• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2022
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​
ข่าว ธปท. ​ฉบับที่ 8/2565


เรื่อง  ธปท. เร่งหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือรายย่อย
แก้ปัญหาหยุดการให้บริการชั่วคราวของ Paypal ประเทศไทย

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท Paypal ประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ให้บริการชำระเงินภายใต้การกำกับของ ธปท. ได้ประกาศที่จะหยุดให้บริการชั่วคราวแก่ลูกค้าบุคคลธรรมดาในช่วงเปลี่ยนผ่านการให้บริการจากต่างประเทศมาอยู่ภายใต้การให้บริการของบริษัท Paypal ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2565 ไปจนกว่าจะปรับปรุงการให้บริการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายไทยนั้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายย่อยส่วนหนึ่งไม่สามารถใช้บัญชี Paypal รับชำระเงินจากการขายสินค้าและบริการจากต่างประเทศได้  

ที่ผ่านมา ธปท. ได้ติดตามและเร่งบริษัทปรับระบบให้มีกระบวนการแสดงตนและพิสูจน์ตัวตนลูกค้าบุคคลธรรมดา (KYC) สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยดูแลให้การทำธุรกรรมทางการเงิน มีความปลอดภัย ไม่เป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตหรือฟอกเงิน ที่เป็นภัยต่อประชาชนและระบบการเงินของประเทศ

ในการนี้ ธปท. อยู่ระหว่างการเร่งหารือร่วมกับสำนักงาน ปปง. และบริษัท Paypal ประเทศไทย เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือผู้ใช้บริการที่ได้รับผลกระทบในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ โดยธปท จะแจ้งความคืบหน้าให้ทราบต่อไป        

ธนาคารแห่งประเทศไทย
11 กุมภาพันธ์ 2565

ข้อมูลเพิ่มเติม : ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน
โทรศัพท์ : 0 2283 6719  
E-mail : Payment-sup@bot.or.th 

>>​Download​​ ข่าว PDF
​
คำถาม-คำตอบ เรื่อง การหยุดให้บริการชั่วคราวของ บจ. เพย์พาล (ประเทศไทย) (PPTH)

1. การหยุดให้บริการชั่วคราวของ PayPal กับลูกค้าบุคคลธรรมดามีสาเหตุมาจากอะไร ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น

บริษัทเพย์พาลได้จัดตั้งในประเทศไทยและต้องประกอบธุรกิจให้บริการแก่ลูกค้าในไทยภายในวันที่ 7 มีนาคม 2565 โดยผู้ให้บริการการชำระเงินทุกรายที่อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ต้องปฏิบัติภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน รวมถึงการปฏิบัติตามเกณฑ์การให้ลูกค้าแสดงตนและพิสูจน์ทราบตัวตน (KYC) ลูกค้าบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและก่อการร้ายฯ ของสำนักงาน ปปง. เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินของประชาชนมีความปลอดภัย และป้องกันความเสี่ยงที่อาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่ทำการปลอมแปลงสวมรอยเป็นลูกค้ากระทำการทุจริตและฟอกเงินได้ 

สืบเนื่องจากบริษัทยังอยู่ระหว่างปรับปรุงระบบทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ จึงประกาศหยุดให้บริการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้  ธปท. ปปง.และบริษัทได้เร่งหารือร่วมกันเพื่อบรรเทาปัญหาและดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะแจ้งความคืบหน้าต่อไป

ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ call center ของบริษัท โทร 02-787-3409 หรือ หากมีปัญหาหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้บริการ สามารถแจ้งเข้ามาที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ศคง.) โทร 1213  

2. ทำไมทางการต้องกำหนดให้ไปจดทะเบียนพาณิชย์หรือจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วจึงจะสามารถใช้บริการต่อได้ 

