• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ตลาดการเงิน
  • > การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • > เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ
ตลาดการเงิน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
    • การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
    • ธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี
    • ธุรกรรมซื้อหรือขายขาดตราสารหนี้ภาครัฐ
    • สวอปเงินตราต่างประเทศ
    • ธุรกรรมรับฝากเงิน ณ สิ้นวัน
    • ธุรกรรมให้กู้ยืมสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน
    • ธุรกรรมการยืมตราสารหนี้
    • ​​​​การกู้ยืมเงินจาก ธปท. ด้วยวิธีขายสินทรัพย์​หลักประกัน
    • ธุรกรรมด้านตลาดการเงินเพื่อการบริหารสภาพคล่อง ในกรณี BAHTNET Offline
    • การสนับสนุนสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินที่ให้ความช่วยเหลือแก่กองทุนรวมตราสารหนี้
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • วัตถุประสงค์ของการพัฒนาตลาดการเงิน
    • โครงสร้างตลาดการเงินไทย
    • บทบาทของ ธปท. ในการพัฒนาตลาดการเงิน
    • เอกสารเผยแพร่
  • การบริหารเงินสำรอง
    • เงินสำรองทางการของประเทศ
    • การกำกับดูแลการบริหารเงินสำรองทางการ
    • การบริหารเงินสำรองทางการ
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • ​แนวปฏิบัติ FX Global Code
    • การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
    • บทความที่น่าสนใจ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • กฏหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
    • ธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ
    • มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
    • การลงทุนต่างประเทศสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย
    • 7 ข้อเท็จจริงเรื่องค่าเงินบาท และการปรับตัวภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
    • การขออนุญาตและส่งรายงานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
    • แบบรายงาน
    • คู่มือประชาชน/ เอกสารเผยแพร่และชี้แจง
    • ติดต่อเจ้าหน้าที่
    • FAQs
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ
    • ระเบียบและข้อกฏหมายที่เกี่ยวกับการลงทุนต่างประเทศ
    • บทความ งานศึกษา ที่น่าสนใจ
    • ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ
    • เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
    • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในต่างประเทศ
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)

​เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ

    นิยามของการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ   

    การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Thai Direct Investment Abroad: TDI) หมายถึงธุรกรรมการลงทุนที่ผู้ลงทุนซึ่งมีถิ่นฐานในประเทศไทยมีต่อธุรกิจที่มีถิ่นฐานในต่างประเทศที่เป็นกิจการในเครือ โดยที่ผู้ลงทุนถือหุ้นของกิจการในเครือหรือกิจการที่นำเงินไปลงทุนตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป
    ทั้งนี้ ธุรกรรรมการลงทุนจะครอบคลุมถึง
            1) เงินลงทุนในทุนเรือนหุ้น (Equity Investment) 
            2) การกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือ (Direct Loans)
            3) กำไรที่นำกลับมาลงทุน และ
            4) ตราสารหนี้และสินเชื่อการค้าที่เป็นธุรกรรมระหว่างบริษัทในเครือด้วยกัน
    การลงทุนที่เข้าข่ายเป็นการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ อาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์หรือได้รับข้อยกเว้นในด้านกฎเกณฑ์ต่างๆจากทางภาครัฐ เช่น ตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน นิติบุคคลสามารถส่งเงินไปลงทุนในกิจการในเครือในต่างประเทศที่มีสัดส่วนการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป ได้ไม่จำกัดจำนวน ในขณะที่ การลงทุนในกิจการในต่างประเทศที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ข้างต้นสามารถทำได้ไม่เกินปีละ 50 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นต้น
    นิยามของการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศข้างต้นที่กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของกิจการในเครือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เป็นนิยามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้สำหรับอ้างอิงในกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน รวมถึงใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทำข้อมูลดุลการชำระเงินของประเทศ ซึ่งอ้างอิงมาจากนิยามของการลงทุนโดยตรงตามมาตรฐานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อย่างไรก็ดี การกำหนดสัดส่วนของการถือหุ้นของกิจการในเครือที่นับเป็นการลงทุนโดยตรงของหน่วยงานภาครัฐอื่นๆในประเทศไทยอาจมีความแตกต่างกันบ้างตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกฎหมายของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กรมสรรพากรกำหนดสัดส่วนของการถือหุ้นของกิจการที่นับเป็นการลงทุนของกิจการในเครือในต่างประเทศไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 เป็นต้น

