• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > ข่าว/สุนทรพจน์
  • > ข่าว ธปท.
  • > 2022
ข่าว/สุนทรพจน์
ข่าว/สุนทรพจน์
  • ข่าว ธปท.
    • รวมข่าวทั้งหมด
    • แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน
    • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    • ตลาดการเงิน
    • นโยบายและการกำกับสถาบันการเงิน
    • ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    • ระบบการชำระเงิน
    • รายงานนโยบายการเงิน
  • สุนทรพจน์
​ข่าว ธปท. ​ฉบับที่ 69/2565 


เรื่อง    ประเด็นสำคัญจาก BOT 80th Anniversary BOT-BIS conference
"Central Banking Amidst Shifting Ground"

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements: BIS) จัดงาน BOT-BIS conference ในหัวข้อ “Central Banking Amidst Shifting Ground” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานครบรอบ 80 ปีของ ธปท. เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ณ ห้องภัทรรวมใจ ธปท. โดยได้รับเกียรติจากผู้ว่าการธนาคารกลางมากกว่า 10 ประเทศทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้ง ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรระหว่างประเทศ องค์กรในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ร่วมหารือเกี่ยวกับการทำหน้าที่ตามพันธกิจหลักของธนาคารกลาง ท่ามกลางบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลง หรือ shifting ground 

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังเผชิญความท้าทายในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินจากบริบทเศรษฐกิจการเงินที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากทั้งปัจจัยเชิงวัฏจักรและปัจจัยเชิงโครงสร้าง ซึ่งทำให้ต้องปรับเปลี่ยนกรอบความคิดในการดำเนินนโยบายให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ นอกจากนี้ กระแสโลกใหม่อย่างดิจิทัลทำให้ต้องหาสมดุลที่เหมาะสมระหว่างการส่งเสริมนวัตกรรมและการดูแลความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายที่ไม่เคยเผชิญมาก่อน และเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยากเพราะมีหลายตัวแปรที่กระทบ ธนาคารกลางจึงจำเป็นต้องปรับมุมมอง แนวนโยบาย และเครื่องมือ เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้อย่างตรงจุด ทันการณ์ รวมถึงประสานงานกับหลายภาคส่วนมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ดูแลรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินซึ่งเป็นพันธกิจหลักของธนาคารกลางได้อย่างยั่งยืนต่อไป

สำหรับประเด็นความท้าทายระยะสั้น แม้ภาวะเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกัน แต่ผู้ร่วมเสวนาได้เน้นถึงความสำคัญในการดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสาธารณชน ผ่านการผสมผสานนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน (ในกรณีที่จำเป็น) รวมทั้งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาสมดุลของการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจควบคู่กับการควบคุมเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ยังได้มีการหารือเกี่ยวกับประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ทั้งในยุโรปและการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งจะเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลกจากการแบ่งขั้วอำนาจและการเกิดกระแสทวนกลับของโลกาภิวัตน์ (deglobalization) โดยผู้เสวนาได้เสนอให้องค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ มีบทบาทในการช่วยสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศ (multilateralism) และโลกาภิวัฒน์ (globalization) มากขึ้น

ในส่วนของความท้าทายระยะยาว มีการหารือใน 2 ประเด็นหลัก คือ 

1) ประเด็นดิจิทัล การสร้างสมดุลของนโยบายด้านดิจิทัลของธนาคารกลางระหว่างการส่งเสริมนวัตกรรมและการบริหารความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ภาคการเงินนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการ และเอื้อให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ทั่วถึง รวมทั้งทำให้เกิดการแข่งขันจากผู้เล่นรายเล็กที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ภายใต้การบริหารความเสี่ยงทั้งต่อระบบการเงินและผู้ใช้บริการ  โดยเห็นว่าควรมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลซึ่งจะช่วยให้ภาคการเงินสามารถใช้ข้อมูลเพื่อช่วยให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้นด้วยต้นทุนที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองต่อการพัฒนา Central Bank Digital Currency (CBDC) ซึ่งหลายประเทศอยู่ในช่วงการศึกษาหรือทดสอบการใช้งานในการโอนเงินระหว่างประเทศ (cross-border) การใช้งานระหว่างสถาบันการเงิน (wholesale) และการใช้งานสำหรับรายย่อย (retail) ซึ่งผู้ร่วมเสวนาส่วนใหญ่เห็นประโยชน์ชัดเจนในการใช้ CBDC สำหรับธุรกรรมโอนเงินระหว่างประเทศและการใช้งานระหว่างสถาบันการเงิน โดยเฉพาะการลดระยะเวลาและต้นทุนการทำธุรกรรม เพิ่มความโปร่งใสของธุรกรรม และรองรับการใช้งานในรูปแบบอื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

2) ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อและการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยธนาคารกลางในฐานะผู้ดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินต้องทำความเข้าใจและเตรียมรับมือกับผลกระทบดังกล่าว รวมถึงเพิ่มบทบาทเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ ในการดำเนินนโยบายของธนาคารธนาคารกลางเพื่อรับมือกับความท้าทายนี้ อาจครอบคลุมทั้ง (1) นโยบายการเงินเพื่อดูแลผลกระทบของ climate change ต่อผลผลิตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และ (2) นโยบายดูแลเสถียรภาพของสถาบันการเงินและระบบการเงิน เช่น การกำหนดแนวทางการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นมาตรฐาน การวิเคราะห์สถานการณ์และทดสอบภาวะวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ (climate scenario analysis and stress testing) ต่อภาคการเงิน รวมทั้งการส่งเสริมให้สถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ผู้ร่วมเสวนาเห็นความสำคัญของการจัดสรรเงินทุนให้กิจกรรมที่อยู่ระหว่างปรับตัว รวมถึงเน้นการให้ความช่วยเหลือเรื่องการยกระดับความรู้ โดยเฉพาะแก่ SMEs โดยธนาคารกลางสามารถมีบทบาทสนับสนุนให้เกิดการจัดสรรเงินทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมมากขึ้น ผ่านการประสานความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการพัฒนาในระดับพหุภาคี (Multilateral Development Banks) รวมถึงกองทุนสถาบัน (institutional fund) เพื่อดึงดูดเงินทุนจากภาคเอกชนมากขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทย
3 ธันวาคม 2565

ข้อมูลเพิ่มเติม: ฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ
โทรศัพท์: 0 2356 7245, 0 2283 5124
อีเมล : IND-InterFinOrg@bot.or.th 

>>​Download​​ ข่าว PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.