• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > นโยบายการเงิน
นโยบายการเงิน
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • รายงานการประชุมฉบับย่อ
    • รายงานนโยบายการเงิน / การประชุมนักวิเคราะห์
    • จดหมายเปิดผนึก
    • เอกสารเผยแพร่อื่น ๆ
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ความเป็นมาของนโยบายการเงินในประเทศไทย
    • การกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • การดำเนินโยบายการเงิน / เครื่องมือการดำเนินนโยบายการเงิน
    • เงินเฟ้อและเป้าหมายเงินเฟ้อ
    • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
    • อัตราแลกเปลี่ยน
    • กลไกการส่งผ่าน
    • การประเมินภาวะเศรษฐกิจ
    • แบบจำลองเศรษฐกิจ
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • แถลงข่าวและรายงานเศรษฐกิจรายเดือน
    • รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยรายปี
    • รายงานฐานเงินและเงินสำรองระหว่างประเทศ
    • รายงานแนวโน้มธุรกิจ
    • รายงานภาวะและแนวโน้มสินเชื่อของสถาบันการเงิน
    • ดัชนีเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ


นโยบายการเงิน

นโยบายการเงินคืออะไร ?

นโยบายการเงิน คือ เครื่องมือของธนาคารกลางในการกำหนดต้นทุนการกู้ยืมหรือปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ใช้ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายการเงิน

เราดำเนินนโยบายการเงินเพื่ออะไร ?

ธปท. ดำเนินนโยบายการเงินเพื่อให้บรรลุ 3 เป้าหมาย คือ เสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลาง เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน และเสถียรภาพของระบบการเงิน

นโยบายการเงินส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและราคาสินค้าและบริการ การปรับขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการเรียกว่าอัตราเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไปจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ธปท. จึงดำเนินนโยบายการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมกับดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ และระบบการเงินมีเสถียรภาพ หรือที่เรียกว่า การดำเนินนโยบายการเงินโดยใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น

ภายใต้กรอบดังกล่าว ธปท. จะผสมผสานเครื่องมือเชิงนโยบาย ทั้งเครื่องมือนโยบายการเงิน มาตรการทางการเงิน มาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน มาตรการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน และมาตรการดูแลเงินทุนเคลื่อนย้าย เพื่อให้บรรลุทั้งสามเป้าหมายของนโยบายการเงิน เนื่องจากทุกเครื่องมือมีผลเชื่อมโยงกัน ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ โดยค่าเงินบาทถูกกำหนดโดยกลไกตลาด และ ธปท. จะเข้าดูแลในกรณีที่ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไป

การผสมผสานเครื่องมือเชิงนโยบายของ ธปท.

ธปท. มีกระบวนการตั้งเป้าหมายของนโยบายการเงินอย่างไร ?

ธปท. จะจัดทำเป้าหมายของนโยบายการเงินของปีถัดไป โดยทำความตกลงร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติภายในเดือนธันวาคมของทุกปี โดยจะกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อสำหรับปีถัดไปและสำหรับระยะปานกลางเอาไว้ หากอัตราเงินเฟ้อออกนอกกรอบเป้าหมาย ผู้ว่าการ ธปท. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่ออธิบายสาเหตุและแนวทางเพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับเข้าสู่เป้าหมาย รวมถึงระยะเวลาที่คาดว่าจะกลับเข้าสู่เป้าหมาย โดยเปิดเผยเนื้อหาในจดหมายให้ประชาชนทราบด้วย

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
1.50%
การประชุม กนง. เมื่อ 25 ม.ค. 2566
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ธ.ค. 65
5.89%
กรอบเป้าหมาย 1–3%

ธปท. ตัดสินนโยบายการเงินอย่างไร ?

คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. เป็นผู้กำหนดนโยบายการเงินโดยใช้วิธีเสียงข้างมาก และเปิดเผยจำนวนคะแนนเสียงพร้อมกับผลการตัดสินนโยบายการเงิน

กนง. มีกรรมการทั้งหมด 7 คน มาจากผู้บริหาร ธปท. 3 คน และมาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ธปท. 4 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์หรือด้านการเงินการธนาคารซึ่งผ่านกระบวนการคัดเลือก มีวาระคราวละ 3 ปี และดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ

ธปท. จะประกาศตารางการประชุม กนง.ของปีถัดไปล่วงหน้า ทั้งนี้ กนง. สามารถประชุมรอบพิเศษเพิ่มได้หากจำเป็น

ธปท. ติดตามและประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจอย่างไร ?

