• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2019
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​ข่าว ธปท. ฉบับที่ 54/2562


เรื่อง  แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนสิงหาคม ปี 2562

          ​เศรษฐกิจไทยในเดือนสิงหาคม 2562 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อน โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงตามการใช้จ่ายในเกือบทุกหมวดสินค้า การส่งออกสินค้ากลับมาหดตัวสอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรม กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนหดตัว นอกจากนี้ การใช้จ่ายภาครัฐกลับมาหดตัวตามรายจ่ายประจำ ขณะที่รายจ่ายลงทุนยังขยายตัวได้ สำหรับภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำจากเหตุการณ์เรือล่มในจังหวัดภูเก็ต

          ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศและราคาอาหารสดเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับเพิ่มขึ้น สำหรับจำนวนผู้มีงานทำที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลลดลงจากเดือนก่อน สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นตามดุลการค้าเป็นสำคัญ และดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจากทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สิน

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้

          เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการใช้จ่ายสินค้าคงทนที่หดตัวสูงจากยอดจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยด้านรายได้ที่ชะลอลง และ สถาบันการเงินเข้มงวดมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มากขึ้น เนื่องจากเห็นสัญญาณของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลง นอกจากนี้ การใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนขยายตัวชะลอลง ตามการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ สอดคล้องกับยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศที่หดตัวสูง ขณะที่การใช้จ่ายสินค้ากึ่งคงทนทรงตัว อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวเร่งขึ้น ตามการใช้จ่ายในหมวดโรงแรมและภัตตาคารเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนกาลังซื้อโดยรวมแผ่วลง โดยรายได้รวมนอกภาคเกษตรกรรมหดตัวต่อเนื่อง ส่วนรายได้ภาคเกษตรกรรมขยายตัวจากด้านราคาเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6

          มูลค่าการส่งออกสินค้ากลับมาหดตัวร้อยละ 2.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน หากไม่รวมทองคำ มูลค่าการส่งออกหดตัวสูงที่ร้อยละ 8.9 ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ผลของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน วัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังชะลอลงต่อเนื่อง และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่หดตัว รวมทั้งผลของฐานสูงในปีก่อนจากการเร่งส่งออกก่อนสหรัฐฯ จะปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจากจีน ส่งผลให้การส่งออกหดตัวในทุกหมวดสินค้า อาทิ หมวดสินค้าที่มูลค่าเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันดิบที่หดตัวทั้งราคาและปริมาณ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 อย่างไรก็ดี การส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในระยะถัดไปมีสัญญาณดีขึ้น สะท้อนจากการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในเดือนนี้ที่กลับมาขยายตัวสูง หลังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการย้ายฐานการผลิตจากมาเลเซียในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ ผลดีจากการส่งออกสินค้าทดแทนสินค้าจีน และสหรัฐฯ ในทั้งสองตลาดมีมากขึ้น อาทิ การส่งออกยางล้อรถยนต์ ตู้เย็น เครื่องรับโทรทัศน์ และเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มไปตลาดสหรัฐฯ ที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกรถยนต์และจักรยานยนต์ที่มีราคาสูงไปจีนขยายตัวเร่งขึ้น แต่ผลดีที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยการส่งออกสินค้าไปตลาดอื่นๆ ที่ยังคงมีแนวโน้มลดลง 

          เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้การลงทุนหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์กลับมาหดตัวตามการนำเข้าสินค้าทุนและยอดจดทะเบียนรถยนต์เป็นสาคัญ สำหรับเครื่องชี้การลงทุนในหมวดก่อสร้างหดตัวจากทั้งพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเกือบทุกวัตถุประสงค์ที่หดตัวต่อเนื่อง ยกเว้นพื้นที่เพื่ออุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวได้ และยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่หดตัวตามยอดจำหน่ายเสาเข็มคอนกรีตเป็นสำคัญ สอดคล้องกับการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ เมื่อขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้ว เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อน

          การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนกลับมาหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนจากรายจ่ายประจำที่หดตัวตามรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการของกองทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลางขยายตัวเล็กน้อยตามการเบิกจ่ายของกรมทางหลวง และรายจ่ายลงทุน ของรัฐวิสาหกิจที่กลับมาขยายตัวตามการเบิกจ่ายของ ทอท. และ ปตท.

         มูลค่าการนำเข้าสินค้ากลับมาหดตัวสูงที่ร้อยละ 15.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน หากไม่รวมทองคำหดตัวที่ร้อยละ 8.0 โดยเป็นการหดตัวในทุกหมวดสินค้า ได้แก่ 1) หมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง โดยเฉพาะเหล็กสอดคล้องกับการก่อสร้างภาคเอกชนและการผลิตรถยนต์ที่หดตัว ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สอดคล้องกับการผลิตและการส่งออกในหมวดดังกล่าวที่หดตัว และเชื้อเพลิงที่หดตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก 2) หมวดสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบินและแท่นขุดเจาะ โดยเฉพาะอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคม และเครื่องจักรและอุปกรณ์ สอดคล้องกับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่หดตัว 3) หมวดสินค้าอุปโภคและบริโภค และ 4) หมวดยานยนต์และชิ้นส่วนหดตัว สอดคล้องกับการชะลอตัวของการบริโภคภาคเอกชน

          จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 7.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน จาก 1) ผลของฐานต่ำจากเหตุการณ์เรือล่มที่จังหวัดภูเก็ต และ 2) นักท่องเที่ยวกลุ่มที่ได้รับผลดีจากมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียม visa on arrival ขยายตัวดี โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน อินเดีย และไต้หวัน และ ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากที่นักท่องเที่ยวจีนเปลี่ยนเส้นทางการท่องเที่ยวจากฮ่องกงมาไทยจากเหตุการณ์ประท้วงทางการเมือง อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวยุโรปโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวเยอรมนีและรัสเซียหดตัวต่อเนื่องตามเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

          ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.52 ลดลงจากร้อยละ 0.98 ในเดือนก่อน โดยเป็นผลจากทั้งราคาหมวดพลังงานที่หดตัวมากขึ้น ตามระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดที่ปรับลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับจำนวนผู้มีงานทำที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลลดลงจากเดือนก่อนตามการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะภาคการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ขณะที่อัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลใกล้เคียงกับเดือนก่อน สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นตามดุลการค้าเป็นสำคัญ ด้านดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจากทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สิน


ธนาคารแห่งประเทศไทย
30 กันยายน 2562


ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค 1-2
โทรศัพท์: 0 2283 5639, 0 2283 5647
E-mail: EPD-MacroEconomicsTeam1-2@bot.or.th

>>​Download​​ PDF

​เอกสารที่เกี่ยวข้อง แถลงข่าวและรายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือน

ตารางแนบ 1
ตารางแนบ 2
แผนภูมิประกอบ
รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนสิงหาคม 2562


Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.