• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ระบบการชำระเงิน
  • > บริการระบบการชำระเงิน
  • > ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค
ระบบการชำระเงิน
    • Eventphoto
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • ประกาศที่เกี่ยวข้อง
    • รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจ
    • คู่มือสำหรับประชาชน (พรบ ระบบการชำระเงิน)
    • การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment
    • ค่าธรรมเนียม
    • การประชุมชี้แจง
    • ระบบงาน e-Application
    • ถาม-ตอบ
    • สรุปเกณฑ์การรายงาน/แจ้ง/ขออนุญาต สำหรับบริการ e-Payment
  • บริการระบบการชำระเงิน
    • ระบบบาทเนต
    • ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค
    • สมาชิกระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • ระบบบาทเนต
    • การดำเนินการกรณีระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BAHTNET Offline)
    • ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (ICAS)
    • การให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (EFS)
    • การรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF)
    • มาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (SRS)
    • เวลาในการให้บริการโอนเงินข้ามธนาคารผ่านบาทเนต
    • ประกาศ หนังสือเวียน ที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน
    • แบบพิมพ์สำหรับธนาคารสมาชิก
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • QR Code เพื่อการชำระเงิน
    • การจัดกิจกรรมด้านเทคโนโลยีทางการเงิน
    • การประชุมชี้แจง
    • รายชื่อผู้ให้บริการ P2P Lending ใน Sandbox
    • แนวปฏิบัติ/แนวนโยบาย/หลักเกณฑ์ด้านเทคโนโลยีทางการเงิน
    • Eventphoto
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
    • กัมพูชา
    • ญี่ปุ่น
    • มาเลเซีย
    • เวียดนาม
    • สิงคโปร์
    • อินโดนีเซีย
ระบบการหักบัญชีเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (ธปท.โอนย้ายงานการให้บริการระบบ ICAS ไปให้บริษัท NITMX ตั้งแต่ 15 ก.ค. 65 เป็นต้นไป)

ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (Imaged Cheque Clearing and Archive System – ICAS) คือ ระบบการเรียกเก็บเงินตามเช็คระหว่างธนาคารโดยใช้ภาพเช็คในกระบวนการเรียกเก็บแทนการใช้ตัวเช็คจริง

ระบบ ICAS ประกอบด้วย 2 ส่วน โดยส่วนแรกทำหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินตามเช็คระหว่างธนาคาร และส่วนที่ 2 ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการจัดเก็บข้อมูลและภาพเช็คซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยให้การค้นหาข้อมูลและภาพเช็คทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ​

ธปท. ให้บริการระบบ ICAS ตั้งแต่ปี 2555 - กรกฎาคม 2565  และโอนย้ายงานการให้บริการไปบริษัท NITMX ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2565  เป็นต้นไป

 

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
หนังสือเวียนขอความร่วมมือยกเลิกการใช้ตราประทับ​
มาตรฐานเช็ค​
การประชาสัมพันธ์ระบบ ICAS​
การประชาสัมพันธ์การใช้งานสิ่งพิมพ์ออกจากระบบการจัดเก็บภาพเช็ค
การชี้แจงการดำเนินการยกเลิกการแลกเปลี่ยนเช็คกลุ่มพิเศษ
ถาม-ตอบ เกี่ยวกับระบบ ICAS​
1. วัตถุประสงค์ของระบบ ICAS/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

1. เพื่อย่นระยะเวลาการเรียกเก็บเงินตามเช็คทั่วประเทศให้เหลือ 1 วันทำการ ซี่งรวมถึงการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชี ที่อดีตต้องใช้เวลาในการเรียกเก็บ 3-5 วันทำการ

2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการเรียกเก็บเงินตามเช็คของไทยให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล และเสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศ

 

2. นโยบายของ ธปท. ในการพัฒนาระบบ ICAS/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

ธปท. ได้พัฒนาระบบ ICAS ภายใต้นโยบาย One-day Clearing;  One Cheque Clearing System;  และ One Clearing House  กล่าวคือ

- One-day Clearing ด้วยระบบ ICAS เป็นระบบการเรียกเก็บเงินตามเช็คด้วยภาพ ซึ่งไม่มีการขนส่งตัวเช็คในกระบวนการเรียกเก็บ จึงทำให้ระบบ ICAS สามารถลดระยะเวลาในการเรียกเก็บเงินตามเช็คทั่วประเทศให้เหลือเพียง 1 วันทำการได้

