• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > สถาบันการเงิน
  • > การกำกับตรวจสอบ สง.
สถาบันการเงิน
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท.
    ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • เอกสารเผยแพร่
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
​

การกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินของ ธปท.

​​​ธนาคารแห่งประเทศไทยมุ่งรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน โดยการกำกับตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพโปร่งใสและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล และส่งเสริมให้สถาบันการเงินมีธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

 

วัตถุประสงค์ในการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
  • เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน (Micro - prudential) : เพื่อให้มีระบบบริหารที่ระมัดระวังและมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบาย ยึดถือและมีเกณฑ์กำกับให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล​
  • ดูแลเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและระบบเศรษฐกิจ (Macro - prudential) : เพื่อดูแลความสมดุลทางเศรษฐกิจบางกรณี ผ่านเกณฑ์กำกับสถาบันการเงิน
  • ส่งเสริมประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน (Efficiency) : เพื่อดูแลและรักษาระดับการแข่งขันให้เหมาะสม ระมัดระวังเกณฑ์การกำกับดูแลมิให้เป็นอุปสรรคขัดขวางการสร้างประสิทธิภาพสถาบันการเงิน
  • สนับสนุนให้สถาบันการเงินมีธรรมาภิบาลที่ดี (Good governance) : เพื่อให้กรรมการและพนักงานของสถาบันการเงินมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ
  • คุ้มครองลูกค้าและผู้ใช้บริการทางการเงิน (Fairness & consumer protection) : เพื่อให้สถาบันการเงินตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้บริการทางการเงิน
ภาพรวมของการกำกับตรวจสอบ/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
​ 
 การกำกับแบบรวมกลุ่ม (Consolidated Supervision)
ธุรกิจการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลและตรวจสอบของ ธปท./_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​  1. สถาบันการเงิน

         1.1   ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ

  • ​ธนาคารพาณิชย์  
  • ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย   
  • ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ    

1.2   สาขาธนาคารต่างประเทศ    

1.3   บริษัทเงินทุน    

1.4   บริษัทเครดิตฟองซิเอร์      

     2. สำนักงานผู้แทนธนาคารต่างประเทศ     
     3. บริษัทบริหารสินทรัพย์
     4. ผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่มิใช่สถาบันการเงิน​
  • ธุรกิจบัตรเครดิต   
  • ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ   
  • ธุรกิจ e-Payment  

  5. ผู้ประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน
  6. ธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ 

ธปท. ตรวจสอบตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลัง

1. สถาบันการเงินเฉพาะกิจ    
2. บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ​

การกำกับตรวจสอบแบบ Ongoing /_catalogs/masterpage/img/collapse.png

1.  การตรวจสอบ ณ สถานที่ทำการของสถาบันการเงิน  (Onsite Examination) แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

• การตรวจสอบประจำปี (Annual exam) เพื่อประเมินความเสี่ยงโดยมุ่งเน้นธุรกรรมที่สำคัญ (Significant Activities : SA) ของ สง. เป็นหลัก รวมถึงประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนและการกันเงินสำรอง ความสามารถในการหารายได้ ระบบบริหารตามหลักธรรมาภิบาล การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ ธปท. ทั้งนี้ อาจตรวจสอบแบบเต็มรูปแบบ (Full Scope) หรือตรวจสอบแบบ Site Visit ในกรณีที่ไม่มีประเด็นสำคัญหรือไม่มีนัยสำคัญต่อระบบการเงิน

• การตรวจสอบและพบผู้บริหารสถาบันการเงิน เมื่อมีประเด็นสำคัญเฉพาะเรื่องที่ต้องติดตามใกล้ชิด (Ongoing Exam)

• การตรวจสอบเฉพาะเรื่องในธุรกรรมที่สำคัญต่อระบบสถาบันการเงินหรือเศรษฐกิจ โดยตรวจสอบสถาบันการเงินหลายแห่งพร้อมกัน (Thematic Exam)

2.  การวิเคราะห์และติดตามฐานะ (Monitoring and Analysis)

• ติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงินและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยผสมผสานการวิเคราะห์ฐานะการเงินและการบริหารความเสี่ยง โดยใช้หลักมองไปข้างหน้า (Forward looking) และการวิเคราะห์แบบภาพรวม (Top Down) และรายแห่ง (Bottom Up)

• ประเมินฐานะและความเสี่ยงของธุรกรรมที่มีนัยสำคัญ โดยรวมถึงกลุ่มธุรกิจการเงินของสถาบันการเงิน (Consolidated Supervision) เพื่อประเมินผลกระทบต่อฐานะและความมั่นคงของสถาบันการเงินในอนาคต การประเมินความมีนัยสำคัญเทียบกับระบบ (Peer Comparison)

• ติดตามข้อมูลสำคัญที่อาจบ่งชี้สัญญาณของปัญหาได้ล่วงหน้า (Early Warning Indicators) อย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถเตรียมการป้องกันหรือวางแนวทางแก้ไขปัญหาได้ล่วงหน้า

• จัดทำ Supervisory Plan เพื่อติดตามฐานะการดำเนินงานและความเสี่ยงของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด ตลอดจนติดตามการปฏิบัติตามคำสั่งการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

แนวทางการตรวจสอบแบบเน้นธุรกรรมที่สำคัญของสถาบันการเงิน (Significant Activities Supervisory Framework)/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
​

กระบวนการประเมินความเสี่ยงจะเริ่มจากการเข้าใจธุรกิจของ สง. เพื่อระบุธุรกรรมที่สำคัญ (Significant Activities : SA) ซึ่งมีผลกระทบต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน กลยุทธ์และการบริหารงานของสถาบันการเงิน ได้แก่ ธุรกรรมด้านสินเชื่อ การบริหารเงิน การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยยังคงหลักการพื้นฐานของการตรวจสอบตามแนวความเสี่ยง (Risk-based Supervision) อันเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากล ธุรกรรมที่สำคัญแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

• ธุรกิจหลักของ สง. (Line of Business) เช่น สินเชื่อธุรกิจ, สินเชื่อ SMEs และ สินเชื่อรายย่อย

• กระบวนการดำเนินงานหลักของ สง. (Institution-wide Process) เช่น Treasury, IT Operation, Asset- Liability Management และ Strategic planning

• หน่วยธุรกิจหรือบริษัทในเครือ (Business Unit) เช่น สาขาต่างประเทศ และบริษัทในเครือ

กระบวนการประเมินความเสี่ยงแต่ละ SA จะพิจารณาจากความเสี่ยงที่มีอยู่ (Inherent Risk: IR) ของธุรกรรมนั้น ๆ และคุณภาพ
การจัดการเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว (Quality of Risk Management: QRM) โดย QRM จะแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับการปฏิบัติงานประจำวัน (Day to Day Operation) และระดับควบคุมดูแล (Oversight Function) ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ คณะกรรมการ สง. ผู้บริหารระดับสูง งานบริหารความเสี่ยง งานกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ งานตรวจสอบภายใน และงานนำเสนอข้อมูลทางการเงินและข้อมูลเชิงบริหาร เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกรรมของ สง. มีการดำเนินการที่สอดคล้องกับมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดี  แต่ละ SA ภายหลังจากการจัดการความเสี่ยงแล้ว มีความเสี่ยงสุทธิ (Net Risk) คงเหลืออยู่ในระดับใด และเมื่อนำมา Net Risk ของทุก SA ของ สง. มาพิจารณารวมกันจะได้ความเสี่ยงรวมสุทธิ (Overall Net Risk) ของ สง. หลังจากนั้น จึงมาพิจารณาร่วมกับเงินกองทุน ความสามารถในการหารายได้ ธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางการ จะได้ระดับความเสี่ยงโดยรวม (Composite Rating) ของ สง. นั้น ๆ ซึ่งแสดงดังรูปด้านล่าง


 

