• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ระบบการชำระเงิน
  • > เกี่ยวกับระบบการชำระเงิน
  • > คำถาม-คำตอบระบบการชำระเงิน
ระบบการชำระเงิน
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • ประกาศที่เกี่ยวข้อง
    • รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจ
    • รายชื่อเจ้าหน้าที่สัมพันธ์ของ ธปท.
    • คู่มือสำหรับประชาชน (พรบ ระบบการชำระเงิน)
    • การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment
    • ค่าธรรมเนียม
    • การประชุมชี้แจง
    • ระบบงาน e-Application
    • ถาม-ตอบ
    • สรุปเกณฑ์การรายงาน/แจ้ง/ขออนุญาต สำหรับบริการ e-Payment
  • บริการระบบการชำระเงิน
    • ระบบบาทเนต
    • ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค
    • สมาชิกระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • ระบบบาทเนต
    • การดำเนินการกรณีระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BAHTNET Offline)
    • ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (ICAS)
    • การให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (EFS)
    • การรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF)
    • มาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (SRS)
    • เวลาในการให้บริการโอนเงินข้ามธนาคารผ่านบาทเนต
    • ประกาศ หนังสือเวียน ที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน
    • แบบพิมพ์สำหรับธนาคารสมาชิก
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • QR Code เพื่อการชำระเงิน
    • การจัดกิจกรรมด้านเทคโนโลยีทางการเงิน
    • การประชุมชี้แจง
    • รายชื่อผู้ให้บริการ P2P Lending ใน Sandbox
    • แนวปฏิบัติ/แนวนโยบาย/หลักเกณฑ์ด้านเทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
    • กัมพูชา
    • ญี่ปุ่น
    • มาเลเซีย
    • เวียดนาม
    • สิงคโปร์
    • อินโดนีเซีย
ความหมายของระบบการชำระเงิน/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
​

ระบบการชำระเงินคืออะไร
        ระบบการชำระเงินหมายถึงกระบวนการส่งมอบหรือโอนสื่อการชำระเงินเพื่อชำระราคา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
        (1) องค์กรและบุคคล หมายถึง ผู้จ่ายเงิน ผู้รับเงิน และองค์กรที่เป็นตัวกลางใน การชำระเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน เป็นต้น
        (2) กระบวนการดำเนินการภายใต้กฎหมาย ระเบียบ ข้อตกลง กฎเกณฑ์ ธรรมเนียมปฏิบัติ ที่กำหนดบทบาท หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและบุคคลต่าง ๆ รวมถึงกลไกการชำระเงินที่เกี่ยวข้อง
        (3) สื่อการชำระเงินประเภทต่าง ๆ เช่น เงินสด ตราสารการเงิน บัตรพลาสติก การโอนเงินทางบัญชี ตลอดจนถึงการชำระเงินด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ระบบการชำระเงินมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
        เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ ระบบการชำระเงินอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือระบบการชำระเงินด้วยเงินสด และระบบการชำระเงินด้วยสื่อการชำระเงินประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินสด
        ระบบการชำระเงินด้วยเงินสดจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่าง ๆ เช่น การจัดพิมพ์ธนบัตร การนำธนบัตรออกใช้ การรับและจ่ายเงินสดระหว่างธนาคารกลาง สถาบันการเงิน และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการตรวจคัดธนบัตรชำรุดออกไปทำลาย และพิมพ์ธนบัตรใหม่ขึ้นทดแทนเป็นต้น
        ส่วนการชำระเงินด้วยสื่อการชำระเงินที่มิใช่เงินสด จำแนกได้เป็นการใช้สื่อการชำระเงินที่เป็นตราสาร เช่น เช็ค ดร๊าฟท์ ตั๋วแลกเงิน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับผู้สั่งจ่าย ผู้ทรงเช็ค ธนาคารที่เกี่ยวข้อง ระบบหรือวิธีการแลกเปลี่ยนเช็คระหว่างธนาคาร ตลอดจนกฏหมายเกี่ยวกับการใช้เช็คเป็นต้น สำหรับสื่อการชำระเงินที่มิใช่ตราสารเช่นระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะเกี่ยวข้องกับบุคคล สถาบันการเงิน รวมถึงระบบการโอนเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และระเบียบวิธีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องเป็นต้น

