• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ระบบการชำระเงิน
  • > บริการระบบการชำระเงิน
  • > ระบบบาทเนต
ระบบการชำระเงิน
    • Eventphoto
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • ประกาศที่เกี่ยวข้อง
    • รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจ
    • คู่มือสำหรับประชาชน (พรบ ระบบการชำระเงิน)
    • การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment
    • ค่าธรรมเนียม
    • การประชุมชี้แจง
    • ระบบงาน e-Application
    • ถาม-ตอบ
    • สรุปเกณฑ์การรายงาน/แจ้ง/ขออนุญาต สำหรับบริการ e-Payment
  • บริการระบบการชำระเงิน
    • ระบบบาทเนต
    • ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค
    • สมาชิกระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • ระบบบาทเนต
    • การดำเนินการกรณีระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BAHTNET Offline)
    • ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (ICAS)
    • การให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (EFS)
    • การรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF)
    • มาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (SRS)
    • เวลาในการให้บริการโอนเงินข้ามธนาคารผ่านบาทเนต
    • ประกาศ หนังสือเวียน ที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน
    • แบบพิมพ์สำหรับธนาคารสมาชิก
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • QR Code เพื่อการชำระเงิน
    • การจัดกิจกรรมด้านเทคโนโลยีทางการเงิน
    • การประชุมชี้แจง
    • รายชื่อผู้ให้บริการ P2P Lending ใน Sandbox
    • แนวปฏิบัติ/แนวนโยบาย/หลักเกณฑ์ด้านเทคโนโลยีทางการเงิน
    • Eventphoto
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
    • กัมพูชา
    • ญี่ปุ่น
    • มาเลเซีย
    • เวียดนาม
    • สิงคโปร์
    • อินโดนีเซีย
​ระบบบาทเนต

เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเพื่อรองรับการโอนเงินมูลค่าสูงระหว่างสถาบันการเงินและสถาบันที่มีบัญชีเงินฝากกับ ธปท. ในลักษณะ Real-Time Gross Settlement (RTGS)

​​ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พัฒนาระบบบาทเนต (BAHTNET - Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network) และเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการชำระดุลระหว่างสถาบันการเงินที่มีบัญชีเงินฝากกับ ธปท.และเพื่อให้การโอนเงินสำหรับบุคคลที่สามมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และปลอดภัย โดย ทั้​งนี้ ก่อนที่จะมีบริการ ระบบบาทเนต การชำระเงินระหว่างสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยการใช้เช็ค ซึ่งผู้รับโอนเงินจะไม่ได้รับเงินทันทีเนื่องจากต้องผ่านกระบวนการเรียกเก็บและการชำระเงินระหว่างธนาคารผู้สั่งจ่ายและธนาคารผู้รับโอนก่อน ผู้รับโอนเงินจึงยังคงมีความเสี่ยง เนื่องจากการชำระเงินไม่ได้มีผลสิ้นสุดทันที (finality) ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงของระบบการชำระเงินโดยรวมได้​


 
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สถาบันผู้ใช้บริการบาทเนต
ระเบียบ ประกาศ หนังสือเวียนระบบบาทเนต
เวลาในการให้บริการโอนเงินข้ามธนาคารผ่านบาทเนต
แบบแจ้งกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการโอนเงินเพื่อลูกค้าของธนาคารผ่านบาทเนต
1. ความเป็นมา/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​จากการที่เศรษฐกิจและการค้าของประเทศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีผลให ธุรกรรมการชำระเงินในแตละวันมีปริมาณและมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการทำธุรกรรมทางการเงินที่มีมูลค่าสูง ลดต้นทุนและความเสี่ยงของระบบ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงไดดำเนินการพัฒนาระบบการโอนเงินรายใหญทางอิเล็กทรอนิกสที่เรียกว่าบาทเนต (BAHTNET - Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network)  