- One Cheque Clearing System เมื่อใช้งานระบบ ICAS แล้ว จะทำให้ประเทศไทยสามารถรวมระบบการหักบัญชีเช็คจากอดีตที่มี 3 ระบบงาน ได้แก่ ระบบการหักบัญชีเช็คเรียกเก็บระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ระบบ ECS) ระบบการหักบัญชีเช็คในต่างจังหวัด รวมทั้งระบบการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชี ให้เหลือเพียงระบบเดียว คือ ระบบ ICAS

- One Clearing House การเรียกเก็บเงินตามเช็คด้วยระบบ ICAS ทำให้สามารถใช้ศูนย์หักบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ที่กรุงเทพฯ เพียงแห่งเดียว ในการทำหน้าที่หักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารทั่วประเทศได้ เปรียบเทียบกับอดีตที่ต้องใช้สำนักหักบัญชีกว่า 80 แห่งทั่วประเทศในการดำเนินการที่กล่าว

 
3. ประโยชน์ของระบบ ICAS/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

การใช้งานระบบ ICAS มีประโยชน์ต่อแต่ละภาคส่วนของประเทศไทย ดังนี้

3.1 ภาคธุรกิจและประชาชนผู้ฝากเช็ค

1) สามารถเรียกเก็บและถอนใช้เงินตามเช็คทั่วประเทศได้ภายใน 1 วันทำการ ซึ่งรวมไปถึงการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามจังหวัดด้วย ซึ่งอดีตต้องใช้เวลาในการเรียกเก็บประมาณ 3-5 วันทำการ 

2) ขยายเวลาการรับฝากเช็คเพิ่มขึ้นประมาณ 1½ ชั่วโมง จากอดีตที่ธนาคารปิดรับฝากที่ประมาณ 13.00-14.00 น. จะขยายเวลาเป็น 14.30-15.30 น. หรือใกล้เวลาปิดทำการของธนาคาร

3) ร่นกำหนดเวลาของธนาคารที่ให้ลูกค้าสามารถถอนใช้เงินตามเช็คที่ฝากได้เร็วขึ้น จากอดีตที่ประมาณเวลา 13.00-14.00 น. จะเร็วขึ้นเป็นประมาณ 12.00 น.

3.2 ภาคธนาคาร  

1) ลดต้นทุนในการขนส่งตัวเช็ค

2) ลดความเสี่ยงที่เช็คอาจสูญหายในระหว่างกระบวนการเรียกเก็บ 

3) ช่วยลดภาระในการจัดเก็บข้อมูลและตัวเช็คของธนาคาร โดย ธปท. จะเป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลและภาพเช็คที่ ธ.สมาชิกสามารถเรียกใช้งานได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

4) ช่วยให้เกิดนวัตกรรมด้านบริการทางการเงินใหม่ๆ เช่น บริการแนบภาพเช็คที่สั่งจ่ายควบคู่กับรายงานแสดงการเดินบัญชีประจำเดือน (Bank Statement) หรือบริการตู้รับฝากเช็คอัตโนมัติ ซึ่งสามารถออกใบรับฝากที่มีรูปเช็คนำฝากปรากฎอยู่ด้วย เป็นต้น

3.3 ระบบเศรษฐกิจโดยรวม ช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของกระแสเงินในภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจของประเทศให้มีความรวดเร็วมากขึ้น

 

4. กระบวนการเรียกเก็บเงินตามเช็คในระบบ ICAS/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

​เริ่มจากลูกค้านำเช็คเข้าฝากที่ธนาคาร ธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บจะกราด (Scan) ภาพเช็คทั้งด้านหน้าและด้านหลัง พร้อมทั้งจัดทำข้อมูลของเช็คฉบับดังกล่าวส่ง Online มาที่ศูนย์หักบัญชีของ ธปท. เพื่อคัดแยกภาพเช็คและข้อมูลส่งต่อให้ธนาคารผู้จ่าย เพื่อตรวจสอบและอนุมัติตัดจ่ายเงินตามเช็คต่อไป

ในกรณีที่เช็คฉบับนั้นถูกปฏิเสธการจ่าย ธนาคารผู้จ่ายจะแจ้งผลเช็คคืนทาง Online ส่งไปยังศูนย์หักบัญชี เพื่อแจ้งต่อไปยังธนาคารผู้เรียกเก็บ หลังจากนั้นธนาคารผู้เรียกเก็บจะนำส่งตัวเช็คคืนเป็นตัวเช็คจริงพร้อมแนบใบแจ้งผลการคืนเช็คให้แก่ลูกค้าต่อไป

ทั้งนี้ ข้อมูลและภาพเช็คที่ส่งเข้าเรียกเก็บดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ที่ระบบ ICAS ที่ศูนย์หักบัญชี ธปท. เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานทางกฎหมายและกระบวนการทางศาลแทนตัวเช็คจริงต่อไป