ระบบการชำระเงินมีความสำคัญอย่างไร
        ระบบการชำระเงินมีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือที่หล่อลื่นกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พัฒนาระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์ให้ระบบการชำระเงินของประเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการมีระบบอะไรบ้าง
        มี 2 ระบบได้แก่
        1. ระบบการโอนเงินรายใหญ่ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ระบบ BAHTNET
        2. ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค หรือ ระบบ ICAS (ธปท. ให้บริการระบบ ICAS ตั้งแต่ปี 2555 - กรกฎาคม 2565  และโอนย้ายงานการให้บริการไปบริษัท NITMX ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2565  เป็นต้นไป)

คำถามเกี่ยวกับระบบบาทเนต/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
​

บาทเนตคืออะไร
        บาทเนตคือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้ในการรับส่งข้อความระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับสถาบันการเงินและองค์กรต่างๆ ซึ่งมีบัญชีเงินฝากกับ ธปท. เพื่อประโยชน์สำหรับการโอนเงินรายใหญ่ ซึ่งมีผลการชำระบัญชีสมบูรณ์ทันทีทีละรายการ(On-Line Real Time Gross Settlement (On-Line RTGS) และการส่งมอบและชำระราคาตราสารหนี้ที่ ธปท. เป็นนายทะเบียนในลักษณะที่การส่งมอบตราสารหนี้และการชำระราคาเกิดขึ้นพร้อมกันและมีผลสมบูรณ์โดยทันทีทีละรายการ (RTGS-Delivery versus Payment:DVP) ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในระบบการชำระเงิน และเพื่อให้การโอนเงิน การโอนตราสารหนี้ และการติดต่อธุรกิจทางการเงินเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย

ประชาชนทั่วไปจะได้ประโยชน์จากระบบบาทเนตอย่างไร
        บุคคลทั่วไปจะได้ประโยชน์โดยการโอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารหนึ่ง ไปเข้าบัญชีของผู้รับเงินที่อีกธนาคารหนึ่ง โดยมีผลในวันเดียวกันและผู้รับเงินสามารถใช้เงินได้ทันทีที่เงินเข้าบัญชี

เนื่องจากบาทเนตเป็นระบบการโอนเงินมูลค่าสูง มีการกำหนดวงเงินขั้นต่ำหรือไม่
        ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดวงเงินขั้นต่ำ แต่อาจจะมีการกำหนดในอนาคต

บุคคลทั่วไปจะติดต่อขอใช้บริการบาทเนตได้ที่ไหน และมีการคิดค่าธรรมเนียมอย่างไร
        โปรดติดต่อกับธนาคารพาณิชย์ที่ตนมีบัญชีเงินฝาก และธนาคารพาณิชย์จะคิดค่าธรรมเนียม ในการโอนเงินเพื่อลูกค้าตามอัตราที่ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งกำหนด โดยค่าธรรมเนียมการโอนภายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร จะมีอัตราที่เท่ากัน และในกรณีที่มีการโอนต่างจังหวัดผู้ขอใช้บริการจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราเพิ่มขึ้น​


คำถามเกี่ยวกับระบบ ICAS/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
​​

ภาพรวมระบบ ICAS


1. ระบบการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในอดีตก่อนทดแทนด้วยระบบ ICAS ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ตอบ
1) ระบบการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Cheque Clearing System : ECS)  ทราบผลการเรียกเก็บ 1 วันทำการ  
2) ระบบการเรียกเก็บเงินตามเช็คภายในเขตสำนักหักบัญชี  ทราบผลการเรียกเก็บ 1 วันทำการ
3) ระบบการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชี (Bill for Collection : B/C) ทราบผลการเรียกเก็บ 3-5 วันทำการ