การกำกับดูแลด้านการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการทางการเงิน (Market Conduct Supervision)/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​ธปท. เห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการทางการเงิน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับบริการที่เป็นธรรม ในปี 2559 จึงได้จัดตั้งฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน เพื่อทำหน้าที่ออกหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว ตลอดจนรับเรื่องร้องเรียนและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินอื่นที่ ธปท. กำกับดูแลและตรวจสอบ


 

การกำกับสถาบันการเงิน บริษัทบริหารสินทรัพย์และ Non-bank ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
  • ​ควบคุมและกำกับดูแลให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายของทางการ
  • พิจารณาคำขออนุญาต คำขอผ่อนผันต่าง ๆ
  • พิจารณาการให้ใบอนุญาตแก่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับ
  • ตอบข้อซักถามชี้แจงหลักเกณฑ์หรือข้อกฎหมายให้สถาบันการเงินทราบ
การดำเนินการกับสถาบันการเงินที่มีปัญหาในการดำเนินกิจการหรือปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมาย/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

สายกำกับสถาบันการเงิน มีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณากำหนดมาตรการให้สถาบันการเงินที่มีปัญหาด้านฐานะการเงินและการดำเนินงาน ทำการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่กล่าวภายในเวลาที่กำหนด โดยนำเสนอมาตรการดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาการตรวจสอบสถาบันการเงิน และ/หรือ คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน เพื่อพิจารณาก่อนแจ้งสถาบันการเงินต่อไป โดย Relationship Manager ผู้รับผิดชอบดูแลสถาบันการเงินจะติดตามให้สถาบันการเงินมีการปรับปรุงแก้ไขตามคำสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง 


กรณีที่สถาบันการเงินมีการปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะมีการนำเสนอต่อคณะทำงานกลั่นกรองการพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อพิจารณาดำเนินการกับสถาบันการเงินและ/หรือผู้บริหารสถาบันการเงิน ก่อนจะนำเสนอต่อคณะทำงานการพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย (ทพม.) เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป สำหรับ Non-bank กรณีมีการปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายจะส่งฝ่ายกฎหมายพิจารณาแล้วส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้พนักงานสอบสวนพิจารณาดำเนินคดีต่อไป

การบริหารงานเกี่ยวกับการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​การวางแผนงานและการติดตามผลการปฏิบัติงาน

 

สายกำกับสถาบันการเงินมีการวางแผนงานประจำปีและแผนกลยุทธ์ ซึ่งรวมถึงแผนการตรวจสอบสถาบันการเงินประจำปีเพื่อให้การปฏิบัติงานกำกับและตรวจสอบบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดและมีการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนการตรวจสอบประจำปีจะดำเนินการตามนโยบายการกำกับตรวจสอบ เมื่อออกตรวจสอบแล้วจะมีการติดตามการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน แผนการตรวจสอบดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีที่ฐานะและผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

การบริหารทรัพยากรบุคคล

สายกำกับสถาบันการเงินให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้ตรวจสอบเป็นอย่างมาก ผู้ตรวจสอบจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานของโรงเรียนผู้ตรวจสอบ และหลักสูตรพิเศษอื่น ๆ รวมถึงการสัมมนาหรือการบรรยายให้ความรู้เชิงวิชาการโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ และองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงินในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ ผู้ตรวจสอบที่ผ่านกระบวนการอบรมตามหลักสูตรมาตรฐานของโรงเรียนผู้ตรวจสอบของสายกำกับสถาบันการเงินและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์แล้วจึงจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงิน

การเข้ารับการประเมินภาคการเงินตามโครงการ Financial Sector Assessment Program (FSAP)/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
การเข้ารับการประเมินภาคการเงินตามโครงการ Financial Sector Assessment Program (FSAP) พ.ศ. 2561 - 2562
​​​​​​​​การเข้ารับการประเมินภาคการเงินตามโครงการ Financial Sector Assessment Program (FSAP) พ.ศ. 2550
Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
วรารักษ์ โทร 0-2283-5854

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.