ระบบบาทเนตเป็นเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงระหว่างธปท.กับผู้ใช้บริการเพื่อประโยชน์ในการโอนเงินมูลค่าสูงในลักษณะ Real Time Gross Settlement (Online RTGS) รวมทั้งรับส่งข้อความระหว่างสถาบันการเงินหรือสถาบันอื่นที่ได้รับอนุญาตให้เปิดบัญชีเงินฝากที่ ธปท.  โดยวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบบาทเนตเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในระบบการชำระเงินซึ่งจะช่วยเอื้อให้การชำระเงินมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย รวดเร็ว ทั้งนี้ ระบบบาทเนตถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินในการรองรับการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงินและการโอนเงินเพื่อบุคคลที่สามซึ่งเริ่มให้บริการตั้งแตวันที่ 24 พฤษภาคม 2538 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีบริการระบบบาทเนต การชำระเงินระหว่างสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยการใช้เช็ค ซึ่งผู้รับโอนเงินจะไม่ได้รับเงินทันทีเนื่องจากการชำระดุลเช็คต้องผ่านกระบวนการเรียกเก็บและการชำระเงินระหว่างธนาคารผู้สั่งจ่ายและธนาคารผู้รับโอนก่อน ดังนั้นผู้รับโอนเงินจึงมีความเสี่ยง เนื่องจากการชำระเงินไม่ได้มีผลสิ้นสุดทันที (finality) ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงของระบบการชำระเงินโดยรวมได้​

2. ระเบียบ หลักเกณฑ์ และนโยบาย/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​ผู้ใช้บริการบาทเนตต้องเป็นผู้ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและยอมรับปฏิบัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการบาทเนต พ.ศ. 2538 โดยระเบียบดังกล่าวกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะผูให้บริการและผู้ใช้บริการรวมทั้งกำหนดรูปแบบและหลักเกณฑ์ในการใช้บริการในกรณีที่มีข้อพิพาทและไม่สามารถตกลงกันไดให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการซึ่งประกอบด้วยอนุญาโตตุลาการที่แต่งตั้งโดยคู่กรณีฝ่ายละ1 คนและอนุญาโตตุลาการทั้งสองจะแต่งตั้งบุคคลภายนอกอีกหนี่งคนร่วมเป็นคณะอนุญาโตตุลาการสำหรับการโอนเงินเพื่อบุคคลที่สามซึ่งธนาคารพาณิชยให้บริการแก่ลูกค้าในการโอนเงินผ่านระบบบาทเนตไปเข้าบัญชีของผู้รับเงินที่ธนาคารอื่นจะตองดำเนินการภายใตหลักเกณฑการใหบริการโอนเงินแก่ลูกค้าของธนาคารพาณิชยเพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ  ​

3. ผู้ใช้บริการระบบบาทเนต/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​ผู้ใช้​บริการระบบบาทเนตจะต้องมีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ใช้บริการปัจจุบันประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินพิเศษของรัฐ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หน่วยงานภาครัฐ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด และส่วนงานภายในของ ธปท.

ตามระเบียบ ธปท. ว่าด้วยการบริการบาทเนต พ.ศ. 2549 ผู้ใช้บริการของระบบสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

  1. ผู้ใช้บริการที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. ให้ใช้บริการระบบาทเนตโดยใช้คอมพิวเตอร์ลูกข่ายของตนเอง (Direct Member)

  2. ผู้ใช้บริการสมทบเป็นผู้ใช้บริการที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. ให้ใช้บริการระบบาทเนตภายใต้คอมพิวเตอร์ลูกข่ายของผู้ใช้บริการบาทเนตรายอื่น (Associated Member)


ณ มิถุนายน 2556 มีผู้ใช้บริการ 64 ราย ประกอบด้วยผู้ใช้บริการแบบ Direct member จำนวน 58 ราย และ Associated Member จำนวน 6 ราย​

4. ช่องทางการเข้าสู่ระบบ/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​ผู้ใช้บริการบาทเนตสามารถเชื่อมโยงกับระบบบาทเนต ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. การเชื่อมโยงและรับส่งข้อความผ่านเครือข่าย S.W.I.F.T ซึ่งเป็นเครือข่ายสากลที่ใช้ในการส่งข้อความทางการเงิน ผู้ใช้บริการจะต้องส่งข้อความตามรูปแบบมาตรฐานของ S.W.I.F.T ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการที่ใช้ระบบ S.W.I.F.T สามารถพัฒนาระบบงานภายในให้เชื่อมโยงกับ ธปท. โดยตรงในลักษณะ Straight-through Processing (STP) ได้ 