นโยบายการเงินใช้เวลาประมาณ 2 ปีถึงจะมีผลเต็มที่ต่อเศรษฐกิจ ธปท. จึงต้องมีการประเมินภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในอนาคตที่น่าเชื่อถือและครบถ้วนรอบด้าน โดยใช้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ เช่นข้อมูลเศรษฐกิจรายเดือนและเครื่องชี้เร็วด้านเศรษฐกิจ และ ข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการเชิงลึกทั่วประเทศ เพื่อให้การตัดสินนโยบายการเงินสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต

นอกจากภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ธปท. ยังติดตามข้อมูลภาวะการเงิน และข้อมูลเสถียรภาพของระบบการเงินในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ธุรกิจ ครัวเรือน สถาบันการเงิน เพื่อให้ตัดสินนโยบายบนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ

การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน

Your browser does not support the canvas element.
Your browser does not support the canvas element.

ฝ่ายเลขานุการเตรียมการประชุม (Staff preparation)

ฝ่ายเลขานุการจัดทำประเด็นหลักของการประชุม กนง. (theme) เพื่อประเมินภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน โดยจัดเตรียมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญเพื่อส่งให้ กนง. ก่อนการประชุม

Your browser does not support the canvas element.
Your browser does not support the canvas element.

 

การประชุม กนง. วันแรก (First MPC meeting)

การประชุม กนง. วันแรกจัดขึ้นในช่วงประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้าการประชุมวันที่สอง โดยกรรมการ กนง. หารือประเด็นทางเศรษฐกิจล่าสุดและแนวโน้มในระยะข้างหน้า ทั้งด้านเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ตลาดการเงิน เสถียรภาพระบบการเงิน ปัจจัยเสี่ยง การวิเคราะห์ฉากทัศน์ (scenario analysis) ในกรณีต่าง ๆ อย่างรอบด้าน รวมทั้งหารือนัยต่อนโยบายการเงิน

Your browser does not support the canvas element.
Your browser does not support the canvas element.

 

การประชุม กนง. วันที่สอง (Second MPC meeting)

การประชุม กนง. วันที่สองเป็นวันลงมติตัดสินนโยบายและแถลงผลการประชุม กรรมการ กนง. หารือประเด็นเศรษฐกิจการเงินเพิ่มเติม และหารือทางเลือกในการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมที่สุด โดยคำนึงถึงการผสมผสานเครื่องมือเชิงนโยบายต่าง ๆ ก่อนลงมติเพื่อตัดสินอัตราดอกเบี้ยนโยบาย พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ

Your browser does not support the canvas element.
Your browser does not support the canvas element.

 

การแถลงผลการประชุม (MPC announcement)

ผลการประชุม กนง. เผยแพร่เวลา 14.00 น. ทางเว็บไซต์ของ ธปท. และเลขานุการ กนง. แถลงข่าวผลการประชุมและตอบคำถามแก่สื่อมวลชน ในเวลา 14.30 น. นอกจากนี้ หลังจากวันประชุม กนง. 2 สัปดาห์ กนง. จะเผยแพร่รายงานการประชุมฉบับย่อ และในทุกไตรมาส กนง. จะเผยแพร่รายงานนโยบายการเงิน รวมทั้งจัดให้มีการประชุมนักวิเคราะห์หลังเผยแพร่รายงานนโยบายการเงินด้วย

 

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผลการประชุม กนง. ที่ผ่านมา

อัตราดอกเบี้ยนโยบายและผลการลงมติ กนง. ย้อนหลัง

นโยบายการเงินแบบบูรณาการ รังสรรค์พลังจากการผสานเครื่องมือ

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
สมาธิ โทร 0-2356-7389
ภูริภัทร โทร 0-2283-6980

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.