บริษัทมีการสื่อสารให้ลูกค้าดำเนินการโดยมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกับหลักเกณฑ์ของทางการที่ต้องถือปฏิบัติ  กรณีบุคคลที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจแม้จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์แล้ว ยังถือเป็นบุคคลธรรมดาตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและก่อการร้ายฯ ของสำนักงาน ปปง.  ที่บริษัทต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตนด้วยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ KYC ที่สำนักงาน ปปง. กำหนด เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด เลขบัตรประชาชน ที่อยู่ ข้อมูลการติดต่อ เป็นต้น และตรวจสอบความถูกต้องกับแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ตรวจสอบกับชิปในบัตรประชาชนหรือฐานข้อมูลกรมการปกครอง รวมถึงตรวจสอบด้วยว่าบุคคลที่เปิดบัญชีเป็นบุคคลเดียวกับบุคคลในเอกสารหลักฐานการแสดงตน เพื่อป้องกันการสวมรอยเป็นลูกค้าเปิดบัญชีปลอม โดยบริษัทอยู่ระหว่างปรับระบบให้รองรับการจัดเก็บข้อมูลและตรวจสอบพิสูจน์ตัวตนลูกค้าตามแนวทางดังกล่าว

3. ลูกค้าที่มีเงินค้างอยู่ในบัญชีของ PayPal จะต้องทำอย่างไร จะสามารถกลับมาใช้บริการแบบปกติได้เมื่อไร

บริษัทได้ชี้แจงว่า ลูกค้าจะกลับมาใช้บริการได้เมื่อปรับปรุงและกระบวนแสดงตนและพิสูจน์ทราบตัวตน (KYC) ลูกค้าบุคคลธรรมดาของบริษัทให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและก่อการร้ายฯ ของสำนักงาน ปปง. แล้วเสร็จ ทั้งนี้ ก่อนวันที่ 7 มีนาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่บริษัทเริ่มให้บริการภายใต้กฎหมายไทย  ลูกค้ายังสามารถใช้บัญชี Paypal ที่มีอยู่ได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ธปท. อยู่ระหว่างเร่งหารือกับสำนักงาน ปปง. และบริษัท เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือผู้ใช้บริการที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว

4. เป็นไปได้ไหมที่จะมีการผ่อนผันเกณฑ์ข้อบังคับ PayPal ออกไปก่อน

ธปท. อยู่ระหว่างหารือกับสำนักงาน ปปง. และบริษัท เพื่อหาแนวทางแก้ไขและบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มลูกค้าบุคคลธรรมดาที่ทำธุรกิจ  โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินของประชาชนและระบบการเงินของประเทศด้วย    

5. สำหรับผู้ที่ต้องการจะเปิดบัญชีใหม่กับ PayPal ยังคงทำได้หรือไม่ 

ลูกค้าบุคคลธรรมดาจะสามารถเปิดบัญชีใหม่กับ PayPal ได้ เมื่อบริษัทได้ปรับปรุงกระบวนการ KYC ให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วเสร็จ  ซึ่ง ธปท. ได้สั่งการให้บริษัทเร่งดำเนินการให้เสร็จโดยเร็วรวมทั้งบรรเทาปัญหาให้กับลูกค้าที่ได้ผลกระทบ อย่างไรก็ดี ในระหว่างที่บริษัทยังปรับปรุงระบบไม่แล้วเสร็จ  ลูกค้าบุคคลธรรมดากลุ่มที่ใช้บัตรเครดิต/บัตรเดบิตทำธุรกรรมการชำระเงินผ่าน PayPal ยังสามารถดำเนินการได้โดยต้องกรอกข้อมูลบัตรทุกครั้งในการทำธุรกรรม   

6. ยังมีผู้ให้บริการอื่นที่มีลักษณะ PayPal อีกหรือไม่ และทำไมถึงสามารถให้บริการได้ 

ผู้ให้บริการชำระเงินทุกรายที่ให้บริการในประเทศไทยต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจและอยู่ภายใต้กำกับของ ธปท.  เพื่อให้มีการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ลูกค้า ร้านค้า หรือผู้ประกอบการได้รับการดูแลและคุ้มครองในการชำระเงิน โดยผู้ให้บริการทุกรายต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ. ระบบการชำระเงินและหลักเกณฑ์ของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ธปท. ได้เผยแพร่รายชื่อผู้ให้บริการภายใต้การกำกับไว้ใน BOT  Website ตาม  link https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/PSA_Oversight/Business_Provider/Pages/default.aspx

>>​Download​​ PDF


Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.