• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > สถาบันการเงิน
  • > บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
สถาบันการเงิน
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท.
    ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • เอกสารเผยแพร่
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard

      บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.

วัตถุประสงค์ของการกำกับดูแลสถาบันการเงิน (Objectives of Supervision)

  หลักการกำกับดูแลสถาบันการเงิน


 อ่า​นต่อ ​​​​​​​​

สายนโยบายสถาบันการเงิน (สนส.)

มีหน้าที่กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และกำกับดูแลสถาบันการเงินและระบบสถาบันการเงิน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อส่งเสริมให้ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง มีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพ รวมถึงกำหนดกลยุทธ์และนโยบายในการพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 4 ฝ่ายงาน คือ

ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน 1-2 (ฝนส1.-ฝนส2.)/_catalogs/masterpage/img/collapse.png


มีหน้าที่กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การกำกับดูแลความมั่นคง ความเสี่ยงด้านต่าง ๆ และธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน กลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจด้านสินเชื่อประเภทต่าง ๆ (เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล) ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเงินของไทย และการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจฯ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยหลักเกณฑ์มีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล และสามารถประสานความร่วมมือกันระหว่างผู้กำกับดูแลในต่างประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน รวมทั้งดูแลลูกค้าและประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้บริการทางการเงิน

นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ผู้รับบริการ และประสิทธิภาพของระบบสถาบันการเงินให้มีเสถียรภาพในระยะยาวและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่กำหนด

ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน (ฝกส.)/_catalogs/masterpage/img/collapse.png


มีหน้าที่กำหนดกลยุทธ์และนโยบายการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้ระบบสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนส่งเสริมการธนาคารเพื่อความยั่งยืน และกำกับดูแลนโยบายการเจรจาเปิดตลาดภาคการธนาคารในเวที WTO และทวิภาคีต่าง ๆ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ หรือธนาคารกลางในต่างประเทศ และส่งเสริมความน่าเชื่อถือในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน

ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน/_catalogs/masterpage/img/collapse.png


มีหน้าที่กำหนดโครงสร้างระบบการชำระเงิน จัดทำแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ผลักดันให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงิน มาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการใช้บริการการชำระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดท่าทีและแนวนโยบายต่างประเทศด้านระบบการชำระเงินเพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินกับต่างประเทศ ตลอดจนการกำหนดและดำเนินนโยบายในการกำกับดูแลระบบการชำระเงินและผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ระบบการชำระเงินของประเทศมีเสถียรภาพ มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย ให้บริการอย่างทั่วถึง เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมทั้งสามารถให้บริการได้ในภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถรองรับธุรกรรมของตลาดการเงินและการใช้บริการทางการเงินของประชาชน รวมถึงสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพตามยุทธศาสตร์ที่กำหนด

ฝ่ายกำกับธุรกิจสถาบันการเงิน/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​   
สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายกำกับธุรกิจสถาบันการเงิน ได้แก่ สถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจสถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือ Non-bank (ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ และผู้ประกอบธุรกิจให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล) บริษัทบริหารสินทรัพย์ และสำนักงานผู้แทนสถาบันการเงินต่างประเทศ

ขอบเขตงาน:
- พิจารณาคำขออนุญาตต่างๆ ของสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล
- กำกับดูแลและติดตามการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจข้างต้นให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย รวมทั้งตอบข้อหารือของสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ
- พิจารณาคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (License)ของสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล

​ฝ่ายจัดการกองทุน (ฝกท.)

สายกำกับสถาบันการเงิน 1 (สกส.1)

รับผิดชอบงานตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ งานวิเคราะห์สถาบันการเงิน และงานประเมินแบบจำลองสถาบันการเงิน ประกอบด้วย 4 ฝ่ายงาน คือ

ฝ่ายตรวจสอบ 1-2 (ฝต.1-ฝต.2)/_catalogs/masterpage/img/collapse.png


มีหน้าที่ตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงของ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นธุรกรรมที่สำคัญ (Significant Activities : SA) ฐานะการดำเนินงานและความเพียงพอของเงินกองทุน ความเพียงพอของการกันเงินสำรอง ความสามารถในด้านการหารายได้ การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและกฎเกณฑ์ของทางการ เพื่อให้ทราบถึงระดับความเสี่ยงและคุณภาพของการบริหารความเสี่ยง ประสิทธิภาพของ 3 lines of defense ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และหากพบว่า มีข้อบกพร่อง ธปท. จะดำเนินมาตรการเพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องดังกล่าวภายในเวลาที่เหมาะสม

ฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์ความเสี่ยงสถาบันการเงิน (ฝตส.)/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

 

มีหน้าที่
1) กำกับดูแลสถาบันการเงินที่อยู่ในความรับผิดชอบ โดยตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงโดยมุ่งเน้นธุรกรรมที่สำคัญและฐานะการดำเนินงาน ประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน เงินสำรอง และความสามารถในการหารายได้ และประเมินความเหมาะสมในด้านธรรมาภิบาล รวมถึงติดตามการบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ ธปท.

