• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2019
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​ข่าว ธปท. ​ฉบับที่ 31/2562


เรื่อง ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 1 ปี 2562

          นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้อานวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 1 ปี 2562 ว่าสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงจากการชำระคืนหนี้ของธุรกิจขนาดใหญ่ ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวดีต่อเนื่องในทุกพอร์ต คุณภาพสินเชื่อทรงตัวส่วนหนึ่งเป็นผลจากการบริหารคุณภาพพอร์ตสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ด้านกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและรายได้ที่เป็นรายการพิเศษ รวมทั้งค่าใช้จ่ายการกันสำรองที่ลดลง ทั้งนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพโดยมีเงินสำรอง เงินกองทุน และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถรองรับการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไปได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

          สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงจากร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 5.6 โดยเป็นการชะลอตัวตามสินเชื่อธุรกิจจากการชำระคืนหนี้ของลูกหนี้บางรายในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ที่หันไประดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้มากขึ้น อย่างไรก็ดี สินเชื่ออุปโภคบริโภคยังขยายตัวดีในทุกพอร์ต สอดคล้องกับการบริโภคที่ขยายตัวดี และเป็นผลจากการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดสินเชื่อรายย่อย รวมทั้ง มีการเร่งปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยก่อนมาตรการ Loan To Value (LTV) มีผลบังคับใช้

          สินเชื่อธุรกิจ (ร้อยละ 65.3 ของสินเชื่อรวม) ขยายตัวร้อยละ 3.4 โดยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ (ไม่รวมธุรกิจการเงิน) ขยายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ซึ่งเป็นการขยายให้สินเชื่อในธุรกิจสาธารณูปโภค อสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง ขณะที่มีการทยอยชำระคืนหนี้ของลูกหนี้ในธุรกิจบริการ สินเชื่อธุรกิจ SME (ไม่รวมธุรกิจการเงิน) ขยายตัวชะลอลงจากร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อน มาอยู่ร้อยละ 1.5 จากการชำระคืนหนี้ของลูกหนี้ที่ใช้วงเงินสินเชื่อสูงบางรายในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม อย่างไรก็ดี สินเชื่อยังขยายตัวดีในธุรกิจสาธารณูปโภคหมวดการผลิตไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง ส่วนใหญ่จาก SME ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ 

          สินเชื่ออุปโภคบริโภค (ร้อยละ 34.7 ของสินเชื่อรวม) ขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 10.1 โดยเป็นการขยายตัวสูงในทุกพอร์ต โดยหลักจาก (1) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงขยายตัวสูงขึ้นจากการเร่งปล่อยสินเชื่อต่อเนื่องมาจากไตรมาสที่แล้ว ก่อนมาตรการ LTV มีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2562 (2) สินเชื่อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ และ (3) สินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภท ทั้งที่มีหลักประกัน อาทิ สินเชื่อบ้านแลกเงินและสินเชื่อรถแลกเงิน และสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน 

          คุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPL) ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.94 ทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยยอดคงค้าง NPL อยู่ที่ 454 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 10 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างหนี้ การตัดหนี้สูญ และขายหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูง สำหรับสัดส่วนสินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special Mention: SM) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.42 ในไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 2.56 จากสินเชื่อธุรกิจ SME เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินสารองอยู่ในระดับสูงที่ 685 พันล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 15.8 พันล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเงินสำรองที่มีต่อเงินสำรองพึงกันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 195.0 

          ในไตรมาส 1 ปี 2562 ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 57.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากการเติบโตของสินเชื่อ และรายได้ที่เป็นรายการพิเศษ รวมทั้งค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลง แม้ว่ารายได้ค่าธรรมเนียมจะหดตัวต่อเนื่อง และค่าใช้จ่ายพนักงานจะสูงขึ้นจากการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงานตามกฎหมายแรงงานใหม่ ทำให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Asset : ROA) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.05 ในไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 1.20 ขณะที่อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (Net Interest Margin : NIM) ทรงตัวที่ร้อยละ 2.82* 

          ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,567 พันล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 2 พันล้านบาท โดยเป็นผลจากการจ่ายเงินปันผลจากกาไรสะสมของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง ส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common Equity Tier 1 : CET1 ratio) ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 18.2 และ 15.7 ตามลำดับ


ธนาคารแห่งประเทศไทย
21 พฤษภาคม 2562


ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมวิเคราะห์ฐานะและสินเชื่อ
โทรศัพท์ 0 2283 5980
E-mail: FP&LATeam@bot.or.th

* ในไตรมาสนี้ ระบบ ธพ. มีรายได้และค่าใช้จ่ายที่เป็นรายการพิเศษ ได้แก่ (1) การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยของลูกหนี้ NPL จากการขายหลักประกัน (2) กำไรจากการขายเงินลงทุน และ (3) ค่าใช้จ่ายจากการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงานตามกฎหมายแรงงานใหม่ หากหักรายการพิเศษออก กำไรสุทธิอยู่ที่ 54.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราส่วน ROA และ NIM อยู่ที่ร้อยละ 1.13 และ 2.74 ตามลำดับ

>>​Download​​ PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.