• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ตลาดการเงิน
  • > การบริหารเงินสำรอง
  • > การบริหารเงินสำรองทางการ
ตลาดการเงิน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
    • การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
    • ธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี
    • ธุรกรรมซื้อหรือขายขาดตราสารหนี้ภาครัฐ
    • สวอปเงินตราต่างประเทศ
    • ธุรกรรมรับฝากเงิน ณ สิ้นวัน
    • ธุรกรรมให้กู้ยืมสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน
    • ธุรกรรมการยืมตราสารหนี้
    • ​​​​การกู้ยืมเงินจาก ธปท. ด้วยวิธีขายสินทรัพย์​หลักประกัน
    • ธุรกรรมด้านตลาดการเงินเพื่อการบริหารสภาพคล่อง ในกรณี BAHTNET Offline
    • การสนับสนุนสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินที่ให้ความช่วยเหลือแก่กองทุนรวมตราสารหนี้
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • วัตถุประสงค์ของการพัฒนาตลาดการเงิน
    • โครงสร้างตลาดการเงินไทย
    • บทบาทของ ธปท. ในการพัฒนาตลาดการเงิน
    • เอกสารเผยแพร่
  • การบริหารเงินสำรอง
    • เงินสำรองทางการของประเทศ
    • การกำกับดูแลการบริหารเงินสำรองทางการ
    • การบริหารเงินสำรองทางการ
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • ​แนวปฏิบัติ FX Global Code
    • การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
    • บทความที่น่าสนใจ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • กฏหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
    • ธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ
    • มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
    • การลงทุนต่างประเทศสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย
    • 7 ข้อเท็จจริงเรื่องค่าเงินบาท และการปรับตัวภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
    • การขออนุญาตและส่งรายงานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
    • แบบรายงาน
    • คู่มือประชาชน/ เอกสารเผยแพร่และชี้แจง
    • ติดต่อเจ้าหน้าที่
    • FAQs
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ
    • ระเบียบและข้อกฏหมายที่เกี่ยวกับการลงทุนต่างประเทศ
    • บทความ งานศึกษา ที่น่าสนใจ
    • ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ
    • เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
    • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในต่างประเทศ
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
กรอบกฎหมาย/_catalogs/masterpage/img/expand.png
กรอบกฎหมายหลักที่ควบคุมการบริหารเงินสำรองทางการของธนาคารแห่งประเทศไทย

1. พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

มาตรา 35 ให้ ธปท. มีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท. ซึ่งรวมถึงการนำสินทรัพย์นั้น ไปลงทุนหาประโยชน์ด้วย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ธปท. กำหนด โดยต้องคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง และผลประโยชน์ตอบแทนของสินทรัพย์ ตลอดจนความเสี่ยงในการบริหารจัดการเป็นสำคัญ

มาตรา 36 หากเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ ให้กระทำเฉพาะสินทรัพย์ต่อไปนี้

  1. ทองคำ
  2. เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือสถาบันการเงินต่างประเทศ
  3. หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ ได้แก่
  • หลักทรัพย์รัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ
  • หลักทรัพย์ที่รัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศค้ำประกันการชำระหนี้ตามหลักทรัพย์นั้น
  • ตราสารที่สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ไทยเป็นสมาชิกออกให้ในการให้กู้ยืมเงินร่วมแก่รัฐบาลสมาชิก หรือองค์การของรัฐบาลสมาชิกของสถาบันการเงินระหว่างประเทศดังกล่าว
  • หลักทรัพย์ที่ออกโดยองค์การหรือนิติบุคคลต่างประเทศอื่น ตามที่คณะกรรมการ ธปท. กำหนด

  4. หน่วยลงทุนหรือตราสารทุนต่างประเทศที่ออกโดยนิติบุคคลต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ธปท. กำหนด

  • สิทธิซื้อส่วนสำรองในกองทุนการเงินและธนาคารระหว่างประเทศ
  • สิทธิพิเศษถอนเงินในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
  • สินทรัพย์อื่นใดที่ ธปท. นำส่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
  • สินทรัพย์อื่นตามที่คณะกรรมการ ธปท. กำหนด

มาตรา 37 ให้ ธปท. รายงานผลการบริหารจัดการทรัพย์สินต่อคณะกรรมการ ธปท. เป็นรายไตรมาส

2. พ.ร.บ. เงินตรา พ.ศ. 2501 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

มาตรา 30 กำหนดประเภทของสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา โดยมีสินทรัพย์ซึ่งถือเป็นเงินสำรองทางการ เช่น

  • ทองคำ
  • เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
  • หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
  • ทองคำ สินทรัพย์ต่างประเทศ และสิทธิพิเศษถอนเงินที่นำส่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
  • ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงิน ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง
  • หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่ชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ


​กรอบการลงทุน/_catalogs/masterpage/img/expand.png

 

2 กองทุนหลักที่ ธปท. จัดแบ่งเงินสำรองทางการ โดยจำแนกตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

