• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > รายงาน
  • > รายงานประจำปีธนาคารแห่งประเทศไทย
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​
เพราะโลกเปลี่ยนไว แบงก์ชาติจึงต้องเข้าถึงและเข้าใจมากกว่าเดิม

>>ดาวน์โหลดเอกสาร



          เศรษฐกิจการเงินไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ทั้งกระแสการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของโลก (mega trends) อาทิ สังคมสูงวัย การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี รวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้างภายในประเทศ อาทิ ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระหว่างเมืองและชนบท และหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีส่วนเร่งให้ปัจจัยเชิงโครงสร้างเหล่านี้เกิดขึ้นเร็วขึ้น ธปท. ในฐานะผู้ดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน ตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเห็นว่าการประเมินภาพเศรษฐกิจการเงินโดยอาศัยเฉพาะข้อมูลสถิติหรือตัวเลขนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจข้อเท็จจริงเชิงพื้นที่และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนด้วย เพื่อให้การออกแบบและดำเนินนโยบายทางการเงินมีความเหมาะสม ตรงจุด และใช้ได้จริง โครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจระหว่าง ธปท. กับภาคธุรกิจ (Business Liaison Program : BLP) ที่เริ่มต้นเมื่อปี 2547 นับเป็นส่วนหนึ่งของการรับฟังเสียงสะท้อนของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อจับชีพจรเศรษฐกิจการเงินร่วมกับข้อมูลตัวเลขและนำเสนอต่อคณะกรรมการต่าง ๆ ของ ธปท.

          นอกจากนี้ ธปท. ได้ริเริ่มการลงพื้นที่ในโครงการ "เข้าถึง เข้าใจ วิถีชนบทไทย" ในปี 2562 ต่อเนื่องในปี 2563 เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงาน ธปท. ได้ "ติดดิน" หรือเข้าถึงข้อเท็จจริงในพื้นที่ด้วยตัวเอง ช่วยในการออกแบบและกำหนดนโยบายด้านต่าง ๆ ของ ธปท. ทั้งนโยบายเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน นโยบายสถาบันการเงิน และนโยบายการชำระเงิน ให้มองได้รอบและคิดได้ครบ ตลอดจนสามารถดำเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายที่วางไว้

          โครงการ "เข้าถึง เข้าใจ วิถีชนบทไทย" เป็นโครงการลงพื้นที่ร่วมกับทีมงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ เปิดโอกาสให้ พนักงาน ธปท. ทั้งพนักงานใหม่จนถึงผู้บริหารระดับกลางซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบายได้เข้าถึข้อเท็จจริงในพื้นที่และเข้าใจวิถีคนชนบทที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศและเป็นรากฐานของเศรษฐกิจไทย และได้เรียนรู้ตัวอย่างการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบองค์รวมที่ใช้ในการแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ตลอดจนได้เรียนรู้และฝึกทักษะที่จำเป็นในการรวบรวมข้อเท็จจริงเชิงพื้นที่เพื่อสังเคราะห์เป็นนโยบายด้านที่รับผิดชอบ โครงการดังกล่าวได้จัดมาแล้ว 3 รุ่น ลงพื้นที่ในจังหวัดอุทัยธานี กาฬสินธุ์ และน่าน ตามลำดับ มีพนักงาน ธปท. เข้าร่วมโครงการฯ แล้วมากกว่า 100 คน


          การลงพื้นที่ในแต่ละครั้ง พนักงาน ธปท. ได้ใช้เวลาร่วมกับชาวบ้านนาน 3 วัน เริ่มต้นตั้งแต่เรียนรู้ปัญหาเชิงโครงสร้างในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับน้ำ เนื่องจากชาวบ้านจำนวนมากประกอบอาชีพทำการเกษตร น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำมาหาเลี้ยงชีพ และได้เข้าใจแนวคิดของการสร้างอ่างเก็บน้ำหรือฝายเพื่อช่วยบริหารจัดการน้ำให้ได้ใช้กันอย่างทั่วถึง อีกทั้งได้ลองสวมบทบาทเป็นเกษตรกร อาทิ เกี่ยวข้าว เตรียมดิน และสร้างฝาย ซึ่งทำให้เข้าใจความรู้สึกของชาวบ้านอย่างแท้จริง ตลอดจนได้พูดคุยกับชาวบ้าน ทำให้เห็นพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการใช้จ่ายเงิน และในช่วงสุดท้าย พนักงาน ธปท. ได้ถอดบทเรียนและสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อนำมาประยุกต์เข้ากับการออกแบบและกำหนดนโยบายในด้านที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

          การถอดบทเรียนหลังจากลงพื้นที่รับฟังและเข้าใจปัญหาของชาวบ้านที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายโดยตรง พบข้อเท็จจริงสำคัญ 3 ประการ ที่ควรนำมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบและกำหนดนโยบายของ ธปท. ได้แก่ 1) การออกแบบนโยบายอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและไม่ทำนโยบายแบบปูพรม หรือ one policy fits all เพราะแต่ละพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกัน การออกแบบนโยบายต้องคำนึงถึงความต่างและทำให้เหมาะสมและตรงจุด 2) การดำเนินนโยบายช่วยเหลือต่าง ๆ ควรทำแบบมีเงื่อนไข เพราะเงื่อนไขจะช่วยกระตุ้นให้คนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ สร้างแรงจูงใจให้คนปรับตัว และใช้ประโยชน์จากความช่วยเหลืออย่างคุ้มค่า และ 3) นโยบายจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อบูรณาการทุกภาคส่วน
เพราะความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้การผลักดันนโยบายเป็นไปในทิศทางเดียวกันและทำให้นโยบายมีประสิทธิภาพจนถึงระดับปฏิบัติ พร้อมดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ หากคำนึงถึงข้อเท็จจริงเหล่านี้จะช่วยบรรลุเป้าหมายของ ธปท. ในการสนับสนุนการเติบโต (growth) และการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเงินให้มีเสถียรภาพ มีการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainability) และทั่วถึง (inclusion)




Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
จุฑามาศ โทร 0-2356-7551
ษกาณ โทร 0-2283-5317

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.