ธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ ประกอบด้วย
นิติบุคคลรับอนุญาต หมายถึง ธนาคารพาณิชย์ และนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ โดยมีขอบเขตการประกอบธุรกิจ คือ ซื้อ-ขาย ฝาก-ถอน โอน หรือให้กู้เงินตราต่างประเทศ
บุคคลรับอนุญาต หมายถึง ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจการซื้อและขายธนบัตรต่างประเทศ และรับซื้อเช็คเดินทางจากลูกค้า
ตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ หมายถึง นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจการโอนเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศตามคำขอของบุคคลในประเทศ และรับโอนเงินตราต่างประเทศจากบุคคลในต่างประเทศ เพื่อจ่ายเป็นเงินบาทให้แก่ผู้รับในประเทศ
ศูนย์บริหารเงิน (Treasury Center) หมายถึง
นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศให้กับกลุ่มบริษัท
โดยมีขอบเขตการประกอบธุรกิจ 4 ขอบเขต ดังนี้
การรับซื้อภาระผูกพันหรือเอกสารเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการ ระหว่างประเทศสกุลเงินตราต่างประเทศจากกลุ่มบริษัท (Re-Invoicing) หรือเป็นตัวแทนของกลุ่มบริษัทในการรับเงินตามเอกสารเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการ หรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันค่าสินค้าหรือบริการระหว่างประเทศสกุลเงินตราต่างประเทศ (Agent)
การหักกลบรายได้หรือภาระผูกพัน (Netting)
การซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Purchase, sale, or exchange of foreign currencies and management of exchange rate risk)
การบริหารสภาพคล่อง (Management of liquidity)
บริษัทรับอนุญาต หมายถึง นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจการซื้อและขายเช็คเดินทางแก่ผู้จะเดินทางออกไปนอกประเทศ หรือจ่ายเงินบาทให้แก่บุคคลซึ่งถือบัตรเครดิตต่างประเทศ เพื่อตอบแทนการได้สิทธิที่จะเรียกเก็บเงินตราต่างประเทศตามบัตรเครดิตต่างประเทศนั้น
นายหน้าซื้อขายเงินตราต่างประเทศ หมายถึง
นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจการจับคู่ธุรกรรมซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศระหว่างลูกค้าที่จะซื้อหรือขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ซึ่งกระทำนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
บริษัทหลักทรัพย์รับอนุญาต หมายถึง บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์รับอนุญาต ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ ที่เป็นการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เฉพาะกับบุคคลที่จะซื้อหรือขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อการลงทุนในตราสารและอนุพันธ์ตามที่เจ้าพนักงานประกาศกำหนด ซึ่งมีบริษัทหลักทรัพย์รับอนุญาตนั้นเป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการลงทุน ทั้งนี้ ภายใต้ขอบเขตที่เจ้าพนักงานประกาศกำหนด
ผู้ประกอบธุรกิจเงินอิเล็กทรอนิกส์รับอนุญาต (FX E-Money) หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินอิเล็กทรอนิกส์สกุลเงินตราต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน โดยประกอบธุรกิจเงินอิเล็กทรอนิกส์สกุลเงินตราต่างประเทศและดำเนินการให้บริการแก่ลูกค้า มีขอบเขตดังนี้
1. ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน โอน หรือรับโอนเงินตราต่างประเทศกับลูกค้าซึ่งชำระเงินให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเงินอิเล็กทรอนิกส์รับอนุญาตไว้ล่วงหน้าเฉพาะเพื่อการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์สกุลเงินตราต่างประเทศ
2. ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์สกุลเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดให้แก่ผู้รับในต่างประเทศ หรือใช้รับชำระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจากต่างประเทศ
3. ให้บริการอื่นใดที่เกี่ยวกับธุรกิจเงินอิเล็กทรอนิกส์สกุลเงินตราต่างประเทศและเงินบาท ซึ่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน
การดำเนินการภายใต้กฎกระทรวงฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2565) 
1. หนังสือรับรองผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ กรรมการฯ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (สำหรับผู้ประกอบธุรกิจประเภทบุคคลรับอนุญาต ตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ ศูนย์บริหารเงิน บริษัทหลักทรัพย์รับอนุญาตและผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงิน)
2. หนังสือรับรองผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ กรรมการฯ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (สำหรับผู้ประกอบธุรกิจประเภทผู้ประกอบธุรกิจเงินอิเล็กทรอนิกส์รับอนุญาตและนายหน้าซื้อขายเงินตราต่างประเทศ)
3. คำแนะนำในการจัดทำเอกสารและหนังสือรับรอง และการขอตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
4. Template การแจ้งข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับใบอนุญาต (กรณีมีสถานประกอบการเดียว)
5. Template การแจ้งข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับใบอนุญาต (กรณีมีหลายสถานประกอบการ)
6. ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจ (กรณีจัดส่งเอกสารทางอีเมล)