คำถาม
|
คำตอบ
|
|
01 คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจที่สามารถเข้ารับความช่วยเหลือตามมาตรการ |
1. ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มใดบ้างที่เข้าเงื่อนไขตามมาตรการ
|
- ผู้ประกอบธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอสินเชื่อตามมาตรการไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 หรือไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวงเงินตามภาระผูกพันและวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค อันหมายความถึง วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ วงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และวงเงินสินเชื่อเช่าซื้อ เว้นแต่เป็นวงเงินสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ
- กรณีผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ต้องไม่เป็นลูกหนี้ NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ของสถาบันการเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอสินเชื่อตามมาตรการ (การจัดชั้นพิจารณาเป็นรายลูกหนี้ ลูกหนี้ที่เป็น NPL หลังวันที่ 31 ธันวาคม 2562 สามารถยื่นขอสินเชื่อตามมาตรการนี้ได้ ทั้งนี้ ขึ้นกับการพิจารณาของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง)
- ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
- ไม่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เว้นแต่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)
เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยไม่ต้องพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้น
|
2. ผู้ประกอบธุรกิจที่จะยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟู รวมผู้ประกอบธุรกิจในธุรกิจสถาบันการเงินด้วยหรือไม่ เช่น สถาบันการเงิน บริษัทประกัน บริษัทหลักทรัพย์ สหกรณ์ เป็นต้น
|
ประเภทองค์กรของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ ได้แก่ - องค์กรทางการไทย เช่น รัฐบาลกลาง (กระทรวง, ทบวง และกรมของรัฐบาลไทย) รัฐบาลท้องถิ่น (เช่น เทศบาล, สุขาภิบาล, องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น, เทศพาณิชย์ที่มิได้ดำเนินการในรูปบริษัท เป็นต้น) รัฐวิสาหกิจ และองค์การของรัฐ
- หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการในรูปบริษัทฯ
- สถาบันการเงินในประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์ไทย ธนาคารพาณิชย์ไทยเพื่อรายย่อย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ สาขาธนาคารต่างประเทศ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ สถาบันการเงินพิเศษของรัฐ สำนักงานผู้แทนธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
- ธุรกิจการเงินต่าง ๆ เช่น ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจลิสซิ่ง ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ ผู้ประกอบธุรกิจ factoring ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อราย่อยระดับจังหวัด (pico finance) บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ออมทรัพย์ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ โรงรับจำนำ
ทั้งนี้ไม่รวมถึง บุคคลรับอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Money Changer) เนื่องจากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการปล่อยกู้สินเชื่อ - กองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน
- องค์กรที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร เช่น วัด มูลนิธิ สมาคม โรงเรียนรัฐบาล มหาวิทยาลัยรัฐบาล เนื่องจากวัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์กรดังกล่าวไม่ได้จัดตั้งขึ้น
เพื่อการประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีลักษณะเป็นโรงเรียนเอกชน มหาวิทยาลัยเอกชน และวิสาหกิจชุมชน สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้
|
3. การนับวงเงินของผู้ประกอบธุรกิจที่เข้ามาตรการสินเชื่อฟื้นฟูของ ธปท.
|
|
3.1 ครอบคลุมสินเชื่อประเภทใดบ้าง เช่น เงินกู้ระยะยาว, O/D, P/N, T/R, สินเชื่อเพื่อการค้า (trade finance), soft loan ของธนาคารออมสิน, สินเชื่อเช่าซื้อ fleet เพื่อการประกอบธุรกิจ
|
3.1 ขอบเขตของสินเชื่อภายใต้มาตรการนี้ครอบคลุมสินเชื่อธุรกิจทุกประเภท แต่ไม่นับรวมวงเงินตามภาระผูกพันและวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค เว้นแต่เป็นวงเงินสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ
|
3.2 ถ้าวงเงินถูก hold จะต้องนับเป็นวงเงินรวมตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูหรือไม่
|
3.2 นับจากวงเงินรวมที่สถาบันการเงินอนุมัติและรายงาน DMS ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
|
3.3 กรณีผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินเกิน 500 ล้านบาท ต่อมาทยอยผ่อนชำระหนี้ทำให้มียอดหนี้คงเหลือ 300 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
3.3 ผู้ประกอบธุรกิจที่สามารถเข้ารับความช่วยเหลือตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู วงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งต้องไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 หรือไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ในกรณีดังกล่าวผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถเข้ามาตรการสินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากมีวงเงินเกินกว่าที่เกณฑ์กำหนด
|
3.4 วงเงินรวมของสินเชื่อธุรกิจครอบคลุมสินเชื่อบัตรเครดิตเพื่อธุรกิจ และค่าเบี้ยประกัน หรือค่าธรรมเนียมอื่นที่สถาบันการเงินออกให้ลูกหนี้ล่วงหน้าหรือไม่
|
3.4 กรณีผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอยู่กับสถาบันการเงิน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ในการนับวงเงินให้นับรวมถึงวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตเพื่อธุรกิจด้วย แต่ไม่ครอบคลุมค่าเบี้ยประกันหรือค่าธรรมเนียมอื่นที่สถาบันการเงินออกให้ลูกหนี้ล่วงหน้า
|
3.5 การนับวงเงินรวมของผู้ประกอบธุรกิจ นับรวมสินเชื่อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) ด้วยหรือไม่
|
3.5 หากเป็น MRTA ที่ทำเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ให้นับรวมวงเงิน MRTA ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ไม่นับรวม MRTA สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
|
3.6 วงเงินสินเชื่อธุรกิจตามมาตรการ นับรวมวงเงินภาระผูกพันหรือไม่
|
3.6 ไม่นับรวมวงเงินภาระผูกพันประเภทวงเงินค้ำประกัน ตราสารอนุพันธ์ ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินไม่สามารถแยกวงเงิน letter of credit กับ trust receipt ให้นับทั้งวงเงินเป็นวงเงินสินเชื่อตาม พ.ร.ก. นี้
|
3.7 วงเงินสินเชื่อ nano หรือ micro finance สามารถนำมายื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
3.7 การนับวงเงินรวม ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ครอบคลุมวงเงินสินเชื่อ nano finance และ micro finance และสามารถนำวงเงินดังกล่าวมายื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้
|
4. ในการขอสินเชื่อฟื้นฟู สถาบันการเงินยังคงต้องพิจารณาเครดิตของลูกค้าหรือไม่ และเมื่อสถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อและยื่นเรื่องมาที่ ธปท. แล้ว ธปท. จะต้องอนุมัติตามที่สถาบันการเงินยื่นเรื่องมาทุกรายหรือไม่ รวมทั้ง กรณีผู้ประกอบธุรกิจที่ยื่นเรื่องเข้าเกณฑ์คุณสมบัติตามที่ ธปท. กำหนด แต่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ภายในของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินสามารถปฏิเสธการอนุมัติสินเชื่อได้หรือไม่
|
หากผู้ประกอบธุรกิจมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ประกอบธุรกิจต้องยื่นความจำนงมาที่สถาบันการเงินก่อน ซึ่งสถาบันการเงินจะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติและวงเงินสินเชื่อตามหลักเกณฑ์ภายในและเมื่อสถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อและยื่นเรื่องมาที่ ธปท. แล้ว ธปท. มีสิทธิที่จะปฏิเสธการให้สินเชื่อฟื้นฟู ในกรณีที่ ธปท. ตรวจสอบแล้วพบว่าคุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจไม่เป็นไปตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด แต่หากสถาบันการเงินมีข้อมูลชี้แจงเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อ RM เพื่อให้ ธปท. ตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมได้ ในกรณีที่สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูให้กับผู้ประกอบธุรกิจและผู้ประกอบธุรกิจประสงค์ที่จะขอทราบเหตุผลของการที่สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อ ให้สถาบันการเงินชี้แจงให้ผู้ประกอบธุรกิจทราบเหตุผลการปฏิเสธสินเชื่อดังกล่าวอย่างชัดเจนตามหนังสือที่ ธปท. ฝนส. (21) ว. 71/2553 เรื่องการชี้แจงเหตุผลของการไม่อนุมัติสินเชื่อเป็นลายลักษณ์อักษร
|
5. การนับวงเงินรวมของผู้ประกอบธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ครอบคลุมวงเงิน soft loan เดิมหรือไม่
|
การพิจารณาคุณสมบัติผู้ประกอบธุรกิจและการกำหนดวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูพิจารณาบนฐานวงเงินสินเชื่อธุรกิจทั้งหมดรวมวงเงิน soft loan เดิมของผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายที่มีกับสถาบันการเงินแต่ละแห่ง
|
6. การนับวงเงินรวมกรณีผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินกู้ร่วม ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สถาบันการเงินแห่งหนึ่งให้สินเชื่อแก่บริษัท A และบริษัท B ประกอบด้วย วงเงินกู้เดี่ยวในนามบริษัท A จำนวน 100 ล้านบาท และวงเงินกู้ร่วมในนามบริษัท A และบริษัท B จำนวน 500 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 บริษัท A และบริษัท B ไม่มีวงเงินกับสถาบันการเงินดังกล่าว
|
การนับวงเงินรวมของผู้ประกอบธุรกิจที่มีวงเงินกู้เดี่ยวและกู้ร่วม ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 หากผู้ประกอบธุรกิจมีความประสงค์ขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูในนามผู้กู้เดี่ยว ให้นับวงเงินกู้เดี่ยวรวมกับวงเงินกู้ร่วมตามสัดส่วนความรับผิดในหนี้ (prorate) ของผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวที่กำหนดในสัญญา โดยวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งต้องไม่เกิน 500 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินสามารถอนุมัติวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจในนามผู้กู้เดี่ยวที่มายื่นขอกู้ หรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท ทั้งนี้ ไม่รวมวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค
|
6.1 บริษัท A สามารถกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
6.1 บริษัท A มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมเท่ากับ 350 ล้านบาท (100 + (500/2)) โดยสามารถยื่นขอกู้ในนามบริษัท A ได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท (max [(30% × 100), 50])
|
6.2 บริษัท B สามารถกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
6.2 บริษัท B มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ โดยสามารถยื่นขอกู้ในนามบริษัท B ในฐานะลูกหนี้รายใหม่ได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท เมื่อนับรวมทุกสถาบันการเงิน หากบริษัท B ไม่มีวงเงินสินเชื่ออยู่กับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
|
6.3 บริษัท A + บริษัท B สามารถกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
6.3 บริษัท A + บริษัท B มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมเท่ากับ 500 ล้านบาท โดยสามารถยื่นขอกู้ในนามบริษัท A + บริษัท B ได้ไม่เกิน 150 ล้านบาท (max [(30% × 500), 50])
|
6.4 หากบริษัท A มีวงเงินกู้เดี่ยว 400 ล้านบาท บริษัท A สามารถกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
6.4 บริษัท A ไม่มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมเท่ากับ 650 ล้านบาท (400 + (500/2)) เกิน 500 ล้านบาท
|
6.5 หากบริษัท A บริษัท B และบริษัท C มีวงเงินกู้ร่วมอีก 300 ล้านบาท บริษัท A + บริษัท B สามารถกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
6.5 บริษัท A + บริษัท B ไม่มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมเท่ากับ 700 ล้านบาท [500 + (2/3 × 300)] เกิน 500 ล้านบาท
|
6.6 หากบริษัท A บริษัท C และบริษัท D มีวงเงินกู้ร่วมอีก 300 ล้านบาท บริษัท A + บริษัท B สามารถกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
6.6 บริษัท A + บริษัท B มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมเท่ากับ 500 ล้านบาท ไม่ต้อง prorate จากวงเงินกู้ร่วมบริษัท A + บริษัท C + บริษัท D เนื่องจากบริษัท A + บริษัท B ไม่ได้เป็น subset ของวงเงินดังกล่าว โดยสามารถยื่นขอกู้ในนามบริษัท A + บริษัท B ได้ไม่เกิน 150 ล้านบาท (max [(30% × 500), 50])
|
7.การนับวงเงินรวมกรณีผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินร่วม ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สถาบันการเงินแห่งหนึ่งให้สินเชื่อวงเงินร่วมแก่บริษัท A บริษัท B และบริษัท C โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 บริษัทไม่มีวงเงินกับสถาบันการเงินดังกล่าว การนับวงเงินรวมและการกำหนดวงเงินจะพิจารณาอย่างไร
|
การนับวงเงินรวมของผู้ประกอบธุรกิจที่มีวงเงินร่วม ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ให้นับวงเงินร่วมตามสัดส่วนความรับผิดในหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจแต่ละราย (sublimit) ที่กำหนดในสัญญา แต่ต้องไม่เกิน 500 ล้านบาท ทั้งนี้ สถาบันการเงินสามารถอนุมัติวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อตามสัดส่วนความรับผิดในหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายที่มายื่นขอกู้ (sublimit) หรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า และวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูของผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินร่วม หรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า และต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจที่มีทั้งวงเงินเดี่ยวและวงเงินร่วม สถาบันการเงินสามารถอนุมัติวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินรวมทั้งหมด หรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า และต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท
|
7.1 บริษัท A มีวงเงิน P/N จำนวน 300 ล้านบาท และวงเงิน O/D จำนวน 300 ล้านบาท แต่ใช้ได้รวมกันไม่เกิน 400 ล้านบาท
|
7.1 บริษัท A มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมนับตามจำนวนที่ผู้ประกอบธุรกิจเบิกใช้ได้เท่ากับ 400 ล้านบาท โดยสามารถยื่นขอกู้ในนามบริษัท A ได้ไม่เกิน 120 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 400 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
|
7.2 บริษัท A บริษัท B และบริษัท C มีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนใช้ร่วมกันไม่เกิน 1,200 ล้านบาท โดยไม่ได้กำหนด sublimit แต่ละราย
|
7.2 บริษัท A บริษัท B และบริษัท C ไม่มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมนับตามจำนวนที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายเบิกใช้ได้เท่ากับ 1,200 ล้านบาท เกิน 500 ล้านบาท
|
7.3 บริษัท A บริษัท B และบริษัท C มีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนใช้ร่วมกันไม่เกิน 1,200 ล้านบาท โดยกำหนด sublimit แต่ละรายให้บริษัท A ใช้ได้ไม่เกิน 800 ล้านบาท บริษัท B ใช้ได้ไม่เกิน 600 ล้านบาท และบริษัท C ใช้ได้ไม่เกิน 400 ล้านบาท
|
7.3 บริษัท A และบริษัท B ไม่มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมนับตามจำนวนที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายเบิกใช้ได้เท่ากับ 800 ล้านบาท และ 600 ล้านบาท ตามลำดับ เกิน 500 ล้านบาท แต่บริษัท C มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ โดยสามารถยื่นขอกู้ได้ไม่เกิน 120 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 400 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
|
7.4 บริษัท A บริษัท B และบริษัท C มีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนใช้ร่วมกันไม่เกิน 400 ล้านบาท โดยกำหนด sublimit แต่ละรายให้บริษัท A ใช้ได้ไม่เกิน 200 ล้านบาท บริษัท B ใช้ได้ไม่เกิน 200 ล้านบาท และบริษัท C ใช้ได้ไม่เกิน 200 ล้านบาท
|
7.4 บริษัท A บริษัท B และบริษัท C มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมนับตามจำนวนที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายเบิกใช้ได้เท่ากับ 200 ล้านบาท โดยสามารถยื่นขอกู้ได้ในนามบริษัท A บริษัท B หรือบริษัท C รายละไม่เกิน 60 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 200 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า) แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 120 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 400 ล้านบาท หรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
|
7.5 บริษัท A และบริษัท B มีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนใช้ร่วมกันไม่เกิน 100 ล้านบาท
|
7.5 บริษัท A และบริษัท B มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมนับตามจำนวนที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายเบิกใช้ได้เท่ากับ 100 ล้านบาท โดยสามารถยื่นขอกู้ได้ในนามบริษัท A หรือบริษัท B รวมกันแล้วไม่เกิน 50 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 100 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
|
7.6 บริษัท A มีวงเงินสินเชื่อเดี่ยว 100 ล้านบาท และบริษัท A และ บริษัท B มีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนใช้ร่วมกันไม่เกิน 40 ล้านบาท
|
7.6 บริษัท A และบริษัท B มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมนับตามจำนวนที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายเบิกใช้ได้เท่ากับ 140 ล้านบาท และ 40 ล้านบาท ตามลำดับ โดยสามารถยื่นขอกู้ได้ในนามบริษัท A ได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 140 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า) หรือบริษัท B ได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 40 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า) แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 80 ล้านบาท (สิทธิส่วนวงเงินเดี่ยวของบริษัท A จำนวน 30 ล้านบาท รวมกับสิทธิส่วนวงเงินร่วมของบริษัท A และบริษัท B อีก 50 ล้านบาท)
|
7.7 บริษัท A และบริษัท B มีวงเงินสินเชื่อเดี่ยวรายละ 40 ล้านบาท และบริษัท A และ บริษัท B มีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนใช้ร่วมกันไม่เกิน 40 ล้านบาท
|
7.7 บริษัท A และบริษัท B มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมนับตามจำนวนที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายเบิกใช้ได้เท่ากับ 80 ล้านบาท โดยสามารถยื่นขอกู้ได้ในนามบริษัท A หรือบริษัท B ได้รายละไม่เกิน 50 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 80 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
|
7.8 บริษัท A มีวงเงินสินเชื่อเดี่ยว 200 ล้านบาท บริษัท B มีวงเงินสินเชื่อเดี่ยว 100 ล้านบาท และบริษัท A และ บริษัท B มีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนใช้ร่วมกันไม่เกิน 40 ล้านบาท
|
7.8 บริษัท A และบริษัท B มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมนับตามจำนวนที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายเบิกใช้ได้เท่ากับ 240 ล้านบาท และ 140 ล้านบาท ตามลำดับ โดยสามารถยื่นขอกู้ได้ในนามบริษัท A ได้ไม่เกิน 72 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 240 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า) หรือบริษัท B ได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 140 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
|
7.9 บริษัท A มีวงเงินสินเชื่อเดี่ยว 90 ล้านบาท บริษัท B มีวงเงินสินเชื่อเดี่ยว 80 ล้านบาท และบริษัท A และ บริษัท B มีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนใช้ร่วมกันไม่เกิน 100 ล้านบาท
|
7.9 บริษัท A และบริษัท B มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการนับวงเงินรวมนับตามจำนวนที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายเบิกใช้ได้เท่ากับ 190 ล้านบาท และ 180 ล้านบาท ตามลำดับ โดยสามารถยื่นขอกู้ได้ในนามบริษัท A ได้ไม่เกิน 57 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 190 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า) หรือบริษัท B ได้ไม่เกิน 54 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 180 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า) แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 81 ล้านบาท (สิทธิส่วนวงเงินเดี่ยวของบริษัท A จำนวน 27 ล้านบาท รวมกับสิทธิส่วนวงเงินเดี่ยวของบริษัท B จำนวน 24 ล้านบาท และสิทธิส่วนวงเงินร่วมของบริษัท A และบริษัท B อีก 30 ล้านบาท)
|
8. หากเกณฑ์ภายในของสถาบันการเงินจัดลูกค้าอยู่ในกลุ่ม corporate เพื่อการบริหารจัดการดูแล ผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
หากผู้ประกอบธุรกิจมีคุณสมบัติตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเข้าร่วมมาตรการได้ อย่างไรก็ตาม ขอให้สถาบันการเงินพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่มีขนาดกลางและขนาดย่อมก่อน และต้องไม่มีลักษณะเป็นการให้สินเชื่อฟื้นฟูแก่ผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ (large corporate) ที่มีศักยภาพและความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอยู่แล้ว
|
9. ผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือบริษัทที่ถือหุ้นโดยต่างชาติ สามารถเข้ามาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ได้หรือไม่
|
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทยสามารถเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูได้ โดยไม่ต้องพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้น
|
10. สินเชื่อที่นำที่อยู่อาศัยหรือรถยนต์มาเป็นหลักประกัน หรือสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่กู้ในนามนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ที่เป็นสินเชื่อเชิงพาณิชย์หรือสินเชื่อธุรกิจ (commercial) ซึ่งระบุวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบธุรกิจ หรือเพื่อใช้ในกิจการ สามารถเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายเดิมได้หรือไม่
|
หากสถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อที่นำที่อยู่อาศัยหรือรถยนต์มาเป็นหลักประกัน หรือสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ในลักษณะที่เป็นสินเชื่อเชิงพาณิชย์ สินเชื่อธุรกิจ เพื่อใช้ในกิจการ หรือเพื่อประกอบธุรกิจ สินเชื่อดังกล่าวเข้าข่ายเป็นสินเชื่อธุรกิจที่สามารถยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายเดิมได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด โดยสถาบันการเงินต้องชี้แจงและนำส่งเอกสารหลักฐานตามกฎหมายยืนยันวัตถุประสงค์การให้สินเชื่อดังกล่าวมาให้ ธปท. ประกอบการพิจารณา เช่น ใบคำขอ เอกสารพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ (CA) สัญญาเงินกู้ เป็นต้น แต่หากสถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อในนามนิติบุคคลหรือรายงานเป็นสินเชื่อธุรกิจมายัง ธปท. สินเชื่อดังกล่าวถือเป็นสินเชื่อธุรกิจ สถาบันการเงินไม่จำเป็นต้องนำส่งเอกสารหลักฐานยืนยันวัตถุประสงค์การให้สินเชื่อมาให้ ธปท.
ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจมีสินเชื่อที่มีลักษณะดังกล่าว ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ในระบบสถาบันการเงิน จะไม่สามารถเข้ายื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายใหม่ได้ เว้นแต่สถาบันการเงินจะพิสูจน์โดยใช้เอกสารตามกฎหมายอ้างอิงได้ว่าสินเชื่อดังกล่าวไม่ใช่สินเชื่อธุรกิจ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสัญญาเงินกู้จะไม่ได้ระบุว่าสินเชื่อดังกล่าวเป็นสินเชื่อธุรกิจ แต่สถาบันการเงินอาจพิสูจน์หลักฐานอื่นเพิ่มเติม เช่น ใบคำขอ เอกสารพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ (CA) ที่ระบุว่าผู้ประกอบธุรกิจนำสินเชื่อดังกล่าวไปซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ส่วนตัวหรือใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค
|
11. หากผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งก่อนการควบกิจการ การนับวงเงินสินเชื่อ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 จะพิจารณาแยกนับตามสถาบันการเงินแต่ละแห่งหรือนับรวมเป็นแห่งเดียวกัน
|
กรณีที่สถาบันการเงินที่จะให้สินเชื่อฟื้นฟูมีการควบรวมกิจการกับสถาบันการเงินอื่น หรือรับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญจากสถาบันการเงินอื่นตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน การนับวงเงินสินเชื่อจะนับตามวงเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจมีกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งก่อนการควบกิจการ หรือรับโอนกิจการ ที่ไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินที่จะให้กู้ยืม ให้สินเชื่อแยกตามวงเงินสินเชื่อที่ผู้ประกอบธุรกิจมีอยู่กับแต่ละสถาบันการเงินก่อนมีการควบกิจการ หรือรับโอนกิจการ แต่วงเงินสินเชื่อที่สถาบันการเงินจะให้กู้ยืมรวมกันต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท
|
12. ถ้าผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินเดิม ภายหลังผู้ประกอบธุรกิจต้องการหันมาใช้วงเงินอีกประเภทชั่วคราว สถาบันการเงินจึงกันวงเงินเดิมเพื่อออกวงเงินใหม่ก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดยที่ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวยังมี exposure กับสถาบันการเงินเท่าเดิม วงเงินเดิมที่ถูกกันไว้และวงเงินใหม่จะต้องนับวงเงินรวมอย่างไร 12.1 กันวงเงิน O/D เดิม 20 ล้านบาท เพื่อออกวงเงิน P/N ใหม่ 20 ล้านบาท
12.2 กันวงเงิน O/D เดิม 20 ล้านบาท เพื่อออกวงเงิน L/G ใหม่ 20 ล้านบาท
12.3 กันวงเงิน L/G เดิม 20 ล้านบาท เพื่อออกวงเงิน O/D ใหม่ 20 ล้านบาท
|
การนับวงเงินรวมและการกำหนดวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูกรณีดังกล่าวให้พิจารณาตามวงเงินรวมที่ได้รับอนุมัติ 20 ล้านบาท โดยไม่รวมภาระผูกพัน ตามแนวทางการนับวงเงินรวมข้อ 7.1
|
13. ผู้ประกอบธุรกิจได้รับอนุมัติวงเงิน 60 ล้านบาท แต่สามารถเบิกใช้ได้เพียง 40 ล้านบาท เนื่องจากสถาบันการเงินกำหนดเงื่อนไขวงเงินที่เบิกใช้ได้ผันแปรตามยอดขายของผู้ประกอบธุรกิจ การนับวงเงินรวมจะคำนวณอย่างไร
|
นับจากวงเงินรวมที่สถาบันการเงินอนุมัติและรายงาน DMS ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งกรณีดังกล่าวนับวงเงินรวม 60 ล้านบาท
|
14. การนับวงเงินกรณีลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนการเบิก (condition precedent) หรือปฏิบัติได้บางส่วน จะต้องนับวงเงินรวมที่ได้รับอนุมัติหรือวงเงินที่ตั้งในระบบ
14.1 กรณีที่ลูกหนี้ได้รับวงเงินสินเชื่อเดิม แต่สถาบันการเงินมีเงื่อนไขให้ลูกหนี้สามารถเบิกวงเงินได้ตามมูลค่าหลักประกันที่ลูกหนี้นำมาจดจำนองกับสถาบันการเงิน ส่งผลให้สถาบันการเงินตั้งวงเงินในระบบและรายงานมา DMS เท่ากับวงเงินที่มีหลักประกันเท่านั้น เช่น ลูกหนี้ได้รับอนุมัติวงเงินเดิมรวม 520 ล้านบาท แต่นำหลักประกันมาจดจำนอง 200 ล้านบาท ทำให้สถาบันการเงินตั้งวงเงินในระบบเพียง 200 ล้านบาท
14.2 กรณีที่ลูกหนี้ได้รับอนุมัติวงเงินรวมเกิน 500 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขก่อนการเบิก (condition precedent) อย่างไรก็ตาม ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ลูกหนี้ยังไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นได้ สถาบันการเงินจึงยังไม่ตั้งวงเงินดังกล่าวในระบบภายในของสถาบันการเงินและไม่ได้รายงานใน DMS
14.3 กรณีสถาบันการเงินอนุมัติกรอบวงเงินสินเชื่อเช่าซื้อ fleet ให้กับผู้ประกอบธุรกิจ แต่สถาบันการเงินอาจทยอยตั้งวงเงินในระบบและรายงานมา DMS เป็นวงเงิน fleet ย่อย ตามรถแต่ละคันที่จดจำนำ ซึ่งรวมแล้วอาจมีวงเงินไม่เท่ากับกรอบวงเงินใหญ่ที่อนุมัติ
|
การนับวงเงินรวมให้พิจารณาตามวงเงินรวมที่สถาบันการเงินอนุมัติและทำสัญญาเงินกู้กับผู้ประกอบธุรกิจแล้ว ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แต่หากผู้ประกอบธุรกิจยังปฏิบัติตาม condition precedent ได้เพียงบางส่วน และระยะเวลาการปฏิบัติตามเงื่อนไขสิ้นสุดแล้ว ส่งผลให้เบิกใช้ได้ตามเงื่อนไขที่ปฏิบัติได้ ตามจำนวนวงเงินที่ตั้งในระบบ ให้นับตามวงเงินที่ตั้งในระบบ ณ วันดังกล่าว ทั้งนี้ การกำหนดวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูให้ใช้หลักการเดียวกับการนับวงเงินรวม โดยพิจารณา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 หรือ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
|
15. สถาบันการเงินรายงานวงเงินสินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจใน DMS ตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติและทำสัญญาเงินกู้กับผู้ประกอบธุรกิจ 20 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สถาบันการเงินมีการทบทวนวงเงินดังกล่าวและปรับลดวงเงินในระบบภายในตามยอดหนี้คงค้างที่เหลืออยู่ 15 ล้านบาท โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงวงเงินในสัญญาเงินกู้ การนับวงเงินรวม จะนับตามวงเงินในสัญญาเงินกู้หรือวงเงินคงเหลือตามระบบภายใน
|
การนับวงเงินรวมให้พิจารณาตามวงเงินที่สถาบันการเงินอนุมัติและทำสัญญาเงินกู้กับผู้ประกอบธุรกิจ แต่หาก ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติปรับเพิ่มลดวงเงินตามสัญญาเงินกู้ ให้นับตามวงเงินภายหลังการปรับเพิ่มลดดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่สถาบันการเงินพิจารณาปรับเพิ่มลดวงเงินตามยอดหนี้คงค้างในระบบภายใน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงวงเงินตามสัญญาเงินกู้กับผู้ประกอบธุรกิจ ในกรณีดังกล่าวให้นับวงเงินรวม 20 ล้านบาท ตามวงเงินในสัญญาเงินกู้
|
16. หากผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้หมดแล้วก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แต่สถาบันการเงินยังไม่ได้ล้างวงเงินออกจากระบบ ส่งผลให้ข้อมูล DMS ยังมีวงเงินดังกล่าวอยู่ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนำวงเงินดังกล่าวมายื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายเดิมได้หรือไม่
|
ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้ทั้งหมดและไม่สามารถเบิกใช้วงเงินสินเชื่อได้แล้ว แต่สถาบันการเงินยังไม่ได้ล้างวงเงินออกจากระบบ เนื่องจากสัญญาการให้สินเชื่อยังไม่ระงับสิ้นไป ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ด้วยเหตุที่ผู้ประกอบธุรกิจหรือสถาบันการเงินยังคงมีหน้าที่อื่น ๆ ที่ต้องดำเนินการตามที่กำหนดในสัญญาให้แล้วเสร็จ เช่น อยู่ระหว่างไถ่ถอนหลักประกัน ถือได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจยังมีวงเงินกับสถาบันการเงินอยู่ จึงสามารถนำวงเงินดังกล่าวมายื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายเดิมได้
ทั้งนี้ กรณีที่สัญญาระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและสถาบันการเงินระงับไปแล้ว เช่น มีการโอนภาระหนี้ไปวงเงินสัญญาอื่นแล้ว หรือไม่ได้มีข้อผูกพันต้องดำเนินการตามสัญญาอีก เพียงแต่สถาบันการเงินยังไม่ดำเนินการล้างวงเงินออกจากระบบ ต้องถือว่าผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินอีกต่อไป
|
17. ผู้ประกอบธุรกิจได้รับวงเงินชั่วคราว 40 ล้านบาท และเบิกใช้เต็มจำนวน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 อย่างไรก็ตาม วงเงินชั่วคราวหมดอายุวันที่ 31 มกราคม 2564 แต่มียอดหนี้คงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และสถาบันการเงินไม่ได้รายงานวงเงินดังกล่าวใน DMS ผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวมีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ สินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้เดิมหรือไม่ และหากเข้าเกณฑ์ วงเงินสินเชื่อฟื้นฟูพิจารณาอย่างไร
|
สถาบันการเงินต้องรายงานจำนวนวงเงินของลูกหนี้ใน DMS ไม่น้อยกว่าจำนวนยอดหนี้คงค้าง หากสถาบันการเงินรายงานจำนวนวงเงินใน DMS น้อยกว่าจำนวนยอดหนี้คงค้าง ให้สถาบันการเงินส่งเอกสารหลักฐานเพื่อยืนยันว่าลูกหนี้รายดังกล่าวมีวงเงิน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และมีคุณสมบัติตามประกาศ ธปท. ผ่านเจ้าหน้าที่สัมพันธ์ (RM) ที่ดูแลสถาบันการเงินดังกล่าว
|
18. กรณีที่นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดามีวงเงินกู้เดี่ยวแต่ไม่มีวงเงินกู้ร่วม ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 หากต่อมานิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดายื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูในนามผู้กู้ร่วม จะถือว่าเป็นการยื่นกู้ในฐานะลูกหนี้รายเดิมหรือลูกหนี้รายใหม่
|
กรณีที่นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่งหรือมีเฉพาะวงเงินกู้เดี่ยวแต่ไม่มีวงเงินกู้ร่วม ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 หากต่อมานิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดายื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูในนามผู้กู้ร่วม จะถือว่าเป็นการยื่นกู้ในฐานะลูกหนี้รายใหม่ ซึ่งสถาบันการเงินจะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติและวงเงินสินเชื่อตามหลักเกณฑ์ภายใน
|
19. หากลูกหนี้กู้ร่วมรายหนึ่งเสียชีวิต ส่งผลให้ลูกหนี้กู้ร่วมอีกรายต้องรับสภาพหนี้ส่วนที่เหลือ หรือลูกหนี้กู้ร่วมหย่ากัน โดยศาลมีคำพิพากษาแบ่งทรัพย์สินและตกลงแบ่งสภาพหนี้คนละครึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นขอกู้เดี่ยวสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายเดิมได้หรือไม่
|
- กรณีลูกหนี้กู้ร่วมรายหนึ่งเสียชีวิต เนื่องจากลูกหนี้ร่วมไม่สามารถมีหรือใช้วงเงินได้โดยลำพังแต่จะต้องร่วมกับลูกหนี้ร่วมรายอื่นเท่านั้น แม้ว่าลูกหนี้ร่วมรายหนึ่งจะเสียชีวิตและลูกหนี้รายที่ยังมีชีวิตอยู่รับสภาพหนี้ส่วนที่เหลือก็ตาม หนี้ร่วมดังกล่าวก็ไม่ได้ระงับไปด้วยความตายของลูกหนี้ร่วม แต่จะตกทอดเป็นกองมรดกของลูกหนี้ร่วมที่เสียชีวิต ดังนั้น หากลูกหนี้ข้างต้นมาขอสินเชื่อฟื้นฟูโดยการยื่นขอกู้เดี่ยว โดยที่ไม่เคยกู้เดี่ยวมาก่อน จึงต้องพิจารณาว่าเป็นกรณีลูกหนี้ใหม่
- กรณีลูกหนี้กู้ร่วมที่เป็นสามีภริยาหย่ากัน แม้ว่าศาลจะมีคำพิพากษาแบ่งทรัพย์สินและตกลงสภาพหนี้คนละครึ่ง แต่การแบ่งทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวเป็นเพียงการแบ่งระหว่างสามีภริยาที่หย่าร้างกัน ซึ่งไม่กระทบต่อความผูกพันในฐานะลูกหนี้ร่วม ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ดังนั้น หากลูกหนี้ข้างต้นมาขอสินเชื่อฟื้นฟูโดยการยื่นขอกู้เดี่ยวโดยที่ไม่เคยกู้เดี่ยวมาก่อน จึงต้องพิจารณาว่าเป็นกรณีลูกหนี้ใหม่เช่นเดียวกัน
|
20. ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงประเภทนิติบุคคลหรือเปลี่ยนแปลงชื่อภายหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ส่งผลให้ customer ID เปลี่ยนไป ผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวสามารถขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายเดิมได้หรือไม่
|
กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีคุณสมบัติตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูแต่มีการเปลี่ยนแปลง customer ID ผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายเดิมได้ โดยให้สถาบันการเงินส่งเอกสารหลักฐานการเปลี่ยนแปลงเพื่อยืนยันว่าผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวเป็นรายเดิมที่มีข้อมูลใน DMS ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ผ่านเจ้าหน้าที่สัมพันธ์ (RM) ที่ดูแลสถาบันการเงินดังกล่าว
|
21. กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงิน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แต่ปัจจุบันได้ชำระหนี้ปิดวงเงินไปแล้ว ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจมีคุณสมบัติยื่นขอสินเชื่อตามมาตรการในฐานะลูกหนี้รายเดิมได้หรือไม่ 21.1 ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวไม่มีวงเงินกับสถาบันการเงิน 21.2 ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวมีเฉพาะวงเงินสินเชื่อธุรกิจใหม่ที่ได้รับอนุมัติภายหลังเดือนกุมภาพันธ์ 2564 21.3 ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวมีเฉพาะวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล แต่ไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ
|
แม้ว่าปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจได้ชำระหนี้ปิดวงเงินไปแล้ว แต่หากมีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอยู่กับสถาบันการเงินที่จะให้กู้ยืม ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และมีคุณสมบัติอื่นตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวสามารถยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายเดิมได้ โดยวงเงินที่กู้ยืมต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจหรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 3 กรณีดังกล่าว สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายเดิมได้
|
22. กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แต่ปัจจุบันมีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงิน ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจมีคุณสมบัติยื่นขอสินเชื่อตามมาตรการในฐานะลูกหนี้รายใหม่ได้หรือไม่
|
แม้ว่าปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงิน แต่หากไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอยู่กับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และมีคุณสมบัติอื่นตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวสามารถยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายใหม่ได้ โดยวงเงินที่ให้กู้ยืมต้องไม่เกินรายละ 50 ล้านบาท เมื่อนับรวมทุกสถาบันการเงิน
|
23. ผู้ประกอบธุรกิจที่จดทะเบียนบริษัทภายหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายใหม่ไม่เกิน 50 ล้านบาท เมื่อนับรวมวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินทุกแห่งได้หรือไม่
|
ผู้ประกอบธุรกิจที่จดทะเบียนบริษัทภายหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายใหม่ได้ หากผู้ประกอบธุรกิจมีคุณสมบัติอื่นตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด
|
24. กรณีผู้ประกอบธุรกิจเป็น NPL
|
|
24.1 หากผู้ประกอบธุรกิจถูกจัดประเภทเป็น NPL (จัดชั้นเชิงคุณภาพ) ตามประกาศของ ธปท. ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ในขณะที่ยังชำระเงินปกติ ผู้ประกอบธุรกิจรายนี้สามารถเข้าร่วมในโปรแกรมนี้ได้หรือไม่
|
24.1 กรณีผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และเป็น NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ไม่มีคุณสมบัติที่จะรับความช่วยเหลือตามมาตรการนี้ ขอให้ยึดข้อมูลการจัดชั้นลูกหนี้ที่สถาบันการเงินรายงาน DMS ให้ ธปท. ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
