• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้
  • > พิพิธภัณฑ์
  • > วังบางขุนพรหม
พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้
  • ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • วังบางขุนพรหม
  • วังเทวะเวสม์
  • พิพิธภัณฑ์สำนักงานภาคเหนือ
  • หอจดหมายเหตุ
  • ห้องสมุดส่วนภูมิภาค
  • สมบัติชาติที่ ธปท. ดูแล
 
 
 วังบางขุนพรหม

 

ตำหนักใหญ่

ที่ดินวังบางขุนพรหม ประกอบด้วยที่ดินผืนใหญ่น้อย ทั้งที่เป็นของเจ้านาย ขุนนาง และราษฎร ปัจจุบัน ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเจ้าพระยา  ทิศตะวันออกจดถนนสามเสน ทิศใต้จดถนนท่าเกษม และทิศเหนือจดวังเทวะเวสม์    

​พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานที่ดินนี้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (ทูนกระหม่อมบริพัตรของชาววังบางขุนพรหม) “พระราชโอรส”  ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ หลังจากนั้น พระมารดา  “สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี” ได้ทรงเป็นพระธุระจัดการเรื่องต่าง ๆ ในขณะที่ทูนกระหม่อมยังทรงศึกษาอยู่  ณ ทวีปยุโรป ครั้นทูลกระหม่อมเสด็จกลับมาเป็นการชั่วคราวใน พ.ศ. ๒๔๔๔ จึงทรงมีกำหนดชัดเจนว่าจะเสด็จกลับมาประทับเป็นการถาวรใน พ.ศ. ๒๔๔๖ โดยวังบางขุนพรหมสร้างเสร็จและมีพิธีขึ้นพระตำหนักใหม่ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๔๔๙   

การก่อสร้าง

กรมโยธาธิการเป็นผู้ดำเนินการออกแบบภายใต้การกำกับดูแลของพระสถิตย์นิมานการ (หม่อมราชวงศ์ชิต อิศรศักดิ์) ซึ่งงานออกแบบก่อสร้างของราชการในกรมโยธาธิการในระยะแรก ทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของนายคาร์ล ซันเดรคซกี อาคิเต๊กใหญ่  และนายเปาโล เรเมดีและนายมาริโอ ตามาญโญ  เป็นผู้ช่วย  สำหรับงานวิศวกรรมนั้นมี นายคาร์โล อัลเลกรี เป็นอินยิเนียใหญ่ และนายเอมิลโย โจวันนี อูเจนโย กอลโล เป็น อินยิเนียรอง  ภายหลังนายมาริโอ ตามาญโญ  รับผิดชอบด้านสถาปัตยกรรม และนายคาร์โล อันเลกรี ดูแลด้านวิศวกรรม 

​สถาปัตยกรรม

ในห้วงเวลาที่มีการออกแบบวังบางขุนพรหมนั้นสถาปัตยกรรมในยุโรปอยู่ในยุคของ การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้สามารถผลิตวัสดุก่อสร้างแบบใหม่ เปลี่ยนแปลงการออกแบบ และวิธีการก่อสร้าง  ดังนั้นสถาปัตยกรรมวังบางขุนพรหมจึงเป็นโครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน ผนังรับน้ำหนัก มีโครงสร้างหลังคาไม้เนื้อแข็ง มุงด้วยกระเบื้องว่าว หลังคาเป็นทรงมังซาร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นหลังคาสองชั้นซ้อนกันโดยมีความลาดของหลังคาแต่ละชั้นไม่เท่ากัน หลังคาชั้นล่างมีหน้าต่างเล็ก ๆ อย่างที่เรียกว่า ดอร์เมอร์ ยื่นออกจากหลังคาห่างกันเป็นระยะเท่า ๆ กัน 

ตำหนักใหญ่วังบางขุนพรหมมีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ด้วยการตกแต่งผนังปูนปั้นอันวิจิตร  นับเป็นอาคารที่มีลวดลายประดับงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ปูนปั้นเหล่านี้ล้วนเป็นลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกในสมัยต่าง ๆ กัน โดยออกแบบให้สอดคล้องกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม 

สถาปนิกใช้สถาปัตยกรรมแบบบาโรกและโรโกโกเป็นอิทธิพลหลักในการออกแบบ ดังจะเห็นได้จากรูปลักษณะหน้าบันและผนังภายนอกอาคาร หอกลมทางด้านทิศใต้ที่มีลักษณะโค้ง และผนังด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นเส้นโค้งเว้าเข้า และนูนต่อเนื่องกัน สำหรับการวางผังเป็นไปในลักษณะสถาปัตยกรรมแบบ บาโรกและใช้ต่อเนื่องมาจนปลายสมัยศตวรรษที่ ๑๙ ส่วนองค์ประกอบที่ใช้ในการตกแต่งภายในห้องต่าง ๆ มีความคล้ายคลึงกัน โดยมีการใช้ปูนปั้นเป็นเส้นนูนตามกรอบประตูและช่องแสง ที่โดดเด่นที่สุดคือ บานประตูไม้แกะลายเส้นบนกึ่งกลางของลูกฟักไม้ ช่องแสงเหนือประตูปิดด้วยแผ่นไม้ฉลุลาย และฝ้าเพดานตกแต่งด้วยแผ่นไม้ฉลุลายและเน้นลวดลายด้วยการเขียนสีทอง พื้นภายในห้องต่าง ๆ เป็นพื้นไม้สักปูเข้าลิ้น ขัดมัน