 

กระบวนการเรียกเก็บเงินตามเช็คในระบบ ICAS

ICAS_Process
 

5. มาตรฐานภาพเช็คที่ส่งเรียกเก็บในระบบ ICAS/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

ภาพเช็คที่ส่งเรียกเก็บผ่านระบบ ICAS ต้องมีคุณสมบัติที่เอื้อให้ธนาคารผู้จ่ายสามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของเช็คและลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายจากภาพเช็คได้อย่างชัดเจน รวมทั้งต้องมีขนาดของ File ภาพที่ไม่ใหญ่เกินไปเพื่อให้สามารถส่งผ่านระบบ Online ได้อย่างรวดเร็ว

ธปท. ได้กำหนดให้เช็คที่จะส่งเข้าเรียกเก็บผ่านระบบ ICAS แต่ละฉบับ ต้องจัดทำเป็นภาพเช็คจำนวน 3 ภาพ คือ ภาพที่ 1 เป็นภาพ Grayscale ด้านหน้าของเช็ค และภาพที่ 2 และ 3 เป็นภาพ Black & White ด้านหน้าและด้านหลังของเช็ค (รายละเอียดตามตารางด้านล่าง)


มาตรฐานภาพเช็คของระบบ ICAS

Standard_ICAS
 

ตัวอย่างภาพเช็คตามมาตรฐานภาพเช็คของระบบ ICAS​


 

​​ 
6. การรักษาความปลอดภัยบนตัวเช็ค/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

การรักษาความปลอดภัยสำหรับเช็ค ประกอบด้วยการป้องกันการปลอมแปลงเช็คและการป้องกันการแก้ไขข้อความบนตัวเช็ค ดังต่อไปนี้

6.1 การป้องกันการปลอมแปลงเช็ค

กระดาษที่ใช้พิมพ์เช็คต้องเป็นกระดาษ CBS 1 (London Clearing Banks Paper Specification No.1) และต้องมีลายน้ำกลาง (Common Watermark) ซึ่งเป็นลายน้ำที่มีรูปแบบตามที่ ธปท.กำหนด และมีขนาดความกว้างและความสูงไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ฝังอยู่ในเนื้อกระดาษและกระจายอยู่ทั่วไปบนตัวเช็ค โดยในเช็คแต่ละฉบับจะต้องมีลายน้ำกลางเต็มรูปอย่างน้อย 1 รูป และสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อยกขึ้นส่องกับแสงสว่าง ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับธนาคารผู้รับฝากเช็คในการตรวจสอบเช็คของธนาคารอื่นที่ลูกค้านำมาฝาก

ธนาคารผู้ออกเช็คสามารถใส่ลายน้ำที่มีรูปแบบเฉพาะของแต่ละธนาคารไว้ควบคู่กับลายน้ำกลางได้ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมภายในของธนาคารผู้ออกเช็คเอง โดยลายน้ำดังกล่าวต้องไม่อยู่ติดหรือทับลายน้ำกลาง

รูปลายน้ำกลาง (Common Watermark) บนเช็ค
 
(สามารถมองเห็นได้เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง)

Common_Watermark 


 

 

6.2 การป้องกันการแก้ไขข้อความบนตัวเช็ค

1. กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์เช็คจะต้องเป็นกระดาษ CBS 1 ประเภท Laser Grade กล่าวคือ เป็นกระดาษ CBS1 ที่มีการเคลือบผิวด้วยกรรมวิธีพิเศษเพื่อให้เกิดการยึดเกาะโทนเนอร์ (Toner) ได้ดี สามารถป้องกันการขูดลอก ลบ หรือแก้ไขข้อมูลที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์เลเซอร์ โดยทิ้งร่องรอยให้เห็นได้อย่างชัดเจน

2. ข้อความ/ลวดลายบนตัวเช็คที่พิมพ์ด้วยหมึกที่มีคุณลักษณะพิเศษ

3. การใช้ลวดลาย/การออกแบบที่มีลักษณะพิเศษ​ 

7. สิ่งพิมพ์ออกจากระบบการจัดเก็บภาพเช็ค/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

1. สิ่งพิมพ์ออกจากระบบการจัดเก็บภาพเช็ค

​คือ เอกสารแสดงภาพเช็คและข้อมูลเช็ค ที่ส่งเรียกเก็บผ่านระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (ICAS) ของธนาคารแห่งประเทศไทย  หรือ ส่งเรียกเก็บและจัดเก็บผ่านระบบงานภายในของธนาคารสมาชิก