2. ระบบ ICAS คืออะไร

ตอบ : ระบบ ICAS ย่อมาจาก Imaged Cheque Clearing and Archive System หรือ "ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค" เป็นระบบงานที่ทำหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินตามเช็คระหว่างธนาคารโดยใช้ภาพเช็คแทนการใช้ตัวเช็คจริง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการจัดเก็บข้อมูลและภาพเช็คในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ 

3. ทำไม ธปท. จึงพัฒนาระบบ ICAS

ตอบ : ธปท. มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบ ICAS ดังนี้
1) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกเก็บเงินตามเช็ค โดยลดระยะเวลาการเรียกเก็บให้เหลือ 1 วันทำการทั่วประเทศ และลดต้นทุนการขนส่งตัวเช็ค
2) เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบการหักบัญชีเช็คที่ได้มาตรฐานทัดเทียมระดับสากล
3) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศให้พร้อมสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และเวทีโลก

4. วิธีการเรียกเก็บเงินด้วยภาพเช็คของระบบ ICAS แตกต่างจากวิธีการในอดีตอย่างไร

ตอบ : วิธีการเรียกเก็บเงินตามเช็คของระบบ ICAS แตกต่างจากวิธีการในอดีต 2 ประการ คือ
1) ระบบ ICAS ไม่มีการขนส่งตัวเช็ค กล่าวคือ ตัวเช็คที่ลูกค้านำฝากจะถูกเก็บไว้ที่ธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บ โดยไม่ต้องส่งไปให้ศูนย์หักบัญชี/สำนักหักบัญชี เพื่อส่งต่อไปให้ธนาคารผู้จ่ายเหมือนในอดีต
2) ธนาคารผู้จ่ายจะตรวจสอบและอนุมัติตัดจ่ายเงินตามเช็คจากภาพเช็ค กล่าวคือ เมื่อธนาคารผู้จ่ายได้รับข้อมูลและภาพเช็คที่ส่งเรียกเก็บผ่านระบบ ICAS แล้ว ธนาคารผู้จ่ายจะใช้ภาพเช็คดังกล่าวในการตรวจสอบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายและข้อมูลสำคัญอื่น เพื่ออนุมัติตัดจ่ายแทนการใช้ตัวเช็คจริงเหมือนในอดีต

5. ประโยชน์ของระบบ ICAS มีอะไรบ้าง

ตอบ : การใช้งานระบบ ICAS มีประโยชน์ต่อแต่ละภาคส่วนของประเทศไทย ดังนี้

​ภาคธุรกิจและประชาชนผู้ฝากเช็ค
1) มีเวลานำฝากเช็คผ่านธนาคารนานขึ้น 1-3 ชั่วโมง เพราะไม่ต้องขนส่งตัวเช็คเพื่อการเรียกเก็บเหมือนในอดีต
2) ทราบผลการเรียกเก็บเช็คข้ามจังหวัดได้เร็วขึ้น จากอดีตที่ต้องใช้เวลา 3-5 วันทำการ ลดเหลือเพียง 1 วันทำการ

ภาคธนาคาร
1) ลดต้นทุนการขนส่งตัวเช็ค
2) ลดความเสี่ยงในการสูญหายของเช็คระหว่างกระบวนการเรียกเก็บ
3) เพิ่มศักยภาพของธนาคารในการขยายเวลารับฝากเช็คจากลูกค้าได้นานขึ้น
4) สามารถทราบดุลการหักบัญชีระหว่างวัน เพื่อประโยชน์ในการบริหารเงิน และสามารถคืนเช็คที่ต้องการปฏิเสธการจ่ายเงินในระหว่างวันได้
5) สามารถพัฒนาบริการต่อยอดจากระบบ ICAS เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกและมีความมั่นใจในการทำธุรกรรมทางการเงินมากขึ้น เช่น การฝากเช็คผ่านเครื่อง ATM อาจได้รับ Slip ยืนยันการฝากเช็คที่มีภาพเช็คประกอบ หรือระบบ Internet Banking อาจแสดง Statement ซึ่งมีภาพเช็คที่นำฝากและสั่งจ่ายประกอบ เป็นต้น