|
24.2 ผู้ประกอบธุรกิจที่ยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายเดิม มีวงเงินกับสถาบันการเงิน 3 แห่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 แต่เป็น NPL กับสถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่ขอกู้สินเชื่อฟื้นฟู ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูกับสถาบันการเงินที่ไม่จัดชั้นเป็น NPL ได้หรือไม่
|
24.2 การพิจารณาคุณสมบัติประกอบธุรกิจ พิจารณาแยกแต่ละสถาบันการเงิน ดังนั้น สถาบันการเงินที่ยังไม่จัดชั้นลูกหนี้เป็น NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอเข้ามาตรการสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายเดิมผ่านสถาบันการเงินดังกล่าวได้
|
24.3 ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่มีวงเงินกับสถาบันการเงินแห่งใดเลย ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แต่เคยเป็นลูกหนี้จัดชั้น NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง สามารถยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายใหม่กับสถาบันการเงินดังกล่าวได้หรือไม่
|
24.3 ประกาศ ธปท. ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาการจัดชั้นลูกหนี้ NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายใหม่ ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจมีคุณสมบัติอื่นตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด สถาบันการเงินจะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติและวงเงินสินเชื่อตามหลักเกณฑ์ภายใน
|
25. ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นลูกหนี้รายเดิม มีวงเงินกับสถาบันการเงินหลายบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
|
25.1 มีบัญชีวงเงินสินเชื่ออุปโภคบริโภคจัดชั้น NPL ในขณะที่บัญชีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอื่นจัดชั้นปกติ
|
25.1 หากผู้ประกอบธุรกิจมีบัญชีวงเงินสินเชื่ออุปโภคบริโภคจัดชั้น NPL ในขณะที่บัญชีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอื่นจัดชั้นปกติ ผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการพิจารณาสินเชื่อฟื้นฟูไม่นับรวมวงเงินอุปโภคบริโภค
|
25.2 มีบัญชีวงเงินสินเชื่อธุรกิจหนึ่งจัดชั้น NPL ในขณะที่บัญชีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอื่นจัดชั้นปกติ
|
25.2 หากผู้ประกอบธุรกิจมีบัญชีวงเงินสินเชื่อธุรกิจหนึ่งจัดชั้น NPL ในขณะที่บัญชีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอื่นจัดชั้นปกติ ผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวไม่สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากการพิจารณาจัดชั้นพิจารณาเป็นรายลูกหนี้ ไม่ใช่รายบัญชี
|
26. ผู้ประกอบธุรกิจที่มีสินเชื่อ fleet card เพื่อให้ผู้บริหารใช้ แต่ไม่มีสินเชื่อธุรกิจอื่นกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายใหม่ได้หรือไม่
|
- กรณีผู้ประกอบธุรกิจไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง แต่มีเฉพาะวงเงิน fleet card ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ให้พิจารณาลักษณะการใช้วงเงิน fleet card ที่ผ่านมา หากมีลักษณะการใช้แบบเงินทดรองจ่าย เมื่อครบกำหนด
ก็จ่ายชำระคืนโดยไม่เสียดอกเบี้ย สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายใหม่ได้ ทั้งนี้ เมื่อยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟู ขอให้สถาบันการเงินนำส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ ธปท. เช่น statement 6 เดือนย้อนหลังนับจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อยืนยันลักษณะการใช้วงเงิน fleet card ดังกล่าว และสถาบันการเงินต้องแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจทราบว่าจะไม่สามารถใช้สิทธิ์วงเงินดังกล่าวในฐานะลูกหนี้รายเดิมได้อีก
- กรณีผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอยู่กับสถาบันการเงิน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ในการนับวงเงินให้นับรวมถึงวงเงินสินเชื่อ fleet card ด้วย
|
27. ผู้ประกอบธุรกิจที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลกับเจ้าหนี้และผ่อนชำระตามเงื่อนไขที่ตกลงได้เป็นปกติ ยังดำเนินธุรกิจอยู่สามารถจะขอเข้ารับการช่วยเหลือและขอสินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
ผู้ประกอบธุรกิจที่มีคุณสมบัติตามที่ พ.ร.ก. กำหนด สามารถยื่นขอรับความช่วยเหลือตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูได้
|
28. กรณีผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคคลธรรมดาและขอเงินกู้เพื่อนำไปให้บริษัทในกลุ่มกู้ยืมต่อ (ซึ่งได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เช่น กิจการโรงแรม) 28.1 กรณีที่บริษัทในกลุ่มไม่เข้าเกณฑ์มาตรการนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอเข้ามาตรการนี้ได้หรือไม่ 28.2 กรณีที่บริษัทในกลุ่มเข้าเกณฑ์และขอกู้ตามมาตรการนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอกู้เพิ่มให้บริษัทในกลุ่มด้วยได้หรือไม่
|
การพิจารณาคุณสมบัติผู้ประกอบธุรกิจเป็นการพิจารณาแต่ละราย หากผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวผ่านคุณสมบัติตามที่กำหนด ก็สามารถเข้ามาตรการสินเชื่อฟื้นฟูได้ โดยมีวัตถุประสงค์ของการใช้สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ ลดผลกระทบต่อการจ้างงาน และฟื้นฟูการประกอบธุรกิจ
|
29. กรรมการบริษัทสามารถขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูในนามกรรมการแทนในนามบริษัทได้หรือไม่
|
ได้ หากกรรมการบริษัทท่านนี้ ขอสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อนำไปใช้ในการประกอบธุรกิจและมีคุณสมบัติอื่นตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด
|
30. ผู้ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็น holding company จดทะเบียนในประเทศไทยและมีรายได้หลักจากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจและจดทะเบียนในต่างประเทศ สามารถเข้ามาตรการสินเชื่อฟื้นฟูโดยนำเงินที่ได้ไปช่วยเหลือบริษัทลูกที่ต่างประเทศได้หรือไม่
|
ผู้ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็น holding company มีรายได้หลักมาจากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทลูกเท่านั้น ไม่ว่าจะมีรายได้จากในประเทศหรือนอกประเทศ แต่ไม่ได้ประกอบธุรกิจอื่นใด ไม่สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากมาตรการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประคับประคองกิจการและรักษาการจ้างงานภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอน แต่หากบริษัทลูกประกอบธุรกิจและจดทะเบียนในประเทศไทยและมีคุณสมบัติอื่นตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด และต้องการใช้สินเชื่อฟื้นฟู สามารถยื่นขอกู้ได้โดยตรง
|
31. ผู้ประกอบธุรกิจกิจการร่วมค้า (joint venture) หรือกิจการค้าร่วม (consortium) ที่มีองค์ประกอบนิติบุคคลหลายแห่งรวมกัน การนับวงเงินรวมและการกำหนดวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูใช้หลักการเดียวกับวงเงินกู้ร่วมหรือไม่
|
กิจการร่วมค้าหรือกิจการค้าร่วมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจร่วมกันชั่วคราวและเมื่องานนั้นทำเสร็จสิ้นลงก็จะถือว่าการร่วมค้าหรือค้าร่วมนั้นยุติลงด้วย การนับวงเงินรวมและการกำหนดวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูใช้หลักการเดียวกับวงเงินกู้ร่วม
|
32. ผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์ม Peer to Peer lending ถือเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินที่ไม่มีคุณสมบัติขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูหรือไม่
|
ผู้ประกอบธุรกิจ Peer to Peer lending ที่มีลักษณะการให้สินเชื่อโดยใช้เงินของตัวเอง เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ไม่มีคุณสมบัติขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูตามประกาศ ธปท. แต่หากเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะการให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น โดยไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูตามประกาศ ธปท. ได้
|
33. ผู้ประกอบธุรกิจนายหน้าหรือตัวแทนบริษัทประกันชีวิต มีคุณสมบัติขอยื่นสินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
ผู้ประกอบธุรกิจนายหน้าหรือตัวแทนบริษัทประกันชีวิต มีคุณสมบัติขอยื่นกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตหรือประกันภัยเข้าข่ายเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ไม่มีคุณสมบัติขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูตามประกาศ ธปท.
|
34. ผู้ประกอบธุรกิจบริษัทติดตามทวงหนี้รับงานจากสถาบันการเงินและมีสินเชื่อกับสถาบันการเงิน สามารถขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูนี้ได้หรือไม่
|
ผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ หากมีคุณสมบัติตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด
|
35. ผู้ประกอบธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 กับบริษัทในเครือสถาบันการเงินหรือ Non-bank เช่น บริษัทลีสซิ่ง สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูกับบริษัทดังกล่าวในฐานะลูกหนี้รายเดิมได้หรือไม่
|
ขอบเขตการบังคับใช้ของ พ.ร.ก. ครอบคลุมเฉพาะสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 กับบริษัทในเครือสถาบันการเงินหรือ Non-bank จึงไม่ถือว่ามีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอื่นกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเข้าร่วมมาตรการในฐานะลูกหนี้รายใหม่ได้ โดยผ่านการขอสินเชื่อฟื้นฟูจากสถาบันการเงินที่ระบุข้างต้น ไม่สามารถกู้ยืมโดยตรงจากบริษัทในเครือสถาบันการเงินหรือ Non-bank ได้
|
36. กรณีลูกหนี้ประกอบธุรกิจทางการเงินและธุรกิจอื่น
|
|
36.1 หากลูกหนี้ประกอบธุรกิจหลักขายสินค้า แต่ประกอบธุรกิจรองที่มีลักษณะคล้ายผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน เช่น ประกอบธุรกิจหลักขายรถยนต์ แต่มีธุรกิจรองให้เช่าซื้อ (leasing) หรือประกอบธุรกิจหลักขายเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีบริการจ่ายชำระเป็นเงินผ่อน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้า ลูกหนี้สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
36.1 หากรายได้จากการจำหน่ายสินค้า เช่น รถยนต์ มากกว่ารายได้จากธุรกิจทางการเงินถือว่าธุรกิจหลักไม่ใช่ธุรกิจทางการเงินและผู้ประกอบธุรกิจมีคุณสมบัติอื่นตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด ผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวสามารถยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูได้
|
36.2 หากสหกรณ์การเกษตรประกอบธุรกิจตัวกลางทางการเงินและประกอบธุรกิจซื้อวัตถุดิบมาจำหน่ายให้แก่สมาชิกด้วยต้นทุนต่ำ รวบรวม แปรรูป และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สหกรณ์การเกษตรดังกล่าวมีคุณสมบัติขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่ หากได้ การนับวงเงินจะนับวงเงินสินเชื่อธุรกิจทั้งหมดหรือนับเฉพาะวงเงินสินเชื่อธุรกิจเพื่อประกอบธุรกิจการค้า
|
36.2 สหกรณ์การเกษตรซึ่งประกอบธุรกิจทั้งตัวกลางทางการเงินและประกอบธุรกิจทางการค้าควบคู่ไปด้วย และได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ก็เข้าข่ายขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูเพื่อไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจทางการค้าได้ โดยสถาบันการเงินต้องมีฐานข้อมูลและสามารถคัดกรองการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจการค้า และต้องควบคุมติดตามให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเงินไปใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ขอกู้ การนับวงเงิน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ไม่เกิน 500 ล้านบาท จะนับทั้งวงเงินสินเชื่อสำหรับเป็นตัวกลางทางการเงินและวงเงินสินเชื่อสำหรับประกอบธุรกิจการค้า
สำหรับวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่จะให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นลูกหนี้เดิมแต่ละรายไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อหรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า จะนับเฉพาะวงเงินที่ใช้สำหรับประกอบธุรกิจการค้าเท่านั้น
|
37. กรณีผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าในลักษณะสัญญาเช่า ถือเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินหรือไม่ 37.1 ผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าเป็นลักษณะสัญญาเช่า โดยจะทำสัญญาเช่าระยะยาวเป็นเวลา 3-6 ปี เมื่อหมดสัญญาแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจจะนำสินค้าเหล่านั้นกลับคืนจากผู้เช่าเพื่อนำมาปล่อยเช่าต่อให้แก่ผู้เช่ารายใหม่ โดยกรรมสิทธิ์ของสินค้ายังเป็นของผู้ประกอบธุรกิจ ไม่มีการโอนให้ผู้เช่าเมื่อหมดสัญญา 37.2 ผู้ประกอบธุรกิจเป็นบริษัทรับจ้างวางระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อออกแบบวางระบบแล้ว บางครั้งผู้ซื้อจะขอให้วางระบบพร้อมเช่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วย โดยอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกอบธุรกิจ ไม่ได้โอนให้ผู้ซื้อ
|
กรณีผู้ประกอบธุรกิจผลิตสินค้าและบริการเป็นธุรกิจหลัก แต่ขายสินค้าในลักษณะสัญญาเช่า ผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินตามประกาศ ธปท. และสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้
|
38. ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ประกอบธุรกิจยังไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แต่ต่อมาภายหลัง ผู้ประกอบธุรกิจได้รับอนุมัติจาก ตลท. ให้นำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนใน SET ได้ แต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวมีคุณสมบัติที่จะได้รับสินเชื่อฟื้นฟูตาม พ.ร.ก. และประกาศของ ธปท. หรือไม่
|
การพิจารณาลักษณะของผู้ประกอบธุรกิจตามประกาศ ธปท. ที่ สกส1. 1/2564 ข้อ 4.6 (1.5) ต้องพิจารณา ณ วันที่ ธปท. พิจารณาเงินกู้ให้แก่สถาบันการเงิน โดยการที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับอนุมัติจาก ตลท. ให้นำหุ้นสามัญออกขายใน SET ย่อมถือได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวสามารถจะมีหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนออกขายใน ตลท. ได้แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ที่สามารถหาแหล่งเงินได้โดยวิธีทางตลาดทุน จึงถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะที่ไม่อาจได้รับสินเชื่อฟื้นฟูได้ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ยื่นคำขอ (filing) เข้าจดทะเบียนและอยู่ระหว่างการพิจารณาจาก ตลท. มีคุณสมบัติขอยื่นกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนที่ ตลท. จะอนุมัติหรือไม่ จึงยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถหาแหล่งเงินได้โดยวิธีทางตลาดทุน หากภายหลังการรับเงินกู้สินเชื่อฟื้นฟูแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ระหว่าง filing ได้รับอนุมัติให้เข้าจดทะเบียนและนำหุ้นสามัญออกขายใน SET ได้ ก็ไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังนั้นมาใช้พิจารณาลักษณะของผู้ประกอบธุรกิจที่จะได้รับสินเชื่อฟื้นฟูไปแล้วได้ สถาบันการเงินไม่ต้องคืนเงินกู้ยืมดังกล่าวให้ ธปท.
