• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2020
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​​ข่าว ธปท. ​ฉบับที่ 72/2563


เรื่อง รายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนกันยายน 2563

​          ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนกันยายน 2563 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินและการประเมินภาวะเศรษฐกิจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2563

          ในการประชุมวันที่ 5 สิงหาคม และ 23 กันยายน 2563 คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ทั้งในไทยและต่างประเทศ แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะใช้เวลาไม่น้อยกว่าสองปีถึงจะกลับไปสู่ระดับก่อนการระบาด และมีความไม่แน่นอนสูงจากหลายปัจจัย อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากตั้งแต่ต้นปี มาตรการการคลังของรัฐบาล รวมทั้งมาตรการการเงินและสินเชื่อที่ออกมาเพิ่มเติมช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้หลังการระบาดคลี่คลาย นอกจากนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอาจมีประสิทธิผลไม่มากในบริบทปัจจุบันและอาจเพิ่มความเปราะบางให้กับเสถียรภาพระบบการเงิน โดยควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (policy space) ที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าควรผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทั้งครัวเรือนและธุรกิจให้เกิดผลมากขึ้น และเร่งรัดการให้สินเชื่อผ่านโครงการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องให้ตรงจุดและทันการณ์ สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างธุรกิจ

         คณะกรรมการฯ เห็นว่า ในระยะข้างหน้าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะใช้เวลาไม่น้อยกว่าสองปีถึงจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาดและเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีแนวโน้มแตกต่างกันมาก (uneven recovery) ระหว่างภาคเศรษฐกิจและผู้ประกอบการแต่ละกลุ่ม ภาครัฐจึงควรใช้มาตรการที่ตรงจุด (targeted) ทันการณ์ เอื้อให้เกิดการปรับตัวอย่างเหมาะสม รวมทั้งต้องบูรณาการมาตรการให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกันมากขึ้น โดยนโยบายการคลังและนโยบายอุปทานต้องมีบทบาทมากขึ้นในระยะข้างหน้าเพื่อแก้ปัญหากำลังการผลิตส่วนเกิน (excess capacity) รวมถึงสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การปรับรูปแบบการทำธุรกิจ และพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ ทั้งนี้ นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนนโยบายการคลังผ่านต้นทุนการกู้ยืมในตลาดการเงินที่อยู่ในระดับต่ำภายใต้สภาพคล่องในตลาดการเงินที่มีอยู่สูง นอกจากนี้ การดำเนินมาตรการด้านการเงินและสินเชื่ออย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้ จะมีส่วนช่วยบรรเทาความเปราะบางของภาคครัวเรือนและธุรกิจ 

การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน

1. เศรษฐกิจโลก

          เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มหดตัวในปี 2563 จากการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการผลิตและการส่งออก จนทำให้เศรษฐกิจหลายประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้ อย่างไรก็ดี การทยอยผ่อนปรนมาตรการควบคุมการระบาดและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าโดยรวมมีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วกว่าคาด คณะกรรมการฯ จึงปรับเพิ่มข้อสมมติอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยประเมินว่าจะหดตัวที่ร้อยละ 4.5 ในปี 2563 และกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 ในปี 2564 ทั้งนี้ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ายังมีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่ากรณีฐานจากหลายปัจจัย แต่โอกาสที่กลุ่มประเทศคู่ค้าจะกลับมาใช้มาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวดทั้งประเทศมีน้อยลง โดยเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอาจต่ำกว่ากรณีฐานจากการระบาดของ COVID-19 ที่อาจรุนแรงและยืดเยื้อกว่าคาดหากเกิดการระบาดระลอกใหม่ ความเปราะบางของเสถียรภาพระบบการเงินโลกที่อาจสูงขึ้น รวมถึงนโยบายการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่อาจกลับมารุนแรงขึ้น อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีโอกาสที่จะสูงกว่ากรณีฐานหากการระบาดสิ้นสุดเร็วกว่าคาด หรือมาตรการการเงินการคลังของประเทศต่าง ๆ กระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่าคาด

          ภาครัฐทั่วโลกดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างเต็มที่เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19 โดยยังคงเน้นมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs รวมถึงมาตรการดูแลภาคครัวเรือนและการจ้างงาน สำหรับธนาคารกลางกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักยังคงการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องทั้งด้านปริมาณและอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ธนาคารกลางในภูมิภาคบางแห่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม

2. ภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงินไทย

          ภาวะการเงินไทยโดยรวมยังผ่อนคลาย โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงของไทยยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และการดำเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (bond switching) ที่ทำให้ปริมาณพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะยาวเพิ่มขึ้น สำหรับส่วนต่างอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนกับพันธบัตรรัฐบาล (corporate credit spreads) ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง แม้ corporate credit spreads ในกลุ่มตราสารหนี้คุณภาพดีเริ่มปรับลดลงบ้าง ด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงของธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับต่ำ และอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปล่อยใหม่ (new loan rate: NLR) ของภาคธุรกิจทยอยปรับลดลง สอดคล้องกับนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและการดำเนินมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษ (soft loan) การระดมทุนของภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องแม้ชะลอลงบ้างหลังภาคธุรกิจบางส่วนได้เร่งระดมทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องไปในช่วงก่อนหน้า ด้านอัตราแลกเปลี่ยน แม้เงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. และดัชนีค่าเงินบาทปรับอ่อนค่าลงจากไตรมาสก่อน โดยเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนระหว่างไตรมาสตามมุมมองความเสี่ยงของนักลงทุน คณะกรรมการฯ เห็นว่าหากเงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นเร็วอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งประเมินความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม

          เสถียรภาพระบบการเงินไทยยังมีความเสี่ยงสูงตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวมากในปีนี้จากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ฐานะทางการเงินของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเปราะบางและมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ดี มาตรการด้านการเงินและสินเชื่อเชิงรุก (proactive) ของภาครัฐที่ได้ดำเนินการไป รวมถึงมาตรการเพิ่มเติมที่ตรงจุด (targeted) มากขึ้น อาทิ "โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง" และมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายย่อยโดยการรวมหนี้ (debt consolidation) จะช่วยบรรเทาความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

3. แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทย

          เศรษฐกิจไทยปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวร้อยละ 7.8 เนื่องจากเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ได้รับผลกระทบรุนแรงจากมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดทั้งในและต่างประเทศเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ข้อมูลล่าสุดสะท้อนพัฒนาการที่ดีกว่าคาดในหลายองค์ประกอบ เช่น การลงทุนของภาครัฐและเอกชน รวมถึงการบริโภคภาคเอกชนที่ทยอยปรับดีขึ้น ทั้งนี้ ภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้ายังคงหดตัวสูง สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.6 โดยการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่การส่งออกบริการมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า เนื่องจากคาดว่าจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้จำกัด สำหรับอุปสงค์ในประเทศ การใช้จ่ายภาครัฐยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว แต่ยังมีปัจจัยฉุดรั้งจากรายได้ครัวเรือนที่เปราะบางและไม่แน่นอนสูง รวมถึงหนี้ครัวเรือนสูง ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะใช้เวลาไม่น้อยกว่าสองปีถึงจะกลับไปสู่ระดับก่อนการระบาด

         ข้อสมมติเกี่ยวกับ COVID-19 สำหรับประมาณการครั้งนี้ ได้แก่ (1) ไม่มีการระบาดของ COVID-19ระลอกใหม่ที่รุนแรงในไทย (2) มาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มได้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 และคาดว่าจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้จำกัดจากการใช้มาตรการคัดกรองและควบคุมพื้นที่ที่เข้มงวด และ (3) วัคซีนป้องกันโรคจะมีใช้อย่างแพร่หลายในไทยตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2564

          ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ในต่างประเทศมีแนวโน้มยืดเยื้อ ทำให้การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมีความไม่แน่นอนและเปิดรับได้จำกัด โดยคาดว่าไทยจะเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตามมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบพิเศษ (Special Tourist Visa: STV) ได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 และมีการใช้มาตรการคัดกรองและควบคุมพื้นที่ที่เข้มงวด โดยประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2563 และ 2564 อยู่ที่ 6.7 ล้านคน และ 9 ล้านคน ตามลำดับ

          มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยมีแนวโน้มหดตัวร้อยละ 8.2 ในปี 2563 โดยการส่งออกไปอาเซียนและตะวันออกกลาง ยังอยู่ในระดับต่ำตามแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ขณะที่การส่งออกไปกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักและจีนเริ่มทยอยฟื้นตัว สำหรับปี 2564การส่งออกจะกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 แต่จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากผลของมาตรการกีดกันทางการค้าและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวช้า รวมทั้งโครงสร้างการส่งออกของไทยมีสินค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในสัดส่วนที่สูง โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ รวมถึงเครื่องจักรและอุปกรณ์

          ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2563 และปี 2564 เกินดุลอยู่ที่ 14.0พันล้านดอลลาร์ สรอ. และ 14.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ โดยเกินดุลลดลงจากประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากดุลบริการขาดดุลมากขึ้นตามรายรับนักท่องเที่ยวที่ลดลงมากเป็นสำคัญ ขณะที่ดุลการค้าเกินดุลลดลงเล็กน้อย เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าปรับเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณการส่งออกสินค้าและอุปสงค์ในประเทศปี 2563 ที่สูงกว่าคาด และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น

          การบริโภคภาคเอกชนในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัว โดยจะกลับมาขยายตัวในปี 2564 ทั้งนี้ การบริโภคในระยะต่อไปมีแนวโน้มชะลอลงกว่าประมาณการเดิม เนื่องจากตลาดแรงงานยังเปราะบาง โดยผู้ว่างงานและผู้เสมือนว่างงานที่ทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวันจะยังอยู่ในระดับสูง ผู้มีงานทำมีรายได้ลดลงจากทั้งค่าจ้างและค่าล่วงเวลาที่ลดลง และหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี มาตรการภาครัฐจะช่วยพยุงกำลังซื้อได้บางส่วน

         การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวสูง แม้ข้อมูลจริงในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ดีกว่าคาด เนื่องจากมีกำลังการผลิตส่วนเกินสูงและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศยังไม่แน่นอน อย่างไรก็ดี โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (public-private partnership: PPP) ทั้งในและนอกเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) รวมถึงการลงทุนในโครงข่ายโทรคมนาคม 5G จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและพยุงการลงทุนภาคเอกชนได้บางส่วน ช่วยให้การลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

          เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงและมีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่ากรณีฐาน ขึ้นกับผลกระทบของ COVID-19 เป็นสำคัญ โดยโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะต่ำกว่ากรณีฐานมาจาก (1) เศรษฐกิจโลกอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังการส่งออกสินค้าของไทย (2) การระบาดระลอกใหม่อาจเกิดขึ้นในไทยและอาจนำไปสู่มาตรการปิดเมืองอีกครั้งในบางพื้นที่ (3) ภาคการท่องเที่ยวอาจฟื้นตัวล่าช้า (4) มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบของภาครัฐที่อาจล่าช้าและน้อยกว่าคาด (5) ฐานะทางการเงิน (balance sheet) ของภาคธุรกิจอาจแย่ลงจนต้องปิดกิจการจำนวนมาก และ (6) อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของธุรกิจและครัวเรือนอาจเพิ่มสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ดี โอกาสที่เศรษฐกิจไทยอาจสูงกว่ากรณีฐานมาจาก (1) การพัฒนาวัคซีนและยารักษา COVID-19 ที่อาจเร็วกว่าคาด (2) ภาครัฐอาจออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม รวมถึงมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อาจได้ผลดีกว่าคาด (3) อุปสงค์ในประเทศอาจขยายตัวมากกว่าคาด จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและโครงการ PPP ซึ่งอาจจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนมากขึ้น และ (4) อาจมีการย้ายฐานการลงทุนของธุรกิจข้ามชาติมาที่ไทยมากขึ้น เนื่องจากไทยสามารถควบคุมโรคระบาดได้ดี

          ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2563 มีแนวโน้มติดลบตามราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมากในไตรมาสที่ 2 เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ข้อมูลล่าสุดชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มสูงกว่าที่ประเมินไว้ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบทยอยปรับสูงขึ้นตามปริมาณความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นหลังหลายประเทศผ่อนปรนมาตรการควบคุมการระบาดและการลดปริมาณการผลิตตามข้อตกลงของประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ราคากลุ่มอาหารปรับสูงขึ้นจากปัจจัยด้านอุปทาน ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากมาตรการลดค่าสาธารณูปโภคมีผลน้อยกว่าคาด จึงปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปให้ติดลบน้อยลงที่ร้อยละ 0.9 ในปี 2563 และกลับมาเป็นบวกใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายที่ร้อยละ 1.0 ในปี 2564 ส่วนประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.3 และ 0.2 ในปี 2563 และ 2564 ตามลำดับ ทั้งนี้ ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่ากรณีฐาน ตามความเสี่ยงของราคาน้ำมันดิบและประมาณการเศรษฐกิจ

ธนาคารแห่งประเทศไทย
7 ตุลาคม 2563

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนกลยุทธ์นโยบายการเงิน
โทร. : 0 2356 7872, 0 22836186
E-mail : MPStrategyDiv@bot.or.th  

>>​Download​​ ข่าว PDF

>>​Download​​ รายงานนโยบายการเงิน

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.