• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2020
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​ข่าว ธปท. ​ฉบับที่ 23/2563


เรื่อง แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2563

​          เศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคม 2563 หดตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่หดตัวรุนแรง หลังหลายประเทศรวมถึงไทยประกาศใช้มาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ ด้านการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมทองคำหดตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าและราคาน้ำมัน สำหรับเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนหดตัวตามปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อที่อ่อนแอลง และมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดขึ้น ทั้งนี้ อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่หดตัวส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวสูงขึ้นสอดคล้องกัน มีเพียงการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวตามการทยอยเบิกจ่ายภายหลัง พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563 ประกาศใช้

          ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ ปรับไปในทิศทางที่แย่ลงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ จากอัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงานตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่หดตัวสูง ขณะที่ตลาดแรงงานเปราะบางมากขึ้น ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงตามดุลการค้าที่ลดลงจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น และรายรับภาคการท่องเที่ยวที่ลดลงมาก ส่วนดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจากทั้งด้านสินทรัพย์และด้านหนี้สิน อย่างไรก็ดี เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้

          จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ หดตัวรุนแรงที่ร้อยละ 76.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการหดตัวสูงในทุกสัญชาติ จากผลของการประกาศใช้มาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศในหลายประเทศรวมถึงไทยเพื่อควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงมากส่งผลกระทบรุนแรงต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร และธุรกิจขนส่งผู้โดยสาร

          มูลค่าการส่งออกสินค้า หดตัวร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน หากไม่รวมการส่งออกทองคำ มูลค่าการส่งออกหดตัวที่ร้อยละ 6.5 โดยเป็นการหดตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเป็นการหดตัวในหลายหมวดสินค้า โดยเฉพาะยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องจักรและอุปกรณ์ และสินค้ากลุ่มที่มูลค่าเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการปิดเมืองในหลายประเทศ ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าลดลงมาก ประกอบกับราคาส่งออกหดตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก อย่างไรก็ดี การส่งออกในบางหมวดสินค้ายังขยายตัวได้ อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตรแปรรูป และเครื่องใช้ไฟฟ้า 

          เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน หดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการใช้จ่ายในเกือบทุกหมวด จากปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อภาคครัวเรือนที่อ่อนแอลง ทั้งในด้านรายได้ การจ้างงาน และความเชื่อมั่นผู้บริโภค รวมทั้งเป็นผลจากมาตรการควบคุมและความกังวลต่อโรค COVID-19 ซึ่งทำให้การเดินทางและการใช้จ่ายนอกบ้านลดลง โดยมีเพียงการใช้จ่ายในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นและการใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวได้ ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวสูงขึ้นสอดคล้องกับอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่อ่อนแอลง 

          เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน จากการลงทุนทั้งในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์และหมวดก่อสร้าง สอดคล้องกับอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่อ่อนแอลง รวมทั้งความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ลดลงต่อเนื่องตามสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงขึ้น

          มูลค่าการนำเข้าสินค้ากลับมาขยายตัวร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน หลังจากที่หดตัวสูงในเดือนก่อนหน้า หากไม่รวมการนำเข้าทองคำ มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 ตามการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง โดยเฉพาะการนำเข้าจากจีน จากการผ่อนคลายมาตรการการปิดเมือง ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าบางกลุ่มกลับมาขยายตัว ประกอบกับการนำเข้าน้ำมันดิบขยายตัว ตามคำสั่งซื้อที่ตกลงไว้ก่อนการระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ดี การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทุนยังคงหดตัว สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ 

          การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอน กลับมาขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ตามการทยอยเบิกจ่ายภายหลังการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563 เป็นหลัก โดยรายจ่ายประจำขยายตัวตามการเบิกจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ และการเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ขณะที่รายจ่ายลงทุนขยายตัวจากการเบิกจ่ายทั้งในส่วนของรัฐบาลกลางและรัฐวิสาหกิจ 

          ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจปรับไปในทิศทางที่แย่ลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 จากอัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงานตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่หดตัวสูง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและอัตราเงินเฟ้อในหมวดอาหารสดยังคงเป็นบวกแต่ปรับลดลงจากเดือนก่อน ด้านตลาดแรงงานเปราะบางมากขึ้น สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงตามดุลการค้าที่ลดลงจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น และรายรับภาคการท่องเที่ยวที่ลดลงมาก ส่วนดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจากทั้งด้านสินทรัพย์และด้านหนี้สิน อย่างไรก็ดี เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี

          เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 หดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่ออุปสงค์ทั้งต่างประเทศและในประเทศโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่หดตัวสูง ด้านการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมทองคำหดตัวต่อเนื่อง เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนแผ่วลงตามรายได้และความเชื่อมั่นที่ปรับลดลงมาก โดยมีเพียงการใช้จ่ายในหมวดสินค้าจำเป็นที่ยังขยายตัวได้ ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวต่อเนื่องจากความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563 ทั้งนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หดตัวส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวสอดคล้องกัน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน และอัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงานที่เป็นผลจากฐานต่ำในปีก่อน ขณะที่ตลาดแรงงานเปราะบางเพิ่มขึ้น ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง จากรายรับภาคการท่องเที่ยวที่ลดลงมาก ส่วนดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจากทั้งด้านสินทรัพย์และด้านหนี้สิน


ธนาคารแห่งประเทศไทย
30 เมษายน 2563

ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค 1-2
โทรศัพท์:0 2283 5639, 0 2283 5647
E-mail: EPD-MacroEconomicsTeam1-2@bot.or.th  

>>​Download​​ ข่าว PDF

​เอกสารที่เกี่ยวข้อง

รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนมีนาคม 2563
รวมแถลงข่าวและรายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือนทั้งหมด


Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.