1. กองทุนสภาพคล่อง (Liquidity Portfolio) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสภาพคล่องในการดำเนินนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน โดยลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีความมั่นคงและสภาพคล่องสูงใน สกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ

2. กองทุนเพื่อการลงทุนระยะยาว (Long-term Investment Portfolio) มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษามูลค่าเงินสำรองและเตรียมสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศสำหรับชดเชยการขาดดุลการชำระเงิน (Balance of Payment Buffer) รวมถึงเพื่อประโยชน์ในการรักษาอำนาจในการซื้อของเศรษฐกิจไทย (Global Purchasing Power) โดยลงทุนระยะยาวในสินทรัพย์ต่างประเทศที่มีความมั่นคงหลากหลายประเภท กระจายในหลายสกุลเงิน เพื่อดูแลให้มีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

ธปท. กำหนดให้มีดัชนีอ้างอิง (Benchmark) เพื่อเป็นเครื่องมือกำกับผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุน (risk-return profile) ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยจัดทำ Strategic Asset Allocation (SAA) เพื่อจัดวาง Strategic exposure ของเงินสำรอง โดยพิจารณาจากความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในระยะยาว ปัจจุบัน ธปท. แบ่งกองทุนบางส่วนให้ผู้จัดการทุนภายนอกดูแล เพื่อกระจายความเสี่ยงของการบริหาร และเพื่อเรียนรู้กระบวนการลงทุนโดยเฉพาะในสินทรัพย์ประเภทใหม่ที่ ธปท. ไม่เคยบริหารมาก่อน โดยการบริหารกองทุน จะสามารถเบี่ยงเบนจากดัชนีอ้างอิงได้ภายใต้เกณฑ์ Tracking Error Limits ที่กำหนด

กรอบการบริหารความเสี่ยง/_catalogs/masterpage/img/expand.png
1. การบริหารความเสี่ยงด้านตลาด ( Market Risk )

การบริหารความเสี่ยงด้านตลาด มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินทรัพย์ ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด รวมทั้งควบคุมความเสี่ยงที่ผลตอบแทนที่ได้จะไม่แตกต่างจากผลตอบแทนที่ของดัชนีอ้างอิงขององค์กร และกองทุนมากจนเกินไป

การบริหารความเสี่ยงด้านตลาดมีเครื่องมือสำคัญ คือ การกำหนดดัชนีอ้างอิงองค์กร และดัชนีอ้างอิงกองทุนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยมีการกำหนดและติดตามระดับความเสี่ยงของการกองทุนทั้งในลักษณะ Absolute Risk โดยใช้ค่า Value-at-Risk (VaR) และความเสี่ยงการเบี่ยงเบนเมื่อเทียบกับดัชนีอ้างอิงในลักษณะ Relative Risk โดยใช้ค่า Tracking Error (TE) ให้อยู่ภายใต้ระดับที่กำหนดโดยคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (คบส.) และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกำหนด  

นอกจากนี้ ยังต้องมีการติดตามองค์ประกอบและการกระจายตัวของความเสี่ยงในพอร์ตลงทุนทั้งในระดับภาพรวมและพอร์ตการลงทุนย่อยอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ระดับความเสี่ยงและความเสี่ยงการเบี่ยงเบนที่เหมาะสมของแต่ละสินทรัพย์ จะกำหนดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความผันผวนของผลตอบแทนสินทรัพย์ โอกาสในการสร้างผลตอบแทนส่วนเกิน ผลการบริหารในอดีต และแนวปฏิบัติของผู้บริหารกองทุนทั่วไปเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ เกณฑ์ Market Risk Limit ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีการทบทวนความเหมาะสมเป็นประจำทุกปีหรือตามภาวะตลาดการเงินการลงทุนที่เปลี่ยนไป
2. การบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk)

การบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตมีจุดประสงค์เพื่อควบคุม ให้ความเสียหายที่เกิดจากการผิดนัดชำระหนี้หรือการที่ราคาสินทรัพย์ลดลงจากการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ำ โดย ธปท. มีความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk Exposure) ทั้งกับรัฐบาลต่างประเทศภาคเอกชนต่างประเทศ และสถาบันการเงินต่างประเทศ

การบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตมีเครื่องมือสำคัญ คือการกำหนดระดับความเสี่ยงด้านเครดิตต่ำสุดที่สามารถยอมรับได้โดยสำหรับความเสี่ยงต่อรัฐบาลต่างประเทศ จะกำหนดระดับเครดิตต่ำสุด (Minimum Acceptable Credit Rating) ให้อยู่ในระดับ Investment Grade โดยใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่กำหนดโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เป็นสากล และกำหนดวงเงินลงทุนสูงสุดที่ลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงด้านเครดิตของประเทศนั้นๆ หากมีอันดับเครดิตที่ดี มีระดับความเสี่ยงต่ำ (Credit Value-at-Risk) จะได้รับวงเงินลงทุนในระดับที่สูง นอกจากนี้ ยังมีการกำหนด Concentration Risk เพื่อป้องกันไม่ให้มีความเสี่ยงด้านเครดิตต่อประเทศใดประเทศหนึ่งสูงเกินไป

สำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตต่อภาคเอกชนต่างประเทศ จะกำหนดหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดกว่า โดยกำหนดระดับเครดิตต่ำสุดที่สามารถลงทุนได้ในระดับสูงกว่ากรณีรัฐบาลต่างประเทศ เพื่อความมั่นคงปลอดภัยในการลงทุน  

สำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสถาบันการเงินต่างประเทศ ที่เกิดจากการเป็นคู่สัญญาการทำธุรกรรมกับ ธปท. เป็นสำคัญ จะควบคุมโดยการกำหนดวงเงินสูงสุดที่สามารถทำธุรกรรมได้ ให้ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินนั้นๆ โดยหากมีอันดับเครดิตที่ดี จะได้รับวงเงินธุรกรรมที่สูง

นอกจากนี้ ต้องมีการติดตามความเสี่ยงในพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูแลไม่ให้มีการกระจุกตัวของความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ เกณฑ์ Credit Risk Limit ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีการทบทวนความเหมาะสมเป็นประจำตามภาวะตลาดการเงินการลงทุนที่เปลี่ยนไป
​3. การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk)

การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องมีจุดประสงค์เพื่อดูแลให้เงินสำรองอยู่ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงในสัดส่วนที่เหมาะสม สามารถนำเงินมาใช้ได้อย่างทันท่วงที โดยไม่กระทบราคาตลาดอย่างมีนัยสำคัญ

การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องมีเครื่องมือสำคัญ คือ

1) การแยกกองทุน Liquidity ออกมาอย่างชัดเจน 

2) การกำหนดระดับการถือครองสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ (Illiquid Asset) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และ

3) การกำหนดไม่ให้มีการถือครองตราสารรุ่นใดรุ่นหนึ่งมากเกินไปจนอาจทำให้มี transaction cost สูงเมื่อต้องการนำออกมาขายในตลาด

ทั้งนี้ เกณฑ์ Liquidity Risk Limit ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีการทบทวนความเหมาะสมเป็นประจำตามภาวะตลาดการเงินการลงทุนที่เปลี่ยนไป

​4. การประเมินผลการบริหารกองทุน (Performance and Risk Measurement)

ธปท.ประเมินฐานะเงินสำรองโดยให้หลักการ Mark-to-Market ทุกสิ้นวัน ทั้งนี้การตีราคาและการคำนวณผลตอบแทนและความเสี่ยงนั้นทำโดยหน่วยงานที่แยกจากการบริหารเงินสำรองทางการอย่างชัดเจน 

นอกจากนี้ธปท.ยังจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงรายเดือนเพื่อให้ทราบถึงที่มาและองค์ประกอบของผลตอบแทนและความเสี่ยง (Return and Risk Attribution Report) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และติดตามการลงทุน และจัดสรรระดับความเสี่ยงทีี่เหมาะสม (Risk Budgeting) โดยรายงานดังกล่าวจะนำเสนอไตรมาสละครั้งต่อ คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน (อสง.) คณะอนุกรรมการบริหารเงินสำรองทางการ (อบท.) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (คบส.) และคณะกรรมการซึ่งมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกด้วย ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ (กตส.) และ คณะกรรมการ ธปท. (กกธ.)​ เป็นประจำทุกไตรมาส

​
​โครงสร้างองค์กรด้านการบริหารเงินสำรองทางการ ของ ธปท./_catalogs/masterpage/img/expand.png

การลงทุนเงินสำรองทางการมีกระบวนการกำกับดูแลในหลายระดับ ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ที่ละเอียดชัดเจน และมีการคานอำนาจระหว่างผู้ทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงกับผู้ทำหน้าที่ลงทุน ระหว่างคณะกรรมการ ธปท. กับฝ่ายบริหาร

โครงสร้างองค์กรด้านการบริหารเงินสำรองสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

1. ส่วนของคณะกรรมการที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแล อนุมัติ และติดตามเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารความเสี่ยงทางการเงิน พร้อมทั้งกำหนดระดับความเสี่ยงโดยรวมที่ยอมรับได้ กลไกส่วนนี้ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (คบส.)  และคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน (อสง.)  โดยมีฝ่ายบริหารความเสี่ยงองค์กร เป็นผู้ดูแล ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ภายใต้เกณฑ์ความเสี่ยงที่กำหนด  

2. ส่วนของคณะกรรมการที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแล อนุมติ ติดตามการบริหารการลงทุน ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการบริหารเงินสำรองทางการ (อบท.) คณะอนุกรรมการลงทุน (อลท.) ดูแลการลงทุนในระดับ Strategic Asset Allocation (SAA) และ Tactical Asset Allocation (TAA) ตามลำดับ โดยมีฝ่ายบริหารเงินสำรอง สายตลาดการเงิน เป็นผู้ทำธุรกรรมลงทุน และดูแลการลงทุนในระดับ Active management ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่กำหนด
 Line of Command.png
Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
กิตติพงษ์ โทร 0-2356-7737

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.