• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ระบบการชำระเงิน
  • > การกำกับตาม พ.ร.ฎ. e-Payment
  • > ถาม-ตอบ
ระบบการชำระเงิน
    • ข่าวสาร / การเปิดรับฟังความเห็น / กิจกรรม
    • ความรู้เรื่องความมั่นคงปลอดภัยด้าน IT
    • ประกาศ / แนวปฏิบัติ
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • ประกาศที่เกี่ยวข้อง
    • รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจ
    • รายชื่อเจ้าหน้าที่สัมพันธ์ของ ธปท.
    • คู่มือสำหรับประชาชน (พรบ ระบบการชำระเงิน)
    • การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment
    • ค่าธรรมเนียม
    • การประชุมชี้แจง
    • ระบบงาน e-Application
    • ถาม-ตอบ
    • สรุปเกณฑ์การรายงาน/แจ้ง/ขออนุญาต สำหรับบริการ e-Payment
  • บริการระบบการชำระเงิน
    • ระบบบาทเนต
    • ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค
    • สมาชิกระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • ระบบบาทเนต
    • ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (ICAS)
    • การให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (EFS)
    • การรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF)
    • มาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (SRS)
    • เวลาในการให้บริการโอนเงินข้ามธนาคารผ่านบาทเนต
    • ประกาศ หนังสือเวียน ที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน
    • แบบพิมพ์สำหรับธนาคารสมาชิก
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • QR Code เพื่อการชำระเงิน
    • การจัดกิจกรรมด้านเทคโนโลยีทางการเงิน
    • การประชุมชี้แจง
    • รายชื่อผู้ให้บริการ P2P Lending ใน Sandbox
    • แนวปฏิบัติ/แนวนโยบาย/หลักเกณฑ์ด้านเทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • ข่าวสาร / การเปิดรับฟังความเห็น / กิจกรรม
    • ความรู้เรื่องความมั่นคงปลอดภัยด้าน IT
    • ประกาศ / แนวปฏิบัติ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
    • กัมพูชา
    • ญี่ปุ่น
    • มาเลเซีย
    • เวียดนาม
    • สิงคโปร์
    • อินโดนีเซีย

คำถาม คำตอบ
1. คุณสมบัติของผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารต่างประเทศ อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลตามพระราชกฤษฎีกาฯ นี้ด้วยหรือไม่​

ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารต่างประเทศ  นอกจากเป็นผู้ให้บริการโอนเงิน/ชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์  แล้ว ยังมีหลายแห่งที่ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ บริการรับชำระเงินแทน รวมถึงบริการชำระดุลด้วย จึงเข้าข่ายเป็นผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลตามพระราชกฤษฎีกาฯ นี้ด้วย​

ผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ใดบ้างที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลตามพระราชกฤษฎีกาฯ​

  1. หน่วยงานของรัฐ อาทิ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง

  2. ธปท. ซึ่งได้รับการยกเว้นตาม มาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ​

2. วิธีการยื่นแบบและกำหนดเวลาที่เกี่ยวข้องในการแจ้งให้ทราบ การขอขึ้นทะเบียน และการขอรับใบอนุญาต

ผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เข้าเกณฑ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลตามพระราชกฤษฎีกาฯ ต้องดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ได้รับใบรับแจ้ง (บัญชี ก) ใบรับการขึ้นทะเบียน (บัญชี ข) หรือใบอนุญาต (บัญชี ค)​

ผู้ให้บริการที่ประสงค์ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถยื่นแบบการแจ้งให้ทราบ  แบบการขึ้นทะเบียน หรือแบบการขอใบอนุญาตต่อคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่าน ธปท. โดย ธปท. ได้จัดทำคู่มือการขออนุญาตของผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์และประชาชน เข้ามาศึกษาและสามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาการขออนุญาต ขอความเห็นชอบ และแจ้งเรื่องต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด คู่มือดังกล่าวได้ link ประกาศและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งรายการเอกสารและแบบฟอร์มที่ใช้ในการยื่นคำขอไว้ด้วยแล้ว   

