• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2020
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​ข่าว ธปท. ​ฉบับที่ 4/2563


เรื่อง คลินิกแก้หนี้ระยะที่ 3 เปิดรับทุกกลุ่ม ทั้งหนี้คดีแดงและหนี้เจ้าหนี้รายเดียว
เดินหน้ามุ่งปลดหนี้บัตรให้คนไทย

​           นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของประเทศที่อยู่ในระดับน่ากังวลใจ และเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มไม่สดใสนัก ธปท. เห็นว่า การแก้ปัญหาหนี้สินให้กับประชาชนเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญในปี 2563 เมื่อดูข้อมูลภาระหนี้ต่อเดือนของครัวเรือนไทยพบว่าประมาณ 40% เป็นหนี้ส่วนบุคคลเพื่ออุปโภคบริโภค ที่ระยะเวลาผ่อนสั้นและมีอัตราดอกเบี้ยแพง ซึ่งหนี้บัตร ทั้งบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดถือเป็นลูกหนี้ส่วนใหญ่ของหนี้กลุ่มนี้


          ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2560 สถาบันการเงินสมาชิก บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) และ ธปท. ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการแก้หนี้ครัวเรือนผ่าน “โครงการคลินิกแก้หนี้” ซึ่ง ณ ธันวาคม 2562 คลินิคแก้หนี้สามารถช่วยประชาชนแก้หนี้บัตรไปแล้ว 3,194 ราย ครอบคลุมบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดกว่า 13,000 ใบ มีหนี้บัตรเฉลี่ยรายละ 3 ใบ มูลหนี้เฉลี่ยต่อราย 234,843 บาท ในจำนวนนี้ 72 รายชำระหนี้หมดแล้ว สามารถหลุดจากวงจรหนี้บัตร

          ปัจจุบันโครงการฯ เดินหน้าเข้าสู่ “ระยะที่ 3” โดยได้ขยายขอบเขตให้สามารถแก้ไขหนี้บัตรที่มีเจ้าหนี้รายเดียว และหนี้บัตรที่อยู่ในกระบวนการของศาลและมีคำพิพากษาแล้ว รวมทั้งปรับปรุงคุณสมบัติผู้เข้าโครงการจากเดิมต้องมีหนี้บัตรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2562 มาเป็นวันที่ 1 มกราคม 2563กล่าวคือ หลังจากที่ปลดข้อจำกัดเรื่องต่างๆ แล้ว โครงการคลินิกแก้หนี้ ระยะที่ 3 สามารถช่วยแก้ปัญหาหนี้บัตรของประชาชนได้ในแทบทุกกลุ่ม


          ถึงแม้ว่าโครงการจะเดินหน้าเข้าสู่ระยะที่ 3 แล้ว ธปท. ขอเน้นย้ำ ความพิเศษของโครงการคลินิกแก้หนี้อย่างน้อยใน 2 มิติ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาหนี้บัตร กล่าวคือ

          หนึ่ง SAM ทำหน้าที่เป็นคนกลางที่ช่วยเจรจาและประสานงานระหว่างเจ้าหนี้-ลูกหนี้ ทำให้การแก้ปัญหาหนี้บัตรที่อาจมีเจ้าหนี้หลายรายเกิดขึ้นได้ ซึ่งปกติเวลามีเจ้าหนี้หลายรายการเจรจาให้สำเร็จเบ็ดเสร็จเกิดขึ้นยาก โครงการจะช่วยให้รวมหนี้ให้เบ็ดเสร็จ ลูกหนี้จะไม่ถูกทวงจากเจ้าหนี้หลายราย รวมทั้งจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและปรับโครงสร้างหนี้

          สอง ลูกหนี้จะได้รับข้อเสนอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ผ่อนปรนเป็นพิเศษ คือ ผ่อนเฉพาะเงินต้น โดยมีระยะเวลาผ่อนนานถึง 10 ปี ซึ่งปกติถ้าไปเจรจากับเจ้าหนี้เดิมอาจถูกเรียกให้จ่ายคืนภายในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 6 เดือน การไม่เร่งรัดและให้ระยะเวลาผ่อนชำระนานเพียงพอ หมายความว่า ยอดที่ต้องผ่อนต่อเดือนจะไม่สูง เช่น ถ้ามีหนี้ 5หมื่น และ 1 แสนบาท ยอดผ่อนต่อเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 600 และ 1,200 บาทเท่านั้น และ เมื่อผ่อนชำระเสร็จสิ้นตามสัญญาจะยกดอกเบี้ยค้างชำระให้ทั้งหมด

