• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > นโยบายการเงิน
  • > ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
นโยบายการเงิน
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • รายงานการประชุมฉบับย่อ
    • รายงานนโยบายการเงิน / การประชุมนักวิเคราะห์
    • จดหมายเปิดผนึก
    • เอกสารเผยแพร่อื่น ๆ
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ความเป็นมาของนโยบายการเงินในประเทศไทย
    • การกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • การดำเนินโยบายการเงิน / เครื่องมือการดำเนินนโยบายการเงิน
    • เงินเฟ้อและเป้าหมายเงินเฟ้อ
    • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
    • อัตราแลกเปลี่ยน
    • กลไกการส่งผ่าน
    • การประเมินภาวะเศรษฐกิจ
    • แบบจำลองเศรษฐกิจ
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • แถลงข่าวและรายงานเศรษฐกิจรายเดือน
    • รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยรายปี
    • รายงานฐานเงินและเงินสำรองระหว่างประเทศ
    • รายงานแนวโน้มธุรกิจ
    • รายงานภาวะและแนวโน้มสินเชื่อของสถาบันการเงิน
    • ดัชนีเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ


อัตราแลกเปลี่ยน

ธปท. ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float) โดยค่าเงินบาทถูกกำหนดโดยกลไกตลาด และ ธปท. จะเข้าดูแลในกรณีที่ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไป

อัตราแลกเปลี่ยนคืออะไร ?

อัตราแลกเปลี่ยนคือ ‘ราคา’ ของเงินสกุลหนึ่งเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แสดงว่า

เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะแลกเงินบาทได้ 25 บาท

หรือเงิน 1 บาท จะแลกเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ 0.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ นั่นเอง

เมื่อเราฟังข่าว หากเราได้ยินคำว่าเงินบาท 'แข็งค่า’ นั่นแปลว่าเงินบาทมีราคาแพงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น เงินบาทแข็งค่าขึ้นจาก 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

หากเราได้ยินคำว่าเงินบาท ‘อ่อนค่า’ นั่นแปลว่าเงินบาทมีราคาถูกลงเมื่อเทียบกันเงินสกุลอื่น เช่น เงินบาทอ่อนค่าลงจาก 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาท

 

ใครเป็นคนกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่าง ๆ

เงินสกุลต่าง ๆ ก็เหมือนกับสินค้าชนิดหนึ่งที่ราคาถูกกำหนดโดยกลไกตลาด นั่นคือ ความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน)

ยกตัวอย่างเช่น หากมีคนต้องการเงินบาทมากขึ้น ราคาของเงินบาทก็จะสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า “เงินบาทแข็งค่า” ในทางกลับกัน ถ้ามีคนต้องการเงินบาทน้อยลง ราคาของเงินบาทก็จะปรับลดลง หรือที่เรียกว่า “เงินบาทอ่อนค่า”

เงินสกุลต่าง ๆ มีการซื้อขายกันตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก โดยคนกลุ่มต่าง ๆ เช่น ผู้นำเข้าส่งออก สถาบันการเงิน นักลงทุนต่างชาติ และกองทุนต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่าง ๆ ที่ซื้อขายกันในตลาดโลก ก็จะส่งผ่านมาสู่อัตราแลกเปลี่ยนที่เราซื้อขายเงินสกุลต่าง ๆ กับธนาคารพาณิชย์หรือผู้ให้บริการแลกเงินนั่นเอง

อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างไร ?

อัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อเราอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นใคร

หากเราเป็นคนที่ต้องการแลกเงินเพื่อไปเที่ยวต่างประเทศ เมื่อเงินบาทแข็งค่า เราจะแลกเงินตราต่างประเทศได้มากขึ้นด้วยจำนวนเงินบาทเท่าเดิม แปลว่ายิ่งเงินบาทแข็งค่า การซื้อของในต่างประเทศของเราจะยิ่งถูกลง

หากเราเป็นประชาชนทั่วไปที่ต้องบริโภคสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น สินค้าที่ต้องนำเข้า เช่น น้ำมัน โทรศัพท์สมาร์ทโฟน จะมีราคาถูกลง

ธุรกิจได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน โดยบริษัทที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต จะได้รับผลดีเมื่อเงินบาทแข็งค่า เพราะวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจะมีราคาถูกลงเมื่อคิดเป็นมูลค่าเงินบาท

แต่บริษัทที่เป็นผู้ส่งออกนั้นได้รับผลเสียเมื่อเงินบาทแข็งค่า เพราะเงินที่ได้จากขายสินค้าให้ชาวต่างชาติเมื่อแลกกลับมาเป็นเงินบาทจะมีมูลค่าลดลง

ในทางกลับกัน เมื่อเงินบาทอ่อนค่า กลุ่มผู้ที่ได้รับผลดีและผลเสียก็จะสลับกัน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะมีผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์เสมอ

ธุรกิจที่ไม่ต้องการได้รับผลเสียจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน สามารถใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

ธปท. กับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน

แม้ว่า ธปท. ไม่ได้ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่เหมือนในอดีต แต่ไม่ได้หมายความว่า ธปท. ไม่ได้บริหารจัดการเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเลย

ปัจจุบัน ธปท. ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float) โดยค่าเงินบาทถูกกำหนดโดยกลไกตลาด และ ธปท. จะเข้าดูแลในกรณีที่ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไป

เนื่องจากการที่เงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนค่าเร็วเกินไป หรือเคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจนั้น จะส่งผลกระทบให้ภาคเอกชนปรับตัวไม่ทัน รวมถึงกระทบต่อการวางแผนใช้จ่ายและลงทุนของธุรกิจ

อ่านเพิ่มเติม ‘ฮาวทู ดูแลค่าเงิน’PDF Icon

นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ

ในการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการนั้น ธปท. จะดูแลอัตราแลกเปลี่ยนภายใต้เงื่อนไข ดังนี้

  • ดูแลความผันผวนของค่าเงินให้อยู่ในระดับที่ประชาชนและธุรกิจสามารถปรับตัวได้ นั่นคือค่าเงินบาทไม่แข็งค่าหรืออ่อนค่าเร็วเกินไปในเวลาสั้น ๆ

  • ไม่ขัดกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย


อ่านเพิ่มเติม

คนไทยได้อะไรจากการปรับ FX Ecosystem ใหม่

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
สมาธิ โทร 0-2356-7389
ภูริภัทร โทร 0-2283-6980

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.