    ​ความสำคัญของการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ

    ​การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศมีความจำเป็นต่อยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศในหลายๆด้าน ทั้งในแง่ของ

     ช่วยในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันและเติบโตได้ภายใต้เศรษฐกิจโลกที่เป็นโลกาภิวัตน์
     ช่วยให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนมีความสมดุลมากขึ้น อันจะส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนและระบบการเงินของประเทศมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น 
     และประเทศสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
     ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น โอกาสทางการค้า หรือการมีส่วนช่วยในการพัฒนาตลาดการเงินของประเทศ​​


    1.  ช่วยในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันขันและเติบโตได้


    ภายใต้เศรษฐกิจโลกที่เป็นโลกาภิวัตน์มากขึ้น รวมถึงข้อจำกัดในด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีมากขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจไทยและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเองจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตและแข่งขันได้ ทั้งในแง่ของ

    1.1 การแสวงหาตลาดใหม่หรือรักษาส่วนแบ่งตลาดเดิมในประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่หรือมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูง (Market Seeking)
    เนื่องจากธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่งได้ขยายตัวเต็มศักยภาพการเติบโตในประเทศแล้ว ประกอบกับเศรษฐกิจไทยเติบโตในอัตราที่น้อยกว่าเศรษฐกิจของประเทศอื่นในภูมิภาคในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงจำนวนประชากรวัยทำงานผู้ซึ่งมีกำลังซื้อสูงที่มีอยู่จำกัด ธุรกิจหลายแห่งจึงจำเป็นต้องไปขยายกิจการในต่างประเทศ เพื่อแสวงหาตลาดใหม่ที่มีขนาดใหญ่และกำลังซื้อสูง (Market Seeking) เช่น จีน อินเดีย และอินโดนีเซียเพื่อให้ธุรกิจยังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง

    1.2 เพื่อแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติและเข้าถึงวัตถุดิบและแรงงานที่ถูกกว่าในประเทศ (Resource and Labor Seeking)
    ธุรกิจหลายแห่งออกไปลงทุนโดยตรงในประเทศที่มีความสมบูรณ์ในทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเข้าถึงวัตถุดิบที่มีราคาถูก ซึ่งจะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของบริษัทได้ ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน พบว่าหลายประเทศยังคงมีทรัพยากรการผลิตที่อุดมสมบูรณ์มากกว่าไทย อาทิ พม่าและเวียดนามมีไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ อินโดนีเซียมีแหล่งน้ำมันดิบ ขณะที่ลาวและกัมพูชามีแหล่งกสิกรรม เป็นต้น ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศก็มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มากกว่าไทย เช่นกัน อาทิ ออสเตรเลีย นอกจากนี้ ค่าจ้างแรงงานเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้ภาคธุรกิจไทยออกไปลงทุนยังต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากค่าจ้างแรงงานของไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศในเอเชีย เช่น กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน และมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องอีกจากนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท กอปรกับภาวะตลาดแรงงานไทยมีความตึงตัวมาก ส่งผลให้เริ่มมีอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลักของไทย เช่น สิ่งทอ เริ่มมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีค่าแรงต่ำกว่าและมีการให้สิทธิพิเศษต่างๆในการลงทุน

