• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
    • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2020
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​
ข่าว ธปท. ​ฉบับที่ 33/2563
เรื่อง ธปท. ไขข้อข้องใจทำไมขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่าย "เงินปันผลระหว่างกาล" และ "งดซื้อหุ้นคืน"

​

          นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่าย "เงินปันผลระหว่างกาล" และ "งดซื้อหุ้นคืน" ว่า การแพร่ระบาดของโควิด 19 เป็นสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงมาก ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจไทย ยังไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไหร่ และจะจบอย่างไร การรักษาภูมิคุ้มกันให้กับระบบเศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงินเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยกว่าการรักษาภูมิคุ้มกันให้กับสุขภาพของคนไทยแต่ละคน

          ภูมิคุ้มกันที่สำคัญมากอันหนึ่งของธนาคารพาณิชย์คือระดับเงินกองทุน ที่เป็นกันชนรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว และความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้เงินกองทุนจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเมื่อการแพร่ระบาดของโควิด 19 คลี่คลายลง และเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูอย่างเต็มที่

          การกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และแนวทางบริหารความเสี่ยงอย่างระมัดระวังที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้ระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ไทยเข้มแข็ง (ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2563 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงหรือ BIS ratio ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ที่ร้อยละ 18.7) ธนาคารพาณิชย์จึงสามารถออกมาตรการช่วยดูแลและเยียวยาลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้หลากหลายมาตรการ ในระยะข้างหน้าที่เรายังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง เราไม่ควร "การ์ดตก" ควรจะรักษาระดับเงินกองทุน หรือ "กันชน" ของธนาคารพาณิชย์ให้อยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง การขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่าย "เงินปันผลระหว่างกาล" และ "งดซื้อหุ้นคืน" เป็นมาตรการเพื่อไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ "การ์ดตก" ให้รักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็งต่อเนื่องจนกว่าจะจัดทำแผนบริหารจัดการเงินกองทุนใหม่ได้ชัดเจนขึ้น

          การประเมินระดับเงินกองทุนที่เหมาะสมของธนาคารพาณิชย์ก็เหมือนการตรวจสุขภาพที่ต้องทำเป็นประจำ ในรอบที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ได้ประเมินและจัดทำแผนบริหารจัดการเงินกองทุนก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งสถานการณ์วันนี้ได้เปลี่ยนไปมาก นอกจากนี้ ทั้งการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์และของลูกค้าก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม และมาตรการล๊อกดาวน์ด้วย ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ก็อยู่ในช่วงที่ต้องได้รับการเยียวยา ปรับตัว หรือวางแผนธุรกิจใหม่ ธนาคารพาณิชย์จึงไม่สามารถประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทั้งลูกค้าและแผนธุรกิจของตนเองได้อย่างชัดเจน ธปท. จึงขอให้ธนาคารพาณิชย์เร่งทบทวนแผนบริหารจัดการเงินกองทุนในช่วง 1-3 ปีข้างหน้าโดยคำนึงถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก

          นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการหลากหลายด้านเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ และผ่อนผันกฎเกณฑ์การกำกับดูแลหลายเรื่องเพื่อส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ด้วย ธนาคารพาณิชย์อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการเยียวยาและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ซึ่งต้องคำนวณผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผลประกอบการและระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์อย่างละเอียดในสถานการณ์ต่างๆ (scenarios) ในอนาคตด้วย

          ในภาวะปกติ ธนาคารพาณิชย์บางแห่ง (ไม่ใช่ทุกแห่ง) จะจ่าย "เงินปันผลระหว่างกาล" ให้แก่ผู้ถือหุ้นในช่วงเดือนสิงหาคม "เงินปันผลระหว่างกาล" หรือ interim dividend เป็นการจ่ายเงินปันผลนอกรอบระยะเวลาบัญชี โดยไม่ต้องรอคำนวณผลการดำเนินงานเมื่อครบปี หรือครบรอบระยะเวลาบัญชี โดยอาจจะคำนวณจากผลประกอบการในรอบครึ่งปีแรกและผลการดำเนินงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนำมาจ่ายเป็น "เงินปันผลระหว่างกาล" ให้แก่ผู้ถือหุ้นในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม

          ส่วนการ "ซื้อหุ้นคืน" นั้น ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่คิดว่ามีเงินกองทุนในระดับสูงเกินความจำเป็น หรือเห็นว่าราคาหุ้นในตลาดลงไปอยู่ในระดับต่ำเกินควร ได้มีแผน "ซื้อหุ้นคืน" จากผู้ถือหุ้นทั่วไป ซึ่งหมายถึงการซื้อหุ้นของตัวเองจำนวนหนึ่งออกจากตลาดหลักทรัพย์มาเก็บไว้ หรือเพื่อนำไปลดทุนในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้ระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ลดลง (การงดการซื้อหุ้นคืนของธนาคารพาณิชย์นั้น "ไม่กระทบ" ต่อการซื้อขายหุ้นธนาคารพาณิชย์ในตลาดหลักทรัพย์ของประชาชนตามปกติแต่อย่างใด)

          การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้ปีนี้เป็นปีที่ไม่ปกติ ทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทยไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบรุนแรง และยังจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ธนาคารพาณิชย์จึงควรใช้เวลาประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ วางแผนการดำเนินงานอย่างระมัดระวัง และทำงานกับลูกค้ากลุ่มต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้แผนบริหารจัดการเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จัดทำใหม่สอดคล้องกับสถานการณ์ข้างหน้า และสอดคล้องกับบทบาทของธนาคารพาณิชย์ที่จะต้องปล่อยสินเชื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยภายหลังจากที่การแพร่ระบาดของโควิด 19 คลี่คลายลงด้วย

          การขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่าย "เงินปันผลระหว่างกาล" และ "งดซื้อหุ้นคืน" นี้ แม้ว่าจะกระทบต่อผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในช่วงสั้นๆ แต่จะเป็นผลดีสำหรับผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในระยะยาว เป็นผลดีต่อผู้ฝากเงิน และเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมด้วย เพราะจะช่วยให้ระบบสถาบันการเงินไทยเข้มแข็ง รักษาระดับเงินกองทุนให้อยู่ในระดับสูงได้ต่อเนื่อง มีกันชนที่จะรองรับความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก โดยเฉพาะถ้าเกิดการแพร่ระบาดโควิด 19 ระยะใหม่ๆ

          การประกาศเรื่องนี้เป็นนโยบายกลางของ ธปท. นอกจากจะช่วยให้เกิดความชัดเจนแก่ผู้ร่วมตลาดแล้ว ยังช่วยลดความกังวลให้แก่ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่ต้องการบริหารจัดการแบบระมัดระวังเป็นพิเศษ ในช่วงที่ผ่านมาผู้บริหารธนาคารพาณิชย์หลายแห่งได้แจ้งความกังวลให้ ธปท. ทราบว่าผู้ถือหุ้น และผู้ฝากเงินอาจจะเข้าใจผิดได้ ถ้าธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่เคยจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลประกาศงดจ่ายในปีนี้ หรือยกเลิกแผนการซื้อหุ้นคืนด้วยตนเอง อาจจะถูกเข้าใจผิดไปว่าธนาคารพาณิชย์ที่ต้องการรอบคอบระมัดระวังเป็นพิเศษหรืออยาก "ตั้งการ์ดสูง" เป็นธนาคารพาณิชย์ที่กำลังมีปัญหาเรื่องฐานะการเงินหรือได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 รุนแรงกว่าธนาคารพาณิชย์อื่น ถ้า ธปท. ไม่ออกแนวนโยบายกลางให้ชัดเจน ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ที่เคยจ่าย "เงินปันผลระหว่างกาล" ก็คงจะต้องจ่ายไปตามปกติ ทั้งที่อยากจะสร้างกันชน และใช้เวลาประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบระมัดระวัง ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง

          ใครที่ติดตามเรื่องของธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงินรอบโลกก็คงไม่แปลกใจกับนโยบายเรื่องนี้ของ ธปท. ในขณะที่ ธปท. เพิ่งขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่าย "เงินปันผลระหว่างกาล" และ "งดซื้อหุ้นคืน" ในระหว่างทบทวนแผนบริหารจัดการเงินกองทุนใหม่ ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับดูแลหลายประเทศทั่วโลกได้ออกนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปก่อนหน้านี้หลายเดือน บางประเทศ (เช่น อังกฤษ) ขอให้งดซื้อหุ้นคืน และไปไกลถึงขนาดขอให้งดการจ่ายเงินปันผลประจำปีจากผลประกอบการของปีที่แล้วด้วย บางประเทศ (เช่น สหภาพยุโรป และนิวซีแลนด์) ขอให้งดซื้อหุ้นคืนและงดการจ่ายเงินปันผลไประยะเวลาหนึ่งเพื่อรอความชัดเจนของสถานการณ์โควิด 19 ก่อน บางประเทศ (เช่น ออสเตรเลีย) ขอให้ธนาคารพาณิชย์จัดทำ stress test ใหม่ภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนต่างๆ ก่อนที่จะพิจารณาจ่ายเงินปันผล หลายประเทศที่เป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ก็มีแนวนโยบายให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลเช่นกัน รวมทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ​ (IMF) ได้ออกมาสนับสนุนให้ธนาคารกลางและผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินทั่วโลกมีนโยบายระงับการจ่ายเงินปันผลและการซื้อหุ้นคืนของธนาคารพาณิชย์ด้วย

          แนวนโยบายเรื่องการขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่าย "เงินปันผลระหว่างกาล" และ "งดซื้อหุ้นคืน" ในระหว่างที่ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนบริหารจัดการเงินกองทุนใหม่นี้ จะเป็นผลดีสำหรับผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในระยะยาว เป็นผลดีต่อผู้ฝากเงิน และเป็นผลดีต่อระบบสถาบันการเงิน จะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์รักษาระดับเงินกองทุนให้อยู่ในระดับสูงได้ต่อเนื่อง เป็นกันชนรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต และมีเงินกองทุนที่จะสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยเมื่อการแพร่ระบาดของโควิด 19 คลี่คลายลง

ธนาคารแห่งประเทศไทย

20 มิถุนายน 2563


ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับประชาชน :
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)
โทร. 1213

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสถาบันการเงิน :
ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน
โทรศัพท์: 0 2283 5313, 0 2283 5874, 0 2283 6821
Email: FIAPTeam@bot.or.th; RCTeam@bot.or.th


>>​Download​​ ข่าว PDF

​เอกสารที่เกี่ยวข้อง

คำถาม-คำตอบ แนวนโยบายเสริมสร้างเงินกองทุน เพื่อรองรับความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด 19

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.