หากผู้ให้บริการประสงค์จะประกอบธุรกิจตามที่กำหนดในท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ มากกว่า 1 ประเภทธุรกิจและ/หรือมากกว่า 1 บัญชี จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง​

ผู้ให้บริการสามารถยื่นแบบการแจ้งให้ทราบ  แบบการขึ้นทะเบียน หรือแบบการขอใบอนุญาต มาในคราวเดียวกันโดยแนบเอกสารประกอบตามที่ระบุในพระราชกฤษฎีกา ฯ ของธุรกิจทุกประเภทที่ให้บริการ จำนวน 1 ชุด กรณีที่ผู้ให้บริการประกอบธุรกิจมากกว่าหนึ่งประเภท  สามารถยื่นเอกสารรายละเอียด หลักฐานและข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้บริการเพียง 1 ชุด  เช่น สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน  สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท  เป็นต้น ส่วนเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดระบบงาน หากใช้ระบบงานต่างกัน ให้ยื่นเอกสารของแต่ละระบบให้ครบถ้วน​

กรณีให้บริการตามบัญชี ค ผู้ยื่นขออนุญาตจำเป็นต้องจดทะเบียนและเรียกชำระครบตามที่กำหนด ก่อนยื่นขออนุญาตหรือไม่​

กรณีที่ผู้ให้บริการอยู่ระหว่างดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อให้ครบตามเกณฑ์ที่กำหนดแต่กระบวนการเพิ่มทุนยังไม่แล้วเสร็จ  ผู้ให้บริการสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตโดยแนบแผนการเพิ่มทุนที่ชัดเจนมาก่อนได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะพิจารณาออกใบอนุญาตให้เมื่อผู้ให้บริการได้เพิ่มทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วครบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น​

ผู้ขออนุญาต จำเป็นต้องมีความพร้อมในการให้บริการก่อนยื่นขออนุญาตหรือไม่ หรือเพียงกำหนดแผนงานแนวทางที่จะดำเนินการมาพิจารณาก่อนได้​

คณะกรรมการฯ จะพิจารณาออกใบอนุญาตเมื่อผู้ให้บริการมีความพร้อมจะเปิดให้บริการ  ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้บริการมีแผนการดำเนินการในการเปิดให้บริการที่ชัดเจน  ธปท. อาจพิจารณาเสนอคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตไปก่อนแต่กำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตก็ได้ เช่น ต้องเปิดให้บริการตามรูปแบบการให้บริการที่ได้นำเสนอภายในเวลาที่กำหนด  เป็นต้น​

3. นิยาม/คุณลักษณะของธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

เงินอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง​

เงินอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า  บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ให้บริการออกให้แก่ผู้ให้บริการซึ่งจะระบุชื่อหรือไม่ก็ตาม  โดยมีการชำระเงินให้แก่ผู้ให้บริการไว้ล่วงหน้า เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้า  ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดแทนการชำระด้วยเงินสด และได้มีการบันทึกมูลค่าหรือจำนวนเงินที่ชำระไว้ล่วงหน้า

คุณลักษณะสำคัญ

เป็นผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในลักษณะ Card Base หรือ Network  Base โดยการให้บริการมีลักษณะ ดังนี้

  1. ผู้บริโภคชำระเงินล่วงหน้า (pre-paid) ให้ผู้ให้บริการ

  2. มูลค่าเงินที่ชำระล่วงหน้าถูกบันทึกในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ หรือสื่อคอมพิวเตอร์อื่น (stored value)

  3. ผู้บริโภคสามารถนำไปซื้อสินค้าหรือบริการได้จากร้านค้าที่ผู้ออกกำหนด (อาจเป็นร้านค้าเพียงร้านเดียว (Single) หรือมากกว่า (Multi)