    1.3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตรวมถึงการแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ (Efficiency Seeking)
    การออกไปลงทุนในต่างประเทศยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศในแง่ของการแสวงหาเทคโนโลยีและการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยอาจอยู่ในรูปของการออกไปร่วมทุนกับผู้ประกอบการในต่างประเทศที่ดำเนินธุรกิจที่มีศักยภาพสูงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจของตนได้มากขึ้น หรือการลงทุนในประเทศที่มีความสามารถหรือความถนัดในการผลิต อาทิ กลุ่มธุรกิจผลิตอัญมณี ที่นอกจากจะแสวงหาตลาดและวัตถุดิบแล้วยังแสวงหาประสิทธิภาพโดยขยายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีความสามารถในการผลิตเช่น เยอรมนี เวียดนามและอินโดนีเซีย ส่วนกลุ่มธุรกิจอาหารกระป๋องและอาหารทะเลแช่แข็ง ได้มีการออกไปลงทุนในสหรัฐฯเพื่อแสวงหาเทคโนโลยีการผลิตที่ดีกว่าในประเทศ

    1.4 เพื่อช่วยในด้านการกระจายความเสี่ยงของภาคธุรกิจ
    การออกไปลงทุนในต่างประเทศยังช่วยในเรื่องของการกระจายความเสี่ยงของภาคธุรกิจ ทั้งในแง่ของแหล่งผลิต วัตถุดิบ แรงงาน รวมถึงการกระจายตลาดด้วย ทำให้ภาคธุรกิจไม่ต้องพึ่งพิงทรัพยากรหรือตลาดจากภายในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว 

    2. ช่วยสร้างสมดุลต่อเงินไหลเข้า/ออกของประเทศ


    การออกไปลงทุนในต่างประเทศมีส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างสมดุลให้เงินไหลเข้า/ออกประเทศมีความสมดุลมากขึ้น เนื่องจากที่ในช่วงที่ผ่านมา flows ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศของไทยจะเป็นด้านเงินไหลเข้าเป็นส่วนใหญ่ ทั้งจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด หรือการไหลเข้าของเงินลงทุนในหลักทรัพย์จากต่างชาติเป็นต้น ทั้งนี้ เงินไหลเข้า/ออกประเทศที่มีความสมดุลมากขึ้นจะช่วยให้

    2.1 อัตราแลกเปลี่ยนและระบบการเงินของประเทศมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น ภาคการส่งออกและภาคการผลิตสามารถปรับตัวได้ อันจะช่วยให้ประเทศสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

    2.2 เงินทุนเคลื่อนย้ายที่สมดุล จะช่วยให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเป็น shock absorber ให้ระบบเศรษฐกิจให้แก่ประเทศได้มากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีเกิดวิกฤตการเงินในต่างประเทศ

    2.3 เป็นการนำทรัพยากรจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพั​ดของประเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเติบโตในต่างประเทศ ทำให้ประเทศไทยมีฐานะเป็นประเทศเจ้าหนี้มากขึ้น และลดภาระของทางการในการ absorb ส่วนเกินจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด

    3. ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ​

    ​

    นอกจากประโยชน์ในเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศใน 2 ข้อข้างต้นแล้วการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีก เช่น

    3.1 เป็นการสร้างโอกาสในการลงทุนของภาคธุรกิจจากสถานการณ์ที่โลกไม่ปกติ  - สถานการณ์โลกที่ไม่ปกติ โดยเฉพาะวิกฤติทางการเงินในแถบยุโรปและอเมริกา ทำให้นักลงทุนไทยสามารถใช้โอกาสจากการที่เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้กำลังชะลอตัว รวมถึงการที่บริษัทในประเทศคู่แข่งทางตะวันตกมีความพร้อมลดลงให้เป็นประโยชน์ โดยธุรกิจไทยสามารถขยายกิจการในประเทศเหล่านี้ได้ผ่านการควบรวมและซื้อกิจการได้ในราคาถูก และยังเป็นวิธีการที่ง่ายและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการออกไปลงทุนตั้งกิจการใหม่ขึ้นมาเอง และยังเป็นวิธีการที่ง่ายและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการออกไปลงทุนตั้งกิจการใหม่ขึ้นมาเอง ภาครัฐจึงควรรีบให้การสนับสนุนเพื่อให้ภาคเอกชนสามารถใช้ประโยชน์จากวิกฤตการณ์เหล่านี้ให้เป็นโอกาสในการลงทุนได้ ทั้งนี้ สภาพคล่องภายในประเทศที่ยังมีอยู่มากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้ภาคเอกชนสามารถออกไปลงทุนได้ และไม่เกิดการ crowd out เศรษฐกิจ

