที่ 2 วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จำนวน 40 ล้านบาท และครั้งที่ 3 วันที่ 1สิงหาคม 2563 จำนวน 20 ล้านบาท
|
95.1 ให้รายงานรูปแบบเดียวกับที่รายงานข้อมูล DMS ชุด LAR และชุด SMD ซึ่งทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
1. รายงานแยกรายสัญญา โดยรายงานข้อมูล 1 สัญญาเป็น 1 บรรทัด ดังนั้น หากมี ตั๋ว P/N หลายฉบับในสัญญาเดียวกัน ให้รายงานรวมในบรรทัดเดียวและระบุวันที่ลูกหนี้ได้รับเงิน soft loan ครั้งแรกเป็นวันที่ของตั๋ว P/N ฉบับแรก
2. รายงานแยกตั๋ว P/N รายฉบับ โดยรายงานข้อมูลตั๋ว P/N 1 ฉบับ ต่อ 1 บรรทัด และระบุวันที่ลูกหนี้ได้รับเงิน soft loan ครั้งแรก เป็นวันที่ของตั๋ว P/N แต่ละฉบับ
|
95.2 หากตั๋ว P/N ครบกำหนดอายุและต่ออายุสัญญา (roll over) ใน Template D1 จะให้ระบุวันที่ในช่อง “วันที่ลูกหนี้ได้รับเงิน soft loan จากสถาบันการเงินครั้งแรก” อย่างไร
|
95.2 วันที่ลูกหนี้ได้รับเงิน soft loan ครั้งแรกให้รายงานตามวันที่ P/N ฉบับแรก โดยเลขที่สัญญากู้ยืมให้เป็นไปตามฉบับที่มีการ roll overซึ่งจะสอดคล้องกับเลขที่สัญญาที่ธนาคารรายงานข้อมูล DMS ชุด LAR และชุด SMD
|
96. การระบุข้อมูลลูกหนี้กู้ร่วมในแบบรายงาน E1.1 , D1 และ D2 ให้ยึดตามแบบรายงาน C4.2 ใช่หรือไม่
|
การระบุลูกหนี้ในแบบรายงาน E1.1, D1 และ D2 ให้ยึดลูกหนี้ตามแบบรายงาน C4.2 เพราะเป็นข้อมูลลูกหนี้ที่ผ่านการพิจารณาให้สินเชื่อ soft loan จาก ธปท. และสถาบันการเงินแจ้งยืนยันแล้ว
|
97. การเปลี่ยนแปลงชื่อกลุ่มลูกหนี้ 97.1 กรณีสถาบันการเงินระบุชื่อกลุ่มลูกหนี้ในแบบรายงาน B2.1 ที่ยื่นในระหว่างเดือนไม่ถูกต้อง และต้องการเปลี่ยนข้อมูลในแบบฟอร์ม D2 ณ สิ้นเดือนต้องระบุข้อมูลอย่างไร
|
97.1 การระบุข้อมูลในแบบฟอร์ม D2 ในช่อง “ชื่อกลุ่มลูกหนี้ตาม B2.1 ของเดือนที่รายงาน” ให้ระบุชื่อกลุ่มลูกหนี้ใหม่ที่ถูกต้อง ส่วนช่อง “ชื่อกลุ่มลูกหนี้เดิม” ให้ระบุชื่อกลุ่มลูกหนี้เดิมที่รายงานผิดใน B2.1
|
97.2 ในกรณีมีการเปลี่ยนแปลงชื่อกลุ่มในระหว่างเดือน แต่ในเดือนดังกล่าวไม่มีลูกหนี้ในกลุ่มได้รับเงิน soft loan จะต้องแจ้งแก้ไขอย่างไร
|
97.2 หากในระหว่างเดือน สถาบันการเงินมีการเปลี่ยนแปลงชื่อกลุ่มลูกหนี้ แต่ไม่มีลูกหนี้ในกลุ่มดังกล่าวได้รับเงิน soft loan ในเดือนนั้นๆ สถาบันการเงินไม่ต้องกรอกแก้ไขชื่อกลุ่มลูกหนี้ในแบบรายงาน D2 แต่ให้กรอกแก้ไขในเดือนที่มีลูกหนี้ในกลุ่มได้รับเงิน soft loan อีกครั้ง
|
98. การรายงานในแบบรายงานสถานะที่ลูกหนี้ได้รับ soft loan ซึ่งกำหนดให้รายงานลูกหนี้ที่มีการคืนเงินทั้งจำนวนก่อนกำหนดในเดือนที่มีการคืนเงินด้วย และไม่ต้องรายงานลูกหนี้ดังกล่าวในเดือนถัดไป เดือนที่มีการคืนเงินหมายถึงวันที่ลูกหนี้ชำระเงินคืนสถาบันการเงิน หรือวันที่สถาบันการเงินชำระเงินคืน ธปท.
|
เดือนที่มีการคืนเงินตามคำอธิบายการกรอกแบบรายงานสถานะลูกหนี้ที่ได้รับ soft loanหมายถึง วันที่สถาบันการเงินชำระคืน ธปท.
|