  2. การเชื่อมโยงและรับส่งข้อความผ่าน BOT WEB PORTAL ในระบบ Electronic Financial Service (EFS) ของ ธปท.โดยใช้บริการ BAHTNET Service และผู้ใช้บริการที่ส่งข้อความผ่านช่องทางนี้สามารถส่งข้อความตามรูปแบบที่ ธปท. ได้พัฒนาขึ้นในรูปแบบที่มีลักษณะเดียวกับรูปแบบมาตรฐานของ S.W.I.F.T เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้บริการทุกสถาบันทั้งที่เป็นสมาชิก S.W.I.F.T. และที่ไม่เป็นสมาชิกจะต้องติดตั้ง BAHTNET Service เพื่อใช้ในการสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวกับยอดคงเหลือหรือความเคลื่อนไหวของบัญชีเงินฝาก หรือบัญชีตราสารหนี้ รวมทั้งใช้ในการจัดการคิวสำหรับรายการที่ส่งผ่านระบบบาทเนตและการจัดการรายงานสิ้นวัน​

5. บริการในระบบบาทเนต/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​ระบบบาทเนตเปิดให้บริการทุกวันทำการธนาคารตั้งแตเวลา 8.30 น. ถึง17.30 น. โดยมีบริการประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  1. การโอนเงิน (Funds Transfer)
    ผู้ใช้บริการสามารถสั่งโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของตนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการอื่นหรือโอนเงินระหว่างบัญชีของตนเองที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

  2. การโอนเงินเพื่อบุคคลที่สาม (Third Party Funds Transfer)
    เป็นการโอนเงินตามคำสั่งของลูกค้าที่สั่งให้ธนาคารผู้สั่งโอนทำการโอนเงินเข้าบัญชีผู้รับผลประโยชน์ซึ่งอยู่อีกธนาคารหนึ่ง โดยการโอนเงินดังกล่าวดำเนินการภายในวันเดียวกัน (same day basis)

  3. การสอบถามข้อมูล (Inquiry)
    ผู้ใช้บริการสามารถใช้ระบบบาทเนตเรียกดูข้อมูลที่เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากของตนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ยอดคงเหลือ ความเคลื่อนไหวในบัญชีและสอบถามรายการรับส่งข้อมูลที่รอดำเนินการและที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว

  4. การสื่อสารระหว่างกัน (Bilateral Communication)
    ผู้ใช้บริการสามารถส่งข่าวสารผ่านระบบบาทเนตไปยังผู้ใช้บริการอื่น ๆ ได้ตลอดเวลาที่ระบบเปิดให้บริการ

  5. การประกาศข้อความ (Message Broadcast)
    โดยปกติจะเป็นการประกาศข้อความของธนาคารแห่งประเทศไทยถึงผู้ใช้บริการทั้งหมด หากผู้ใช้บริการรายใดต้องการส่งข่าวสารให้ผู้ใช้บริการทั้งหมดในระบบทราบก็สามารถขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการประกาศให้ได้

  6. การชำระดุล (Multilateral Funds Transfer - MFT) เป็นกระบวนการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการชำระดุลการหักบัญชีของผู้ใช้บริการ (ทำการ debit และ credit บัญชีพร้อมกัน) เช่น ดุลการหักบัญชีเช็คและดุลการโอนเงิน​

6. พัฒนาการที่สำคัญของระบบบาทเนต/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​ธปท. ได้มีการพัฒนาระบบบาทเนตอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานที่มากขึ้น ตลอดจนมุ่งพัฒนาให้เป็นระบบที่มีความทันสมัยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล จึงได้พัฒนาระบบบาทเนตไปสู่ระบบที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยได้นำ S.W.I.F.T (Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication) มาใช้เป็นช่องทางหลักในการรับส่งข้อความระหว่างผู้ใช้บริการบาทเนตกับ ธปท. และปรับปรุงระบบโดยเพิ่มบริการให้รองรับธุรกรรมการชำระเงินที่หลากหลายยิ่ง ดังนี้ 

  1. การเพิ่มบริการส่งมอบพร้อมชำระราคาตราสารหนี้ภาครัฐแบบ DVP

    ธปท. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ภาครัฐ รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดธุรกรรมการซื้อขายในตลาดรอง และเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาไปสู่การพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนที่มีประสิทธิภาพและเป็นสากล จึงได้พัฒนาระบบให้สามารถรองรับการโอนตราสารหนี้เพื่อตอบสนองต่อธุรกรรมการส่งมอบและชำระราคาตราสารหนี้ที่ ธปท. เป็นนายทะเบียนในลักษณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ของตราสารหนี้จะเกิดขึ้นพร้อมกับการชำระราคาในลักษณะรายการต่อรายการและมีผลสมบูรณ์โดยทันที จากเดิมที่ผู้ขายตราสารหนี้ส่วนใหญ่จะได้รับการชำระราคาด้วยเช็ค โดยเริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2544

    การโอนย้ายงานส่งมอบและชำระราคาตราสารหนี้ภาครัฐ จาก ธปท.ไปยังบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด -TSD: Thailand Securities Depository Co.,Ltd.