เริ่มใช้งานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559

2. วัตถุประสงค์
  • ​ใช้เป็นพยานหลักฐานตามกฎหมายแทนเช็คต้นฉบับได้
  • ช่วยสนับสนุนการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และส่งเสริมให้มีการยอมรับผลทางกฎหมายของสิ่งพิมพ์ออกในฐานะต้นฉบับ และส่งเสริมการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
3. รูปแบบของสิ่งพิมพ์ออก
  • หน้าแรก
  • หน้า 2
4. มาตรฐานของสิ่งพิมพ์ออก
  • มี 2 หน้า ประกอบด้วย ข้อมูลเช็คและภาพเช็ค
  • มีขนาดเท่ากับกระดาษ A4
  • ใช้กระดาษ CBS 1 Laser Grade แบบเดียวกับที่ใช้พิมพ์เช็ค
  • มีลายน้ำในเนื้อกระดาษ ลายน้ำในเนื้อกระดาษ
  • มีเลขที่อ้างอิงสำหรับใช้ตรวจสอบ
5. ผู้มีสิทธิขอสิ่งพิมพ์ออก
  • ​ผู้ทรงเช็ค ผู้สั่งจ่ายเช็ค
  • ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ทรงเช็ค หรือผู้สั่งจ่ายเช็ค
  • ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เช่น ศาล พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน
6. ผู้ให้บริการสิ่งพิมพ์ออก
  • ​ธนาคารที่ท่านนำฝากเช็ค
  • ธนาคารที่เป็นเจ้าของเช็ค
7. กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำหรือแปลงเอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ.2553

ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การรับรองสิ่งพิมพ์ออกพ.ศ.2555

พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551)

ระเบียบ ธปท. ที่ สรข. 1/2554ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (ICAS)

ระเบียบ ธปท. ที่ สรข. 2/2558 ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คฯ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่2)

ประกาศ ธปท. ที่ สรข. 4/2558 เรื่อง การจัดทำสิ่งพิมพ์ออกจากระบบการจัดเก็บภาพเช็ค

8. ค่าธรรมเนียมในการขอใช้บริการสิ่งพิมพ์ออก
  • อัตราค่าธรรมเนียมสูงสุด: 1 ชุดมี 2 แผ่น = 100 บาท (แผ่นละ 50 บาท) ธนาคารสามารถลดหย่อน หรือยกเว้นได้  โดยสามารถขอย้อนหลังนับแต่วันที่เกิดรายการได้ไม่เกิน 10 ปี
  • เรียกดูค่าธรรมเนียมสิ่งพิมพ์ออก คลิก Link แนบ

     ค่าธรรมเนียมสิ่งพิมพ์ออกจากระบบการจัดเก็บภาพเช็ค

     อัตราค่าธรรมเนียมเปรียบเทียบ

8. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ ICAS/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

ระบบ ICAS ใช้ Hashing1/ (หรือ Digital Fingerprinting) และ Digital Signature2/ ในการควบคุมเรื่องความถูกต้องของข้อมูลเช็คและภาพเช็ค (End-to-end Data Integrity Control) รวมทั้งการพิสูจน์การทำธุกรรม (หรือ Non-repudiation) ของธนาคารผู้ส่งข้อมูลเช็คและภาพเช็คเข้าระบบ ICAS นอกจากนี้ ยังมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยด้านอื่นๆ เช่น การยืนยันตัวบุคคลก่อนการเข้าใช้งาน การจัดการสิทธิ์ การจัดเก็บข้อมูลจราจร การจัดเตรียมระบบและเครือข่ายสำรอง เป็นต้น เพื่อให้ระบบ ICAS ดำเนินการอย่างมั่นคงปลอดภัย


หมายเหตุ:
1/  Hashing เป็นกระบวนการในการแปลงข้อมูลตั้งต้น (input message) ผ่าน Hash Function ให้เป็น fixed-size string ที่เรียกว่า Hash Value ซึ่งคุณสมบัติของ Hash Function นั้นจะต้อง 1) ง่ายในการคำนวณ 2) ยากที่จะคำนวณค่าข้อมูลตั้งต้นจากค่า Hash Value  และ 3) ยากที่ข้อมูลตั้งต้นต่างกันจะได้ค่า Hash Value เท่ากัน

​2/ Digital Signature คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการพิสูจน์ความถูกต้องของข้อมูล (Data Integrity) รวมทั้งใช้ในการยืนยันการทำธุรกรรมของเจ้าของลายมือชื่อ (Non-repudiation)

9. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบ ICAS/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

