• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2019
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​ข่าว ธปท. ฉบับที่ 47/2562


​เรื่อง แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนกรกฎาคม ปี 2562

​          เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2562 ขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้นในหมวดสินค้าคงทนและกึ่งคงทน แต่โดยรวมยังอยู่ในทิศทางที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก ด้านการใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัวจากรายจ่ายของรัฐบาลกลาง ขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจยังหดตัวต่อเนื่อง สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนทรงตัว การส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัวเล็กน้อยจากการส่งออกทองคำ ขณะที่การส่งออกที่ไม่รวมทองคำยังหดตัวสอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรม สำหรับภาคการท่องเที่ยวขยายตัวจากนักท่องเที่ยวจีนและอินเดียเป็นสำคัญส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำจากเหตุการณ์เรือล่มในจังหวัดภูเก็ต

          ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลง สำหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลตามดุลการค้าเป็นสำคัญ และดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายเกินดุลสุทธิจากทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สิน

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้

          เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนที่ขยายตัวจากยอดจดทะเบียนจักรยานยนต์และยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ และสินค้ากึ่งคงทนที่ขยายตัวตามยอดขายปลีกสินค้ากึ่งคงทน และการนำเข้าเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มขณะที่การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนและหมวดบริการชะลอลงและทรงตัวตามลำดับ ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนโดยรวมยังขยายตัวในระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก ส่วนหนึ่งจากปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อโดยรวมที่แผ่วลง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลงต่อเนื่อง โดยรายได้รวมนอกภาคเกษตรกรรมหดตัว ตามจำนวนผู้มีงานทำที่ปรับลดลง ส่วนรายได้ภาคเกษตรกรรมขยายตัวชะลอลงจากด้านราคาเป็นสำคัญ โดยเฉพาะราคาผลไม้ ขณะที่ปริมาณผลผลิตทรงตัว

          การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนกลับมาขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน จากรายจ่ายของรัฐบาลกลาง ทั้งรายจ่ายประจำที่ขยายตัวเล็กน้อยจากรายจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ตามการเบิกจ่ายบำนาญเป็นสำคัญ และรายจ่ายลงทุนที่ขยายตัวตามการเบิกจ่ายของกรมทางหลวงและสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นสำคัญ ขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจยังหดตัวต่อเนื่องตามการเบิกจ่ายของ ปตท. และ รฟม. มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 3.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือน อย่างไรก็ตาม หากหักทองคำ มูลค่าส่งออกยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.7 เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกชะลอลง ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ผลของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน วัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังชะลอลงต่อเนื่อง และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่หดตัวส่งผลให้การส่งออกในหลายหมวดสินค้ายังคงหดตัว ได้แก่ 1) สินค้าที่มูลค่าเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันดิบที่หดตัวทั้งราคาและปริมาณ และ 2) สินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แผงวงจรรวม แผ่นวงจรพิมพ์ และโทรศัพท์มือถือ แต่เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของการส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์หลังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการย้ายฐานการผลิตมาจากมาเลเซียในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การส่งออกในบางหมวดสินค้าขยายตัวได้ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการทดแทนสินค้าจีนในตลาดสหรัฐฯ เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ ตู้เย็นยางล้อ ปลากระป๋อง และเสื้อผ้าสำเร็จรูป นอกจากนี้ เครื่องปรับอากาศขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยได้รับผลดีจากสภาพอากาศที่ร้อนกว่าปกติโดยเฉพาะยุโรป และออสเตรเลีย รวมทั้ง การส่งออกผลไม้ไปจีนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง

          มูลค่าการนำเข้าสินค้ากลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน หากหักทองคำขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 โดยเป็นการขยายตัวใน 3 หมวดสินค้าหลัก ได้แก่ 1) หมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางไม่รวมเชื้อเพลิง ตามการนำเข้าเหล็กและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่การนำเข้าเชื้อเพลิงหดตัวทั้งด้านราคาและด้านปริมาณ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นบางรายที่ต่อเนื่องจากเดือนก่อน 2) หมวดสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบินและแท่นขุดเจาะขยายตัวในหลายสินค้า อาทิ เครื่องกังหันไอพ่น และเครื่องจักรสำหรับผลิตน้ำตาล และ 3) หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคตามการนำเข้าในหลายสินค้า โดยอัตราการขยายตัวของการนำเข้าหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงมากในเดือนนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำในบางสินค้าอาทิ อัญมณี และเครื่องใช้ไฟฟ้า

          จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.7 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามจำนวนนักท่องเที่ยวจีนและอินเดียเป็นสำคัญ โดยนักท่องเที่ยวจีนกลับมาขยายตัวจากผลของฐานต่ำในปีก่อนที่มีเหตุการณ์เรือล่มที่จังหวัดภูเก็ต สำหรับนักท่องเที่ยวอินเดียขยายตัวดีต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียม visa on arrival อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวยุโรปหดตัวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวรัสเซียที่หดตัวต่อเนื่องตามเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

          เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้การลงทุนหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขยายตัวเล็กน้อย ขณะที่เครื่องชี้การลงทุนในหมวดก่อสร้างหดตัวจากทั้งพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างทั่วประเทศที่หดตัวต่อเนื่อง ยกเว้นพื้นที่เพื่ออุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวได้ และยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่หดตัวตามยอดจำหน่ายเสาเข็มคอนกรีตเป็นสำคัญ สอดคล้องกับการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อน

         ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.98 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.87 ในเดือนก่อน จากอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ สำหรับราคาหมวดพลังงานหดตัวน้อยลง ตามระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงจากเดือนก่อนสะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว สำหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลตามดุลการค้าเป็นสำคัญ ด้านดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายเกินดุลสุทธิจากทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สิน


ธนาคารแห่งประเทศไทย
30 สิงหาคม 2562


ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค 1-2
โทรศัพท์: 0 2283 5639, 0 2283 5647
E-mail: EPD-MacroEconomicsTeam1-2@bot.or.th

>>​Download​​ PDF

​เอกสารที่เกี่ยวข้อง แถลงข่าวและรายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือน

ตารางแนบ 1
ตารางแนบ 2
แผนภูมิประกอบ
รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนกรกฎาคม 2562


Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.