    จากการที่กระทรวงการคลังได้จัดทำแผนพัฒนาตราสารหนี้ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2548 - 2557) เพื่อผลักดันให้การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของไทยมีบทบาทมากขึ้น โดยสามารถเป็นแหล่งระดมเงินทุนหลักนอกเหนือจากสถาบันการเงินและตลาดทุน ภายใต้แผนพัฒนาฉบับดังกล่าวจะต้องมีดำเนินการให้มีศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แต่เพียงแห่งเดียวในประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการชำระดุลของตราสาร ดังนั้น ธปท.จึงได้โอนย้ายบริการด้านการรับฝากตราสารหนี้ภาครัฐและบริการส่งมอบพร้อมชำระราคาตราสารหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการผ่านระบบบาทเนตของ ธปท. ไปดำเนินการภายใต้ระบบงานของ TSD โดยร่วมกันพัฒนาระบบให้มีการเชื่อมโยงระหว่างระบบบาทเนตของ ธปท.กับระบบงานของ TSD เพื่อรองรับการชำระราคาตราสารหนี้ให้เป็นแบบ Real-time ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2549

  2. การเชื่อมโยงระบบบาทเนตกับระบบ GFMIS เพื่อรองรับธุรกรรมการรับ-จ่ายเงินภาครัฐ

    ธปท. ได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการส่งเสริมและปรับปรุงระบบการจัดการของหน่วยงานภาครัฐ ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพภายใต้โครงการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System: GFMIS) ซึ่งมีเป้าหมายที่สำคัญประการหนึ่งคือเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการรับ-จ่ายเงินของบัญชีเงินคงคลังที่ ธปท.ให้สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยพัฒนาระบบบาทเนตให้เชื่อมโยงกับระบบ GFMIS ทำให้ส่วนราชการต่าง ๆ สามารถนำส่งรายได้เข้ารัฐและเบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายหรือชำระเงินแก่เจ้าหนี้ได้ด้วยการส่งข้อมูลจากระบบ GFMIS มาเข้าประมวลผลในระบบบาทเนตโดยเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2547

  3. การเพิ่มบริการชำระดุลสุทธิของธุรกรรมการชำระเงินประเภทต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้บริการบาทเนต
         การชำระดุลสุทธิของธุรกรรมการชำระเงินประเภทต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้บริการบาทเนตมีลักษณะเป็นการโอนเงินที่ระบบจะหักเงินในบัญชีของผู้โอนและนำเงินเข้าบัญชีผู้รับโอนพร้อมกันหลาย ๆ สถาบันเพื่อการชำระดุลธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างกัน เช่น การชำระดุลการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคาร เป็นต้น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ได้มาตรฐานสากลและลดความเสี่ยงในการชำระดุลระหว่างสถาบัน ธปท. ได้พัฒนาบริการชำระดุลกลางโดย หน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถใช้บริการส่งคำสั่งเพื่อชำระดุลธุรกรรมอื่นๆ ได้ด้วย เช่น การชำระดุลธุรกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ การชำระดุลสำหรับการใช้บัตรเครดิต เป็นต้น โดยเริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2547 และปัจจุบัน TSD ได้ใช้บริการส่งคำสั่งชำระดุลธุรกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์แล้วเมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2548

การเพิ่มบริการชำระราคาตราสารทุนและตราสารหนี้ภาคเอกชนในรูปแบบ RTGS ธปท. ได้ดำเนินการพัฒนาระบบบาทเนตให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบงานของบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการส่งมอบและชำระราคาตราสารหนี้ภาคเอกชนและตราสารทุนที่อยู่ในความดูแลของ TSD ในลักษณะ RTGS สำหรับรายการ Big lot (คำสั่งซื้อ- ขายตราสารที่มีจำนวนมากกว่า 1 ล้านหุ้น หรือมีมูลค่ามากกว่า 3 ล้านบาท) เพื่อลดความเสี่ยงในการชำระดุล อีกทั้งเป็นช่องทางในการเพิ่มธุรกรรมการโอนเงินเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ในระบบบาทเนตให้มากยิ่งขึ้นโดยเริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548 

