• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2019
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​ข่าว ธปท. ​ฉบับที่ 28/2562


เรื่อง  เปิดตัวโครงการคลินิกแก้หนี้ระยะที่ 2 เริ่ม 15 พฤษภาคม 2562

​          นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า โครงการคลินิกแก้หนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานกลางที่สำคัญของประเทศที่มุ่งช่วยเหลือประชาชนที่มีหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันกับเจ้าหนี้หลายราย ซึ่งปกติการปรับโครงสร้างหนี้จะทำได้ยากเนื่องจากเจ้าหนี้แต่ละรายมีหลักเกณฑ์ที่ต่างกันและลูกหนี้จะต้องเจรจากับเจ้าหนี้แต่ละรายด้วยตนเอง โดยบริษัท บริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท จำกัด (SAM) จะเป็นหน่วยงานกลางที่เจรจากับลูกหนี้แทนเจ้าหนี้ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนรายย่อยมีโอกาสแก้ปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จและสามารถหลุดจากวงจรหนี้

          ทั้งนี้ โครงการนำร่องในระยะแรกครอบคลุมเฉพาะหนี้ของธนาคารพาณิชย์ ในระยะที่ 2 จึงได้ขยายขอบเขตให้รวมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ Non-bank ซึ่งจะทำให้โครงการสามารถช่วยเหลือประชาชนได้ในวงกว้างและเบ็ดเสร็จมากขึ้น เนื่องจากลูกหนี้ของ Non-bank มีจำนวนกว่า 80% ของทั้งหมด ในครั้งนี้มีผู้ประกอบการ Non-bank 19 แห่ง ยินดีเข้าร่วมโครงการ และเมื่อรวมกับธนาคารพาณิชย์ 16 แห่งที่ร่วมโครงการอยู่แล้วจะทำให้โครงการคลินิกแก้หนี้ครอบคลุมสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเกือบทั้งระบบ โดยลูกหนี้ของ Non-bank สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป

          นางสาวณญาณี เผือกขา ประธานชมรมสินเชื่อส่วนบุคคล กล่าวเพิ่มเติมว่า ชมรมสินเชื่อส่วนบุคคลรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมและพร้อมสนับสนุนโครงการคลินิกแก้หนี้ เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ในการช่วยเหลือประชาชนที่มีปัญหาหนี้เสีย โดยการขยายขอบข่ายความร่วมมือในระยะที่ 2 จากเดิมที่ครอบคลุมเฉพาะลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ ให้ครอบคลุมลูกหนี้ของผู้ประกอบการ Non-bank อีก 19 แห่ง จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าโครงการ และช่วยให้การแก้ปัญหาโดยรวมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้จะมีภาระการผ่อนชาระคืนต่อเดือนที่น้อยลง ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรนและคงที่ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโครงการ โดยสามารถผ่อนชาระได้นานถึง 10 ปี โครงการเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ประสบปัญหาหนี้มีโอกาสผ่านพ้นวิกฤติทางการเงินไปได้ โดยไม่ต้องพึ่งหนี้นอกระบบซึ่งจะส่งผลให้ปัญหายิ่งรุนแรงขึ้น

          นอกจากนี้ ชมรมสินเชื่อบุคคลพร้อมให้ความร่วมมือในการปล่อยสินเชื่อด้วยความรับผิดชอบรวมทั้งจะเผยแพร่และส่งเสริมความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางของสมาชิกชมรมทั้ง 28 แห่ง โดยหวังว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยลดปัญหาหนี้ครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว

          นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ประธานกรรมการบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เริ่มโครงการคลินิกแก้หนี้ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด หรือ SAM ทำหน้าที่หน่วยงานกลางเชื่อมโยงลูกหนี้รายย่อยกับเจ้าหนี้ธนาคารหลายแห่งให้สามารถหาทางออกในการแก้ปัญหาหนี้สินร่วมกัน โดยข้อมูล ณ เมษายน 2562 มีผู้สนใจสมัครเข้าโครงการจำนวน 44,600 ราย โดยในจานวนนี้ SAM ได้ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ (Counselling) และมีลูกหนี้ประมาณ 1,500 รายที่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จ รวมทั้งมีลูกหนี้ที่ชำระหนี้เสร็จสิ้นและออกจากโครงการจำนวน 16 ราย นอกจากนี้ มีการให้ความรู้ทางการเงินแก่ลูกหนี้ พนักงานของบริษัท หน่วยงานราชการ และเอกชนต่าง ๆ กว่า 2,200 คน

          โครงการคลินิกแก้หนี้ ระยะที่ 2 ซึ่งครอบคลุมผู้ประกอบการ Non-bank 19 แห่ง จะช่วยให้โครงการสามารถเป็นกลไกแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศได้อย่างกว้างขวางและครบวงจรมากขึ้น โดย SAM ได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการอย่างเต็มที่ ทั้งการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาหนี้สิน การพัฒนาระบบงาน รวมทั้งเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารใหม่ คือ “Line official account - debt clinic by SAM” ซึ่งจะทำให้การติดต่อและสมัครเข้าร่วมโครงการกับ SAM ทำได้ สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ SAM ยังจัดโครงการพบกันวันหยุดกับโครงการคลินิกแก้หนี้เปิดบริการในวันเสาร์ที่ 11, 18 และ 25 พฤษภาคม 2562 เวลา 09.00 น.- 16.00 น. เพื่ออานวยความสะดวกในการติดต่อและสมัครเข้าร่วมโครงการ

          ทั้งนี้ หนึ่งในสิ่งที่ SAM ให้ความสำคัญและดาเนินการอย่างต่อเนื่อง คือ การส่งเสริมความรู้และสร้างวินัยทางการเงินที่ดี โดยในปีนี้จะมุ่งเน้นกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ด้วยการจัดกิจกรรมเพิ่มทักษะการบริหารจัดการเงินซึ่งเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญ และจะช่วยส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านการลดความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย และสร้างเสริมสุขภาพทางการเงินที่ดีให้แก่คนรุ่นใหม่ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน อันเป็นจุดมุ่งหมายที่ทุกฝ่ายยึดมั่นร่วมกัน

          สำหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จากัด (SAM) โทรศัพท์ 0 2610 2266 หรือสมัครที่เว็บไซต์ www.debtclinicbysam.com หรือ www.คลินิกแก้หนี้.com

ธนาคารแห่งประเทศไทย
7 พฤษภาคม 2562


ข้อมูลเพิ่มเติม: สายกำกับสถาบันการเงิน
โทรศัพท์ 0 2283 5904
E-mail: DMProgram@bot.or.th

>>​Download​​ PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.