   

ตำหนักสมเด็จ

ตำหนักสมเด็จเดิมเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีฯ พระมารดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต รวมทั้งเป็นที่ประทับของฝ่ายในคือเจ้านายฝ่ายสตรีของวังบางขุนพรหม ลักษณะการก่อสร้างจึงงดงามอ่อนหวานแบบนวศิลป์ของเยอรมันเพราะผู้ออกแบบคือนายคาร์ล ดอริ่ง ชาวเยอรมนี ซึ่งสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๕๖

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ยังความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นแก่วังบางขุนพรหมอย่างสำคัญ  เนื่องเพราะตามขัตติยราชประเพณีนั้น  พระมเหสีเทวีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศย่อมมีสิทธิที่จะกราบถวายบังคมลา  ย้ายที่ประทับออกมาเสด็จประทับอยู่กับพระราชโอรสที่ทรงมีวังของพระองค์เอง  ภายหลังจากที่พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพได้ผ่านพ้นไปแล้ว

สำหรับพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีนั้น  ในช่วงท้ายแห่งรัชกาลที่ ๕ ทรงมีที่ประทับหลายแห่ง  ทั้งที่เขตพระราชฐานชั้นในในพระบรมมหาราชวัง  ที่พระที่นั่งอุดร  และตำหนักสวนนกไม้  วังสวนดุสิต  นอกจากนี้แล้วยังทรงมีตำหนักหลังใหญ่ในสวนสุนันทา  อันเป็นพระราชฐานชั้นในที่รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเตรียมไว้สำหรับราชสำนักฝ่ายในของพระองค์จะได้อยู่อาศัย เมื่อพระองค์มิได้ทรงพระชนม์ชีพอยู่ต่อไปแล้ว อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม  เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๕ แล้ว  ในพ.ศ. ๒๔๕๖ พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีก็ได้กราบถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๖  เพื่อออกมาประทับที่ตำหนักในวังบางขุนพรหมของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์เป็นการถาวรสืบมา

การออกแบบตำหนักองค์ใหม่นี้  สันนิษฐานว่าเริ่มต้นขึ้นในราวต้นปีพ.ศ. ๒๔๕๔  โดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์คงทรงติดต่อว่าจ้างให้นายคาร์ล  เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกประจำกรมศุขาภิบาล  กระทรวงมหาดไทยขณะนั้นเป็นผู้ออกแบบ  ส่วนการก่อสร้างนั้นเข้าใจว่าจะเริ่มต้นขึ้นกลางพ.ศ. ๒๔๕๕  และแล้วเสร็จในราวกลางพ.ศ. ๒๔๕๖[1]

ตำหนักใหม่นี้ตั้งอยู่ทางตะวันตกของตำหนักใหญ่  ทางทิศใต้ของตำหนักหอ เป็นตึกสองชั้น หลังคาสูงทรงจั่วหัวตัด  หันหน้าออกไปทางแม่น้ำ  ด้านหลังที่ชั้นบนมีสะพานเชื่อมกับตำหนักใหญ่  ลักษณะอาคารเป็นแบบคฤหาสน์ในชนบทหรือชานเมืองเยอรมันในสมัยนั้น  มีลักษณะผังที่คลี่คลายมาจากผังรูปตารางสี่เหลี่ยมเก้าช่อง  อันเป็นแผนผังแบบคลาสสิคของตะวันตก  มีการวางห้องต่างๆ ติดต่อกันรายล้อมห้องบรรทมที่ชั้นบน  และห้องโถงกลางที่ชั้นล่าง  ห้องเหล่านี้เปิดทะลุติดต่อกันได้ทั่ว  จึงไม่ต้องมีระเบียงทางเดินยาวเช่นที่ตำหนักใหญ่

ผังของตำหนักใหม่นี้จึงมีลักษณะที่เหมาะสมแก่การประทับพักผ่อนส่วนพระองค์ของเจ้านายฝ่ายใน  กล่าวคือสำหรับชั้นล่างนั้น ตรงกลางมีห้องโถง  ด้านตะวันออกคือด้านหน้านั้นเป็นเฉลียงปูหินอ่อน  เรียกกันว่าท้องพระโรง  ทางทิศใต้มีห้องประทับทรงสบายและห้องสรง  ส่วนทางทิศเหนือสันนิษฐานว่ามีห้องเสวยและห้องพักเครื่อง  สำหรับชั้นบนนั้น  ตรงกลางเป็นห้องบรรทมของพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี  ติดกันมีห้องแต่งพระองค์และห้องสรง  ทางใต้เป็นห้องประทับพักผ่อน  ทางตะวันตกมีสะพานเชื่อมไปยังตำหนักใหญ่ และโถงบันไดลงไปชั้นล่าง ส่วนทางตะวันออกเป็นเฉลียงยาว รับลมแม่น้ำ

 

 

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
อมร โทร 0-2283-6723
สรัญญา โทร 0-2283-5204

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.