• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2021
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​
​​ข่าว ธปท. ​ฉบับที่  41/2564


เรื่อง  ธปท. ชี้ลูกหนี้เช่าซื้อที่มีปัญหาติ่งหนี้และรถที่ใช้ประกอบอาชีพทำมาหากินถูกยึด
สามารถไกล่เกลี่ยปัญหาผ่านงานมหกรรมเช่าซื้อ

นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธปท. ร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พร้อมกับผู้ให้บริการ 12 แห่ง ได้ร่วมกันจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์ขึ้น ปรากฏว่าได้รับเสียงตอบรับดีมีประชาชนสนใจมากพอสมควร ในช่วง 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา มีผู้เช่าซื้อสนใจลงทะเบียนมา 13,450 คัน 


อย่างไรก็ดี จะขอประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเป็นพิเศษสำหรับ "กลุ่มลูกหนี้เช่าซื้อที่มีปัญหาติ่งหนี้" หรือ กลุ่มลูกหนี้เช่าซื้อที่ประสบปัญหาเจ้าหนี้เรียกร้องให้ชำระหนี้เพิ่มหลังจากยึดรถออกขายทอดตลาดไปแล้ว หากรู้สึกว่าเจ้าหนี้ต้องการให้จ่ายมากเกินไป ท่านสามารถยื่นขอไกล่เกลี่ยผ่านงานมหกรรมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายกลุ่มหนึ่งของงานมหกรรม ปัญหาติ่งหนี้ของสินเชื่อเช่าซื้อ ส่วนหนึ่งเกิดจากธุรกิจเช่าซื้อไม่ได้มีกฎหมายควบคุมเป็นการเฉพาะทำให้เกิดช่องว่างที่ไม่มีการควบคุม โดยแนวทางในการไกล่เกลี่ยสำหรับกลุ่มนี้ คือ ลูกหนี้จะชำระหนี้เฉพาะยอดหนี้ตามแนวของศาล และ สคบ. โดยจะให้โอกาสลูกหนี้สามารถผ่อนชำระหนี้ส่วนนี้ได้นานระยะหนึ่งเช่น 3 ปี เป็นต้น

นอกจากนี้ กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญอีกกลุ่มคือ "กลุ่มลูกหนี้เช่าซื้อที่รถถูกยึดไปไม่นาน รถยังไม่ถูกขายทอดตลาด" ถ้าเป็นรถที่ใช้ประกอบอาชีพ ส่วนนี้สามารถลงทะเบียนขอไกล่เกลี่ยกับเจ้าหนี้ลิสซิ่งได้เช่นเดียวกัน เราเชื่อว่าหลังจากที่แนวปฏิบัติเรื่องการคำนวณติ่งหนี้ของเช่าซื้อชัดเจนขึ้น เจ้าหนี้จะมีแรงจูงใจที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยกับลูกหนี้มากขึ้น เพราะท้ายที่สุดแล้ว ลูกหนี้ที่เช่าซื้อรถคันนี้ คือ ผู้ที่เต็มใจจะให้ราคาดีที่สุด ถ้าไกล่เกลี่ยปัญหากันได้ก็จะเป็นสถานการณ์ที่ win win ทั้งสองฝ่าย โดยแนวทางการไกล่เกลี่ยส่วนนี้ คือ ผู้ให้เช่าซื้อจะยอมให้ผู้เช่าซื้อสามารถรับรถที่ถูกยึดมา กลับไปเพื่อใช้ประกอบอาชีพ โดยจะปรับโครงสร้างหนี้ให้ผ่อนชำระหนี้ต่อจากที่หยุดชำระค่างวดไป โดยจะคิดค่าธรรมเนียมดอกเบี้ยจากค่างวดที่ควรได้รับชำระเท่านั้นซึ่งจะไม่มาก

แม้ท่านจะไม่ได้เป็นลูกค้าของผู้ให้เช่าซื้อทั้ง 12 แห่ง ถ้าท่านเดือดร้อนประสบปัญหา ไม่สามารถหาข้อยุติกับเจ้าหนี้ได้ ท่านยังสามารถยื่นข้อเสนอไปที่ผู้ให้บริการผ่านช่องทางของ "ทางด่วนแก้หนี้" ของ ธปท. ซึ่งจะส่งคำขอไกล่เกลี่ยของท่านไปที่เจ้าหนี้ลิสซิ่งของท่าน (www.1213.or.th/App/DebtCase)


สุดท้ายนี้ ฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. ได้ทำจัดทำบทความให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาติ่งหนี้ของสินเชื่อเช่าซื้อ ท่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลดบทความได้ที่ https://bit.ly/3gyX7F3 นอกจากนี้ สคบ. สำนักงานศาลยุติธรรม และ ธปท. ได้จัดทำระบบงาน หรือ แอป (application) สำหรับผู้ที่มีปัญหาติ่งหนี้ ที่จะสามารถเข้าไปเช็คเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ว่าท่านจะมีภาระหนี้เหลือสักเท่าไหร่ ซึ่งสามารถเข้าเช็คได้ที่เว็บไซต์ของ สคบ. (www.ocpb.go.th/debt/) และเว็บไชต์ของ ธปท. และ 1213 เราเชื่อว่าความโปร่งใสที่มีมากขึ้นจะทำให้เจ้าหนี้และลูกหนี้เช่าซื้อสามารถหาข้อตกลงกันมากขึ้นและจะดีต่อธุรกิจเช่าซื้อโดยรวมด้วย



ธนาคารแห่งประเทศไทย
17 มิถุนายน 2564

ข้อมูลเพิ่มเติม: ฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
โทรศัพท์: 1213
E-mail: Debtfair@bot.or.th   


สแกน QR Code เพื่ออ่านบทความให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาติ่งหนี้ของสินเชื่อเช่าซื้อ

>>​Download ข่าว​​ PDF

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

Infographic งานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินเชื่อเช่าซื้อออนไลน์
รายชื่อผู้ให้บริการฯ ที่เข้าร่วมโครงการของ ธปท. 
ตรวจสอบภาระหนี้เช่าซื้อรถยนต์ด้วยตนเอง
ขั้นตอนการใช้แอปพลิเคชั่นตรวจสอบภาระหนี้เช่าซื้อรถยนต์ด้วยตนเอง 


Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.