• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2021
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​
​​ข่าว ธปท. ​ฉบับที่  46/2564


เรื่อง  คลินิกแก้หนี้ต่อมาตรการช่วยเหลือเพื่อรองรับผลโควิดระลอก 3
และปรับหลักเกณฑ์เพื่อขยายความช่วยเหลือลูกหนี้

นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการคลินิกแก้หนี้ได้ประชุมเพื่อประเมินผลมาตรการช่วยเหลือในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ตุลาคม 2563 - มิถุนายน 2564) ผลโดยรวมถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจมาก ลูกหนี้ของคลินิกแก้หนี้ 99% ยังสามารถชำระค่างวดได้ ส่วนที่พักชำระหนี้โดยสิ้นเชิงมีเพียง 1% นอกจากนี้ เพื่อรองรับผลกระทบจากโควิดระลอกที่ 3 จึงได้ขยายมาตรการช่วยเหลือออกไปจนถึงเดือนธันวาคม 2564 รวมทั้งผ่อนปรนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ได้เพิ่มมากขึ้น สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ผลของมาตรการยา 2 สูตร เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ของโครงการคลินิกแก้หนี้ในช่วงเดือนตุลาคม 2563 ถึงมิถุนายน 2564 "สูตรจ่ายเท่าที่ไหว" ผ่อนปรนและจูงใจให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามความสามารถ ยิ่งชำระมาก จะได้ส่วนลดดอกเบี้ยมากขึ้น ผลของยาสูตรจ่ายเท่าที่ไหวแสดงให้เห็นว่า การได้รับส่วนลดดอกเบี้ยเป็นแรงจูงใจที่สำคัญ ทำให้ลูกหนี้ยังคงพยายามชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในภาพรวมลูกหนี้ร้อยละ 99 ยังคงชำระค่างวดได้ โดยลูกหนี้จำนวน 14,044 ราย (ร้อยละ 77) ชำระหนี้เฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไป ของค่างวด ได้ส่วนลดดอกเบี้ย 2% และจำนวน 2,467 ราย (ร้อยละ 14) ชำระหนี้เฉลี่ยร้อยละ 40-79.99 ของค่างวด ได้ส่วนลดดอกเบี้ย 1% ส่วนจำนวน 1,520 ราย (ร้อยละ 8) ชำระค่าหนี้น้อยกว่าร้อยละ 40 ของค่างวด จะไม่ได้รับส่วนลดดอกเบี้ย สำหรับลูกหนี้ที่ใช้ยา "สูตรจ่ายไม่ไหว" ที่ไม่ชำระค่างวดเลยมีเพียง 192 รายเท่านั้น (คิดเป็นร้อยละ 1)

จุดเด่นของมาตรการยาสองสูตรที่ดำเนินการมาแล้ว ก็คือเป็นมาตรการที่ยึดความต้องการของลูกหนี้เป็นศูนย์กลาง (debtor’s choice) ทำให้สามารถช่วยเหลือและตอบโจทย์ลูกหนี้ได้ตรงกับความต้องการควบคู่กับการใช้แรงจูงใจและกลไกตลาดในการแยกคนสองกลุ่มออกจากกัน ทำให้คลินิกแก้หนี้ลดภาระงานที่จะต้องประเมินลูกหนี้เป็นรายบุคคลไปมาก หากสถาบันการเงินนำกรอบความช่วยเหลือยาสองสูตรไปใช้ จะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