|
39. บริษัทที่ถูกเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน (delisted) ออกจาก SET แล้ว แต่ชื่อบริษัทยังเป็น บมจ. มีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูหรือไม่
|
ให้พิจารณาสถานะ ณ วันที่ ธปท. พิจารณาเงินกู้ให้แก่สถาบันการเงิน หากบริษัทถูกเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียนออกจาก SET แล้ว สามารถยื่นกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ แต่หากผู้ประกอบธุรกิจยังอยู่ระหว่างดำเนินการเพิกถอน ย่อมถือได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวยังมีหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนออกขายใน ตลท. ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังเป็นผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ที่สามารถหาแหล่งเงินได้โดยวิธีทางตลาดทุน จึงถือได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวมีลักษณะที่ไม่อาจได้รับสินเชื่อสินเชื่อฟื้นฟูได้
|
40. สถาบันการเงินยื่นคำขอสินเชื่อฟื้นฟูมายัง ธปท. ให้แก่บริษัท ก และได้รับอนุมัติวงเงิน ต่อมา บริษัท ก และบริษัทในกลุ่มได้ควบรวมกิจการเป็น 1 บริษัท ในนามบริษัท ข โดยได้ดำเนินการโอนย้ายทรัพย์สิน หนี้สิน บุริมสิทธิ์ การดำเนินการด้านนิติกรรม รวมถึงเริ่มดำเนินธุรกรรมกับสถาบันการเงินในนามบริษัท ข ในภายหลัง สถาบันการเงินสามารถโอนย้ายวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูของบริษัท ก ไปยัง บริษัท ข ซึ่งเป็นบริษัทใหม่ที่ยังไม่มีภาระหนี้กับสถาบันการเงินได้หรือไม่
|
เมื่อมีการควบบริษัทจำกัดเข้าด้วยกัน บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นจากการควบบริษัทนั้นย่อมได้ไป ทั้งสิทธิและความรับผิดทั้งหมดที่มีอยู่กับบริษัทเดิมที่ได้มาควบรวมเข้าด้วยกัน ตามมาตรา 1243 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นเดียวกับกรณีการควบบริษัทมหาชนที่ควบกันและจดทะเบียนแล้วย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทเหล่านั้นทั้งหมด ตามมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
ดังนั้น เมื่อมีการควบบริษัทเข้าด้วยกัน บริษัทใหม่ดังกล่าวย่อมได้รับทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมด้วย ซึ่งรวมถึงสิทธิหน้าที่ในฐานะลูกหนี้เดิมของสถาบันการเงิน เพราะฉะนั้น สถาบันการเงินจึงสามารถโอนย้ายวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ได้รับไปยังบริษัทใหม่ได้
|
41. การนับวงเงินรวมกรณีสถาบันการเงินกันวงเงินของผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่ง (ระงับการใช้วงเงินชั่วคราว) ไปออกวงเงินให้ผู้ประกอบธุรกิจอีกรายก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 41.1. บริษัท A มีวงเงิน O/D จำนวน 10 ล้านบาท ต่อมาสถาบันการเงินกันวงเงินดังกล่าวไปออกวงเงิน O/D จำนวน 10 ล้านบาท ให้บริษัท B โดยที่บริษัท A และบริษัท B เป็นบริษัทในกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้เมื่อกันวงเงินให้บริษัท B แล้ว บริษัท A จะไม่สามารถใช้วงเงินได้ชั่วคราว ในขณะที่บริษัท B จะสามารถใช้วงเงินได้ 10 ล้านบาท
41.2 บริษัท A และบริษัท B มีวงเงินสินเชื่อใช้ร่วมกันไม่เกิน 35 ล้านบาท โดยบริษัท A มี sub limit จำนวน 35 ล้านบาท และบริษัท B มี sub limit จำนวน 35 ล้านบาท ต่อมาสถาบันการเงินกันวงเงิน sub limit ของบริษัท A จำนวน 35 ล้านบาท ไปออกวงเงิน P/N ของบริษัท B จำนวน 20 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัท A สามารถใช้วงเงินได้ชั่วคราวเพียง 15 ล้านบาท ในขณะที่บริษัท B สามารถใช้วงเงิน sub limit และวงเงิน P/N รวมกันได้ 35 ล้านบาท
|
41.1 บริษัท A ยังคงมีวงเงินตามสัญญาสินเชื่อ 10 ล้านบาท เพียงแต่บริษัท A ไม่สามารถเบิกใช้วงเงินดังกล่าวได้เนื่องจากถูกกันไปให้บริษัท B เบิกใช้ได้ชั่วคราว แต่ถ้ามีการยกเลิกการกันวงเงินที่กันไว้เพียงชั่วคราวเมื่อใด บริษัท A ก็จะสามารถเบิกเงินได้ 10 ล้านบาท เช่นเดิม และบริษัท B ได้รับการกันวงเงินมา 10 ล้านบาท ดังนั้น ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 จึงต้องถือว่าบริษัท B มีวงเงินอยู่กับสถาบันการเงิน 10 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัท A และ บริษัท B สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูรวมกันได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 10 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า) 41.2 หากมีการยกเลิกการกันวงเงินที่กันไว้เพียงชั่วคราวเมื่อใด บริษัท A และบริษัท B ก็ยังเบิกสินเชื่อได้ไม่เกิน sublimit ของตน และเบิกรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 35 ล้านบาท ซึ่งเป็นเพดานของวงเงินร่วม ดังนั้น จึงถือว่าบริษัท A และบริษัท B มีวงเงินอยู่กับสถาบันการเงินรายละ 35 ล้านบาท ตาม sublimit ที่ตนมีสิทธิเบิกได้ แต่บริษัท A และบริษัท B สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูรวมกันได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของ 35 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
|
42. บุคคลธรรมดาที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อฟื้นฟู สามารถโอนสภาพหนี้ไปให้นิติบุคคลผ่อนชำระต่อ เพื่อผลประโยชน์ทางภาษีตามนโยบายบัญชีเดียวได้หรือไม่ หากทำไม่ได้ กรณีที่สถาบันการเงินยินยอมโอนสภาพหนี้ตามความประสงค์ของผู้ประกอบธุรกิจแล้ว สถาบันการเงินจะต้องชำระเงินคืน ธปท. ภายในกี่วัน
|
การโอนหนี้ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้สินเชื่อฟื้นฟูจากบุคคลหนึ่งกลายเป็นอีกบุคคลหนึ่ง มีลักษณะเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ซึ่งทำให้หนี้สินเชื่อฟื้นฟูของลูกหนี้เดิมต้องระงับสิ้นไปตามมาตรา 349 และมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น นับแต่วันที่การแปลงหนี้ใหม่มีผลบังคับ จะถือได้ว่าลูกหนี้เดิมไม่มีหนี้สินเชื่อฟื้นฟูอยู่กับสถาบันการเงินอีกต่อไป และถือเป็นการเข้าข่ายกรณีที่สถาบันการเงินได้รับชำระหนี้คืนทั้งหมด โดยมีลูกหนี้รายใหม่แทนและเป็นการปิดบัญชีของลูกหนี้เดิมสถาบันการเงิน จึงต้องชำระหนี้คืน ธปท. ภายใน 30 วันนับแต่วันที่การแปลงหนี้ใหม่มีผลบังคับ ตามข้อ 4.8 (1) ของประกาศ ธปท. ที่ สกส1.2/2563 ทั้งนี้ ในส่วนของหนี้ที่ได้มีการโอนไปแล้วและลูกหนี้ที่ได้รับโอนหนี้จากการแปลงหนี้ใหม่จะไม่อยู่ภายใต้มาตรการตาม พ.ร.ก.
|
43. ผู้ประกอบธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินแต่ได้โอนภาระหนี้สินดังกล่าวให้บุคคลอื่นก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินอื่น ๆ ทุกแห่ง สามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายใหม่ได้หรือไม่
|
ผู้ประกอบธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินแต่ได้โอนภาระหนี้สินดังกล่าวให้บุคคลอื่นเสร็จสิ้นก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ถือได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินแล้ว และหากไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินอื่น ๆ ทุกแห่ง ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายใหม่ได้
|
02 การกำหนดวงเงิน อัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมตามมาตรการ |
44. ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ในวงเงินเท่าใด
|
1. กรณีผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินสินเชื่ออยู่กับสถาบันการเงินที่จะให้กู้ยืม ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 วงเงินที่ให้กู้ยืมต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อหรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท โดยวงเงินสินเชื่อให้คำนวณจากวงเงินสินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจที่มีอยู่กับสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 หรือ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวงเงินตามภาระผูกพันและวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค หากผู้ประกอบธุรกิจข้างต้นเป็นผู้ได้รับสินเชื่อตาม พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 อยู่ก่อนแล้ว เมื่อรวมสินเชื่อดังกล่าวกับสินเชื่อตาม พ.ร.ก. ฉบับใหม่ต้องไม่เกินวงเงินสินเชื่อที่สถาบันการเงินสามารถให้ผู้ประกอบธุรกิจกู้ยืมตามวงเงินข้างต้น
2. กรณีผู้ประกอบธุรกิจไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 วงเงินที่ให้กู้ยืมต้องไม่เกินรายละ 50 ล้านบาท เมื่อนับรวมทุกสถาบันการเงิน
|
45. ระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อฟื้นฟูภายใต้ พ.ร.ก. มีรายละเอียดอย่างไร
|
- ให้สถาบันการเงินชำระคืนเงินที่ได้กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยแก่ ธปท. ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้รับเงินกู้ สำหรับการกำหนดระยะเวลาเงินกู้ของผู้ประกอบธุรกิจ สามารถกำหนดได้นานกว่า 5 ปี หรือสอดคล้องกับระยะเวลาที่ บสย. ค้ำประกันก็ได้ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ เพียงแต่สถาบันการเงินจะรับการช่วยเหลือและชดเชยตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูในระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่สัญญาเงินกู้ยืมมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ หลังระยะเวลา 5 ปี สถาบันการเงินสามารถพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจต่อได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยตามต้นทุนเงินและความเสี่ยงของสถาบันการเงิน - ในช่วง 5 ปีแรกของสัญญากู้ยืมเงินที่สถาบันการเงินทำกับผู้ประกอบธุรกิจ สถาบันการเงินต้องคิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยตลอดอายุสัญญา (simple average) ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลา 2 ปีแรกของสัญญา ให้คิดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี โดยในการทยอยเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ให้สถาบันการเงินพิจารณากำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องไม่เรียกเก็บดอกเบี้ยจากผู้ประกอบธุรกิจเป็นระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับสินเชื่องวดแรกของการยื่นขอกู้ยืมเงินจาก ธปท. แต่ละครั้ง (รัฐชดเชยดอกเบี้ย 6 เดือนแรกแทนผู้ประกอบธุรกิจ)
|
46. มีเงื่อนไขควบคุมวัตถุประสงค์การใช้วงเงินสินเชื่อฟื้นฟูหรือไม่
|
มาตรการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประคับประคองกิจการและรักษาการจ้างงานภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอน อีกทั้งเพื่อให้สามารถฟื้นกิจการได้ไว ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงสามารถขอสินเชื่อเพื่อเป็นสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน (working capital) เช่น การชำระหนี้แก่เจ้าหนี้การค้า การจ่ายค่าแรงงาน หรือ term loan เพื่อต่อยอดธุรกิจ เช่น การต่อเติมโรงงาน การซื้อเครื่องจักร ทั้งสำหรับธุรกิจเดิมและธุรกิจใหม่ โดยไม่สามารถนำเงินที่ได้รับไปชำระคืน soft loan เดิม หรือสินเชื่อที่มีอยู่เดิม
|
47. ประเภทของวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่อนุมัติให้กับผู้ประกอบธุรกิจ ครอบคลุมวงเงินประเภทใดบ้าง เช่น term loan, O/D, P/N, trade finance
|
ไม่จำกัดประเภทวงเงิน โดยสถาบันการเงินต้องให้ตามความต้องการของผู้ประกอบธุรกิจ เช่น working capital หรือ term loan
|
48. การตั้งวงเงินสินเชื่อฟื้นฟู
|
|
48.1 กรณีมีวงเงินเดิมที่ลูกค้าไม่ได้ใช้ (unused credit line) สามารถเปลี่ยนมาเป็นวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่
|
48.1 วงเงิน unused credit line สามารถเปลี่ยนมาเป็นวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อลดภาระดอกเบี้ยของผู้ประกอบธุรกิจได้ ทั้งนี้ ขอให้สถาบันการเงินพิจารณาตามความจำเป็นและจำนวนวงเงินที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสภาพคล่องเพียงพอด้วย
|
48.2 สถาบันการเงินต้องตั้งวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูแยกออกจากวงเงินกู้เดิมหรือไม่ หรือสามารถ ขยายจากวงเงินเดิมได้
|
48.2 สถาบันการเงินต้องตั้งวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูเป็นวงเงินใหม่แยกออกจากวงเงินเดิมของผู้ประกอบธุรกิจ
|
49. สถาบันการเงินสามารถกำหนดเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินกู้สินเชื่อฟื้นฟูในรูปแบบของสถาบันการเงินเองได้หรือไม่ (ผ่อนชำระดอกเบี้ยทุกเดือนและชำระคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนด / ผ่อนเป็นค่างวดเท่ากันทุกเดือน)
|
การกำหนดเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินกู้สินเชื่อฟื้นฟูขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจจะตกลงกัน ทั้งนี้ ขอให้คำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายด้วย
|
50. การกำหนดดอกเบี้ยสินเชื่อฟื้นฟูในอัตราเฉลี่ยตลอดอายุสัญญาไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วงระยะเวลา 5 ปีแรก โดยไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี ในช่วงระยะเวลา 2 ปีแรก นับจากวันที่ผู้ประกอบธุรกิจทำสัญญาเงินกู้หรือวันที่ผู้ประกอบธุรกิจเบิกใช้เงินกู้ครั้งแรก
|
ให้นับจากวันที่สัญญาเงินกู้มีผลบังคับใช้
|
51. การกำหนดวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูให้กับผู้ประกอบธุรกิจไม่เกิน 150 ล้านบาท เป็นการพิจารณาวงเงินสินเชื่อรวมของกลุ่มธุรกิจและพิจารณาแยกสถาบันการเงินแต่ละแห่งหรือไม่
|
การพิจารณาคุณสมบัติผู้ประกอบธุรกิจและการกำหนดวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูเป็นการพิจารณาแต่ละรายผู้ประกอบธุรกิจ และแต่ละรายสถาบันการเงิน เว้นแต่เป็นกรณีผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่มีวงเงินสินเชื่ออยู่กับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 การกำหนดวงเงินสินเชื่อฟื้นฟู ไม่เกินรายละ 50 ล้านบาท เป็นการพิจารณานับรวมวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินทุกแห่ง
|
52. ผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 550 ล้านบาท แต่ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 มีวงเงินเหลือ 450 ล้านบาท ผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวมีคุณสมบัติสามารถยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่ และวงเงินที่จะได้รับอนุมัติเป็นเท่าไร
|
- การพิจารณาคุณสมบัติผู้ประกอบธุรกิจในฐานะลูกหนี้รายเดิมที่จะเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูพิจารณาจากวงเงินสินเชื่อรวมของผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายที่มีกับสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ไม่เกิน 500 ล้านบาท ทั้งนี้ ไม่นับรวมวงเงินตามภาระผูกพันและวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค - ในกรณีดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจมีคุณสมบัติยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูได้ เนื่องจาก ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 มีวงเงินรวม 450 ล้านบาท ไม่เกิน 500 ล้านบาท และสามารถยื่นขอกู้ได้ไม่เกิน 150 ล้านบาท เนื่องจากวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อ (30% × max (550,450) = 165 ล้านบาท) หรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า (165 ล้านบาท) แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท
|
53. การคิดค่าธรรมเนียมกับผู้ประกอบธุรกิจที่ขอกู้สินเชื่อฟื้นฟู
|
|
53.1 ในกรณีที่สถาบันการเงินเรียกหลักประกันเพิ่มจากผู้ประกอบธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาสามารถเรียกเก็บจากลูกค้าได้หรือไม่
|
53.1 สถาบันการเงินต้องไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้ประกอบธุรกิจ ในช่วง 5 ปีแรกของสัญญากู้ยืมเงินภายใต้มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูนี้ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้บุคคลภายนอก เช่น ค่าอากรที่จ่ายให้หน่วยงานราชการ ค่าประเมินราคาที่จ่ายให้กับบริษัทประเมินราคาภายนอก
|
53.2 หากสถาบันการเงินให้ผู้ประกอบธุรกิจทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินจะสามารถเรียกเก็บจากลูกค้าได้หรือไม่
|
53.2 สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อได้ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่สถาบันการเงินต้องไม่บังคับทำประกันชีวิตและไม่กำหนดเป็นเงื่อนไขให้ได้รับการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อโดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศ ธปท. ที่ สกส. 1/2561 เรื่อง การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) และประกาศ ธปท. ที่ สนส. 17/2551 เรื่องการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจการประกันภัย
|
53.3 สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากการปล่อยกู้สินเชื่อฟื้นฟูนอกจากดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 เช่น front-end fee ได้หรือไม่
|
53.3 ตามประกาศ ธปท. ที่ สกส1.1/2564 ข้อ 4.6 (5) ในช่วง 5 ปีแรกของสัญญากู้ยืมเงินที่สถาบันการเงินทำกับผู้ประกอบธุรกิจ สถาบันการเงินต้องไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัดจากลูกหนี้ในส่วนสินเชื่อที่ให้ตามมาตรการ และต้องไม่กำหนดข้อสัญญาใดๆ ให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องชำระเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายแก่สถาบันการเงิน ในกรณีที่สถาบันการเงินปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขในการรับเงินกู้ยืมจาก ธปท. จนเป็นเหตุให้ ธปท. เรียกเงินกู้ยืมดังกล่าวคืนจากสถาบันการเงิน ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องไม่กำหนดในข้อสัญญาระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ประกอบธุรกิจในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในช่วง 5 ปีแรกให้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ตามประกาศ ธปท. ที่ สกส1.1/2564 ข้อ 4.7 (2)
|
53.4 ในกรณีที่สถาบันการเงินเรียกหลักประกันเพิ่มจากผู้ประกอบธุรกิจ โดยใช้บริการบริษัทประเมินราคาซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่สถาบันการเงินถือหุ้นร้อยละ 100 บริษัทดังกล่าวถือเป็นบุคคลภายนอกที่สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากลูกค้าได้หรือไม่
|
53.4 บริษัทประเมินราคาซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินไม่ถือเป็นบุคคลภายนอกที่สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้ประกอบธุรกิจภายใต้มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูนี้
|
53.5 สถาบันการเงินสามารถคิดค่า prepayment fee สินเชื่อฟื้นฟูภายหลังปีที่ 5 ได้หรือไม่
|