ระบบเศรษฐกิจโดยรวม
1) ช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของกระแสเงินในภาคธุรกิจ
2) สนับสนุนให้เกิดสภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น

6. การใช้งานระบบ ICAS จะมีผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้เช็คหรือไม่

ตอบ : ในส่วนของประชาชนผู้ฝากเช็ค จะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ เลย เนื่องจากในระบบ ICAS ผู้ฝากเช็คยังคงนำตัวเช็คเข้าฝากที่ธนาคารและรับเช็คคืนเป็นตัวเช็คจริงเหมือนในอดีต

7. ทำไม ธปท. จึงโอนย้ายระบบงาน ICAS ไปให้ภาคเอกชนดำเนินการ 

ตอบ : เพื่อเป็นแบ่งบทบาทผู้ให้บริการ (Operator) และผู้กำกับดูแล (Regulator) ผู้ประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงินที่ชัดเจน อีกทั้ง เป็นการเปิดโอกาศให้ภาคเอกชนสามารถพัฒนาต่อยอดและเชื่อมโยงกับบริการชำระเงินอื่นที่เกี่ยวข้องได้อย่างคล่องตัว โดย ธปท. ได้ดำเนินการโอนย้ายงานการให้บริการระบบ ICAS ไปบริษัท NITMX ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. 2565 เป็นต้นไป


ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ

1. ทำไมธนาคารพาณิชย์จึงเรียกเก็บเงินค่าปรับเมื่อลูกค้าจ่ายเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี

ตอบ : ธนาคารพาณิชย์ต้องชำระเงินตามเช็คที่ลูกค้าสั่งจ่ายให้ธนาคารคู่กรณีไปก่อนในช่วงเย็น ซึ่งอาจต้องกู้ยืมเงินจากตลาดเงินหรือธนาคารอื่น แต่ธนาคารไม่สามารถนำเช็คไปตัดบัญชีลูกค้าได้ ผลจึงเท่ากับธนาคารต้องจ่ายเงินแทนลูกค้าไปก่อนเป็นเวลา 1 วันก่อนที่จะได้ยอดนั้นคืนในรอบเช็คคืน​



คำถามเกี่ยวกับ ATM/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
​

จะใช้บัตร ATM ได้กับบัญชีประเภทใดบ้าง
        บัตร ATM ใช้ได้กับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน

เครื่อง ATM ยึดบัตรจากสาเหตุใดบ้าง
        เครื่อง ATM จะยึดบัตรด้วยสาเหตุใหญ่ ๆ คือ
        1. เจ้าของบัตรโทรแจ้งให้ธนาคารอายัดบัตร และในเวลาต่อมามีการนำบัตรดังกล่าวไปใช้บัตรใบนั้นจะถูกยึดทันที
        2. ในการนำบัตรไปใช้ถอนเงิน หากมีการกดรหัสผิดเกินกว่าจำนวนครั้งที่ธนาคารกำหนด เช่น 3 ครั้ง เครื่องก็จะยึดบัตร

บัตร ATM จะสามารถใช้บริการอะไรจากตู้ ATM บ้าง
        บัตร ATM สามารถใช้บริการได้หลายอย่าง เช่น สอบถามยอดเงินคงเหลือในบัญชี ฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงินระหว่างบัญชี ชำระค่าสินค้าและบริการ ชำระค่าสาธารณูปโภค ทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล โอนเงินให้บุคคลที่ 3 ภายในธนาคารเดียวกันหรือต่างธนาคาร นอกจากบัตร ATM จะใช้บริการที่ตู้ ATM แล้ว บัตร ATM ของธนาคารบางแห่งยังสามารถนำมาซื้อสินค้าและบริการได้ทันที เรียกว่า ใช้เป็นบัตรเดบิต โดยไม่ต้องเสียเวลาถอนเงินจากตู้ ATM