นอกจากนี้ ตามที่สถานการณ์โควิดระลอกที่ 3 ยังคงน่าเป็นห่วง และส่งผลกระทบต่อคนในวงกว้างคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการคลินิกแก้หนี้จึงเห็นชอบให้ขยายมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ต่อไปอีกจนถึง เดือน ธันวาคม 2564 โดยลูกหนี้สามารถชำระหนี้ตามความสามารถหรือจ่ายเท่าที่ไหว ซึ่งจะได้รับส่วนลดดอกเบี้ย 1-2 % ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ชำระเข้ามาในช่วงเวลามาตรการ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
(1) รายที่จ่ายค่างวดเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ย 2%
(2) รายที่จ่ายค่างวดเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่ถึงร้อยละ 80 จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ย 1%
โดยส่วนลดดอกเบี้ยที่คำนวณได้จะถูกนำไปตัดเงินต้นในเดือนมกราคม 2565 ซึ่งจะทำให้หมดหนี้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือในช่วง 6 เดือนข้างหน้านี้ จะมีผลอัตโนมัติกับลูกหนี้ทุกรายและลูกหนี้ใหม่ในโครงการโดยไม่ต้องลงทะเบียนโดยที่ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อเนื่อง สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ในช่วงนี้ ท่านสามารถขอผ่อนผันการชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขของโครงการ สำหรับท่านที่อยู่ในกลุ่มนี้ขอให้ติดต่อโครงการเพื่อสอบถามรายละเอียด ซึ่งผลการพิจารณาผ่อนผันขึ้นกับดุลพินิจของโครงการ

นอกจากนี้ คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการคลินิกแก้หนี้ยังเห็นชอบให้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การสมัครเข้าโครงการ 2 ประการ คือ ประการแรก เกณฑ์ด้านอายุ จากเดิมไม่เกิน 65 ปี เป็นไม่เกิน 70 ปี (เมื่อรวมระยะเวลาการปรับโครงสร้างหนี้) และประการที่ 2 ปรับอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 4-7 เป็นอัตราเดียวที่ร้อยละ 5 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในโครงการ การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะช่วยขยายความช่วยเหลือให้ลูกหนี้และช่วยให้การดำเนินการเร็วขึ้น โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป


ผลการดำเนินงานของโครงการคลินิกแก้หนี้สิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2564 มีลูกหนี้เข้าโครงการ รวม 60,578 บัญชี ภาระหนี้เงินต้น 4,670 ล้านบาท โดยเฉลี่ยลูกหนี้ 1 ราย มีเจ้าหนี้ 3 ราย เฉลี่ยเงินต้น 244,444 บาท

ทั้งนี้ ขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่มีปัญหาหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสดที่เป็นหนี้เสีย ให้รีบสมัครเข้าโครงการคลินิกแก้หนี้ ซึ่งท่านที่สมัครในช่วงนี้ถึงสิ้นปี 2564 จะได้รับประโยชน์จากส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 1-2% ตามที่แจ้ง นอกจากนี้ประชาชนที่ได้สมัครมาที่โครงการและยังไม่ได้รับการติดต่อกลับ ขอความกรุณารออีกเล็กน้อย คลินิกแก้หนี้กำลังเร่งดำเนินการเรื่องนี้อย่างเต็มที่ 

สุดท้ายนี้ ประเด็นที่จะขอย้ำ คือ หากมีผู้แอบอ้างว่าเป็นตัวแทน ธปท. สามารถช่วยเจรจาปรับโครงสร้างหนี้หรือเรื่องใด ๆ และมีการเรียกเก็บค่าดำเนินการ กรณีดังกล่าวไม่เป็นความจริง หรือหากมีข้อสงสัยจากการถูกสอบถามข้อมูลส่วนตัวและภาระหนี้สิน สามารถแจ้งเรื่องหรือสอบถามได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213 รวมทั้งสามารถติดตามการเปิดรับสมัคร และข่าวสารของโครงการคลินิกแก้หนี้ผ่านทาง Website LINE Facebook ของคลินิกแก้หนี้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center คลินิกแก้หนี้ 0 2610 2266 หรือ 1443 เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 9.00-19.00 น.

ธนาคารแห่งประเทศไทย

7 กรกฎาคม 2564

ข้อมูลเพิ่มเติม : ฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
โทรศัพท์ : 1213 
E-mail : debtclinic-BOT@bot.or.th


>>​Download ข่าว​​ PDF
Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.