    3.2 ในบางกรณีการไปลงทุนต่างประเทศยังช่วยในการเลี่ยงอุปสรรคทางการค้า หรืออาจได้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalised System of Preferences : GSP) จากการได้เข้าไปผลิตสินค้าในบางประเทศ เพื่อ 1) เพิ่มรายได้จากการส่งออกให้แก่ประเทศนั้น 2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมของประเทศที่กำลังพัฒนา และ 3) เพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศกำลังพัฒนา

    3.3 ช่วยในการพัฒนาตลาดการเงินภายในประเทศ – โดยการออกไปลงทุนในต่างประเทศที่เติบโตขึ้น จะมาพร้อมกับความต้องการในการระดมทุน การใช้บริการทางการเงินและธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ รวมถึงเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งความต้องการธุรกรรมที่มีปริมาณมากขึ้นและหลากหลายขึ้น จะช่วยให้ตลาดการเงินไทยสามารถพัฒนาได้มากขึ้นทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง ​

    ​ภาพรวมการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของไทย

    ​​ภาพรวมการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของไทย

    การลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ (Thai Direct Investment: TDI) ในช่วงที่ผ่านมายังมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการลงทุนในช่วงที่ผ่านมาอาจมีการชะลอตัวลงบ้าง โดยมูลค่าการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ ปี 2558 ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 8,352 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการลงทุนของภาคเอกชนที่ปรับเพิ่มขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ส่วนภาครัฐวิสาหกิจปรับลดลง ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปที่เริ่มฟื้นตัว ทำให้ภาคเอกชนไทยมองหาโอกาสในลงทุนหรือการเข้าซื้อกิจการในต่างประเทศ เพิ่มมากขึ้น


    ​การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของประเทศภูมิภาค

    ​

    ​การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของประเทศภูมิภาค

    แม้ว่าการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของไทยจะเติบโตได้ดีในช่วงที่ผ่านมา แต่สัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศสุทธิของไทยกับผลิตภัตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเฉลี่ย 6 ปี (ตั้งแต่ปี 2550 ถึง 2556) นับว่ายังอยู่ในระดับต่ำ (เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย ที่เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 10 และ 5 ตามลำดับ 

     ประเทศเป้าหมายของการลงทุน​

    ​​​ประเทศเป้าหมายของการลงทุน

    มูลค่าการลงทุนสุทธิสะสมในช่วงปี 2551 – ปี 2558 พบว่า หมู่เกาะเคย์แมน สิงคโปร์ และฮ่องกง เป็นประเทศที่ธุรกิจไทยออกไปลงทุนมากที่สุดตามลำดับ เนื่องจากธุรกิจไทยส่วนหนึ่งยังนิยมใช้ประเทศเหล่านี้เป็นฐานในการส่งเงินไปลงทุนต่อยังประเทศที่สาม เนื่องจากสิทธิประโยชน์ในด้านภาษีและความสะดวกในการทำธุรกรรม


    ประเภทธุรกิจที่ออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ 10 อันดับ​​​​

    ​​ประเภทธุรกิจที่ออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ 10 อันดับ

    ตั้งแต่ปี 2548 - 2558 นั้น จะเห็นได้ว่าธุรกิจไทยที่นิยมออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศสูงสุดเป็นอันดับ 1 คือ ภาคการผลิต รองลงมาคือ การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และการผลิตเคมีภัณฑ์ กิจกรรมทางการเงินและประกันภัยซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น holding company ตามลำดับ  ​


    Share
    Tweet
    Share
    Tweet
    เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
    นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
    สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
    ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
    ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
    สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API
    ตารางเวลาเผยแพร่
    เงื่อนไขการให้บริการ
    นโยบายคุ้มครอง
    ข้อมูลส่วนบุคคล
    เชื่อมโยง
    คำถามถามบ่อย
    ติดต่อ ธปท.

    ©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
    สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
    ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

    ผู้จัดการบริการ
    จิระพล โทร 0-2283-5122
    ภาวินี โทร 0-2283-5154

    ©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.