บัญชี ก –การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จากผู้ให้บริการเพียงรายเดียว 
          ยกเว้น การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้จำกัดเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ ผู้บริโภค และไม่ได้เป็นการแสวงหากำไรจากการออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้น ตามประกาศ ธปท.โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ซึ่งจะประกาศต่อไป

บัญชี ข – ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ให้บริการหลายราย ณ สถานที่ที่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน ได้แก่

  • ธุรกิจ franchise หรือตัวแทนการจัดจำหน่าย ซึ่งมีสัญญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าเดียวกัน เช่น ปั๊มน้ำมัน 

  • ธุรกิจที่มีรูปแบบการให้บริการเดียวกัน เช่น ระบบขนส่งมวลชน 

  • ธุรกิจที่อยู่ภายใต้การดำเนินนโยบาย บริหารจัดการในลักษณะกลุ่มเดียวกัน เช่น กิจการในเครือ

  • ธุรกิจที่ประกอบกิจการอยู่ในบริเวณหรือพื้นที่การจัดจำหน่ายเดียวกัน เช่น ศูนย์การค้า สถานศึกษา

บัญชี ค – ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ให้บริการหลายราย โดยไม่จำกัดสถานที่และไม่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน​

เครือข่ายบัตรเครดิต หมายถึง​

เครือข่ายบัตรเครดิต หมายความว่า เครือข่ายการให้บริการรับส่งข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัตรเครดิตของผู้ถือบัตรไปยังผู้ให้บริการซึ่งออกบัตรเช่นว่านั้น เพื่ออนุมัติการใช้บัตรในการทำรายการแต่ละรายการ หรือรับส่งข้อมูลเรียกเก็บเงินอันเกิดจากการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการหักทอนบัญชีระหว่างกัน

คุณลักษณะสำคัญ

เป็นธุรกิจที่ให้บริการเพื่อส่งผลให้เกิดการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์  โดยจะทำหน้าที่เพื่อให้ข้อมูลดังต่อไปนี้ วิ่งผ่านบนเครือข่าย

  1. ข้อมูลวงเงิน เพื่ออนุมัติการใช้บัตร

  2. ข้อมูลการเรียกเก็บเงินเมื่อใช้บัตรแล้ว

  3. ข้อมูลการหักทอนบัญชีระหว่างสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง

หรือ กล่าวได้ว่าเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายการรับส่งข้อมูลการใช้บัตรเครดิต ระหว่าง Acquirer และ Issuer
      ทั้งนี้ กรณีที่ผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิตรายที่ทำหน้าที่หักทอนบัญชีระหว่างกัน (Clearing) ด้วย  ผู้ให้บริการรายนั้นจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิต  และต้องขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ให้บริการหักบัญชีด้วย​

เครือข่ายอีดีซี (EDC Network) หมายถึง​

เครือข่ายอีดีซี (EDC Network) หมายความว่า เครือข่ายการรับส่งข้อมูลอีดีซี ที่มีศูนย์กลาง หรือจุดเชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้บริการเครือข่ายอีดีซี (Electronic Data Capture : EDC)  หมายความว่า อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับการรับส่งข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัตรเครดิต บัตรเดบิต เงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ไปยังผู้ให้บริการซึ่งออกบัตร

คุณลักษณะสำคัญ

เป็นการให้บริการรับส่งข้อมูลอีดีซีระหว่างสมาชิกผู้ใช้บริการ โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
   (1)  ผู้ให้บริการเครือข่ายอีดีซี จะทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่อง EDC เพื่อรับส่งข้อมูลนั้นผ่านไปยังผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิตและผู้ออกบัตร (Issuer) 
   (2)  ผู้ให้บริการเครือข่ายอีดีซี ทำหน้าที่เหมือน Pool Acquirer  โดยจะต้องให้บริการรับและส่งข้อมูลให้กับ Issuer 
ทั้งนี้  กรณีที่เป็นการให้บริการเครื่องอีดีซี เพื่ออ่านข้อมูลและส่งไปให้ Acquirer แต่ละรายโดยตรง จะถือว่าผู้ให้บริการเครื่องอีดีซีเป็นผู้รับ outsource จาก Acquirer และไม่เข้าข่ายเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายอีดีซี​