กฎหมายที่รองรับการใช้งานระบบ ICAS มีทั้งสิ้น 3 ฉบับ กล่าวคือ

1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 21 ว่าด้วยเรื่องตั๋วเงิน หมวด 4 เช็ค ในมาตรา 987-1000

กฎหมายดังกล่าวกำหนดเกี่ยวกับเช็ค เงื่อนไขและวิธีการออกเช็คให้ถูกต้อง รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความสมบูรณ์ของเช็ค ซึ่งเป็นเรื่องทางแพ่ง

2. พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534

พ.ร.บ. ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมให้มีการออกเช็คโดยสุจริต หากมีการออกเช็คโดยทุจริตจะต้องได้รับโทษทางอาญา และมีการกำหนดบทลงโทษไว้ชัดเจน

3. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

พ.ร.บ. ดังกล่าวกำหนดให้มีการยอมรับข้อมูลและเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายได้

ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวข้างต้นสามารถรองรับระบบ ICAS ได้ โดยไม่จำเป็นต้องออกกฎหมายใหม่​

 

10. แผนการดำเนินงานระบบ ICAS/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

ธปท. ได้เริ่มใช้งานระบบ ICAS ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 และขยายการใช้งานไปยังภูมิภาคที่จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นพื้นที่แรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555 หลังจากนั้นจึงทยอยการใช้งานไปยังจังหวัดที่เหลือจนครบทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2556 ตามแผนที่กำหนดไว้อย่างราบรื่น

นอกจากนี้ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมสำหรับการใช้งานระบบ ICAS  ธปท. ได้จัดอบรมการปฏิบัติงานระบบดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ธนาคารสมาชิก รวมทั้งประชาสัมพันธ์ระบบ ICAS ให้กับภาคธุรกิจและภาคกฎหมาย ตลอดจนจัดทำและซักซ้อมแผนฉุกเฉินระบบ ICAS เพื่อให้มั่นใจว่าระบบสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง โดยเกิดผลกระทบต่อธนาคารสมาชิก ประชาชน และระบบเศรษฐกิจของประเทศน้อยที่สุด      

 
11. สิ่งที่ต้องขอความร่วมมือผู้สั่งจ่ายเช็ค/_catalogs/masterpage/img/collapse.png

เพื่อให้การเรียกเก็บเงินตามเช็คในระบบ ICAS สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธปท. ใคร่ขอความร่วมมือจากผู้สั่งจ่ายเช็ค ดังนี้

1. การเขียนวันที่สั่งจ่ายบนตัวเช็ค ควรกรอกข้อมูลในรูปแบบตัวเลขลงในแต่ละช่องที่กำหนด ตามรูปแบบที่ได้แนะนำไว้บนเช็ค คือ ววดดปปปป เพื่อให้ธนาคารผู้เรียกเก็บและธนาคารผู้จ่ายสามารถใช้ระบบงานการอ่านภาพตัวเลขเพื่อแปลงเป็นข้อมูลไปใช้งานได้อย่างสะดวก​

Cheque​

2. ควรยกเลิกการใช้ ตราประทับ/ตรานูน/ตราสี เป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็ค เนื่องจากระบบ ICAS ใช้เทคโนโลยีการเรียกเก็บเงินตามเช็คด้วยภาพ Grayscale และ Black & White ซึ่งเป็นภาพเฉดสีขาวดำ จึงทำให้ธนาคารผู้จ่ายไม่สามารถตรวจสอบความนูนต่ำของพื้นผิว และความถูกต้องของเฉดสีตามเงื่อนไขของตราประทับได้ รวมทั้งความเข้มของสีตราประทับอาจบดบังลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คและข้อมูลสำคัญอื่นจนไม่สามารถตรวจสอบได้​

ตัวอย่างภาพเช็คที่ใช้ตราประทับสี ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบเงื่อนไขสีในระบบ ICAS ได้​
​(เช็คต้นฉบับ)

Cheque_true
 


 

​(ภาพ Grayscale ของระบบ ICAS)

Cheque_GF
 

 

 
(ภาพ Black & White ของระบบ ICAS)​​​​​​
Cheque_BWF
 

 

 

ตัวอย่างภาพเช็คที่มีตราประทับ ซึ่งรบกวนลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายและข้อมูลสำคัญของเช็ค
​(ภาพ ​Grayscale ของระบบ ICAS)​

Cheque 

 

 

(ภาพ Black & White ของระบบ ICAS)​

Cheque_BF-ตราประทับ 

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
วิพัฒน์ โทร 0-2283-5083
ภิรมย์ โทร 0-2283-5057,0-2283-6419

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.