• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2021
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​
ข่าว ธปท. ​ฉบับที่  56/2564


เรื่อง  ธปท. ขยายเวลางานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ถึง 31 ส.ค. 64 

นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ขยายเวลาจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์ออกไปอีก 1 เดือน จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีหนี้เช่าซื้อรถยนต์ทุกสถานะที่มีความยากลำบากในการชำระหนี้ช่วงที่โควิด 19 ยังระบาดอย่างรุนแรง

ตามที่ ธปท. ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และผู้ให้บริการ 12 แห่ง ได้ร่วมกันจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์ขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา พบว่า มีประชาชนให้ความสนใจและทยอยลงทะเบียนอย่างต่อเนื่องรวมจำนวน 24,199 คัน ซึ่งผลการไกล่เกลี่ยสามารถที่ช่วยเหลือลูกหนี้ที่เข้าเงื่อนไขได้ประมาณร้อยละ 75

นางธัญญนิตย์ เปิดเผยว่า กำหนดเดิมงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์จะหมดวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ยังมีความรุนแรงประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถออกมาทำงานได้ตามปกติ ธปท. จึงตัดสินใจต่ออายุงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ออกไปอีก 1 เดือนเพื่อรองรับประชาชนที่อาจจะต้องการความช่วยเหลือ 


ธปท. ขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่มีหนี้เช่าซื้อรถยนต์ สมัครลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการภายในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ โดยงานมหกรรมครั้งนี้รองรับหนี้เช่าซื้อรถยนต์ทุกสถานะซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

(1) กลุ่มที่ยังผ่อนชำระปกติแต่เริ่มมีปัญหาการผ่อนชำระในช่วงนี้ ท่านสามารถขอลดจำนวนค่างวดที่ต้องจ่าย หรือ ขอพักชำระหนี้ ซึ่งดอกเบี้ยในช่วงพักชำระหนี้จะคำนวณจากฐานของค่างวดในช่วงที่พักชำระหนี้ตามแนวทางของ สคบ. ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่มมีไม่มาก


(2) กลุ่มที่รถถูกยึดไปไม่นาน รถยังไม่ถูกขายทอดตลาด และเป็นรถที่ใช้ประกอบอาชีพ รวมทั้งกรณีที่ได้จ่ายค่างวดไปมากระดับหนึ่ง ท่านสามารถที่จะขอไกล่เกลี่ยที่จะรับรถคืน โดยแนวการไกล่เกลี่ยส่วนนี้คือผู้ให้เช่าซื้อจะยอมให้รับรถที่ยึดมากลับไป โดยจะให้ผ่อนชำระหนี้ต่อจากที่หยุดไป และจะคิดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มจากค่างวดที่ค้างชำระเท่านั้น ซึ่งจะจ่ายไม่มาก

(3) กลุ่มที่รถถูกขายทอดตลาดไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถตกลงกับเจ้าหนี้เกี่ยวกับจำนวนหนี้เช่าซื้อส่วนขาดที่เจ้าหนี้เรียกร้องให้ชำระเพิ่มเติม ก็สามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมครั้งนี้เจรจาไกล่เกลี่ยกับเจ้าหนี้ โดยยอดหนี้ที่ต้องชำระหนี้เพิ่มจะคำนวณด้วยวิธีที่เป็นธรรม และสามารถผ่อนชำระหนี้ส่วนนี้ได้นาน 3 ปีโดยไม่มีดอกเบี้ย


สคบ. สำนักงานศาลยุติธรรม และ ธปท. ได้จัดทำ application สำหรับผู้ที่มีปัญหาติ่งหนี้ ที่จะสามารถเข้าไปเช็คเบื้องต้นได้ง่ายๆ ว่ามีภาระหนี้เหลือสักเท่าไหร่ ซึ่งสามารถเข้าเช็คได้ที่เว็บไซต์ของ สคบ. (www.ocpb.go.th/debt/) เราเชื่อว่าความโปร่งใสที่มีมากขึ้นจะทำให้เจ้าหนี้และลูกหนี้สามารถหาข้อยุติได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ได้รับประโยชน์ทั้งลูกหนี้และผู้ให้บริการเช่าซื้อ

ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจสามารถลงทะเบียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของ ธปท. หรือที่ https://www.1213.or.th/App/DMed/V1 และหากมีข้อสงสัยหรือต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการลงทะเบียนออนไลน์ ท่านสามารถโทรสอบถามได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. หรือ นอกเวลาทำการ ท่านสามารถส่งอีเมลมาที่ Debtfair@bot.or.th พร้อมแจ้งชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของท่านไว้ เจ้าหน้าที่ของ ธปท. จะติดต่อท่านกลับในลำดับต่อไป


สุดท้ายนี้ ธปท. ขอย้ำว่า แม้ท่านไม่ได้เป็นลูกค้าของผู้ให้เช่าซื้อทั้ง 12 แห่งที่ร่วมงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ แต่ได้รับความเดือดร้อนประสบปัญหาจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด 19 ท่านสามารถยื่นขอความช่วยเหลือผ่านช่องทาง "ทางด่วนแก้หนี้" ของ ธปท. ที่ https://www.1213.or.th/App/DebtCase  ธปท. จะเป็นคนกลางในการส่งคำขอไกล่เกลี่ยหนี้ของท่านไปที่เจ้าหนี้ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย
31 กรกฎาคม 2564

ข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)
โทรศัพท์ : 1213
E-mail : Debtfair@bot.or.th

​
​
​สแกน QR Code ลงทะเบียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของ ธปท. หรือ คลิกที่นี่
​สแกน QR Code ขอความช่วยเหลือผ่านช่องทาง "ทางด่วนแก้หนี้" หรือ คลิกที่นี่

>>​Download ข่าว​​ PDF
Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.