บริการสวิตช์ชิ่งในการชำระเงิน หมายถึง​

บริการสวิตช์ชิ่งในการชำระเงิน (Transaction Switching) หมายความว่า บริการเป็นศูนย์กลางหรือจุดเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลรายการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ให้บริการตามที่ตกลงกัน

คุณลักษณะสำคัญ

เป็นผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลรายการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ให้บริการในระบบการชำระเงิน  (ผู้ให้บริการ Switching ไม่ใช่ผู้ให้บริการที่รับข้อมูลรายการชำระเงินจากลูกค้าหรือร้านค้าโดยตรง)

องค์ประกอบของการให้บริการ Switching ในการชำระเงิน
   (1)  มีการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบการส่งคำสั่งตามที่มีการตกลงกันไว้
   (2)  เก็บข้อมูลรายการรับ- ส่ง ซึ่งสมาชิกสามารถเรียกดู / ติดตามข้อมูลย้อนหลังได้
   (3)  ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ Switching มีความสัมพันธ์กันแบบสมาชิก

การพิจารณาสวิตช์ชิ่งระบบเดียวและหลายระบบ 

ต้องพิจารณาจากองค์ประกอบหลายอย่างร่วมกัน เช่น จำนวนและประเภทของ Product   Application  ระบบงาน  กิจกรรม และ พิธีปฏิบัติ ที่ใช้ในรับส่งข้อมูล  รวมทั้งสัญญาการเข้าใช้บริการของแต่ละ Product  เป็นต้น​

บริการหักบัญชี หมายถึง​

บริการหักบัญชี (Clearing)  หมายความว่า บริการรับส่ง ตรวจสอบ และยืนยันข้อมูลตามคำสั่งการชำระเงิน  สำหรับนำไปคำนวณหายอดเงินแสดงความเป็นเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ของผู้ใช้บริการ เพื่อใช้ข้อมูลดังกล่าวไปทำการชำระดุลระหว่าง เจ้าหนี้และลูกหนี้  ทั้งนี้ รวมถึงการจัดการเพื่อให้กระบวนการชำระดุลสำเร็จลุล่วงด้วย

คุณลักษณะสำคัญ

เป็นผู้ให้บริการกับสมาชิกในการนำคำสั่งการชำระเงินของลูกค้าของสมาชิกเหล่านั้น มาคำนวณเพื่อหักกลบลบหนี้ระหว่างสถาบันสมาชิก โดยการทำหน้าที่ ประกอบด้วยขั้นตอน  ดังนี้
(1)  ตรวจสอบและคัดแยกคำสั่งการชำระเงินที่ได้รับจากสมาชิกผู้ส่งคำสั่งตามสถาบันผู้รับคำสั่ง (แยกรายการใครส่งให้ใคร)
(2)  คำนวณผลรวมจำนวนเงินรับ-จ่ายของแต่ละสมาชิกและ สอบยันยอด (reconcile)
(3)  จัดทำและส่งรายงานจำนวนเงินรับ-จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องให้กับสมาชิกแต่ละราย
(4)  จัดการใด ๆ เพื่อให้การชำระดุลสำเร็จลุล่วง เช่น การส่งข้อมูลผลรวมสุทธิเพื่อดำเนินการชำระดุล​

บริการชำระดุล หมายถึง​

บริการชำระดุล (Settlement) หมายความว่า บริการระบบการชำระเงินที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการ เพื่อให้ผู้ให้บริการปรับฐานะความเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ของผู้ใช้บริการ โดยผู้ให้บริการจะทำการหักบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการซึ่งมีฐานะเป็นลูกหนี้ หรือรับชำระหนี้โดยวิธีอื่นใดตามที่ตกลงกันไว้ แล้วปรับบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้หรือชำระเงินด้วยวิธีอื่นใด เพื่อให้หนี้ดังกล่าวระงับไป