กรณีที่เครื่อง ATM ไม่จ่ายเงินท่านหลังจากทำรายการถอนแล้ว จะทำอย่างไร
        ท่านควรติดต่อธนาคารเจ้าของบัญชีที่ออกบัตรทันที หรือโทรศัพท์ติดต่อศูนย์แก้ปัญหาที่สำนักงานใหญ่แต่ละแห่ง โดยข้อมูลที่ต้องแจ้งแก่ธนาคาร ได้แก่ วัน/เวลาที่ทำรายการ สถานที่ตั้งเครื่อง ATM เลขที่บัญชี เลขที่บัตร และจำนวนเงิน

ปัจจุบันธนาคารมีหลักเกณฑ์การคิดค่าธรรมเนียมการใช้ตู้ ATM ต่างธนาคารอย่างไร
        การทำรายการโดยใช้ตู้ต่างธนาคาร ธนาคารอาจคิดค่าธรรมเนียมจากผู้ถือบัตรได้ในอัตราครั้งละ 3 - 5 บาท ตั้งแต่ในครั้งที่ 4 หรือ 5 และต่อ ๆ ไป แต่ธนาคารอาจใช้ดุลยพินิจ ที่จะไม่คิดค่าธรรมเนียมก็ได้ ท่านควรศึกษาเงื่อนไขการใช้บริการและค่าธรรมเนียมโดยสอบถามจากธนาคารผู้ออกบัตร 

กรณีที่เจ้าของบัตรลืมรหัสตัวเอง แล้วบัตรถูกยึด จะขอรับบัตรคืนจากธนาคารได้อย่างไร
        - กรณีเป็นเครื่องต่างธนาคาร ให้ติดต่อขอคืนบัตรที่ธนาคารเจ้าของบัตร ซึ่งอาจต้องรอหลายวัน
        - กรณีเป็นเครื่องของธนาคารผู้ออกบัตร ให้ขอรับได้จากธนาคารภายในวันรุ่งขึ้น 
        ทั้ง 2 กรณี เจ้าของบัตรต้องเตรียมหลักฐานยืนยันว่า เป็นเจ้าของบัตรที่แท้จริง

เป็นผู้ถือบัตร ATM ที่ออกโดยสาขาของธนาคารแห่งหนึ่งในต่างจังหวัด จะเสียค่าธรรมเนียมการใช้ตู้ ATM ต่างธนาคารเมื่อใด
        ผู้ถือบัตร ATM ที่ออกโดยธนาคารในต่างจังหวัดสามารถใช้ตู้ ATM ของธนาคารผู้ออกบัตรในจังหวัดนั้นได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ถ้าหากไปใช้ตู้ ATM ของธนาคารอื่น จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 10-20 บาทต่อรายการ แต่ธนาคารอาจใช้ดุลยพินิจ ที่จะไม่คิดค่าธรรมเนียมก็ได้ ท่านควรศึกษาเงื่อนไขการใช้บริการและค่าธรรมเนียมโดยสอบถามจากธนาคารผู้ออกบัตร​

คำถามเกี่ยวกับบัตรเครดิต/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
​

จะเลือกใช้บริการบัตรเครดิตอย่างไรดี
        ในการเลือกใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ ควรจะเปรียบเทียบค่าธรรมเนียม อัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระเงิน และเงื่อนไขการให้บริการ ซึ่งมีความแตกต่างกันใน รายละเอียด และข้อสำคัญคือจะต้องพิจารณาควบคู่ไปกับนิสัยการใช้จ่าย และความสามารถในการชำระหนี้ด้วย เช่นถ้าคุณจ่ายชำระหนี้จำนวนเต็มอยู่เสมอ บัตรที่เหมาะควรเป็นบัตรที่มีค่าธรรมเนียมรายปีต่ำ แต่ถ้าหากคุณนิยมชำระหนี้เพียงบางส่วน บัตรที่เหมาะควรเป็นบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ

การใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัย มีวิธีการอย่างไร
        วิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัย
        1. ลงลายมือชื่อเจ้าของบัตรทันทีที่ได้รับบัตรใหม่
        2. เก็บรักษาบัตรไว้ในที่ปลอดภัย
        3. ตรวจสอบจำนวนเงินให้ถูกต้องก่อนเซ็นชื่อลงใน Slip
        4. ทุกครั้งที่ใช้บัตรแล้วตรวจสอบให้แน่ใจว่าบัตรที่ร้านค้าคืนให้เป็นบัตรของท่านไม่สลับกับบัตรของผู้อื่น
        5. พึงระวังว่าร้านค้ารูดบัตรเพียงครั้งเดียวต่อการทำรายการซื้อขายหนึ่งครั้ง หากมีการรูดบัตรเกินควรสอบถามและขอทำลาย Slip ที่บันทึกข้อมูลผิดหรือรายการที่ยกเลิกแล้ว
        6. ตรวจสอบใบเรียกเก็บเงินประจำเดือนกับ Slip หากมีรายการเรียกเก็บเงินใดที่ไม่ถูกต้องให้แจ้งผู้ออกบัตรทันที
        7. หากไม่ได้รับใบเรียกเก็บเงินประจำเดือนตรงตามเวลา ให้สอบถามไปยังผู้ออกบัตรถึง สาเหตุที่ล่าช้า
        8. ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด อย่าเซ็นชื่อลงในใบบันทึกรายการที่ยังมิได้เขียนจำนวนเงิน
        9. อย่าแจ้งรหัสส่วนตัวที่ใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินจากเครื่อง ATM ให้คนอื่นทราบอย่างเด็ดขาด และอย่าเก็บรหัสไว้คู่กับบัตร
        10. อย่าวางบัตรไว้ใกล้แหล่งที่เป็นแม่เหล็ก เพราะแถบแม่เหล็กด้านหลังบัตรจะได้รับความเสียหาย ทำให้เครื่องไม่สามารถอ่านข้อมูลจากบัตรได้
        11. จดจำหมายเลขบัตรและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ออกบัตร เพื่อติดต่อสถาบันผู้ออกบัตรได้ทันทีในกรณีบัตรสูญหาย ถูกขโมย หรือสอบถามข้อสงสัย ตลอดจนเมื่อมีปัญหาจากการใช้บัตร

ข้อมูลอะไรบ้างที่ควรพิจารณาเมื่อต้องการสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิต
        ข้อมูลที่ควรพิจารณา ได้แก่ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมรายปี ค่าธรรมเนียมเบิกเงินสดล่วงหน้า ค่าธรรมเนียมชำระหนี้ล่าช้า และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ (ถ้ามี) อัตราดอกเบี้ยจากการที่ไม่ชำระหนี้ ช่วงระยะเวลาการปลอดหนี้ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ

การชำระเงินค่าบัตรเครดิต ในกรณีที่เป็นบัตรที่สามารถผ่อนชำระได้ ธนาคารมีเงื่อนไขการชำระอย่างไร
        เงื่อนไขการชำระคืนขั้นต่ำ ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะเป็นผู้กำหนดเอง โดยธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ในเบื้องต้นว่า จะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของยอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น ทั้งนี้ หากธนาคารพาณิชย์ประสงค์ที่จะกำหนดเกณฑ์ที่มากกว่านั้น (เช่น 10 % หรือ 20 %) ก็สามารถกำหนดได้เลย โดยลูกค้าบัตรเครดิตมีสิทธิที่จะเลือกใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ที่มีเกณฑ์การชำระเงินขั้นต่ำที่สอดคล้องกับความสามารถในการชำระคืนของตนได้

กรณีไม่ชำระหนี้ขั้นต่ำ และไม่ชำระหนี้ตามจำนวนที่ค้างชำระธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดบ้าง
        ขึ้นอยู่กับธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะเป็นผู้กำหนดเอง​