          ปัจจุบันโครงการคลินิกแก้หนี้ มีสถาบันการเงิน non-bank และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเป็นสมาชิกรวม 35 แห่ง ทำให้โครงการฯ กลายเป็น “เครือข่ายที่ช่วยเหลือประชาชนแก้หนี้บัตร” ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ โดยธนาคารออมสินถือเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดที่เข้าร่วมโครงการฯ 


          นายโชคชัย คุณาวัฒน์ รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารออมสินเล็งเห็นถึงความสำคัญในการช่วยเหลือลูกหนี้ และถือเป็นเรื่องสำคัญของธนาคารที่จะเข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้เพื่อช่วยประชาชนแก้ไขปัญหาหนี้เสียบัตร นอกจากนี้ ธนาคารยังได้เริ่มโครงการ refinance หนี้บัตรดีเพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้แก่ประชาชนที่มีวินัยและมีประวัติการผ่อนชำระดีเยี่ยม ที่เดิมต้องจ่ายดอกเบี้ยสูง 18% หรือ 28% แต่โครงการนี้จะคิดอัตราดอกเบี้ยเพียง 8.50-10.50% ตามความเสี่ยง อีกทั้งจะสนับสนุนให้ลูกค้านำเงินที่ประหยัดได้ในแต่ละเดือนจากการ refinance ไปเก็บออมไว้ เช่นซื้อสลากออมสินด้วย ดังนั้นโครงการ refinance บัตรดีนอกจากจะช่วยลดภาระประชาชนแล้วยังส่งเสริมการออมสำหรับอนาคตด้วย อย่างไรก็ตาม การแก้หนี้เสียและการ refinance หนี้บัตรดีจะสัมฤทธิ์ผลสูงสุด หากลูกหนี้ใช้โอกาสนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างวินัยทางการเงิน วางแผนชีวิต และใช้จ่ายอย่างเหมาะสม

          นายนิยต มาศะวิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM กล่าวว่า โครงการฯ ในระยะที่ 3 จะมีการปรับกระบวนการทำงานให้รวดเร็วขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีและช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัยมาใช้อำนวยความสะดวกและช่วยตอบโจทย์ลูกค้าให้ดีขึ้น เราให้ความใส่ใจตั้งแต่การให้คำปรึกษา ขั้นตอนสมัครจนถึงลงนามในสัญญา ขั้นตอนทั้งหมดต้องสั้นกระชับ ไม่เสียเวลาลูกค้ามากจนเกินไป รวมทั้งจะทำงานเชิงรุกด้วยการเปิดบริการพิเศษในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพื่อรองรับลูกค้าที่ไม่สามารถเดินทางมาที่สำนักงานในช่วงวันทำการปกติ ตลอดจนจะลงพื้นที่ออกไปพบลูกค้าตามสถานประกอบการทั่วประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ โครงการฯ ระยะที่ 3 จะประสานความร่วมมือกับศาลและกรมบังคับคดีเพื่อหาข้อสรุปในขั้นตอนไกล่เกลี่ย ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้าอีกทางหนึ่งด้วย

          ในขณะที่ นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB) เปิดเผยว่า SAM จะสมัครเข้าเป็นตัวแทน (agent) ของ NCB และจะร่วมกันปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบและส่งข้อมูล ซึ่งจะทำให้การปรับโครงสร้างหนี้เริ่มได้เร็วขึ้นและใช้เวลาโดยรวมสั้นลง อีกทั้ง NCB จะพิจารณาสนับสนุนโครงการฯ โดยมอบคูปองยกเว้นค่าตรวจสอบรายงานเครดิตบูโรสำหรับลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้ (ปกติมีค่าใช้จ่าย 100 บาท) ซึ่งลูกหนี้ที่สนใจสามารถขอรับคูปองดังกล่าวกับ SAM ได้ตั้งแต่บัดนี้

          ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจ สามารถติดตามข่าวสารของโครงการฯ ได้ในหลายช่องทาง เช่น www.คลินิกแก้หนี้.com และ www.debtclinicbysam.com แอดไลน์ @debtclinicbysam Facebook คลินิกแก้หนี้ และ Debtclinicbysam หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02-610-2266 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-17.00 น.

ธนาคารแห่งประเทศไทย
3 กุมภาพันธ์ 2563 


ข้อมูลเพิ่มเติม: ฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
โทรศัพท์ 0 2283 6670
E-mail: debtclinic-BOT@bot.or.th

>>​Download​​ ข่าว PDF

>>​ดาวน์โหลด PDF สไลด์ประกอบการนำเสนอ

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.