คุณลักษณะสำคัญ

เป็นผู้ให้บริการซึ่งรับข้อมูลที่แสดงฐานะความเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ของผู้ใช้บริการจากผู้ให้บริการหักบัญชี (Clearing) และนำข้อมูลนั้นมาชำระดุลระหว่างผู้ใช้บริการต่อไป  ทั้งนี้  กระบวนการชำระดุลประกอบด้วย
 (1)  ตรวจสอบความสมบูรณ์ของคำสั่งการชำระเงิน (Debit/Credit) ซึ่งได้รับมาจากผู้ให้บริการ Clearing
 (2)  ในกรณีที่มีการชำระดุลด้วยวิธีการหักบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการที่มีสถานะเป็นลูกหนี้   ผู้ให้บริการชำระดุลจะตรวจสอบบัญชีของผู้ใช้บริการว่ามีเงินเพียงพอสำหรับหักบัญชีเพื่อชำระหนี้หรือไม่
 (3)  ชำระดุลหรือปลดภาระหนี้สินระหว่างคู่กรณีโดยการหักบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ตามที่ได้ตกลงยินยอมไว้ล่วงหน้า แล้วนำฝากเข้าบัญชีของเจ้าหนี้  หรือชำระหนี้โดยวิธีอื่นใดตามที่ตกลงกัน
 (4)  แจ้งผลการชำระดุลให้กับผู้ใช้บริการแต่ละราย​

บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือผ่านทางเครือข่าย หมายถึง​

การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การโอนสิทธิการถือครองเงิน หรือ การโอนสิทธิการถอนเงินหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการที่เปิดไว้กับผู้ให้บริการ ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

คุณลักษณะสำคัญ

  1. เป็นผู้ให้บริการชำระเงินจากผู้โอน/ลูกหนี้ ให้กับผู้รับโอน/เจ้าหนี้ โดยผ่านช่องทางต่าง ๆ (นอกเหนือจากเงินอิเล็กทรอนิกส์)  เช่น  เคาน์เตอร์ธนาคาร เครื่อง ATM (Issuer)  เครื่องอีดีซี (Issuer และ Acquier) โทรศัพท์มือถือ (Mobile banking), Internet (Internet banking)  เป็นต้น
  2. เป็นผู้ให้บริการสื่อหรือช่องทางโอนเงิน/ชำระเงิน ในลักษณะต่อไปนี้ เช่น
    • บัตรอิเล็กทรอนิกส์ (credit card, debit card)
    • เป็นผู้ให้บริการเครื่องอีดีซีและรับซื้อ sale slip จากร้านค้า (acquirer)
    • เป็นผู้ให้บริการ Payment Gateway​

บริการรับชำระเงินแทน หมายถึง​

บริการรับชำระเงินแทน หมายความว่า บริการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเจ้าหนี้

คุณลักษณะสำคัญ

เป็นการให้บริการรับชำระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดทางอิเล็กทรอนิกส์ จากผู้ขอรับบริการ/ลูกหนี้แทนเจ้าหนี้ค่าสินค้า ค่าบริการ หรือเจ้าหนี้อื่นใด  โดย
(1)  มีข้อตกลงในการรับชำระเงินแทนระหว่างผู้ให้บริการรับชำระเงินแทนกับเจ้าหนี้
(2)  ผู้ให้บริการรับชำระเงินแทน มีหน้าที่เก็บรักษาจำนวนเงินที่รับชำระ เพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าหนี้ตามเวลาที่ได้มีการตกลงกันไว้ตาม (1)
(3)  มีการออกหลักฐานการรับเงินให้แก่ผู้รับบริการ​

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
สุกันยา โทร 0-2283-5091
สุวิทย์ โทร 0-2356-7593

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.