• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > นโยบายการเงิน
  • > คณะกรรมการ กนง.
นโยบายการเงิน
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • รายงานการประชุมฉบับย่อ
    • รายงานนโยบายการเงิน / การประชุมนักวิเคราะห์
    • จดหมายเปิดผนึก
    • เอกสารเผยแพร่อื่น ๆ
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ความเป็นมาของนโยบายการเงินในประเทศไทย
    • การกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • การดำเนินโยบายการเงิน / เครื่องมือการดำเนินนโยบายการเงิน
    • เงินเฟ้อและเป้าหมายเงินเฟ้อ
    • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
    • อัตราแลกเปลี่ยน
    • กลไกการส่งผ่าน
    • การประเมินภาวะเศรษฐกิจ
    • แบบจำลองเศรษฐกิจ
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • แถลงข่าวและรายงานเศรษฐกิจรายเดือน
    • รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยรายปี
    • รายงานฐานเงินและเงินสำรองระหว่างประเทศ
    • รายงานแนวโน้มธุรกิจ
    • รายงานภาวะและแนวโน้มสินเชื่อของสถาบันการเงิน
    • ดัชนีเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ

​คณะกรรมการนโยบายการเงิน (Monetary Policy Committee)

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นหนึ่งในคณะกรรมการหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งรับผิดชอบด้านการกำหนดทิศทางของนโยบายการเงิน  โดยทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ ธปท. อย่างใกล้ชิดในการติดตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ การกำหนดทิศทางนโยบายการเงินของ กนง. จะพิจารณาจากข้อมูลต่าง ๆ ที่ ธปท. นำเสนอให้ทราบ จากนั้นจะนำข้อมูลดังกล่าวไปกลั่นกรองพิจารณาในที่ประชุม เพื่อกำหนดทิศทางของนโยบายการเงินต่อไป 

คณะกรรมการนโยบายการเงินที่ คณะกรรมการ ธปท. แต่งตั้งขึ้นภายใต้ พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. 3 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก 4 คน ได้แก่

 

 

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
​ประธานกรรมการ

นายเมธี สุภาพงษ์
​รองประธานกรรมการ

นางสาววชิรา อารมย์ดี
​กรรมการ

นายรพี สุจริตกุล
​กรรมการ

นายคณิศ แสงสุพรรณ
​กรรมการ

นายสุภัค ศิวะรักษ์
​กรรมการ

นายสมชัย จิตสุชน
​กรรมการ

นายปิติ ดิษยทัต
​เลขานุการ

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
​ประธานกรรมการ

นายเมธี สุภาพงษ์
​รองประธานกรรมการ

นางสาววชิรา อารมย์ดี
​กรรมการ

นายคณิศ แสงสุพรรณ
​กรรมการ

นายรพี สุจริตกุล
​กรรมการ

นายสมชัย จิตสุชน
​กรรมการ

นายสุภัค ศิวะรักษ์
​กรรมการ

นายปิติ ดิษยทัต
​เลขานุการ

คณะ​กรรมการนโยบายการเงินภายใต้ พ.ร.บ. ธปท. พ.ศ. 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ธปท. (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

กนง. จะมีกรรมการทั้งหมด 7 คนเช่นเดียวกับในปัจจุบัน โดยมีผู้ว่าการเป็นประธาน เนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับมติที่ กนง. กำหนด และเพื่อให้มีการเชื่อมโยงกับคณะกรรมการด้านนโยบายอื่นๆ ของ ธปท.  นอกจากนั้น มีรองผู้ว่าการอีก 2 คนและผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกอีก 4 คนเป็นกรรมการใน กนง. เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจผู้ว่าการตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน

อำนาจหน้าที่ของ กนง. ระบุไว้อย่างชัดเจนในกฎหมาย ดังนี้

1.   กำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินของประเทศ โดยคำนึงถึงแนวนโยบายแห่งรัฐ สภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ

2.   กำหนดนโยบายการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา

3.   กำหนดมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายตาม  (1) และ (2)