7. การควบคุมความปลอดภัยในระบบบาทเนต/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​เนื่องจากระบบบาทเนตเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินมูลค่าสูง ธปท. จึงได้กำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม โดยผู้ใช้บริการที่ส่งข้อความมายังระบบบาทเนตโดยผ่านช่องทาง S.W.I.F.T นั้นจะต้องมีกระบวนการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานของ S.W.I.F.T ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ยอมรับกันทั่วโลก สำหรับผู้ใช้บริการบาทเนตซึ่งส่งข้อความมายังระบบบาทเนตโดยผ่านช่องทาง EFS จะมีระบบการรักษาความปลอดภัยโดยใช้เทคโนโลยี Digital Signature โดยผู้ส่งข้อความจะต้องมี Private Key ใน Smart Card ประจำตัวในการสร้าง Digital Signature กำกับในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งมายังระบบบาทเนต ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวทำให้ระบบบาทเนตสามารถรักษาความลับพร้อมทั้งป้องกันมิให้ผู้อื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องล่วงรู้ข้อมูลได้ สามารถยืนยันและพิสูจน์ตัวตนของผู้ส่งและผู้รับรายการ ผู้ส่งและผู้รับไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดได้ และสามารถรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบ รวมทั้งระบบบาทเนตยังมีการบันทึกข้อมูลที่รับ-ส่งในระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

8. วิธีการชำระดุล/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​บาทเนตเป็นระบบการโอนเงินที่มีผลสมบูรณ์ทันที (Real Time Gross Settlement -RTGS) และเพิกถอนไม่ไดระบบนี้ต้องอาศัยสภาพคล่องในปริมาณที่มากกว่าระบบที่เป็น Net Settlement ผู้ใช้บริการผู้สั่งโอนจะต้องมีเงินในบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพียงพอจึงจะสามารถสั่งโอนเงินไดอย่างไรก็ตาม  ในบางขณะผู้ใช้บริการผู้สั่งโอนอาจขาดสภาพคล่องชั่วคราวทำให้ไม่สามารถสั่งโอนเงินไดเพื่อแก้ปัญหาข้างต้นระบบบาทเนตจึงจัดให้มีกลไกเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าวดังนี้

  1. การจัดลำดับคำสั่งโอนเงิน (Queuing Mechanism) เพื่อช่วยในการจัดลำดับคำสั่งโอนเงินในกรณีที่ยอดเงินในบัญชียังมีไมเพียงพอคำสั่งโอนเงินจะถูกจัดเข้าคิวรอไว้ก่อนจนกว่าจะมีเงินเพียงพอจึงจะดำเนินการตามความเหมาะสมของสภาพคล่องในขณะนั้น

  2. ระบบ Gridlock Resolution เพื่อแก้ปัญหาการติดขัดในคิวจากการขาดสภาพคล่องในระหว่างผู้สั่งโอนและผู้รับโอนระบบจะดำเนินการตรวจหารายการโอนเงินของผู้ใช้บริการที่มีการโอนให้ระหว่างกันตั้งแต 2 รายขึ้นไป หากยอดคงเหลือสุทธิในบัญชีเงินฝากรวมรายการโอนเงินที่ค้างอยู่ของแต่ละผู้ใช้บริการในกลุ่มมีค่าเป็นบวกระบบก็จะจัดการโอนเงินและบันทึกบัญชีรายการโอนเงินที่ทำได้พร้อมกันทันที​

9. การบริหารสภาพคล่อง (Liquidity Management)/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​เนื่องจากการโอนเงินในระบบบาทเนตเป็นแบบมีผลทันทีในแต่ละรายการ (Real Time Gross Settlement: RTGS) สถาบันการเงินต้องมียอดเงินในบัญชีให้เพียงพอต่อการโอนแต่ละครั้ง ทำให้ต้องใช้สภาพคล่องจำนวนสูง ธปท.จึงให้เงิน ILF แก่ผู้ใช้บริการบาทเนตที่เป็นสถาบันการเงินที่อยู่ในการดูแลของ ธปท.การขอใช้เงิน ILF นั้น ผู้ใช้บริการบาทเนตจะต้องทำสัญญาขายตราสารหนี้ให้แก่ ธปท. ตอนต้นวัน โดยมีสัญญาว่าจะซื้อตราสารหนี้ดังกล่าวคืนตอนสิ้นวัน เงิน ILF ที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับตราสารหนี้ที่มาวางเป็นหลักประกัน และไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมการใช้เงิน ILF ที่ใช้ในระหว่างวัน ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการบาทเนตจะใช้เงิน ILF ได้เมื่อยอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีไม่เพียงพอ และใช้เพื่อการโอนผ่านระบบบาทเนตเท่านั้น ในกรณีที่มีการใช้เงินสภาพคล่องข้ามวัน (Overnight) ธปท.จะคิดค่าตอบแทนในอัตราดอกเบี้ยนโยบาย บวก 0.5% ต่อปี​

