• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > นโยบายการเงิน
  • > ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
นโยบายการเงิน
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • รายงานการประชุมฉบับย่อ
    • รายงานนโยบายการเงิน / การประชุมนักวิเคราะห์
    • จดหมายเปิดผนึก
    • เอกสารเผยแพร่อื่น ๆ
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ความเป็นมาของนโยบายการเงินในประเทศไทย
    • การกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • การดำเนินโยบายการเงิน / เครื่องมือการดำเนินนโยบายการเงิน
    • เงินเฟ้อและเป้าหมายเงินเฟ้อ
    • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
    • อัตราแลกเปลี่ยน
    • กลไกการส่งผ่าน
    • การประเมินภาวะเศรษฐกิจ
    • แบบจำลองเศรษฐกิจ
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • แถลงข่าวและรายงานเศรษฐกิจรายเดือน
    • รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยรายปี
    • รายงานฐานเงินและเงินสำรองระหว่างประเทศ
    • รายงานแนวโน้มธุรกิจ
    • รายงานภาวะและแนวโน้มสินเชื่อของสถาบันการเงิน
    • ดัชนีเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ


ความเป็นมาของนโยบายการเงินในประเทศไทย

พ.ศ. 2485
Your browser does not support the canvas element.
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ดำเนินธุรกิจของธนาคารกลาง และหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งจะกำหนดโดยการตราพระราชกฤษฎีกา ในกฎหมายนี้ ถึงแม้ไม่ได้ระบุเรื่องนโยบายการเงินอย่างชัดเจน แต่ระบุให้คณะกรรมการธนาคารมีอำนาจในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ ธปท. เรียกเก็บจากการเป็นแหล่งเงินกู้แหล่งสุดท้าย (Lender of the last resort) ของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ยังให้อำนาจ ธปท. ในการซื้อขายตราสารหนี้และเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนให้สินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแก่สถาบันการเงิน ซึ่งในเรื่องเหล่านี้ ธปท. มิได้กระทำเพื่อหาผลกำไร จึงกล่าวได้ว่า กฎหมายมีบทบัญญัติโดยอ้อมให้ ธปท. เป็นผู้ดำเนินนโยบายการเงินอย่างชัดเจน
 
Your browser does not support the canvas element.
Your browser does not support the canvas element.
 
  Your browser does not support the canvas element.

 

 

 
Your browser does not support the canvas element.
Your browser does not support the canvas element.

ช่วงที่ 1
เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยผูกค่าเงินบาทกับทองคำกับค่าเงินสกุลอื่นหรือกับตะกร้าเงิน (Pegged Exchange Rate)

มีนโยบายนี้เริ่มใช้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา โดยช่วงแรกใช้วิธีผูกค่าเงินไว้กับทองคำ ก่อนที่จะเปลี่ยนไปผูกค่าเงินบาทกับเงินสกุลอื่น และเปลี่ยนไปใช้ระบบผูกค่าเงินบาทกับตระกร้าเงินในช่วงพฤศจิกายน 2527 - มิถุนายน 2540 ภายใต้ระบบตะกร้าเงินนี้ ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Equalization Fund : EEF) เป็นผู้ประกาศระดับอัตราแลกเปลี่ยนและรักษาค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ในแต่ละวัน ซึ่งในขณะนั้น การมีอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ
พ.ศ. 2540 Your browser does not support the canvas element.

 

 

 
Your browser does not support the canvas element.
Your browser does not support the canvas element.

ช่วงที่ 2
เป้าหมายปริมาณเงิน (Monetary Targeting)

หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 นั้น ประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) และได้กำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินใหม่ คือ เป้าหมายปริมาณเงิน (Monetary Targeting) โดยอิงกับเงื่อนไขในการเข้าโปรแกรมกู้เงิน IMF เพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง เม็ดเงินจากภาคต่างประเทศ และดุลการชำระเงิน นำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจและระดับราคาที่เหมาะสม (Ultimate Objectives) ทั้งนี้ ธปท. จะประเมินภาวะเศรษฐกิจและกำหนดเป้าหมายฐานเงินรายไตรมาสและรายวัน เพื่อใช้เป็นหลักในการบริหารสภาพคล่องรายวัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในระบบการเงิน มิให้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงผันผวนจนเกินไป
พ.ศ. 2543 Your browser does not support the canvas element.

 

 

  Your browser does not support the canvas element.

ช่วงที่ 3
กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting)

ธปท. ได้พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ในระบบการเงิน ทั้งปัจจุบันและในอนาคตแล้วเห็นว่าการใช้ปริมาณเงินเป็นเป้าหมายมีประสิทธิผลน้อย เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่คงที่ ดังนั้น เมื่อประเทศไทยออกจากโปรแกรมกู้เงิน IMF ธปท. ต้องกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินใหม่ที่เหมาะสมสำหรับประเทศ และเห็นว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting) มีความเหมาะสมในการสร้างความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางและช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ จึงเริ่มใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นตั้งแต่ปี 2543
ปัจจุบัน
Your browser does not support the canvas element.
Your browser does not support the canvas element.

 

 

การดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นในช่วงแรกนั้น ธปท. อาศัยอำนาจผู้ว่าการ ธปท. แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงินชุดแรกขึ้น เมื่อ 5 เมษายน 2543 โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ธปท. เป็นกรรมการ ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. รวมจำนวน 9 ท่าน โดย กนง. ทำหน้าที่กำหนดทิศทางนโยบายการเงินของประเทศ ตลอดจนพัฒนากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับประเทศไทย

สำหรับในปัจจุบัน พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ได้ประกาศใช้เมื่อ 3 มีนาคม 2551 ได้กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีกรรมการทั้งหมด 7 ท่าน โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก 4 ท่าน และผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. 3 ท่าน รวมทั้งมีการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และความรับผิดชอบของ กนง. อย่างชัดเจนอีกด้วย

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
สมาธิ โทร 0-2356-7389
ภูริภัทร โทร 0-2283-6980

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.