คำถามเกี่ยวกับสื่อการชำระเงินใหม่ ๆ/_catalogs/masterpage/img/collapse.png
​​

Smart Card คืออะไร
        คือบัตรพลาสติกที่มีหน่วยความจำที่เป็นไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่ในการอ่านและคำนวณผลและบันทึกข้อมูลลงในบัตร สามารถใช้งานได้หลายวัตถุประสงค์ เช่น บัตรโทรศัพท์ บัตรเงินสด บัตรสุขภาพ เป็นต้น

EFT-POS คืออะไร
        ย่อมาจาก Electronic Funds Transfer at Point of Sale คือระบบการชำระเงินค่าสินค้า ณ จุดขาย โดยใช้บัตรเดบิต บัตรเครดิต บัตรเงินสดผ่านทางเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ตั้งอยู่ ณ ร้านค้า โดยหักเงินค่าสินค้าและบริการจากบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตร และโอนเข้าบัญชีของร้านค้า

E-Money คืออะไร
        คือจำนวนเงินซึ่งบรรจุอยู่ในสื่อการชำระเงินประเภทบัตรพลาสติก หรืออยู่ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการตามร้านค้าที่ผู้ออก E-Money แจ้งไว้ โดยผู้ใช้ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ออกเงินไว้ก่อน

Electronic Commerce (E-Commerce) คืออะไร
        คือการทำธุรกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้าและบริการ การชำระเงิน การขนส่ง การบริการหลังการขาย และการสั่งซื้อวัตถุดิบ โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม โทรสาร โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

บัตรพลาสติกที่ใช้เป็นสื่อชำระเงิน แบ่งออกเป็นกี่ประเภท แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร
        บัตรพลาสติก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
        1. บัตรเดบิต/บัตรเอทีเอ็ม (Debit Card/ATM Card) บัตรเดบิตเป็นบัตรพลาสติกประเภทจ่ายเงินทันทีเมื่อซื้อสินค้าและบริการ (Pay Now) โดยบัตรประเภทนี้ใช้คู่กับบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตร ซึ่งอาจจะเป็นบัญชีออมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน โดยส่วนใหญ่ธนาคารผู้ออกบัตรจะพัฒนาบัตร ATM ของตนมาเป็นบัตรเดบิต คือบัตรที่ผู้ใช้บัตรชำระค่าสินค้าและบริการโดยถูกตัดเงินจากบัญชีเงินฝากทันที (Pay Now) โดยผู้ถือบัตรจะถูกหักเงินในบัญชีทันทีขณะที่ใช้บัตรชำระเงิน
        2. บัตรเครดิต (Credit Card) เป็นสื่อการชำระเงินในลักษณะซื้อก่อนจ่ายทีหลัง (Pay Later) โดยผู้ออกบัตรจะกำหนดคุณสมบัติและวงเงินการใช้จ่ายของผู้ถือบัตรไว้ล่วงหน้า ผู้ถือบัตรจะได้รับประโยชน์จากการนำบัตรไปซื้อสินค้าหรือบริการ โดยได้รับช่วงปลอดการชำระเงิน (Grace Period) ภายในระยะเวลาหนึ่งตามที่ผู้ออกบัตรจะกำหนด โดยในระหว่างนั้นผู้ออกบัตรจะเป็นผู้รับภาระในการชำระเงินให้แก่ร้านค้าผู้รับบัตรไปก่อน ผู้ออกบัตรจะส่งใบเรียกเก็บเงินเพื่อให้ผู้ถือบัตรชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดเดือนละครั้ง
        3. บัตรชำระเงินล่วงหน้า (Prepaid Card)/บัตรชำระราคาล่วงหน้า (Stored Value Card) คือบัตรที่ผู้ถือบัตรได้จ่ายเงินล่วงหน้า (Pay Before) ให้แก่ผู้ออกบัตร เพื่อใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าต่ำ เช่น ค่าโทรศัพท์สาธารณะ ค่าผ่านทางด่วน เป็นต้น​

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
สิริเนตร โทร 0-2356-7067
อุไรพรรณ โทร 0-2283-6402

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.