53.5 สถาบันการเงินต้องไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม prepayment fee กับผู้ประกอบธุรกิจ ในช่วง 5 ปีแรกของสัญญากู้ยืมเงินและโดยปกติสถาบันการเงินจะคิดค่าธรรมเนียม prepayment fee สำหรับสินเชื่อทั่วไปในช่วงแรกของสัญญากู้ยืมเงิน ดังนั้น สถาบันการเงินจึงไม่ควรเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวภายหลังระยะเวลาสินเชื่อฟื้นฟู
|
53.6 ค่าธรรมเนียม management fee ที่ บสย. เรียกเก็บจากสถาบันการเงิน สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บต่อจากผู้ประกอบธุรกิจได้หรือไม่
|
53.6 ปัจจุบัน บสย. ไม่ได้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากสถาบันการเงิน ดังนั้น สถาบันการเงินจึงไม่สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ประกอบธุรกิจได้ ซึ่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวมีดังนี้ 1. ค่าดำเนินการค้ำประกัน อัตราค่าดำเนินการค้ำประกัน 500 บาทต่อการออกหนังสือค้ำประกัน 1 ฉบับ ยกเว้น ค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบธุรกิจหรือสถาบันการเงินประสงค์ให้แก้ไขหนังสือค้ำประกัน เช่น เปลี่ยนชื่อจากห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด เป็นต้น 2. ค่าจัดการค้ำประกัน อัตราร้อยละ 0.50 ของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อต่อครั้ง 3. ค่าธรรมเนียมการจ่ายค่าประกันชดเชย ในอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนเงินค่าประกันชดเชยที่ บสย. จ่ายให้กับสถาบันการเงิน
|
53.7 ในระหว่าง 5 ปีในช่วงเวลาการรับสินเชื่อฟื้นฟู หากสถาบันการเงินมีการกำหนดเงื่อนไขสัญญาให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายชำระต้นและดอกเบี้ยในระหว่างนี้ แต่ปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจจ่ายชำระหนี้ไม่ได้จนเป็นหนี้ค้างชำระ ซึ่งสถาบันการเงินไม่สามารถคิดเบี้ยปรับผิดนัดได้ตามประกาศ ธปท. กำหนด อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บค่าติดตามทวงถามหนี้ที่เป็นต้นทุนการดำเนินการที่เพิ่มขึ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ได้หรือไม่
|
53.7 สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการติดตามทวงถามหนี้ ตามจำนวนที่จ่ายไปจริงและสมควรแก่กรณีตามหลักเกณฑ์ของ ธปท. และ พ.ร.บ. การทวงถามหนี้
|
54. การคำนวณวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่กำหนดว่าเมื่อรวมกับวงเงิน soft loan เดิม ต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจหรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท หาก ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ 400 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 มีวงเงิน 300 ล้านบาท หากผู้ประกอบธุรกิจเคยได้รับอนุมัติวงเงิน soft loan เดิม 60 ล้านบาท จะสามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูได้ในวงเงินสูงสุดเท่าใด ตามแต่ละกรณีต่อไปนี้ 1. เคยเบิกใช้ soft loan เต็มวงเงิน และยังไม่ได้ชำระคืนหรือปิดบัญชี 2. เคยเบิกใช้ soft loan จำนวน 30 ล้านบาท และวงเงินที่เหลืออีก 30 ล้านบาท ยังใช้ได้อยู่ 3. เคยเบิกใช้ soft loan เต็มวงเงิน แต่ชำระหนี้ปิดบัญชีแล้ว 4. ได้รับอนุมัติและสถาบันการเงินได้เงินกู้จาก ธปท. ไปเต็มวงเงิน 60 ล้านบาท แต่เบิกไปเพียง 30 ล้านบาท เท่านั้น ลูกหนี้ขอคืนวงเงินส่วนที่เหลือและสถาบันการเงินได้คืนเงิน soft loan ส่วนที่เหลือแก่ ธปท. แล้ว
|
ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เคยได้รับอนุมัติ soft loan เดิม เมื่อรวมวงเงินสินเชื่อ soft loan ดังกล่าวกับวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจหรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท แต่หากผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุมัติ soft loan หรือสินเชื่อฟื้นฟู แต่ไม่เคยเบิกใช้วงเงินและแสดงความประสงค์ไม่ใช้สินเชื่อทั้งจำนวนหรือบางส่วนและสถาบันการเงินได้ดำเนินการคืนเงิน แก่ ธปท. แล้ว ไม่ต้องนำวงเงินสินเชื่อจำนวนข้างต้นไปหักออกจากวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ผู้ประกอบธุรกิจยื่นขออนุมัติ เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจยังไม่เคยได้รับประโยชน์ดอกเบี้ยจากภาครัฐ สรุป วงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่กู้เพิ่มได้ = ร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจหรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า – วงเงิน soft loan และสินเชื่อฟื้นฟูที่เคยได้รับอนุมัติ + วงเงินที่ชำระคืน ธปท. เฉพาะส่วนที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้เบิกใช้ (full/partial) ดังนั้น สำหรับกรณีที่ 1-3 : ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูได้ในวงเงินสูงสุด 60 ล้านบาท (max [{30% × max (300,400)} , 50] – 60)
สำหรับกรณีที่ 4 : ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูได้ในวงเงินสูงสุด 90 ล้านบาท(max [{30% × max (300,400)} , 50] – 60 + 30)
|
55. หากผู้ประกอบธุรกิจไม่มีวงเงิน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แต่เคยได้รับ soft loan มาก่อนหน้า เนื่องจากมีวงเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และต่อมาได้ชำระหนี้ปิดบัญชี การกำหนดวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูของผู้ประกอบธุรกิจในฐานะลูกหนี้รายใหม่รายละไม่เกิน 50 ล้านบาท ต้องนำวงเงิน soft loan เดิมมาหักออกหรือไม่
|
กรณีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายใหม่ วงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ให้กู้ยืมไม่ต้องนำวงเงิน soft loan เดิมมาหักออก ต่างจากกรณีผู้ประกอบธุรกิจที่ยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายเดิม วงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ให้กู้ยืมต้องนำวงเงิน soft loan เดิมมาหักออก
|
56. หากบริษัท A + บริษัท B ได้รับสินเชื่อฟื้นฟูในนามผู้กู้ร่วมแล้ว ต่อมาบริษัท A และบริษัท B ต้องการยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูในนามผู้กู้เดี่ยวเพิ่มเติม การกำหนดวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูไม่เกิน 150 ล้านบาท ต้องนำวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ได้รับก่อนหน้าในนามผู้กู้ร่วมมาหักออกหรือไม่
|
กรณีที่วงเงินเดิมเป็นวงเงินกู้ร่วม สถาบันการเงินสามารถพิจารณาให้สินเชื่อฟื้นฟูในนามวงเงินกู้ร่วมได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อหรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า และสถาบันการเงินสามารถพิจารณาให้สินเชื่อฟื้นฟูเพิ่มในนามผู้กู้เดี่ยวได้อีกไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจของผู้กู้เดี่ยวแต่ละรายหรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
|
57. กรณีวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็น revolving working capital เช่น O/D, P/N, trade finance กรณีผู้ประกอบธุรกิจมีการลดยอดใช้หรือชำระคืนบางส่วนแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอเบิกใหม่โดยยังได้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อฟื้นฟูอยู่ได้หรือไม่ และหากผู้ประกอบธุรกิจไม่ประสงค์จะใช้วงเงินแล้วสถาบันการเงินจะต้องดำเนินการอย่างไร
|
ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเบิกใช้วงเงินและชำระคืนได้ในระยะ 5 ปีตามสัญญากู้ยืมและสอดคล้องกับความต้องการใช้วงเงินของผู้ประกอบธุรกิจ โดยได้รับอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ยกเว้นกรณีผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้และปิดบัญชี หรือไม่ประสงค์จะใช้วงเงินดังกล่าว ให้สถาบันการเงินชำระหนี้คืน ธปท. ภายใน 30 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับชำระหนี้คืนทั้งหมดจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือวันที่ได้รับแจ้งความประสงค์จากผู้ประกอบธุรกิจแล้วแต่กรณี ตามประกาศ ธปท. ที่ สกส1. 1/2564 ข้อ 4.7 (1)
|
58. สถาบันการเงินสามารถเรียกหลักประกันเพิ่มจากผู้ประกอบธุรกิจที่ยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูโดยส่งให้ บสย. ค้ำประกันได้หรือไม่
|
ตามหลักเกณฑ์ไม่ได้ห้ามให้สถาบันการเงินเรียกหลักประกันเพิ่มจากผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ขอให้สถาบันการเงินพิจารณาตามความเสี่ยงและความจำเป็นที่ต้องไม่เป็นภาระของผู้ประกอบธุรกิจจนเกินไป และมีกระบวนการป้องกันข้อร้องเรียนในภายหลัง เนื่องจากการชดเชยความเสียหายผ่านกลไก บสย. ถือเป็นการช่วยลดความเสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินอยู่แล้ว ในกรณีที่สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูและผู้ประกอบธุรกิจประสงค์ที่จะขอทราบเหตุผลของการที่สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อ ให้สถาบันการเงินชี้แจงให้ผู้ประกอบธุรกิจทราบเหตุผลการปฏิเสธสินเชื่อดังกล่าวอย่างชัดเจนตามหนังสือที่ ธปท. ฝนส. (21) ว. 71/2553 เรื่องการชี้แจงเหตุผลของการไม่อนุมัติสินเชื่อเป็นลายลักษณ์อักษร
|
59.กรณีสถาบันการเงินกำหนดระยะเวลาสินเชื่อฟื้นฟูน้อยกว่า 5 ปี
|
|
59.1 สถาบันการเงินสามารถกำหนดระยะเวลาสินเชื่อฟื้นฟูในสัญญาเงินกู้ยืมกับผู้ประกอบธุรกิจน้อยกว่า 5 ปี ได้หรือไม่ และสามารถคิดอัตราดอกเบี้ยแบบ step up แต่อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ได้หรือไม่
|
59.1 สัญญากู้ยืมเงินที่สถาบันการเงินทำกับผู้ประกอบธุรกิจสามารถกำหนดระยะเวลาต่ำกว่า 5 ปีได้ ตามความต้องการและความสามารถชำระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจ โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยตลอดอายุสัญญาต้องไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลา 2 ปีแรกของสัญญา ให้คิดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี โดยในการทยอยเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ให้สถาบันการเงินพิจารณากำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจ
|
59.2 หากสถาบันการเงินกำหนดระยะเวลาสินเชื่อฟื้นฟู 3 ปี แล้ว และเมื่อครบกำหนดผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถชำระหนี้ได้ สถาบันการเงินจึงปรับโครงสร้างหนี้ขยายระยะเวลาสินเชื่อออกไปให้อีก 2 ปี สถาบันการเงินยังต้องคิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกินร้อยละ 5 สำหรับระยะเวลาที่ขยายออกไปหรือไม่
|
59.2 สถาบันการเงินยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขอื่นตามที่ ธปท. กำหนดสำหรับสินเชื่อฟื้นฟู และห้ามเรียกเก็บค่าเบี้ยปรับและดอกเบี้ยผิดนัดหากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ในระหว่าง 5 ปี เนื่องจากสถาบันการเงินมีต้นทุนทางการเงินต่ำสำหรับการปล่อยกู้สินเชื่อฟื้นฟู (อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01) ทั้งนี้ สถาบันการเงินสามารถปรับโครงสร้างหนี้และคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สถาบันการเงินตกลงกับผู้ประกอบธุรกิจภายหลังช่วงเวลาดังกล่าวได้
|
60. การดำเนินการกับผู้ประกอบธุรกิจที่ผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อฟื้นฟู ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับชดเชยจาก บสย. สถาบันการเงินสามารถบอกเลิกสัญญาและไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจเบิกเงินกู้ พร้อมทั้งสามารถดำเนินการตามขั้นตอนปกติในการ collection process ได้หรือไม่ โดยไม่ต้องรอครบกำหนด 5 ปี 60.1 หากผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถจ่ายชำระหนี้สินเชื่อฟื้นฟูตามกำหนดชำระหนี้หรือสถาบันการเงินสืบทราบได้แน่ชัดว่าผู้ประกอบธุรกิจมีเจตนาไม่ชำระหนี้คืนเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ เช่น ปิดกิจการและติดต่อไม่ได้ ต้องคดีที่ส่งผลต่อการชำระหนี้คืน (ถูกจำคุก ฉ้อโกง ฟอกเงิน ยาเสพติด เป็นต้น) ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้อีก เช่น เสียชีวิต หรือผิดนัดชำระหนี้กับเจ้าหนี้อื่นและถูกฟ้องดำเนินคดี ล้มละลาย 60.2 หากผู้ประกอบธุรกิจผิดนัดชำระหนี้และสถาบันการเงินได้มีการทำสัญญาผ่อนผันให้ชำระค่างวดลดลงแล้วแต่ผู้ประกอบธุรกิจยังคงผิดนัดชำระหนี้อีก 60.3 หากผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถชำระได้ตามเงื่อนไข สถาบันการเงินสามารถคืนสินเชื่อฟื้นฟูแก่ ธปท. ก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญา 5 ปี และทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับผู้ประกอบธุรกิจคิดอัตราดอกเบี้ยตามต้นทุนเงินและความเสี่ยงของสถาบันการเงินได้หรือไม่
|
สถาบันการเงินอาจพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนปกติสำหรับลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ตามเงื่อนไขได้ แต่ยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขอื่นตามที่ ธปท. กำหนดสำหรับสินเชื่อฟื้นฟู และห้ามเรียกเก็บค่าเบี้ยปรับและดอกเบี้ยผิดนัดหากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ในระหว่าง 5 ปี เนื่องจากสถาบันการเงินมีต้นทุนทางการเงินต่ำสำหรับการปล่อยกู้สินเชื่อฟื้นฟู (อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01) ทั้งนี้ สถาบันการเงินสามารถปรับโครงสร้างหนี้และคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สถาบันการเงินตกลงกับผู้ประกอบธุรกิจภายหลังช่วงเวลาดังกล่าวได้
|
61. หากภายหลัง 2 ปีแรก ผู้ประกอบธุรกิจมีประวัติการชำระหนี้ไม่เป็นไปตามสัญญา สถาบันการเงินจึงปรับการคิดอัตราดอกเบี้ยในแต่ละปีใหม่ แต่เฉลี่ยแล้วยังไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี เงื่อนไขการคิดอัตราดอกเบี้ยใหม่จะถือเป็นการคิดดอกเบี้ยผิดนัดหรือไม่
|
สถาบันการเงินสามารถปรับการคิดอัตราดอกเบี้ยในแต่ละปีใหม่ได้ แต่คิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยตลอดอายุสัญญาต้องไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลา 2 ปีแรกของสัญญา ให้คิดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี โดยในการทยอยเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ให้สถาบันการเงินพิจารณากำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจ
|
62. กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจซื้อที่ดินก่อสร้างโครงการเพื่อขยายธุรกิจ โดยสำรองจ่ายเงินค่าที่ดินไปก่อนหน้า ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจ่ายค่าที่ดินที่สำรองจ่ายไปก่อนหน้า สนับสนุนการก่อสร้างและเสริมสภาพคล่องได้หรือไม่
|
มาตรการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประคับประคองกิจการและรักษาการจ้างงานภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอน อีกทั้งเพื่อให้สามารถฟื้นกิจการได้ไว ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงสามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อเป็นสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน (working capital) เช่น การชำระหนี้แก่เจ้าหนี้การค้า การจ่ายค่าแรงงาน หรือ term loan เพื่อต่อยอดธุรกิจ เช่น การต่อเติมโรงงาน การซื้อเครื่องจักร ทั้งสำหรับธุรกิจเดิมและธุรกิจใหม่ ซึ่งครอบคลุมค่าที่ดินที่สำรองจ่ายไปก่อนหน้าได้
|
63. กรณีสถาบันการเงินควบรวมกิจการ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจมีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 กับสถาบันการเงินแต่ละแห่งก่อนการควบรวมกิจการ โดยภายหลังการควบรวมกิจการ สถาบันการเงินอาจมีการให้สินเชื่อฟื้นฟูแก่ผู้ประกอบธุรกิจเกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีกับสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งหรือรวมทั้งสองแห่ง ดังนั้น วงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่สถาบันการเงินภายหลังควบกิจการจะให้กู้ยืมได้รวมกันต้องไม่เกิน 50 ล้านบาท หรือพิจารณาแยกตามวงเงินสินเชื่อที่ผู้ประกอบธุรกิจมีอยู่กับแต่ละสถาบันการเงินก่อนควบกิจการแห่งละไม่เกิน 50 ล้านบาท และในกรณีร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อที่ผู้ประกอบธุรกิจมีกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งก่อนการควบรวมตามแต่ละกรณีต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูได้ในวงเงินสูงสุดเท่าใด
|
หากวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่สถาบันการเงินภายหลังควบกิจการจะให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบธุรกิจเกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีกับสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งหรือรวมทั้งสองแห่ง ให้พิจารณาแยกตามวงเงินสินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจที่มีอยู่กับสถาบันการเงินแต่ละแห่งก่อนควบกิจการแห่งละไม่เกิน 50 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจยังคงได้ประโยชน์เช่นเดิมเหมือนก่อนควบกิจการ แต่วงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่สถาบันการเงินภายหลังควบรวบกิจการให้กู้ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท
|
63.1 สถาบันการเงิน A เท่ากับ 20 ล้านบาท และสถาบันการเงิน B เท่ากับ 20 ล้านบาท
|
63.1 ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูได้ในวงเงินสูงสุด 100 ล้านบาท (max (20,50) + max (20,50))
|
63.2 สถาบันการเงิน A เท่ากับ 90 ล้านบาท และสถาบันการเงิน B เท่ากับ 20 ล้านบาท
|
63.2 ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูได้ในวงเงินสูงสุด 140 ล้านบาท (max (90,50) + max (20,50))
|
63.3 สถาบันการเงิน A เท่ากับ 120 ล้านบาท และสถาบันการเงิน B เท่ากับ 20 ล้านบาท
|
63.3 ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูได้ในวงเงินสูงสุด 150 ล้านบาท (max (120,50) + max (20,50) = 170 ล้านบาท แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท)
|
03 กระบวนการยื่นคำขอรับเงิน / เบิกจ่ายสินเชื่อฟื้นฟู และเอกสารที่เกี่ยวข้อง |
64. กำหนดเวลาขอกู้ยืมเงินจาก ธปท. เงื่อนไขการเบิกกู้ และระยะเวลาการรับเงินโอน
|
การยื่นกู้แต่ละครั้ง กำหนดสัปดาห์ละครั้ง ทุกวันจันทร์ (T) ไม่เกิน 11.00 น. หรือวันทำการวันแรกของสัปดาห์ โดยจะทราบผลการพิจารณาภายใน 2 วันทำการ (T+2) ก่อน 16.00 น. ซึ่งสถาบันการเงินจะต้องยื่นเอกสารตัวจริงภายใน 3 วันทำการ (T+3) ช่วง 8.30 น.-11.30 น. และจะได้รับเงินจาก ธปท. ภายใน 4 วันทำการ (T+4) ผ่านระบบ BAHTNET ประมาณ 11.00 น. (อาจกำหนดวันให้สถาบันการเงินยื่นกู้เพิ่มเติม) โดย ธปท. จะจัดสรรวงเงินให้แต่ละสถาบันการเงินตามลำดับที่ยื่นคำขอ (first come, first served) เช่น ครั้งแรกกำหนดยื่นวันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2564 เวลา 11.00 น. ธปท. จะโอนเงินให้สถาบันการเงินในวันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2564 เวลา 11.00 น.
