• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2019
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​ข่าว ธปท. ฉบับที่ 18/2562


เรื่อง แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2562

          ​เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยอุปสงค์ในประเทศขยายตัวตามเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่องในทุกหมวดการใช้จ่าย และการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวจากรายจ่ายประจำ อย่างไรก็ดี เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวตามการลงทุนในหมวดก่อสร้าง ด้านภาคการท่องเที่ยวทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่การส่งออกสินค้ายังหดตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตั

          ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งขึ้นตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศและราคาอาหารสดเป็นสำคัญ สำหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลลดลงจากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นตามดุลการค้าเป็นสาคัญ ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้

          เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากระยะเดียวกันปีก่อนในทุกหมวดการใช้จ่าย สำหรับปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อโดยรวมปรับดีขึ้นตามรายได้ครัวเรือนทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยรายได้ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมขยายตัวต่อเนื่องตามผลผลิตที่ขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน ยางพารา และข้าวขาว ขณะที่ราคากลับมาขยายตัวตามราคาสุกรเป็นสำคัญ ประกอบกับรายได้รวมนอกภาคเกษตรกรรมขยายตัวดีต่อเนื่อง

          การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามรายจ่ายประจำที่ขยายตัวต่อเนื่องตามการเบิกจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ และการเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร อย่างไรก็ดี รายจ่ายประจาขยายตัวชะลอลงจากที่เร่งเบิกจ่ายไปในเดือนก่อน ขณะที่รายจ่ายลงทุนหดตัวตามการเบิกจ่ายงบกลุ่มจังหวัด จากผลของฐานสูงในช่วงเดียวกันปีก่อนเป็นสำคัญ

         เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน จากเครื่องชี้การลงทุนในหมวดก่อสร้างที่หดตัวต่อเนื่องตามพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง อย่างไรก็ดี เครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์โดยรวมยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ตามยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศและยอดจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการลงทุน

          จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทรงตัวที่ร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนกลับมาหดตัวจากผลของฐานสูงในเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการเหลื่อมวันของเทศกาลตรุษจีนที่ในปีนี้อยู่ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเร่งเดินทางก่อนเทศกาลตรุษจีนตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม อย่างไรก็ตาม จำนวนนักท่องเที่ยวจากตลาดหลักอื่นๆ ยังขยายตัว ได้แก่ นักท่องเที่ยวมาเลเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย และไต้หวัน ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว จานวนนักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อน ตามจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ

           มูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัวร้อยละ 1.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน และหากหักทองคำหดตัวร้อยละ 3.0 โดยเป็นการหดตัวจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอลงจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ประกอบกับผลของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังชะลอลงต่อเนื่อง ส่งผลให้การส่งออกในหลายหมวดสินค้ายังคงหดตัว ได้แก่ 1) ยานยนต์และชิ้นส่วน ตามการส่งออกรถยนต์นั่ง ขณะที่การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ยังขยายตัวได้ โดยเฉพาะยางล้อไปตลาดสหรัฐฯ 2) สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และแผงวงจรรวมหดตัวตามการปรับลดสินค้าคงคลังของผู้นำเข้าเป็นสำคัญ 3) สินค้าเกษตร ตามการส่งออกข้าวหดตัวจากผลของการแข่งขันด้านราคาจากประเทศคู่แข่ง และยางพารา และ 4) สินค้าที่มูลค่าเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันหดตัวจากด้านราคาเป็นสาคัญ ขณะที่ด้านปริมาณส่งออกยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

          ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าที่หดตัวส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวสอดคล้องกัน โดยการผลิตเพื่อส่งออก อาทิ หมวดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และหมวดยางและพลาสติก หดตัวตามคาสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ชะลอลงต่อเนื่อง ขณะที่การผลิตเพื่อรองรับอุปสงค์ในประเทศ อาทิ หมวดยานยนต์ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมยังขยายตัวได้ สอดคล้องกับอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัว

          มูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัวที่ร้อยละ 7.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน และหากหักทองคำหดตัวร้อยละ 4.8 ตามการหดตัวในหลายหมวดสินค้า ได้แก่ 1) หมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางหดตัวตามการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวต่อเนื่อง 2) หมวดสินค้าทุนที่ไม่รวมหมวดเครื่องบินและแท่นขุดเจาะหดตัวตามการนำเข้าหมวดโทรคมนาคมโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ และเครื่องจักรอื่นๆ ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นสำคัญ และ 3) หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัวตามการนำเข้าสินค้าคงทนในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและเฟอร์นิเจอร์ อย่างไรก็ดี การนำเข้าหมวดยานยนต์และชิ้นส่วนยังขยายตัวได้ สอดคล้องกับการผลิตหมวดยานยนต์และยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง

          ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.73 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.27 ในเดือนก่อน ตามหมวดพลังงานที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และราคาหมวดอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามราคาเนื้อสัตว์เป็นสาคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงจากเดือนก่อน สำหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลปรับลดลงจากเดือนก่อน ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นตามดุลการค้าเนื่องจากมูลค่าการนาเข้าหดตัวสูง ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลจากด้านสินทรัพย์ ตามการลงทุนโดยตรงของนักลงทุนไทยในต่างประเทศ (Thai Direct Investment: TDI) เป็นสำคัญ

ธนาคารแห่งประเทศไทย
29 มีนาคม 2562


ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค 1-2
โทรศัพท์: 0 2283 5639, 0 2283 5647
E-mail: EPD-MacroEconomicsTeam1-2@bot.or.th

>>​Download​​ PDF

​เอกสารที่เกี่ยวข้อง แถลงข่าวและรายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือน

ตารางแนบ 1
ตารางแนบ 2
แผนภูมิประกอบ
รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนกุมภาพันธ์ 2562


Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.