10. ค่าธรรมเนียมการให้บริการกับลุกค้า/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พัฒนาระบบบาทเนตขึ้นเพื่อเป็นสาธารณูปโภคทางการเงินเพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงในระบบการชำระเงินของประเทศโดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร ดังนั้นค่าบริการในระบบบาทเนตจึงเป็นราคาที่จูงใจให้ผู้ใช้บริการหันมาใชการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนการโอนเงินในระบบตราสาร (paper-based)

สำหรับค่าธรรมเนียมที่ธนาคารผู้ใช้บริการคิดกับลูกค้านั้นเป็นการแข่งขันกันโดยเสรีตามกลไกตลาด โดยในระยะแรก ธปท.จำเป็นต้องกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุด (ceiling) เพื่อให้ค่าธรรมเนียมอยู่ในระดับที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ภายหลัง ธปท.ได้ยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดเพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงิน (ตามประกาศ ธปท.สรช. (03) ว.3414/2543 เรื่องการยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดในการโอนเงินเพื่อบุคคลที่สาม ผ่านระบบบาทเนต) โดยให้การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเป็นไปตามดุลพินิจของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง​

11. ค่าธรรมเนียมการใช้บริการระบบบาทเนต/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​1. ค่าธรรมเนียมสำหรับการใช้บริการบาทเนตรายเดือน

    - ผู้ใช้บริการบาทเนตที่มีคอมพิวเตอร์ลูกข่าย     3,500    บาท

    - ผู้ใช้บริการบาทเนตสมทบรายละ                  500    บาท

2. ค่าธรรมเนียมสำหรับบริการแต่ละประเภทผ่านระบบบาทเนตและคำสั่งต่าง ๆ ผ่านระบบการเชื่อมโยงเพื่อชำระราคาหลักทรัพย์ โดย ธปท. จะคิดค่าธรรมเนียมและค่าปรับแต่ละประเภทตามจำนวนรายการที่เกิดขึ้นแยกตามช่วงเวลารายการมีผลสมบูรณ์

12. การบริหารความเสี่ยง/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​การโอนเงินในระบบบาทเนตเป็นการโอนเงินที่มีผลสมบูรณ์ทันที (Real Time Gross Settlement -RTGS) และเพิกถอนมิได้ซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันความเสี่ยงในตัวเองอยู่แล้วโดยรายการที่ยังไม่สามารถชำระเงินได้ในขณะที่ส่งคำสั่งเข้ามาจะถูกจัดรอไว้ตามลำดับคำสั่งและจะดำเนินการเมื่อมีเงินในบัญชีเพียงพอสำหรับรายการที่ไม่สามารถชำระเงินได้จนถึงเวลาปิดคิวจะถูกยกเลิก ดังนั้นความเสี่ยงในระบบบาทเนตจึงมีน้อยกว่าระบบอื่น​

13. แผนสำรองระบบ/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​ธปท. ได้จัดสร้างศูนย์สำรองซึ่งห่างศูนย์บริการหลัก เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร โดยสำรองอุปกรณ์ Hardware และ Software ด้วยอุปกรณ์ชุดเดียวกับระบบงานจริง เพื่อให้ระบบสามารถให้บริการต่อได้โดยไม่หยุดชะงักเมื่อศูนย์บริการหลักขัดข้อง นอกจากนั้น ธปท. ได้จัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับในกรณีที่ระบบบาทเนตขัดข้อง ทั้งในส่วนของ ธปท. และผู้ใช้บริการ ซึ่งมาตรการเหล่านี้ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้บริการได้ใช้งานระบบที่มีความปลอดภัยสูงและได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ​

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
โสภา โทร 0-2283-5466
อุไรพรรณ โทร 0-2356-7699

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.