|
65. สถาบันการเงินยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ภายในกำหนดระยะเวลาเท่าไร
|
ให้สถาบันการเงินยื่นคำขอกู้ยืมเงินต่อ ธปท. ภายในระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ พ.ร.ก. ใช้บังคับ (10 เมษายน 2564 - 9 เมษายน 2566) แต่ในกรณีที่ยังมีวงเงินเหลืออยู่และมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือต่อไปหรือยุติการดำเนินมาตรการ ธปท. โดยความเห็นชอบของ ครม. จะขยายระยะเวลายื่นคำขอกู้ยืมเงินดังกล่าวออกไปอีก 1 ปี ก็ได้ หรือจะยุติการดำเนินมาตรการนี้ก่อนกำหนดก็ได้ ทั้งนี้ ธปท. กำหนดให้สถาบันการเงินยื่นกู้ครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2564 ภายในเวลา 11.00 น.
|
66. การขอกู้ยืมสินเชื่อฟื้นฟูจาก ธปท. กำหนดระยะเวลาอย่างไร
|
การให้กู้ยืมเงินของ ธปท. จะดำเนินการโดยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออก โดยตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวต้องมีกำหนดชำระไม่เกินระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับเงินกู้ยืมจาก ธปท. เช่น สถาบันการเงินได้รับเงินผ่านระบบ BAHTNET วันที่ 30 เมษายน 2564 อายุตั๋วจะเริ่มตั้งแต่ 30 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 29 เมษายน 2569 ทั้งนี้ หากวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินหรือวันครบกำหนดคืนเงินกู้ยืมก่อนกำหนดตรงกับวันหยุดทำการ ให้สถาบันการเงินชำระหนี้ในวันทำการถัดไป โดย ธปท. จะเรียกเก็บดอกเบี้ยสำหรับวันหยุดดังกล่าวจนถึงวันที่สถาบันการเงินชำระหนี้ สำหรับการกำหนดระยะเวลาเงินกู้ของผู้ประกอบธุรกิจ สามารถกำหนดได้นานกว่า 5 ปี หรือสอดคล้องกับระยะเวลาที่ บสย. ค้ำประกันก็ได้ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ เพียงแต่สถาบันการเงินจะรับการช่วยเหลือและชดเชยตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูในระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่สัญญาเงินกู้ยืมมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ หลังระยะเวลา 5 ปี สถาบันการเงินสามารถพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจต่อได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยตามต้นทุนเงินและความเสี่ยงของสถาบันการเงิน
|
67. กำหนดระยะเวลาอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน
|
สถาบันการเงินแต่ละแห่งมีกระบวนการพิจารณาสินเชื่อที่แตกต่างกัน โดยขึ้นกับขนาดของลูกหนี้ด้วย จึงไม่กำหนดระยะเวลาอนุมัติสินเชื่อเป็นมาตรฐาน เมื่อผู้ประกอบธุรกิจยื่นคำขอสินเชื่อไปยังสถาบันการเงิน สถาบันการเงินต้องเร่งพิจารณาอนุมัติสินเชื่อภายในระยะเวลากำหนด ตามกรอบเวลา SLA ของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนที่สุดเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้
|
68. สถาบันการเงินสามารถเบิกกู้จาก ธปท. ได้หลายครั้งหรือไม่ สำหรับลูกค้า 1 ราย
|
ให้สถาบันการเงินยื่นขอเบิกใช้เงินกู้ตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ 1 ราย ได้ไม่เกิน 6 ครั้ง ต่อสถาบันการเงิน 1 แห่ง แต่วงเงินสินเชื่อฟื้นฟูทั้ง 6 ครั้ง รวมกันต้องไม่เกินวงเงินสินเชื่อที่สถาบันการเงินจะให้กับผู้ประกอบธุรกิจตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด และผู้ประกอบธุรกิจสามารถเบิกใช้วงเงินงวดเดียวหรือทยอยเบิกใช้วงเงินจากสถาบันการเงินได้ตามความเหมาะสม แต่ดอกเบี้ยที่ทางการจะชดเชยในระยะ 6 เดือนแรกจะคำนวณจากยอดสินเชื่อที่ผู้ประกอบธุรกิจเบิกใช้จริง โดยนับระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจเบิกเงินสินเชื่องวดแรกของการยื่นขอกู้ยืมเงินจาก ธปท. แต่ละครั้ง
|
69. สถาบันการเงินสามารถยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูจาก ธปท. ก่อนอนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ได้หรือไม่
|
สถาบันการเงินต้องพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กับผู้ประกอบธุรกิจก่อนยื่นขอกู้จาก ธปท.
|
70. สถาบันการเงินต้องรายงานสถานะของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อฟื้นฟูให้ ธปท. ทราบเป็นระยะหรือไม่
|
ให้สถาบันการเงินส่งรายงานสถานะผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อและจำนวนดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินไม่เรียกเก็บ (รายงาน D1 ตามประกาศ ธปท.) ณ สิ้นเดือนของทุกเดือน โดยให้รายงานในระบบ DMS DA Extranet ภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดไป เริ่มตั้งแต่งวดเดือนพฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การรายงานดังกล่าวให้เป็นไปตามแบบที่ ธปท. กำหนดในเว็บไซต์ของ ธปท.
|
71. หากผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูในฐานะลูกหนี้รายใหม่ไม่เกิน 50 ล้านบาทกับสถาบันการเงินหลายแห่งพร้อมกัน ธปท. จะมีแนวทางการดำเนินการอย่างไร
|
หากสถาบันการเงินหลายแห่งยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูกับ ธปท. สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นลูกหนี้รายใหม่ รวมแล้วเกินกว่า 50 ล้านบาท ภายในรอบเดียวกัน ธปท. จะแจ้งให้สถาบันการเงินตกลงกับผู้ประกอบธุรกิจว่าจะยื่นขอกู้กับสถาบันการเงินใดและสามารถยื่นขอกู้ใหม่ในรอบหน้า
|
04 การคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของสินเชื่อฟื้นฟูต่อ ธปท. |
72. การดำเนินการของสถาบันการเงิน กรณีผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนใจไม่ใช้สินเชื่อกับสถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้คืนในระหว่าง 5 ปีโดยยังไม่ปิดบัญชี หรือผู้ประกอบธุรกิจชำระคืนปิดวงเงิน
|
กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนครบกำหนดเวลาที่สถาบันการเงินต้องชำระหนี้แก่ ธปท. แต่ยังไม่ปิดบัญชี หรือกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเสียชีวิตและสถาบันการเงินมีการตกลงกับทายาทของผู้ประกอบธุรกิจให้แปลงหนี้ใหม่โดยทายาทเข้ารับเป็นลูกหนี้แทน สถาบันการเงินไม่ต้องนำส่งเงินดังกล่าวแก่ ธปท. เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้ปิดบัญชีทั้งหมดหรือแสดงความประสงค์ไม่ใช้สินเชื่อ ให้สถาบันการเงินชำระหนี้คืน ธปท. บางส่วนตามจำนวนสินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจรายที่ชำระหนี้ปิดบัญชีทั้งหมด หรือตามจำนวนเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ใช้ ภายใน 30 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับชำระหนี้คืนทั้งหมดจากผู้ประกอบธุรกิจหรือวันที่ได้รับแจ้งความประสงค์จากผู้ประกอบธุรกิจ แล้วแต่กรณี ตามประกาศ ธปท. ที่ สกส1.1/2564 ข้อ 4.7 (1)
|
73. กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจที่กู้ยืมสินเชื่อฟื้นฟูมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไข สถาบันการเงินจะต้องคืนเงินกู้ให้กับ ธปท. ภายในกี่วันหรือสามารถนำไป settlement ได้เมื่อครบ 5 ปี และยอดเงินกู้ที่ผู้ประกอบธุรกิจเบิกไปจะไม่ได้รับการชดเชยจากรัฐ ใช่หรือไม่
|
กรณีภายหลังจากที่สถาบันการเงินรับเงินกู้ยืมจาก ธปท. และพบว่าสถาบันการเงินนำเงินดังกล่าวไปให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขตาม พ.ร.ก. หรือประกาศ ธปท. ให้สถาบันการเงินคืนเงินกู้ยืมให้แก่ ธปท. ตามจำนวนที่มีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข ภายในระยะเวลาที่ ธปท. กำหนด และรัฐไม่รับชดเชยความเสียหายให้ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องไม่กำหนดในข้อสัญญาระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ประกอบธุรกิจในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในช่วง 5 ปีแรก หรือกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระเบี้ยปรับ หรือความเสียหายประการอื่นแก่สถาบันการเงิน เนื่องจากสถาบันการเงินต้องชำระเงินกู้ก่อนกำหนด ตามประกาศ ธปท. ที่ สกส1.1/2564 ข้อ 4.7 (2) อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยจากผู้ประกอบธุรกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับสินเชื่อฟื้นฟูงวดแรกในอัตราไม่เกินร้อยละ 2
|
74. สถาบันการเงินจะต้องจ่ายชำระดอกเบี้ยให้ ธปท. เช่น จ่ายทุกเดือน หรือทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน
|
สถาบันการเงินจะต้องจ่ายชำระดอกเบี้ยให้ ธปท. เมื่อครบกำหนดตั๋วสัญญาใช้เงินระยะเวลา 5 ปี โดยฐานในการคำนวณ 1 ปี เท่ากับ 365 วัน
|
75. ภายหลัง บสย. จ่ายเงินค่าชดเชยแล้วก่อนระยะเวลาครบกำหนด 5 ปี สถาบันการต้องคืนเงินกู้ให้กับ ธปท. ทันทีหรือไม่
|
กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจกลายเป็นหนี้ด้อยคุณภาพและ บสย. จ่ายชดเชยความเสียหายให้กับสถาบันการเงินแล้ว สถาบันการเงินไม่ต้องคืนเงินกู้ยืมให้ ธปท. สำหรับผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวก่อนกำหนด
|
05 การจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ย |
76. วิธีการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยและเงินชดเชย
|
|
76.1 รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินใช่หรือไม่
|
76.1 ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู กระทรวงการคลังจะเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยจ่ายแทนผู้ประกอบธุรกิจในระยะ 6 เดือนแรก นับแต่ผู้ประกอบธุรกิจเบิกเงินสินเชื่องวดแรกของการยื่นขอกู้ยืมเงินจาก ธปท. แต่ละครั้ง
|
76.2 การคำนวณดอกเบี้ยที่ภาครัฐออกให้ผู้ประกอบธุรกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่ที่ผู้ประกอบธุรกิจเบิกเงินสินเชื่องวดแรก จะนับแบบวันชนวันหรือไม่
|
76.2 การคำนวณเงินชดเชยดอกเบี้ยให้คิดตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจเบิกเงินกู้ครั้งแรกจนถึงวันที่ครบกำหนด 6 เดือน โดยใช้หลักนับต้นไม่นับท้าย เช่น สถาบันการเงินได้รับสินเชื่อฟื้นฟู จาก ธปท. ไปเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 ลูกหนี้เบิกใช้เงินกู้ครั้งแรกจากสถาบันการเงินในวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 หากลูกหนี้เบิกใช้เงินกู้ครั้งเดียวในวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ดอกเบี้ยเงินกู้จะได้รับการชดเชยนับตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 เป็นจำนวน 184 วัน(27+30+31+31+30+31+4) หากลูกหนี้ทยอยเบิกใช้เงินกู้ เช่น วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 เบิกเงินกู้ครั้งแรก ต่อมาวันที่ 5 มิถุนายน 2564 เบิกเงินกู้ส่วนที่เหลือ ดอกเบี้ยเงินกู้ครั้งแรกจะได้รับการชดเชย 184 วัน แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนที่เหลือจะได้รับการชดเชยนับแต่วันเบิกใช้จนถึงวันที่ครบกำหนด 6 เดือน หรือเป็นจำนวน 153 วัน (26+31+31+30+31+4)
|
77. ในช่วง 6 เดือนแรกที่รัฐบาลจะรับภาระดอกเบี้ยแทนผู้ประกอบธุรกิจ ขอทราบกระบวนการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยแทนผู้ประกอบธุรกิจใน 6 เดือน
|
- เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายได้รับเงินสินเชื่อตาม พ.ร.ก. จากสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินคำนวณจำนวนเงินดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินไม่เรียกเก็บตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก. - สถาบันการเงินยื่นคำขอรับเงินชดเชยดอกเบี้ยที่ไม่เรียกเก็บต่อ ธปท. ตามแบบหนังสือขอรับเงินชดเชยดอกเบี้ยที่ไม่เรียกเก็บจากผู้ประกอบธุรกิจ (เอกสารแนบ 5 ตามประกาศ ธปท. หรือเอกสาร F1) ภายใน 60 วัน นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด 2 ปี 6 เดือนนับแต่วันที่ พ.ร.ก. ใช้บังคับ โดย ธปท. จะดำเนินการคำนวณเงินชดเชยดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินไม่เรียกเก็บโดยพิจารณาจากข้อมูลที่ได้รับจากสถาบันการเงินตามที่คำนวณข้างต้น หรือเอกสารหลักฐานอื่นที่ ธปท. เรียกเพิ่มเติมจากสถาบันการเงิน - ธปท. จะแจ้งให้สถาบันการเงินทราบผลการคำนวณเงินชดเชยดอกเบี้ยข้างต้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ และเรียกเก็บเงินตามจำนวนที่คำนวณได้ดังกล่าวจากกระทรวงการคลัง โดยเมื่อ ธปท. ได้รับเงินชดเชยดอกเบี้ยที่ไม่เรียกเก็บจากกระทรวงการคลังแล้ว ธปท. จะนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงินที่ ธปท. ตามจำนวนที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งได้รับภายใน 1 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับเงินจากกระทรวงการคลัง
|
78. กรณีที่สถาบันการเงินพิจารณาให้วงเงินสินเชื่อฟื้นฟูกับผู้ประกอบธุรกิจโดยแบ่งเป็นหลายสัญญา การคำนวณดอกเบี้ยที่ภาครัฐออกให้ผู้ประกอบธุรกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับตั้งแต่ที่ผู้ประกอบธุรกิจเบิกเงินสินเชื่องวดแรก พิจารณาเริ่มนับตั้งแต่เบิกเงินกู้ครั้งแรกของผู้ประกอบธุรกิจรายนี้ หรือพิจารณาเริ่มนับแยกตามแต่ละสัญญา
|
การคำนวณดอกเบี้ยที่ภาครัฐออกให้ผู้ประกอบธุรกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรก พิจารณาเริ่มนับตั้งแต่ผู้ประกอบธุรกิจเบิกเงินกู้ครั้งแรกในสัญญาแรกของการยื่นขอกู้ยืมเงินจาก ธปท. แต่ละครั้ง
|
79. วิธีปฏิบัติสำหรับดอกเบี้ยที่จะได้รับชดเชยจากกระทรวงการคลังในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับสินเชื่องวดแรก
|
|
|
79.1 ให้สถาบันการเงินคำนวณและบันทึกยอดดอกเบี้ยค้างรับของลูกหนี้แต่ละรายที่จะต้องขอรับการจ่ายชดเชยจากกระทรวงการคลัง และทุกสิ้นเดือนให้สถาบันการเงินโอนดอกเบี้ยค้างรับดังกล่าวไปบันทึกบัญชีดอกเบี้ยค้างรับรอการชดเชยจากระทรวงการคลัง
หรือจะบันทึกบัญชีดอกเบี้ยค้างรับรอการชดเชยจากกระทรวงการคลังสำหรับ 6 เดือนแรกโดยตรงก็ได้ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องมีระบบข้อมูลที่มีรายละเอียดดอกเบี้ยค้างรับของลูกหนี้แต่ละราย เพื่อให้ ธปท. สามารถตรวจสอบได้ สำหรับกรณีที่สถาบันการเงินให้กู้ยืมเงินสินเชื่อฟื้นฟูของ ธปท. ในรูปแบบวงเงินเบิกเกินบัญชี ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีดอกเบี้ยค้างรับของลูกหนี้แต่ละรายแยกออกมาจากวงเงินเบิกเกินบัญชี และทุกสิ้นเดือนให้สถาบันการเงินโอนดอกเบี้ยค้างรับดังกล่าวไปบันทึกบัญชีดอกเบี้ยค้างรับรอการชดเชยจากกระทรวงการคลัง หรือจะบันทึกบัญชีดอกเบี้ยค้างรับรอการชดเชยจากกระทรวงการคลังสำหรับ 6 เดือนแรกโดยตรงก็ได้ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องไม่คิดดอกเบี้ยดังกล่าวทบเป็นเงินต้นในบัญชีเงินเบิกเกินบัญชี
|
79.2 การรายงาน data set (LAR, TCS, PVS, TDR)
|
79.2 ให้สถาบันการเงินรายงานดอกเบี้ยค้างรับในช่วง 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับสินเชื่องวดแรกเป็นศูนย์ เนื่องจากกระทรวงการคลังรับจะชดเชยแทนผู้ประกอบธุรกิจ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่ใช่ภาระของผู้ประกอบธุรกิจ