2) วิเคราะห์และติดตามความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงฐานะการดำเนินงานรายสถาบันการเงินและระบบสถาบันการเงิน เพื่อสนับสนุนการกำกับดูแลแบบต่อเนื่องและการจัดทำนโยบายด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสถาบันการเงิน

3) พัฒนาและยกระดับกระบวนการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินหรือระบบสถาบันการเงิน ในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤตด้านสภาพคล่องและฐานะ โดยรวมถึงการร่วมจัดทำ crisis simulation exercises อย่างสม่ำเสมอ

4) พัฒนาเครื่องมือและนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการกำกับดูแลสถาบันการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามความเสี่ยงและการกำกับดูแลสถาบันการเงิน รวมถึงวางแผนจัดการระบบข้อมูล สง. ที่อยู่ในความดูแลของ สกส. ให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย ไม่ซ้ำซ้อน และเป็นมาตรฐานเดียวกัน

ฝ่ายประเมินความเสี่ยงและแบบจำลองสถาบันการเงิน (ฝสจ.) /_catalogs/masterpage/img/collapse.png
​​

มีหน้าที่ กำกับ ตรวจสอบ และประเมินความพร้อมในการใช้เครื่องมือเชิงปริมาณหรือแบบจำลองในการบริหารความเสี่ยง และ/หรือ ดำรงเงินกองทุนของสถาบันการเงิน สำหรับความเสี่ยงด้านเครดิต ตลาด และปฏิบัติการ ได้แก่ Internal Rating Based (IRB) Approach, Internal Model Approach, Contingent Loss, Advance measurement Approach (AMA) รวมถึงการจัดทำ Stress Test ของสถาบันการเงิน

สายกำกับสถาบันการเงิน 2 (สกส.2)

สายกำกับสถาบันการเงิน 2 รับผิดชอบงานกำกับและตรวจสอบ SFIs และ Non-banks งาน Market Conduct และงานวางแผนและพัฒนาผู้ตรวจสอบ และงานกำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและลูกหนี้ธุรกิจ ประกอบด้วย 4 ฝ่ายงาน และ 1 กลุ่มงาน คือ

ฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ฝกฉ.)/_catalogs/masterpage/img/collapse.png


มีหน้าที่กำกับและตรวจสอบ วิเคราะห์และติดตามฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอย่างต่อเนื่อง และประเมินความเสี่ยงโดยมุ่งเน้นธุรกรรมที่สำคัญ (Significant Activities : SA) เป็นหลัก การมีธรรมาภิบาล และการปฏิบัติตามพันธกิจ และกฎเกณฑ์ของ ธปท. เพื่อสะท้อนฐานะการดำเนินงาน ตลอดจนการปฏิบัติตามนโยบายและเกณฑ์การกำกับดูแลที่กำหนดขึ้นเพื่อให้มีการดำเนินงานเป็นไปตามพันธกิจของแต่ละแห่งตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีระบบการจัดการบริหารความเสี่ยงที่ยอมรับได้ รวมทั้งการพิจารณาคำขออนุญาตต่าง ๆ งานให้ความเห็นชอบหรือผ่อนผันแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ฝ่ายตรวจสอบผู้ให้บริการทางการเงิน (ฝตบ.)/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​มีหน้าที่ตรวจสอบบริษัทบริหารสินทรัพย์และ Non-bank ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกำหนด รวมทั้งดูแลคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่ตรวจสอบบริษัทข้อมูลเครดิตตามที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลเครดิตกำหนด และการทำหน้าที่เป็นทีมเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต

ฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ฝคง.)/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
​​

ฝคง. มีหน้าที่กำหนดนโยบาย วิเคราะห์ และตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ให้บริการทางการเงิน เพื่อคุ้มครองดูแลผู้ใช้บริการ โดยใช้หลักการ “4 ไม่” สำหรับผู้ให้บริการทางเงิน ประกอบด้วย ไม่หลอก ไม่บังคับ ไม่รบกวน และไม่เอาเปรียบ รวมทั้งกำหนดและบังคับใช้หลักเกณฑ์การให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct) เพื่อยกระดับการบริหารจัดการด้าน Market conduct ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ จัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์และคุณภาพการให้บริการ เพื่อประกอบการตัดสินใจของประชาชนอย่างเพียงพอ สนับสนุนให้เกิดการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมในระบบสถาบันการเงิน และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นเพื่อให้การกำกับดูแลมีประสิทธิภาพและสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน

นอกจากนี้ ฝคง. มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการแก้ไขปัญหาหนี้ของประชาชนทั่วไป และ SMEs ผ่านเครื่องมือต่าง ๆ อาทิ ทางด่วนแก้หนี้ คลินิกแก้หนี้ งานแก้หนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายราย และหมอหนี้เพื่อประชาชน ขณะเดียวกัน ยังให้คำปรึกษาทางการเงินทั่วไป รับเรื่องร้องเรียนและขอความอนุเคราะห์ ตลอดจนรับแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับบริการทางการเงิน ผ่าน Call Center 1213 เพื่อดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่นหรือผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติที่เหมาะสม

ฝ่ายวางแผนและพัฒนาผู้ตรวจสอบ (ฝวพ.)/_catalogs/masterpage/img/collapse.png


มีหน้าที่กำหนดกลยุทธ์ของสายงาน จัดทำแผนการตรวจสอบสถาบันการเงิน พัฒนาแนวทางในการกำกับ วิเคราะห์และตรวจสอบสถาบันการเงิน พัฒนาคู่มือในการตรวจสอบให้สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสากลพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้ตรวจสอบให้เป็นที่ยอมรับ ดำเนินการร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม สัมมนาร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ/ในประเทศ ให้กับสายงาน ตลอดจนจัดทำแผนงานและงบประมาณประจำปีให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายหลักของ ธปท.

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
บุญจิรา โทร 0-2356-7480

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.