เงินสำรองทางการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้อย่างไร
ขนาดของเงินสำรองของประเทศไทย (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
เมื่อธุรกิจไทยส่งออกสินค้า
คนต่างชาติมาท่องเที่ยวมากขึ้น หรือมีการลงทุนจากต่างประเทศ
ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ความต้องการที่จะแลกเงินบาทก็จะมีมากขึ้น
เงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้น
เพื่อป้องกันไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วจนเกินไป
ธนาคารกลางจะเข้าไปซื้อเงินตราต่างประเทศมาเก็บเป็นเงินสำรองทางการ
และขายเงินบาทออกไป ทำให้ธนาคารกลางมีภาระหนี้สินมากขึ้นในจำนวนที่เท่ากัน
ซึ่งธนาคารกลางจะต้องดูดซับเงินบาทดังกล่าวเพื่อรักษาระดับดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาด
ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของเงินสำรองทางการไม่ได้สะท้อนความมั่งคั่ง (Wealth) ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะปริมาณเงินสำรองจะมาพร้อมกับภาระหนี้สินของธนาคารกลางที่เพิ่มขึ้นในจำนวนที่เท่ากัน
ในทางกลับกัน
หากเกิดเหตุการณ์ที่นักลงทุนต่างประเทศถอนเงินลงทุนออกจากประเทศไทย
หรือดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล เงินสำรองทางการจะถูกนำมาใช้พยุงค่าเงิน
เพื่อรักษาอำนาจในการซื้อของเศรษฐกิจไทย
(Global Purchasing Power) ทำให้เงินสำรองทางการมีขนาดลดลง
ซึ่งการมีเงินสำรองทางการที่มาก จะช่วยลดความเสี่ยง และผลกระทบของวิกฤตการณ์ค่าเงินของประเทศได้