|
79.3 การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต (risk weight)
|
79.3 จำนวนดอกเบี้ยค้างรับรอการชดเชยจากกระทรวงการคลังจะได้รับ risk weight ร้อยละ 0
|
79.4 การจัดชั้นและการกันเงินสำรอง
|
79.4 การจัดชั้นและการกันเงินสำรองสำหรับเงินกู้ยืมสินเชื่อฟื้นฟูของ ธปท. ในช่วง 6 เดือนแรก ให้สถาบันการเงินจัดชั้นและกันเงินสำรองตามเกณฑ์ TFRS 9 เฉพาะยอดหนี้ โดยไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ เนื่องจากดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ใช่ภาระของผู้ประกอบธุรกิจ สำหรับดอกเบี้ยค้างรับรอการชดเชยจากกระทรวงการคลัง ให้สถาบันการเงินจัดชั้นและกันเงินสำรองตามวิธีปฏิบัติสำหรับลูกหนี้ภาครัฐบาล ภายหลัง 6 เดือน ให้สถาบันการเงินจัดชั้นและกันเงินสำรองสำหรับเงินต้นและดอกเบี้ยตามเกณฑ์ TFRS 9
|
80. ผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูครั้งแรกและเบิกเงินกู้เต็มจำนวนในวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ต่อมายื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูครั้งที่ 2 โดยเบิกเงินกู้ครั้งแรกในวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 และเบิกเงินกู้ส่วนที่เหลือในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 การคำนวณการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยจะเริ่มนับจากวันใดบ้าง
|
ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู กระทรวงการคลังจะเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยจ่ายแทนผู้ประกอบธุรกิจในระยะ 6 เดือนแรก นับแต่ผู้ประกอบธุรกิจเบิกเงินสินเชื่องวดแรกของการยื่นขอกู้ยืมเงินจาก ธปท. แต่ละครั้ง ในกรณีดังกล่าว ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ยื่นขอกู้ครั้งแรกและเบิกเต็มจำนวนจะได้รับการชดเชยนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2564 เป็นจำนวน 184 วัน (31+30+31+31+30+31) หากต่อมาผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอกู้ครั้งที่ 2 และทยอยเบิกใช้เงินกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เบิกครั้งแรกจะได้รับการชดเชยนับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 เป็นจำนวน 184 วัน (17+30+31+31+30+31+14) แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนที่เหลือจะได้รับการชดเชยนับแต่วันเบิกใช้จนถึงวันที่ครบกำหนด 6 เดือน หรือเป็นจำนวน 167 วัน (30+31+31+30+31+14)
|
06 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกลไกการค้ำประกัน |
81. ผู้ประกอบธุรกิจที่ยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูต้องเข้าโครงการค้ำประกันของ บสย. ทุกรายหรือไม่ และการจ่ายชดเชยความเสียหายสินเชื่อฟื้นฟูจากรัฐบาลมีกลไกอย่างไร
|
สถาบันการเงินอาจให้กู้ยืมเงินโดยไม่ต้องมีการค้ำประกัน บสย. สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินทุกแห่ง หรือมีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอยู่กับสถาบันการเงินที่จะให้กู้ยืมสินเชื่อฟื้นฟูไม่เกิน 50 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะกู้ยืมเงินโดยไม่ต้องมีการค้ำประกัน บสย. ได้ไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อสถาบันการเงิน
การให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีการค้ำประกัน บสย. ของลูกหนี้ทุกรายรวมกันแล้ว หัก วงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ไม่ค้ำประกันและชำระคืน ธปท. เฉพาะส่วนที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้เบิกใช้ (full/partial) (สะสมรายสัปดาห์) ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินสินเชื่อที่สถาบันการเงินให้ผู้ประกอบธุรกิจกู้ยืมโดยมีการค้ำประกัน บสย. หัก วงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ค้ำประกันและชำระคืน ธปท. เฉพาะส่วนที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้เบิกใช้ (full/partial) (สะสมรายเดือน) ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีการค้ำประกัน บสย. ได้ภายหลังจากที่ ธปท. แจ้งไปยังสถาบันการเงินที่จะให้กู้ยืมแล้วในวันศุกร์ของสัปดาห์สุดท้ายของแต่ละเดือน หรือจนกว่าจะเปลี่ยนแปลง ซึ่ง ธปท. จะแจ้งการเปลี่ยนแปลงให้ทราบล่วงหน้า
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูที่เข้าโครงการค้ำประกัน บสย. การชดเชยความเสียหายจะดำเนินการผ่านกลไก บสย. โดย บสย. กำหนดกรอบการค้ำประกันสินเชื่อเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี มีลักษณะการค้ำประกันแบบ portfolio อัตราชดเชยไม่เกินร้อยละ 40 ของภาระค้ำประกันและแบ่งเป็น 5 พอร์ตย่อย ดังนี้
 1: ลูกหนี้เดิมเมื่อรวมวงเงินสินเชื่อ soft loan กับวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่เคยได้รับอนุมัติและที่ยื่นขอกู้เพิ่มเติม หัก วงเงินที่ชำระคืน ธปท. เฉพาะส่วนที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้เบิกใช้ (full/partial) ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจ พิจารณาจากวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ไม่รวมสัดส่วนความรับผิดในหนี้ (prorate) ของวงเงินกู้ร่วม 2: ลูกหนี้เดิมเมื่อรวมวงเงินสินเชื่อ soft loan กับวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่เคยได้รับอนุมัติและที่ยื่นขอกู้เพิ่มเติม หัก วงเงินที่ชำระคืน ธปท. เฉพาะส่วนที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้เบิกใช้ (full/partial) เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจ แต่ยังไม่เกิน 50 ล้านบาท พิจารณาจากวงเงินสินเชื่อ soft loan กับวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูสะสมราย สง. หัก วงเงินที่ชำระคืน ธปท. เฉพาะส่วนที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้เบิกใช้ (full/partial) 3: ลูกหนี้ใหม่พิจารณาจากวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูสะสมรวมทุก สง. หัก วงเงินที่ชำระคืน ธปท. เฉพาะส่วนที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้เบิกใช้ (full/partial) 4: ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสูง (กลุ่มเปราะบาง) 8 อุตสาหกรรม ได้แก่ ก่อสร้าง ขนส่งผู้โดยสาร ที่พักแรม ร้านอาหาร ธุรกิจนำเที่ยว สถานศึกษา ธุรกิจบันเทิงและนันทนาการ และธุรกิจบริการอื่น ๆ ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (ISIC-BOT) Rev.4 ของ ธปท. ตามเอกสารแนบ 1
และภายหลังการจ่ายชดเชยความเสียหาย ให้ บสย. เป็นผู้รับช่วงสิทธิและติดตามหนี้ได้ด้วย
|
82. กำหนดระยะเวลาที่ต้องยื่นเข้าโครงการค้ำประกันของ บสย.
|
ให้ บสย. ยุติการค้ำประกันสินเชื่อฟื้นฟูเมื่อพ้น 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการกู้ยืมตาม พ.ร.ก. (ยื่นเข้าโครงการไม่เกินวันที่ 9 ตุลาคม 2566) ทั้งนี้ การยุติการค้ำประกันสินเชื่อดังกล่าวไม่กระทบต่อสิทธิและความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการค้ำประกันที่กระทำไปก่อนแล้ว
|
83. อัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน บสย. เป็นเท่าใด และค่าธรรมเนียม บสย. ที่กระทรวงการคลังชดเชยโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3.5 ของวงเงินสินเชื่อ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจพอร์ต Corporate จะทยอยชดเชยให้ผู้ประกอบธุรกิจอย่างไร
|
กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเข้าโครงการค้ำประกัน บสย. ผู้ประกอบธุรกิจพอร์ต Micro และ SMEs ต้องชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในการดำเนินการในแต่ละปี ดังนี้

สำหรับผู้ประกอบธุรกิจพอร์ต Corporate ต้องชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในการดำเนินการเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 1.75 ต่อปีของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ ซึ่งกระทรวงการคลังจะจ่ายชดเชยค่าธรรมเนียมให้โดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3.5 ของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ โดยจะชดเชยค่าธรรมเนียมให้ผู้ประกอบธุรกิจในปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ดังนี้

|
84. เงื่อนไขการชำระหนี้ตามภาระการค้ำประกันของ บสย. ให้แก่สถาบันการเงิน มีสัดส่วนการชำระอย่างไร
|
การชำระหนี้ตามภาระการค้ำประกันของ บสย. ให้แก่สถาบันการเงินต้องไม่เกินร้อยละ 40 ของภาระค้ำประกัน โดยมีสัดส่วนการชำระในแต่ละปี ดังนี้ 
|
85. การส่งลูกหนี้เข้าโครงการค้ำประกัน บสย. กรณีที่เป็นลูกหนี้รายใหม่ หากมีการกู้สินเชื่อฟื้นฟูเพิ่มเติมกับสถาบันการเงินเดิม เช่น หากกู้ครั้งแรก 1.5 ล้านบาท จะเข้าโครงการ Micro ได้ค้ำประกันรายละร้อยละ 100 หากมากู้อีกครั้ง 1.5 ล้านบาท ยอดรวมทั้งหมด 3 ล้านบาท จะคำนวณอัตราชดเชยอย่างไร
|
กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นลูกหนี้รายใหม่มีการกู้ยืมสินเชื่อฟื้นฟูกับสถาบันการเงินเดิมหรือสถาบันการเงินแห่งอื่นหลายครั้ง การส่งเข้า scheme ค้ำประกันของวงเงินที่กู้ส่วนเพิ่มแต่ละครั้งให้พิจารณาจากวงเงินกู้รวม ตัวอย่าง ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มทั่วไป ครั้งแรกกู้ 1.5 ล้านบาท ยังคงได้อยู่ในโครงการ Micro ได้ค้ำประกันรายละร้อยละ 100 ต่อมาเมื่อกู้ครั้งที่ 2 อีก 1.5 ล้านบาท วงเงินกู้รวมจะเป็น 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการ SMEs ทั่วไป ดังนั้น วงเงินกู้ครั้งที่ 2 จำนวน 1.5 ล้านบาท จะอยู่ในโครงการ SMEs ทั่วไป ได้ค้ำประกันรายละร้อยละ 80
|
86. กรณีผู้ประกอบธุรกิจพอร์ต SMEs และ Corporate ดำเนินธุรกิจหลายประเภท เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจร้านขายปลีกอาหาร สถาบันการเงินจะได้รับการชดเชยความเสียหายร้อยละ 100 หรือ 70 ตามลูกหนี้พอร์ต SMEs และ Corporate เปราะบางหรือไม่
|
กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินกิจการหลายประเภท ในการพิจารณาว่าสถาบันการเงินจะได้รับการชดเชยความเสียหายผ่าน บสย. สำหรับลูกหนี้พอร์ต SMEs และ Corporate เปราะบางหรือไม่ ให้พิจารณาดังนี้ 1. กรณีลูกหนี้รายใหม่ ให้พิจารณาว่าวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ยื่นขอกู้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจกลุ่มเปราะบาง 2. กรณีลูกหนี้รายเดิม ให้พิจารณาว่าวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ยื่นขอกู้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจกลุ่มเปราะบาง และลูกหนี้มีวงเงินสินเชื่อสำหรับธุรกิจกลุ่มเปราะบางเกินกว่าร้อยละ 50 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
|
87. หากภายหลังลูกหนี้เดิมพอร์ต SMEs และ Corporate เปราะบาง ยุติการดำเนินธุรกิจกลุ่มเปราะบางและเปลี่ยนมาดำเนินธุรกิจอื่นแทน สถาบันการเงินจะยังได้รับการชดเชยความเสียหายร้อยละ 100 หรือ 70 อยู่หรือไม่
|
สถาบันการเงินจะได้รับการชดเชยความเสียหายที่ร้อยละ 80 ตามลูกหนี้พอร์ต SMEs ทั่วไป และร้อยละ 60 ตามลูกหนี้พอร์ต Corporate ทั่วไป เนื่องจากวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ยื่นขอกู้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจกลุ่มเปราะบาง
|
88. กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ภายในระยะเวลาสินเชื่อฟื้นฟู 5 ปี และสถาบันการเงินยื่นขอรับการชดเชยจาก บสย. จนเต็มเพดานสะสมการชดเชยในปีที่ 5 แล้ว ส่งผลให้ต้องยื่นขอรับการชดเชยสำหรับผู้ประกอบธุรกิจรายดังกล่าวในปีที่ 6 สถาบันการเงินยังมีภาระต้องนำส่งค่าธรรมเนียมในปีที่ 6 ให้ บสย. หรือไม่ หากต้องนำส่ง สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บจากผู้ประกอบธุรกิจในภายหลังได้หรือไม่
|
หากสถาบันการเงินจะขอรับการชดเชยความเสียหายจาก บสย. ในปีที่ 6 สถาบันการเงินต้องนำส่งค่าธรรมเนียมให้ บสย. จนถึงปีที่ 6 ทั้งนี้ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม บสย. ภายหลังผู้ประกอบธุรกิจผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของสัญญาเงินกู้ระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ
|
89. อัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. ร้อยละ 1.75 ต่อปี คิดบนฐานของวงเงินหรือยอดหนี้สินเชื่อฟื้นฟู
|
อัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. ร้อยละ 1.75 ต่อปี ในปีแรก คิดบนฐานของวงเงินสินเชื่อฟื้นฟู ณ วันที่ยื่นขอค้ำประกัน หลังจากนั้น จึงคิดบนฐานของยอดหนี้สินเชื่อฟื้นฟู เว้นแต่สินเชื่อฟื้นฟูที่เป็นวงเงินเบิกเกินบัญชีจะคิดบนฐานของวงเงิน
|
90. หากผู้ประกอบธุรกิจพอร์ต Corporate ยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูระยะเวลา 5 ปี ผู้ประกอบธุรกิจจะได้รับชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันจากภาครัฐทั้งจำนวนร้อยละ 3.5 ของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อหรือไม่
|
ภาครัฐจะชดเชยค่าธรรมเนียม บสย. ให้ผู้ประกอบธุรกิจพอร์ต Corporate ในปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 เช่น หากผู้ประกอบธุรกิจกู้ยืมเงินเป็นระยะเวลา 5 ปี จะได้รับชดเชยร้อยละ 3 (0.75% + 0.75% + 0.5% + 0.5% + 0.5%) แต่หากกู้ยืมเงินเป็นระยะเวลา 6 ปี จะได้รับชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันจากภาครัฐทั้งจำนวนร้อยละ 3.5
|
91.สินเชื่อธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงร้านเบเกอรี่ (Bakery) ในโรงแรม ซึ่งไม่ได้แยกส่วนออกจากธุรกิจโรงแรม ถือเป็นสินเชื่อสำหรับธุรกิจกลุ่มเปราะบางตามโครงการค้ำประกันของ บสย. หรือไม่
|
ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมและมีร้านเบเกอรี่เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจโรงแรมดังกล่าว ซึ่งกรณีที่มีร้านเบเกอรี่ไว้บริการในที่ที่พักของโรงแรม โดยไม่ใช่การประกอบธุรกิจร้านเบเกอรี่แยกออกมาต่างหากจากธุรกิจโรงแรม จะต้องนำวงเงินที่ให้แก่การประกอบธุรกิจดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นสัดส่วนวงเงินสินเชื่อสำหรับธุรกิจกลุ่มเปราะบางตามที่กำหนดในหลักการของโครงการค้ำประกันของ บสย. ดังนั้น การที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงร้านเบเกอรี่ (Bakery) ในโรงแรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจโรงแรม จึงพิจารณาได้ว่าเป็นการให้สินเชื่อสำหรับธุรกิจกลุ่มเปราะบาง
|
92. ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มทั่วไปมีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 30 ล้านบาท หากผู้ประกอบธุรกิจเคยได้รับอนุมัติและใช้วงเงิน soft loan ไปแล้ว 6 ล้านบาท ต่อมายื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูโดยเข้าโครงการค้ำประกัน บสย. สถาบันการเงินจะได้รับชดเชยความเสียหายจาก บสย. เท่าใด
|
กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นลูกหนี้รายเดิมมีการกู้ยืมสินเชื่อฟื้นฟูกับสถาบันการเงิน การส่งเข้า scheme ค้ำประกันของวงเงินที่กู้ส่วนเพิ่มแต่ละครั้ง เมื่อรวมกับวงเงินสินเชื่อ soft loan และวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่เคยได้รับอนุมัติ หัก วงเงินที่ชำระคืน ธปท. เฉพาะส่วนที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้เบิกใช้ (full/partial) ให้พิจารณาดังนี้ - กรณีไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจ พิจารณาจากวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ไม่รวมสัดส่วนความรับผิดในหนี้ (prorate) ของวงเงินกู้ร่วม - กรณีเกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจ แต่ยังไม่เกิน 50 ล้านบาท พิจารณาจากวงเงินสินเชื่อ soft loan กับวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูสะสมราย สง. หัก วงเงินที่ชำระคืน ธปท. เฉพาะส่วนที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้เบิกใช้ (full/partial)
|
92.1 ยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟูครั้งเดียว จำนวน 10 ล้านบาท
|
92.1 ผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูเมื่อรวมกับวงเงินสินเชื่อ soft loan ที่เคยได้รับอนุมัติ จำนวน 16 ล้านบาท (6+10) เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจ (30% × max (30,30) = 9 ล้านบาท) ดังนั้น สถาบันการเงินจะได้รับชดเชยความเสียหายสำหรับสินเชื่อฟื้นฟูร้อยละ 60 ตามลูกหนี้พอร์ต Corporate ทั่วไป
|
92.2 ยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟู ครั้งที่ 1 จำนวน 3 ล้านบาท และครั้งที่ 2 จำนวน 10 ล้านบาท
|
92.2 ผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอวงเงินสินเชื่อฟื้นฟู ครั้งที่ 1 เมื่อรวมกับวงเงินสินเชื่อ soft loan ที่เคยได้รับอนุมัติ จำนวน 9 ล้านบาท (6+3) ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจ (30% × max (30,30) = 9 ล้านบาท) ดังนั้น สถาบันการเงินจะได้รับชดเชยความเสียหายสำหรับสินเชื่อฟื้นฟู ครั้งที่ 1 ร้อยละ 80 ตามลูกหนี้พอร์ต SMEs ทั่วไป เนื่องจากมีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 30 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม วงเงินสินเชื่อฟื้นฟู ครั้งที่ 2 เมื่อรวมกับวงเงินสินเชื่อ soft loan และวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูครั้งที่ 1 ที่เคยได้รับอนุมัติ จำนวน 19 ล้านบาท (6+3+10) เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจ (30% × max (30,30) = 9 ล้านบาท) ดังนั้น สถาบันการเงินจะได้รับชดเชยความเสียหายสำหรับสินเชื่อฟื้นฟู ครั้งที่ 2 ร้อยละ 60 ตามลูกหนี้พอร์ต Corporate ทั่วไป
|
93. สถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียม บสย. จากผู้ประกอบธุรกิจล่วงหน้าได้หรือไม่
|
สถาบันการเงินสามารถกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเงินที่ต้องชำระค่าธรรมเนียม บสย. ล่วงหน้า มาฝากไว้ในบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินกำหนดเงื่อนไขการถอนเงินและการตัดบัญชีเพื่อชำระค่าธรรมเนียม บสย. เป็นรายปีได้ แต่หากสถาบันการเงินไม่สามารถตัดบัญชีเงินฝากของผู้ประกอบธุรกิจได้ เนื่องจากเงินในบัญชีไม่เพียงพอ สถาบันการเงินอาจพิจารณาชำระค่าธรรมเนียม บสย. แทนเป็นเงินทดรองจ่าย และนำมาเรียกเก็บจากผู้ประกอบธุรกิจในภายหลังได้ โดยสถาบันการเงินห้ามคิดดอกเบี้ยบนเงินทดรองจ่ายดังกล่าว
ทั้งนี้ การดำเนินการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม บสย. ล่วงหน้าเพื่อนำฝากเข้าบัญชีของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวข้างต้น ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2564 เป็นต้นไป และไม่บังคับใช้กับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้จ่ายค่าธรรมเนียม บสย. ล่วงหน้าตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกับสถาบันการเงินไปก่อนหน้านี้แล้ว
|
94. สถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อชำระค่าธรรมเนียม บสย. ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้หรือไม่ เพื่อให้สามารถรักษาสิทธิการได้รับค้ำประกันจาก บสย. อย่างต่อเนื่อง
|
สถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อเพื่อชำระค่าธรรมเนียม บสย. แก่ผู้ประกอบธุรกิจได้ หากผู้ประกอบธุรกิจมีความจำเป็นต้องกู้เพื่อชำระค่าธรรมเนียม โดยต้องแยกวงเงินสินเชื่อดังกล่าว ต่างหากจากวงเงินสินเชื่อหลัก และไม่ถือเป็นสินเชื่อตาม พ.ร.ก. อย่างไรก็ตาม การกำหนดอัตราดอกเบี้ยต้องไม่สูงจนเป็นภาระกับผู้ประกอบธุรกิจจนเกินไป โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจในสถานการณ์ขณะนี้
|
07 การจัดชั้นหนี้และการกันเงินสำรอง |
95. กรณีที่วงเงินเดิมลูกค้าเป็น TDR ช่วงดูใจ และมีการพิจารณาให้ top up สินเชื่อฟื้นฟู ส่วนที่ top-up จะคิด stage อย่างไร แยกคิดกับวงเงินเดิมใช่หรือไม่ (พิจารณาเป็นรายบัญชี)
|
สถาบันการเงินสามารถจัดชั้นสินเชื่อฟื้นฟูเป็นรายบัญชีได้ ตามหนังสือที่ ธปท.ฝนส.(23)ว. 276/2563 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่อง แนวทางในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และตามหนังสือที่ ธปท.ฝนส2.ว. 802/2564 ลงวันที่ 3 กันยายน 2564 เรื่อง แนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (มาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566
|
96. สถาบันการเงินกำหนดระยะเวลาสินเชื่อฟื้นฟู 5 ปี หากหลังจากนั้นขยายระยะเวลาด้วยเงินทุนสถาบันการเงินเอง จะถือเป็น reschedule หรือไม่
|
ให้พิจารณาจัดชั้นลูกหนี้ตามประกาศ ธปท. ที่ สนส. 23/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงิน
|
97. ดอกเบี้ยที่ภาครัฐออกให้ผู้ประกอบธุรกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่ที่ผู้ประกอบธุรกิจเบิกเงินสินเชื่องวดแรก สถาบันการเงินสามารถรับรู้รายได้โดยไม่ต้องกันเงินสำรองได้หรือไม่
|
สถาบันการเงินสามารถรับรู้รายได้ดอกเบี้ยที่ภาครัฐออกให้ผู้ประกอบธุรกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่ที่ผู้ประกอบธุรกิจเบิกเงินสินเชื่องวดแรกโดยไม่ต้องกันเงินสำรอง โดยดอกเบี้ยดังกล่าวถือเสมือนได้รับการค้ำประกันจากกระทรวงการคลัง มี risk weight ร้อยละ 0 ซึ่งสถาบันการเงินสามารถนำมาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ได้ร้อยละ 100 ก่อนการกันเงินสำรอง
|
98. สถาบันการเงินสามารถนำส่วนที่ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อฟื้นฟูมาประกอบการคำนวณการกันเงินสำรองและคำนวณ risk weight เหมือนสินเชื่อทั่วไปใช่หรือไม่
|
- สถาบันการเงินสามารถนำมูลค่าของหลักประกันมาปรับลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เพื่อใช้คำนวณค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL) ตามประกาศ ธปท. ที่ สนส. 23/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงิน เช่น หนังสือค้ำประกัน (LG) ที่ออกโดย บสย. สามารถนำมาปรับลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ร้อยละ 90 ของวงเงินค้ำประกัน เป็นต้น - สำหรับการคำนวณ risk weight และสถาบันการเงินใช้วิธี SA ให้แบ่งยอดสุทธิของธุรกรรมออกเป็น 2 ส่วนโดยส่วนที่ได้รับการค้ำประกันโดย บสย. ให้ใช้น้ำหนักความเสี่ยงเหมือนกับลูกหนี้สถาบันการเงิน และส่วนที่เหลือให้ถือว่าเป็นส่วนที่ไม่ได้รับการค้ำประกันและให้ใช้น้ำหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ แต่หากกรณีที่สถาบันการเงินมีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตหลายประเภทเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากลูกหนี้รายเดียวกัน เช่น มีทั้งหลักประกันทางการเงินและการค้ำประกัน ให้แบ่งยอดสินทรัพย์ออกเป็นส่วน ๆ ตามประเภทของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต และคำนวณหาสินทรัพย์เสี่ยงแยกสำหรับแต่ละส่วน ตามประกาศ ธปท. ที่ สนส. 9/2652 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสำหรับธนาคารพาณิชย์ โดย Standardised Approach (วิธี SA) หรือตามประกาศ ธปท. ที่ สกส. 17/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
|
08 ประเด็นอื่น ๆ |
99. มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูครอบคลุมสถาบันการเงินกลุ่มใดบ้าง
|
ขอบเขตการบังคับใช้ของ พ.ร.ก. ฉบับใหม่เป็นแนวทางเดียวกับ พ.ร.ก. soft loan ฉบับเดิม ซึ่งครอบคลุมธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) โดยในครั้งนี้ลูกหนี้ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ก็สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ โดยผ่านการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่ระบุข้างต้น ซึ่งเป็นไปตามการขยายขอบเขตผู้ประกอบธุรกิจให้ครอบคลุมถึงกลุ่มที่ไม่ได้เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินอยู่เดิม โดยวงเงินสินเชื่อต่อรายให้เป็นไปตามที่ พ.ร.ก. กำหนด
|
100. ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูกับสถาบันการเงินมากกว่า 1 แห่ง ได้หรือไม่
|
ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นกู้ได้กับสถาบันการเงินทุกแห่ง หากมีคุณสมบัติเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติและวงเงินสินเชื่อตามหลักเกณฑ์ภายใน โดยผู้ประกอบธุรกิจทั้งลูกหนี้เดิมและลูกหนี้ใหม่สามารถยื่นขอสินเชื่อตามมาตรการนี้กับสถาบันการเงินได้มากกว่า 1 แห่ง ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะได้รับสินเชื่อจากแต่ละสถาบันการเงินไม่เกินวงเงินตามที่ระบุในประกาศ ธปท.
|
101. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนหลักประกันที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจได้รับยกเว้นจากภาครัฐมีรายการใดบ้าง
|
สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจ และ บสย. ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม อันเนื่องมาจากการกู้ยืมเงินสินเชื่อฟื้นฟู ดังต่อไปนี้ 1. ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจำนอง และค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ 2. ค่าธรรมเนียมอันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ให้แก่ บสย.
|
102. กรณีผู้ประกอบธุรกิจไม่มีคุณสมบัติที่จะขอรับความช่วยเหลือตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู เช่น เป็นลูกหนี้ NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ผู้ประกอบธุรกิจมีแนวทางขอรับความช่วยเหลือตามมาตรการอื่นอีกหรือไม่
|
สถาบันการเงินสามารถพิจารณาอนุมัติสินเชื่อประเภทเงินทุนหมุนเวียน (working capital) เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นลูกหนี้ NPL ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามเกณฑ์การพิจารณาของสถาบันการเงิน โดย ธปท. ผ่อนปรนเกณฑ์ให้สถาบันการเงินสามารถจัดชั้นสินเชื่อเป็นรายบัญชีได้ ตามหนังสือที่ ธปท.ฝนส.(23)ว. 276/2563 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่อง แนวทางในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และตามหนังสือที่ ธปท.ฝนส2.ว. 802/2564 ลงวันที่ 3 กันยายน 2564 เรื่อง แนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (มาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 นอกจากนี้ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีสินเชื่อกับหลายสถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ DR Biz ตามแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายรายเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระหนี้
|
103. ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อนำมาซื้อคืนทรัพย์สินหลักประกันโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ ก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาได้หรือไม่ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าระบบเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมได้ฟื้นตัวแล้ว
|
ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อนำมาซื้อคืนทรัพย์สินหลักประกันโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ ก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาได้ หากมีคุณสมบัติอื่นตามที่ประกาศ ธปท. กำหนด และสถาบันการเงินจะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติและวงเงินสินเชื่อตามหลักเกณฑ์ภายใน
|
104. ขอทราบลำดับการตัดชำระหนี้ระหว่างสินเชื่อฟื้นฟูและสินเชื่อเดิมของผู้ประกอบธุรกิจหรือ soft loan ตามมาตรการอื่น (หากผู้ประกอบธุรกิจชำระไม่ครบ)
|
ลำดับการตัดชำระหนี้เป็นไปตาม schedule payment ของสถาบันการเงิน
|
105. ตามหนังสือที่ ธปท.ฝต2.(63) ว. 386/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติในการรับยกเว้นค่าธรรมเนียมในการดำเนินตามมาตรการในพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 ที่ขอสอบถามว่า
|
|
105.1 ค่าธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้นตาม พ.ร.ก. รวมถึง ค่าคำขอ ค่ามอบอำนาจ ค่าธรรมเนียม อปท. ค่าพยาน หรือไม่
|
105.1 สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจ และ บสย. ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 92 ไม่รวมถึงค่าคำขอ ค่ามอบอำนาจ ค่าธรรมเนียม อปท. ค่าพยาน อย่างไรก็ดี ขอให้สถาบันการเงินสอบถามสำนักงานที่ดินที่จะไปจดจำนองว่าทราบเรื่องการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามหนังสือที่ มท ๐๕๑๕.๑/ว ๘๙๖๒ เรื่อง การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อันเนื่องมาจากการให้กู้ยืมเงินตามมาตรการแห่งพระราชกำหนด การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๔ แล้วหรือไม่
|
105.2 การจดจำนองเครื่องจักรเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามแนวปฏิบัติที่อ้างถึงข้างต้นด้วยหรือไม่ เนื่องจากการจดจำนองเครื่องจักรสามารถเลือกยื่นขอจดทะเบียนได้กับ 2 หน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือกรมโรงงานอุตสาหกรรม
|
105.2 ได้รับยกเว้นทั้งการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมโรงงานอุตสาหกรรม
|
105.3 การจดจำนองหลักประกันที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อฟื้นฟู จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมจากกรมที่ดินหรือไม่
|
105.3 การนำที่ดินของบุคคลอื่นมาจดจำนองเพื่อค้ำประกันการกู้ยืมเงินสินเชื่อฟื้นฟูของผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดจำนองจากกรมที่ดินตามหนังสือที่ มท ๐๕๑๕.๑/ว ๘๙๖๒ เรื่อง การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอันเนื่องมาจากการให้กู้ยืมเงินตามมาตรการแห่งพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๔
|