4.   ติดตามการดำเนินมาตรการของ ธปท. ตาม (3) ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ พ.ร.บ. ธปท. ฉบับใหม่กำหนดให้ กนง. จัดทำเป้าหมายของนโยบายการเงินของปีถัดไปภายในเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อเป็นแนวทางให้แก่รัฐและ ธปท. ในการดำเนินการ เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคา โดยทำความตกลงร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและให้รัฐมนตรีเสนอเป้าหมายของนโยบายการเงินที่ได้ทำความตกลงร่วมนั้นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ และ กนง. มีหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน

ประโยชน์ของการแก้กฎหมายต่อประชาชน

ประชาชนจะได้รับผลประโยชน์จากการแก้ไข พ.ร.บ. ธปท. ในครั้งนี้อย่างน้อย 2 ประการดังนี้

1.  ประชาชนมั่นใจได้ว่ามีการถ่วงดุลอำนาจผู้ว่าการ ทำให้การกำหนดนโยบายต่างๆ มีความรอบคอบครบถ้วนมากขึ้น โดยการมีกระบวนการตัดสินใจผ่านคณะกรรมการต่างๆ จะสามารถอาศัยความเชี่ยวชาญและมุมมองที่หลากหลายเข้ามาประกอบในการตัดสินใจด้านนโยบายมากยิ่งขึ้น

2.  ประชาชนสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของ ธปท. ได้ง่ายขึ้น โดย ธปท. เองจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมากขึ้น ตามที่กำหนดชัดเจนในกฎหมาย

ความถี่ในการจัดประชุม

ประมาณทุก 7-10 สัปดาห์ (ปีละ 6 ครั้ง) กนง. จะประชุมร่วมกันเพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจและการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะมีผลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อพิจารณากำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม ในการประชุม คณะเลขานุการจะรายงานข้อมูลล่าสุดทั้งด้านการเงิน การคลัง การต่างประเทศ และการผลิต ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่จะกระทบราคาสินค้า อาทิ ราคาน้ำมันโลก นโยบายการเงินของประเทศอื่นๆ หรือราคาสินค้าเกษตรโลกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อให้ กนง. หารือถึงความเป็นไปได้ในการประมาณการแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ

​

รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการนโยบายการเงิน

โปรดเลือก 
 

ข้อพึงปฏิบัติของกรรมการนโยบายการเงิน 

  1. กรรมการพึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอิสระในการออกความคิดเห็นและตัดสินใจ โดยถือประโยชน์โดยรวมต่อระบบเศรษฐกิจไทยเป็นสำคัญ และพึงวางตัวเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ต่อสาธารณชนว่ามีความเป็นอิสระจากการเมือง

  2.  

  3. กรรมการพึงชี้แจงเหตุผลสนับสนุนมาตรการและนโยบายทางการเงินที่ได้ดำเนินไปต่อบุคคลภายนอก เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง 

  4.  

  5. กรรมการจะต้องไม่ใช้ข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการ กนง. โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ รวมถึงทรัพยากร (และทรัพยากรบุคคล) ของ ธปท. เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือบุคคลภายนอก

  6.  

  7. กรรมการพึงระมัดระวังมิให้ข้อมูลหรือข่าวสารอันเป็นความลับของ กนง. และ ธปท. ที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดเงินรั่วไหลหรือตกไปถึงผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง และระมัดระวังมิให้มีการเปิดเผยมติที่ประชุมก่อนเวลาอันสมควร

  8.  

  9. กรรมการไม่พึงเผยแพร่หรือมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน หรือเป็นเท็จ ที่อาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิด

  10.  

  11. กรรมการไม่พึงเปิดเผยข้อมูลหรือประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อยุติจากการพิจารณาในการประชุม กนง. ต่อบุคคลภายนอก เนื่องจากประเด็นเหล่านี้อาจเป็นประเด็นต่อเนื่องในการประชุม ครั้งต่อไป

 

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
ภูริภัทร โทร 0-2283-6980
สมาธิ โทร 0-2356-7389

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.