• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2022
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​
ข่าว ธปท. ​ฉบับที่ 41/2565 


เรื่อง  การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำกับดูแล
ธุรกิจ การให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์

​ด้วยปัจจุบัน การประกอบธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีการให้บริการกับประชาชนเป็นวงกว้าง และมีอัตราการขยายตัวสูง โดยในปี 2560 – 2564 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.5 ต่อปี และล่าสุด ณ สิ้นปี 2564 จำนวนธุรกรรมคงค้างของการประกอบธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์รวมแล้วมีประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 12.3 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด และประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนธุรกรรมดังกล่าวเป็นการให้บริการของผู้ประกอบการที่มิใช่สถาบันการเงินและมิใช่บริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ (non-bank) ซึ่งยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลที่ชัดเจน อีกทั้งที่ผ่านมา ข้อร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับการใช้บริการดังกล่าวมีจำนวนเพิ่มขึ้น  

ในการนี้ คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อยจึงได้เห็นชอบในหลักการให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และมีกฎหมายกำกับดูแลเป็นการเฉพาะ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้หารือร่วมกันถึงเหตุผล ความจำเป็นและหลักการของกฎหมายเพื่อกำกับดูแลการประกอบธุรกิจดังกล่าว โดยเห็นควรออกเป็นพระราชกฤษฎีกาภายใต้อำนาจของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ((ร่าง) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจทางการเงินบางประเภทอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 พ.ศ. ....) ซึ่ง (ร่าง) พ.ร.ฎ.ฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. กำกับดูแลนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นทางค้าปกติ ซึ่งยังไม่มีกฎหมายและหน่วยงานกำกับดูแลเป็นการเฉพาะ 

2. ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจใน 2 ด้าน 
2.1 การรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงิน เพื่อดูแลระดับหนี้ครัวเรือนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและไม่เป็นการส่งเสริมให้ผู้บริโภคก่อหนี้สินเกินตัวโดยไม่จำเป็น และ 
2.2 การคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อส่งเสริมและดูแลประชาชนทั่วไปให้ได้รับบริการที่เป็นธรรม ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และไม่ถูกหลอก ถูกบังคับ ถูกรบกวน หรือถูกเอาเปรียบ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินด้วยราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกำหนดโดยอาศัยอำนาจตาม (ร่าง) พ.ร.ฎ.ฯ อาทิ 1) การกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเปิดเผยข้อมูล เช่น อัตราดอกเบี้ย ค่าบริการ และเบี้ยปรับต่าง ๆ ให้ผู้บริโภคทราบ 2) การยกระดับมาตรฐานการให้บริการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การกำหนดหลักการในการเรียกเก็บดอกเบี้ย การคำนวณเบี้ยปรับ 3) การจัดทำบัญชีและงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี และ 4) การจัดเก็บและการรายงานข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแล 

3. กำหนดบทลงโทษกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตาม (ร่าง) พ.ร.ฎ.ฯ ซึ่งมีโทษทั้งปรับ จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ การกำกับดูแลธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ดังกล่าวในข้างต้น จะเกิดประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ ผู้บริโภค จะได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและเป็นธรรม รวมถึงมีข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการอย่างเพียงพอ ผู้ประกอบธุรกิจ จะได้รับความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคในการใช้บริการมากยิ่งขึ้น และสามารถแข่งขันได้อย่างเท่าเทียมภายใต้การกำกับดูแลตามระดับความมีนัยสำคัญของความเสี่ยง (risk proportionality) และภาครัฐ สามารถกำกับดูแลเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจการเงิน โดยเฉพาะการบริหารจัดการหนี้ครัวเรือนได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญและคำนึงถึงความเป็นธรรมในการให้บริการด้วย

อย่างไรก็ดี ธปท. และ สศค. ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจมีกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งด้านบวกและด้านลบหาก (ร่าง) พ.ร.ฎ.ฯ มีผลบังคับใช้ ดังนั้น จึงขอเปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้สนใจ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และสาธารณชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับปรุง (ร่าง) พ.ร.ฎ.ฯ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะผ่านทางเว็บไซต์ของ ธปท. (www.bot.or.th) และระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) ได้ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2565 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ทั้งนี้ ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสาธารณชนแล้ว จะมีการดำเนินการตามขั้นตอนในการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และ ธปท. จะได้ร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำร่างประกาศ ธปท. เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย
15 สิงหาคม 2565


ข้อมูลเพิ่มเติม : คณะทำงานธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อย 
                 ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
โทรศัพท์ : 0 2283 5865, 0 2283 5921 
E-mail : FSD-RetailLending@bot.or.th

​
>>​เอกสารรับฟังความเห็น (Consultation Paper)
​
>> ​แบบฟอร์มให้ความเห็นแบบออนไลน์ (ระบบกลางทางกฎหมาย)
​QR-3.png

​ >> Q&A เอกสารที่เกี่ยวข้อง

>>​Download​​ ข่าว PDF

220815_PublicHearing-leasing-car-motobike.jpg

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.